มีคนตำหนิผม ว่าการทำสมาธินั้น......

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย puiter, 7 กรกฎาคม 2008.

  1. puiter

    puiter สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    17
    ค่าพลัง:
    +1
    ทุกครั้งที่ผมทำสมาธิ ผมจะอุทิศส่วนกุศล ให้แก่เจ้ากรรมนายเวรของผมเสมอ
    แต่เพื่อนผมตำหนิกับผมว่า "การทำสมาธิไม่ใช่การทำบุญ เป็นแต่เพียงทำให้จิตใจเราสงบเท่านั้น" แสดงว่าที่ผมอุทิศส่วนกุศลไปนั้น ไม่มีผลเลยหรอครับ?
    หรือเพื่อนผมตำหนิผมโดยที่ตัวเค้าเองก็ไม่ได้ทราบดีถึงเรื่องการทำสมาธิ..
    ตอนนี้ผมเลยสับสน ว่า การทำสมาธิ เป็นการทำบุญรึเปล่า? เราอุทิศส่วนกุศลให้เจ้ากรรมนายเวร ได้รึเปล่า? เรียนท่านผู้มีอายุทุกท่าน ช่วยให้ความกระจ่างด้วยครับ ขอบคุณไว้ล่วงหน้านะครับ.....
     
  2. T D-Da

    T D-Da เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กันยายน 2005
    โพสต์:
    64
    ค่าพลัง:
    +286
    บุญสูงสุดตะหาก

    ตามที่เข้าใจนะคะ ไล่จากบุญน้อยก็ ทาน ปานกลางก้อ ถือศีล บุญสูงสุดคือ ภาวนา การทำสมาธิคือการภาวนาค่ะ ได้บุญสูงสุด มั่นใจแล้วทำต่อเลยค่ะ;37
     
  3. pump - อภิเตโช

    pump - อภิเตโช เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    1,202
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +6,803
    การทำสมาธิ การภาวนา และ วิปัสนาได้กุศลมากที่สุดครับ

    แล้วควรจะอุทิศส่วนกุศล ทุกครั้งครับ
     
  4. ธรรมาว่างเปล่า

    ธรรมาว่างเปล่า Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    55
    ค่าพลัง:
    +25
    การทำสมาธิเป็นการทำให้จิตใจสงบด้วยและเป็นการสร้างบุญบารมีด้วยนะให้แก่ตัวเองนะมันไม่ใช่แค่ทำให้จิตใจสงบเท่านั้นนะมันเป็นทางไปสู่นิพพานอะแล้วมันจะไม่ได้บุญหรือครับ คุณต้องลองพิสูจน์ด้วยตัวเองพยายามถามผู้รู้จริงและหาอาจารย์ดีนะครับสิ่งเหล่านี้ที่เจอมามันเป็นเครื่องพิสูจน์ความเข้มแข็งความสงสัยในธรรมเราต้องพยายามครับ รายละเอียดหาหนังสืออ่านดู
     
  5. chocolatus

    chocolatus Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 เมษายน 2008
    โพสต์:
    220
    ค่าพลัง:
    +58
    การทำสมาธิ คือมีสติรู้ที่ลมหายใจ หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่ง(กรณีเจริญสมาธิในเวลาทำงาน) จิตสงบไม่ฟุ้งซ่าน บุญจะเกิดช่วงมีสมาธิ สิ่งสำคัญตัวกิเลสจะไม่มี เปรียบได้กับการตัดกรรม

    คนเราเกิดมามีกิเลสในสันดานทุกคนค่ะ มากน้อยต่างกัน ละกิเลสได้ก็เป็นบุญกุศลแน่นอนอ และสามารถปฏิบัติให้เจริญยิ่ง ๆ ขึ้น จนตัวกิเลสเบาบาง เป็นบุญแน่แท้อย่างไม่ต้องสงสัย ทาน ศีล ภาวนา ทำให้มาก ๆ ค่ะ ความชั่วแม้เพียงนิดก็อย่าได้ทำเลย

    ผู้รู้ในเวปนี้หลายท่านสอนมาค่ะ เป็นกำลังใจในการปฏิบัตินะค่ะ

    ปัญหามา ปัญญาเกิดค่ะ
     
  6. puiter

    puiter สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    17
    ค่าพลัง:
    +1
    ขอบคุณ สำหรับความรู้และกำลังใจครับ ตีห้าครึ่งแล้วครับ อิกไม่นานก็คงสว่าง แล้วเราก็จะตื่น ใครตื่นแล้ว ปลุกผมด้วย ^^
     
  7. เปลือกไม้

    เปลือกไม้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2007
    โพสต์:
    6,719
    ค่าพลัง:
    +38,377
    โบราณจารย์กล่าวไว้ว่า ตักบาตรจนขันทะลุ บุญกุศลยังน้อยกว่าภาวนาเห็นแสงสว่างเท่าหัวไม้ขีด ชั่วเวลาเท่าช้างกระพือหู งูแลบลิ้น
    เพื่อความมั่นใจ อ่าน การสร้างบุญบารมี พระนิพนธ์ สมเด็จพระสังฆราชฯ นะน้องนะ หาอ่านได้ในเวปนี่แหละ
     
  8. ป.วิเศษ

    ป.วิเศษ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    329
    ค่าพลัง:
    +411
    การนั่งสมาธิ เป็นกุศล

    *******************************************
    พิจารณาด้วยศีล ๕

    กายบริสุทธิ์ เพราะไม่ได้ ผิดศีล ๕

    วาจาบริสุทธิ์ เพราะไม่ได้ ผิดศีล ๕

    ใจบริสุทธิ์ เพราะไม่ได้ ผิดศีล ๕ (ถ้าดูกิเลสทันบ่อย ๆ นะ)

    พิจารณาแค่กำลังและการให้ผลของศีลก็คุ้มแล้วอ่ะค่ะ

    *******************************************
    ถ้ามองลึกไปอีกด้วย กุศลกรรมบถ ๑๐

    ก) ประพฤติดีด้วยกาย ๓ ประเภท
    ประพฤติดีด้วยกาย นั้นชื่อว่า กายกรรม คือ ทำกิจการงานด้วยกายอย่าให้
    ทุกข์เกิดขึ้นแก่ผู้อื่น

    กายกรรมที่ให้เกิดทุกข์แก่ผู้อื่นนั้น มี ๓ ประการ

    ๑. คือ อย่าเบียดเบียนร่างกายของท่าน คือ อย่าฆ่า อย่าฟัน อย่าทุบ อย่าตี
    ร่างกายของท่านผู้อื่นโดยที่สุด เว้นถึงสัตว์ติรัจฉานได้ยิ่งเป็นการดี
    ตรงภาษาบาลีที่ว่า ปาณาติปาตาเวรมณี ฯ

    ๒. คือ อย่าเบียดเบียนทรัพย์สมบัติข้าวของของท่านผู้อื่น คืออย่าลักขโมย
    อย่าฉ้อโกง อย่าเบียดบังเอาข้าวของของท่านผู้อื่น
    ตรงภาษาบาลที่ว่า อทินฺนาทานาเวรมณี ฯ

    ๓. คือ อย่าแย่งชิงลักลอบด้วยอำนาจของกายในหญิงที่ท่านหวงห้าม
    ตรงภาษาบาลีที่ว่า กาเมสุมิจฉาจาราเวรมณีฯ

    ข) ประพฤติดีด้วยวาจา ๔ ประเภท

    ประพฤติดีด้วยวาจา ๔ ประเภท (วจีกรรม ๔ ประเภท) นั้นได้แก่

    ๔. คือ ให้กล่าวแต่วาจาถ้อยคำที่สัตย์ที่จริง ให้เว้นจากวาจาที่เท็จไม่จริงเสีย
    ตรงกับภาษาบาลีที่ว่า มุสาวาทาเวรมณี ฯ

    ๕. คือ ให้กล่าวแต่วาจาถ้อยคำอันสมานประสานสามัคคีให้ท่านดีต่อกัน ให้เว้น
    วาจาส่อเสียดยุยงเสีย
    ตรงกับภาษาบาลีที่ว่า ปิสุณายาวาจาเวรมณีฯ

    ๖. คือ ให้กล่าวแต่วาจาถ้อยคำอันอ่อนโยน ให้เกิดความยินดีแก่ผู้ฟัง ให้งดเว้น
    วาจาที่หยาบคายขึ้นกูขึ้นมึง บริภาษตัดพ้อหยาบๆ คายๆ ให้ผู้ฟังได้รับความ
    เดือดร้อนต่างๆ เสีย
    ตรงกับภาษาบาลีที่ว่า ผรุสฺสายวาจายเวรมณี ฯ

    ๗. คือ ให้กล่าวแต่วาจาถ้อยคำที่เป็นไปกับด้วยประโยชน์ ให้เว้นวาจาที่เหลวไหล
    คือพูดเล่นหาประโยชน์มิได้เสีย
    ตรงกับภาษาลีที่ว่า สมฺผปฺปลาปาวาจายเวรมณี ฯ

    ค) ประพฤติดีด้วยใจ ๓ ประเภท

    ประพฤติดีด้วยใจ ๓ ประเภท (มโนกรรม ๓ ประเภท) นั้นคือ

    ๘. คือ ให้ระวังเจตนากรรม ให้สัมประยุตต์ด้วยเมตตาอยู่เสมอ คือ ความดำริของใจ
    อย่าให้ลุอำนาจแห่งโลภะ คืออย่าเพ่งเอากิเลสกามและวัตถุกามของท่านผู้อื่น
    อันไม่สมควรแก่ฐานะของตน
    ตรงกับภาษาบาลีที่ว่า อนภิชฺฌา โหติฯ

    ๙. คือ ให้ระวังเจตนากรรมให้สัมประยุตต์ด้วยกรุณาอยู่ทุกเมื่อ อย่าให้โทสะ
    พยาบาท เข้าครอบงำได้
    ตรงกับภาษาบาลีที่ว่า อพฺพยาปาโท โหติฯ

    ๑๐. คือ ให้ระวังเจตนากรรมให้สัมประยุตต์ด้วย มุทิตา อุเบกขา อยู่ทุกเมื่อ
    อย่าให้ไหลไปในทางผิด ให้เห็นตรงตามคลองธรรมทั้ง ๑๐ นี้อยู่ทุกเมื่อ
    ตรงกับภาษาบาลีที่ว่า สมฺมทิฎฺฐิโก โหติฯ

    เห็นไหมคะ นั่งสมาธิ ทำกุศลได้จริง ๆ เพราะกุศลกรรมบถ ๑๐ ครบนะ

    ที่มา www.wikipidia.org
     
  9. พลัjจิต

    พลัjจิต สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2008
    โพสต์:
    361
    ค่าพลัง:
    +18
    ทุกวันนี้คนเราเข้าใจคำว่าบุญ กับกุศลแบบผิดๆ
    บุญคือการอิ่มเอิบใจ ใจฟู มีความสุขที่ใจ
    กุศลคือ การปฏิบัติเพื่อละกิเลส การอดทน อดกลั้นต่อกิเลส
    กุศลจะอุทิศให้กันไม่ได้ ต้องปฏิบัติด้วยตัวเราเอง
    บุญสามารถอุทิศให้กันได้ มีทั้งอย่าง หยาบ และละเอียด
    การนั้งสมาธิ และหลังจากนั้งเสร็จแล้วแผ่เมตตานั้น จะทำให้บุญของเราที่เกิดจาก ทาน ศีล มีพลัง มาก อย่างนี้เราเรียกว่าบุญอย่างละเอียด สัตว์บางชนิดสามารถรับได้แต่บางชนิดก็ไม่สมารถรับได้
    ผู้ที่รับไม่ได้เราก็ให้ทานที่เป็นสิ่งของ ที่เราเรียกว่าถวายสังฆทาน
    ส่งที่กล่าวมานั้นท่านก็เอาไปพิจารณาเอาเอง
     
  10. เด็กอนุบาล

    เด็กอนุบาล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    689
    ค่าพลัง:
    +4,156
    การที่เราจะ "ให้" อะไรใครได้ เราจำเป็นต้อง "มี" สิ่งนั้นก่อน
    การทำสมาธิเป็นการทำให้จิตสงบ จิตที่สงบจึงมีกำลัง มีบุญบังเกิดในจิต

    จิตที่สงบและยังคิดจะ "ให้" กับผู้อื่น ก็ยิ่งเต็มไปด้วยบุญมากขึ้นอีก
    จิตแบบนี้จึงพร้อม และสามารถ อุทิศบุญที่ "มี" "ให้" กับเป้าหมายได้
     
  11. บุคคลทั่วไป 3 คน

    บุคคลทั่วไป 3 คน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,938
    ค่าพลัง:
    +1,253
    มีอีกอย่างครับ ว่า มีการหวังอะไรจากการอุทิศส่วนกุศลหรือเปล่า

    บางที่มีการเน้นว่า ต้ออุทิศส่วนกุศล เพื่อที่ว่าเจ้ากรรมนายเวรจะได้
    มาช่วยเป็นกำลังในการเจริญขึ้นของเรา คือ หวังอามิสจากการกระทำ
    แบบนี้คือการทำสมาธิโดยมีเจตนา การกระทำที่มีเจตนานั้น จะถือว่า
    เป็นการทำกรรม เป็นการสร้างภพชาติ นี้ยังไม่ได้แยกนะครับว่าเป็น
    ภพชาติที่ดี หรือ ไม่ดี คือ กล่าวไว้กลางๆ

    พอเห็นว่านี้คือการทำโดยติดอยู่ในภพชาติ ก็ใช้ โยนิโสมนสิการ พิจารณา
    ไตร่ตรองธรรมของเรา เทียบกับพุทธวัจนะข้อที่ว่า ธรรมะของพระพุทธองค์
    เป็นไปเพื่อการสิ้นภพชาติ

    ก็จะพบว่า นี่ขัดกัน ดังนั้น จะทำก็ได้ ถ้าทำให้ใจมีความสุข แต่ต้องไม่ติดใจ
    ใครมาทักทัดทาน ก็ต้องไม่โกรธเขา แต่น้อมใจรับฟังคำเตือนได้ แบบนี้พอใช้ได้

    แต่ถึงอย่างไรก็ต้องดูใจตัวเอง ว่า ติด ชอบใจ หวังผล คิดสาระตะคำนวณไว้แล้ว
    ว่าทำอย่างนี้ได้อย่างนี้ แบบนี้จะไม่ค่อยดีเท่าไหร่

    แต่ถ้าอุทิศออกไปโดยไม่หวังผลอะไรตอบแทน แบบนี้ดี ในกรรมฐานเจริญเมตตา
    ในบทแรกๆ จะเน้นให้แผ่ออกไปโดยไม่เจาะจง เมื่อใจเป็นกลางแล้วค่อยๆ เจาะจง
    ใกล้ตัวลงมา ตอนที่กำหนดเปลี่ยนผู้รับ ให้ดูใจที่หวั่นไหว ไม่เต็มใจ อึดอัดใจด้วย

    การที่อึดอัดขึ้นมา ให้ระลึกรู้ไปเลยครับว่า จิตเมตตา จิตกรุณา จิตมุทิตา จิตอุเบกขา
    เขาล้วนไม่เที่ยง เจริญไว้ดีแล้ว ก็ไม่เที่ยง ตั้งอยู่ไม่ได้ ควบคุมไม่ได้ เจอผัสสะก็
    แกว่ง ทั้งๆที่เราเจริญไว้เนือง

    ถ้าเห็นความไม่เที่ยงของจิตชนิดต่างๆแล้วในชุดพรหมวิหารแล้ว เข้าใจแล้ว เห็นธรรมแล้ว
    ก็เปลี่ยนกรรมฐานอื่นต่อไปครับ เพราะการรู้ทันจิต เจตสิกชุดนี้ไม่ส่งผลเท่าไหร่ ยังไม่อาจ
    เข้าสู่การรู้ธรรมของพระพุทธองค์ได้ เหตุเพราะธรรมชุดพรหมวิหารนั้นเป็นดวงจิตพื้นฐาน
    คู่โลก คือ ธรรมดาเราก็เห็นอยู่แล้ว ว่าเพื่อคนนี้เราเมตตา อีกคนเราไม่เมตตา เพื่อนเลว
    บางคนเราอุเบกขาได้ บางคนก็อุเบกขาไม่ได้ คือ จะเห็นว่า เป็นการเห็นที่ยังไม่ทำให้หน่าย
    โลก

    ทำมากๆ ก็กลายเป็นพรหมคู่โลกไปเลย ไม่พ้น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กรกฎาคม 2008
  12. รักเสมอ

    รักเสมอ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มกราคม 2008
    โพสต์:
    168
    ค่าพลัง:
    +235
    หลักการทำบุญในพระพุทธศาสนา โดยย่อมี ๓ คือ

    ๑. ทานมัย ให้ทาน

    ๒. สีลมัย รักษาศีล

    ๓. ภาวนามัย เจริญภาวนา (สมถะ - วิปัสสนา)

    การบริจาคทาน จะเห็นผลช้าที่สุด (บางอย่างอาจจะต้องรอถึงชาติหน้า)

    การรักษาศีล จะเห็นผล หรืออานิสงส์ได้เร็วกว่า

    การเจริญภาวนา จะเห็นผลได้เร็วที่สุด

    เช่น การเจริญภาวนาสมาธิ บางคนเพียงปฏิบัติครั้งแรก สามารถทำจิตให้สงบได้

    เมื่อจิตสงบตัวลง สภาพจิตจะเปลี่ยนไปทันที

    จากความวุ่นวาย กระวนกระวายใจ เป็นความสงบใจ

    จากความทุกข์ร้อนใจ เป็นความเย็น เกิดความสุขใจ

    จากความหนัก หรืออึดอัดใจ เป็นความเบาสบาย และปลอดโปร่งใจ ฯ

    สรุปว่า จะเกิดความสุขใจ อัศจรรย์ใจ ชนิดที่ไม่เคยประสบพบเห็นมาก่อน

    คนที่ตำหนิ เพราะเขาไม่รู้ ไม่เข้าใจเรื่องสมาธิอย่างแท้จริงนั่นเอง

    การเจริญภาวนา ไม่ต้องลงทุนด้วยทรัพย์

    เพียงมีความเข้าใจให้ถูกต้อง จะทำเมื่อไร ที่ไหนก็ได้

    และนอกจากแผ่บุญของเราให้แก่ผู้อื่นได้แล้ว

    ในส่วนตัว เรายังสามารถกำหนดจิตอธิษฐานบุญภาวนานี้ ให้ประสบความสำเร็จ

    ในสิ่งที่ปรารถนาได้ ทั้งแก่ตนเอง และผู้อื่น ทั้งทางโลก และทางธรรม

    เพียงมีสมาธิดีในขั้นต้น ๆ ก็จะทำให้ใจเรามีความสุข

    และเป็นประโยชน์ทั้งในด้านการทำการงานประจำที่ทำอยู่ด้วย
     
  13. เรายังเลว

    เรายังเลว Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    230
    ค่าพลัง:
    +52
    ทำต่อไปครับ สู้ๆ
     
  14. umatevie

    umatevie เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2007
    โพสต์:
    141
    ค่าพลัง:
    +410
    ขออุโมทนาจ้า เธอ ทำถูกแล้ว และสามารถ อุทิศก่อนเข้าสมาธิ และ ตอนจบสมาธิ ด้วยเหตุให้แผ่อุทิศก่อนเพราะส่วนมากพวกที่จะมากวน คือ พวก วิญญานชั้นต่ำๆๆๆ บุญที่เกิดจากสมาธินั่งภาวนา เป็นบุญสูง พวกวิญญาณชั้นต่ำรับยาก
     
  15. บัวใต้น้ำ

    บัวใต้น้ำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กันยายน 2004
    โพสต์:
    888
    ค่าพลัง:
    +1,937
    ขอตอบตามความเข้าใจส่วนตัว

    คือบุญกุศลที่เราอุทิศจากการทำสมาธิ กับบุญกุศลจากการทำทาน ให้ผลแตกต่างกัน

    ถ้าเราทำสมาธิแล้วจิตใจเรา สงบ ไม่หลงไปตาม ราคะ โทสะ ได้ชั่วคราว เราคิดถึงใครก็ตามหรือสรรพสัตว์ทั้งหลายจากจิตใจเราในขณะนั้น นั้นหมายถึงการที่เราส่งกระแสแห่งความสงบจากกิเลสชั่วหยาบของจิตไปให้เขา ผู้ที่สามารถรับคลื่นได้ จิตใจของผู้นั้นก็จะสงบระงับจากกิเลสชั่วหยาบ สามารถพ้นจากความทุกข์ได้ชั่วคราวเหมือนกัน จะได้รับมากหรือน้อยซึ่งตรงนี้ก็ขึ้นกับปัจจัยหลายอย่าง
     
  16. บุคคลทั่วไป 3 คน

    บุคคลทั่วไป 3 คน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,938
    ค่าพลัง:
    +1,253
    ตอบอีกอย่างแบบสั้นๆ

    การทำบุญทำทานอุทิศส่วนกุศล ล้วนเป็นการ

    กำหนดอารมณ์เพื่อกระทำ ผลที่ได้คือ ความสุข

    จากรูปของการกำหนดอารมณ์ และผลที่ได้คือความสุข นี่คือ การทำ สมถะ

    ดังนั้น เมื่อเกิด ความสุขขึ้นแล้ว จิตใตปลอดโปร่งแล้ว ควรทำวิปัสสนาต่อไป
    ไม่ต่างจากการทำสมถะ กรรมฐาน แบบอื่นๆ แบบเลิศๆ

    การทำวิปัสสนาต่อไปคือ การตามรู้ความสุขที่ได้จากการทำทานนั้น หายไปหรือยัง

    จะทำอย่างไรให้ความสุขนั้นกลับมาอีก และต้องทำอีกนานเท่าไหร่ อีกกี่ครั้ง ทำ
    แต่ละครั้งความสุขที่ได้อยู่นาน ยาวสั้น เท่ากันไหม

    ให้ทำนะครับ ไม่ได้ให้หยุด แม้พิจารณาเห็นธรรมแล้ว ก็ไม่ต้องหยุด เพราะเรา
    สามารถใช้ กรุณา เพื่อการอนุเคราะห์โลกได้ เป็น การเจริญ พุทธานุสติกรรมฐาน

    เพราะพระพุทธองค์ ก็ ใช้กรุณา เพื่อการอนุเคราะห์โลกเช่นกัน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 กรกฎาคม 2008
  17. Saint Telwada

    Saint Telwada สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2008
    โพสต์:
    131
    ค่าพลัง:
    +5
    ตอบ....

    คนทุกคนมีอายุเหมือนกันทุกคนและคุณ และข้าพเจ้าจะให้ข้อคิดกับคุณสั้นๆ ให้คุณไปพิจารณาด้วยตัวคุณเองว่า
    " ความคิด ทำให้เกิดความทุกข์ คือ ไม่สบายใจ เคร่งเครียด ฯลฯ"
    "ความคิด ก็ย่อมทำให้เกิด ความหลุดพ้น จาก ความทุกข์ หลุดพ้นจากความไม่สบายใจ หลุดพ้นจากความเคร่งเครียด ฯลฯ ได้เช่นกัน"
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 กรกฎาคม 2008
  18. zzzbrain

    zzzbrain สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    12
    ค่าพลัง:
    +0
    ทำไปเถอะครับ อย่ายึดติดคำนิยาม อย่ายึดติดกับคำว่า ทำไม และ เพื่อ อะไร สิ่งที่บอกว่า ใช่ จริงๆ อยู่ที่ตัวเราเอง เราเห็นเองครับ
     
  19. iofeast

    iofeast เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    4,174
    ค่าพลัง:
    +7,815

    การทำสมาธิย่อมเป็นบุญเป็นปัจจัยให้ไปสู่ภพที่ดีอย่างแน่นอน บุญที่อุทิศไปแล้วนั้นย่อมถึงเขาเหล่านั้นได้แน่นอน หากพวกเขาอยู่ในฐานะที่รับได้ เรื่องนี้ไม่ต้องสงสัยเลยจ๊ะ ผู้ที่อยู่ภพภูมิอื่นน่ะ เขามาบอกเราเอง และบางท่านเมื่อจะได้ไปภพภูมิที่ดีกว่ายังมาลาและขอบคุณเราในบุญกุศลที่เราได้อุทิศไปให้อีกด้วย ส่วนญาติที่เสียไปก็มาบอกว่าได้รับ และยังบอกวิธีอุทิศที่เขาสามารถรับได้อย่างเต็มที่อีกด้วย
    เราพิสูจน์ได้ด้วยตนเองแล้ว หมดความสงสัยในเรื่องนี้แล้ว ศรัทธาก็ยิ่งหนักแน่นมั่นคง
    หากไม่เชื่อก็ลองทำสมาธิอย่างจริงจังให้รู้เห็นตามความเป็นจริงด้วยตนเองดูซิจ๊ะ

    ป.ล.การหยุดความคิดฟุ้งซ่านความคิดอกุศลได้ ถึงจะชั่วขณะก็เป็นบุญกุศลแล้วจ๊ะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 กรกฎาคม 2008
  20. satan

    satan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ตุลาคม 2004
    โพสต์:
    5,042
    ค่าพลัง:
    +17,915
    วิธีการสร้างบุญบารมี ที่สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ )ทรงพระนิพนธ์ไว้ ( เวอร์ชั่นพ่อมดโลจิสรุปใจความสำคัญ...ซึ่งเวอร์ชั่นเดิมนั้นมีเนื้อหาสาระที่ละเอียดกว่านี้...ซึ่งผมจะได้เขียนเพิ่มเติมทีหลังอีกทีครับ )
    สร้างอักขรธรรมหนึ่งอักษร เท่ากับสร้างพระพุทธรูปหนึ่งองค์( ศาสนวงศ์ ฉบับพระปัญญาสามี 2405 )

    โอวาทสมเด็จพระพุทธาจารย์ ( โต พรหมรังสี )
    ลูกเอ๋ย ก่อนจะเที่ยวไปขอบารมีหลวงพ่อองค์ใด เจ้าจะต้องมีทุนของตัวเอง คือบารมีของตนลงทุนไปก่อน เมื่อบารมีของเจ้าไม่พอ จึงขอยืมมาช่วย มิฉะนั้นเจ้าจะเอาตัวไม่รอด เพราะหนี้สินในบุญบารมีที่เที่ยวไปขอยืมมาจนล้นตัว เมื่อทำบุญได้บารมีมา ก็ต้องเอาไปผ่อนใช้หนี้เขาจนหมดไม่มีอะไรเหลือติดตัว แล้วเจ้าจะเอาอะไรไว้ในภพหน้า หมั่นสร้างบารมีไว้แล้วฟ้าดินจะช่วยเจ้าเอง จงจำไว้นะเมื่อยังไม่ถึงเวลา เทพเจ้าองค์ใดจะคิดช่วยเจ้าไม่ได้ ครั้นถึงเวลา ทั่วฟ้าจบดินก็ต้านเจ้าไม่อยู่ จงอย่าไปเร่งเทวดาฟ้าดิน เมื่อบุญเราไม่เคยสร้างเลย จะมีใครที่ไหนมาช่วยเจ้า

    วิธีการสร้างบุญบารมี ที่สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ )ทรงพระนิพนธ์ไว้
    บุญ คือ เครื่องชำระสันดาน ความดี กุศล ความสุข ความประพฤติชอบทางกาย วาจาและใจ กุศลธรรม

    บารมี คือ คุณความดีที่บำเพ็ญอย่างยิ่งยวด เพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายอันสูงยิ่ง

    วิธีสร้างบุญบารมีในพระพุทธศาสนามีอยู่ 3 ขั้นตอน คือการให้ทาน การถือศีล และการเจริญภาวนา ซึ่งการให้ทานหรือการทำทานนั้นเป็นการสร้างบุญที่ได้บุญน้อยที่สุดไม่ว่าจะทำมามากอย่างไร ก็ไม่มีทางที่จะได้บุญไปมากกว่าการถือศีลไปได้ การถือศีลแม้จะมากอย่างไรก็ไม่มีทางที่จะได้บุญมากเกินไปกว่าการเจริญภาวนาไปได้ ฉะนั้นการเจริญภาวนาจึงเป็นการสร้างบุญบารมีที่สูงที่สุดได้มากที่สุด แต่ไม่ใช่ว่าจะละทิ้งการให้ทานกับการรักษาศีลแล้วมานั่งเจริญภาวนาอย่างเดียวนั้นก็มิได้ จึงต้องกระทำไปพร้อมทาน ศีล ภาวนา

    องค์ประกอบ 3 ข้อของการให้ทาน
    1.วัตถุทานที่ให้ต้องบริสุทธิ์ คือ ต้องเป็นของที่ตนแสวงหามาได้ด้วยการประกอบอาชีพสุจริตไม่ใช่ได้มาเพราะการเบียดเบียนผู้อื่นให้เดือดร้อน เช่น ได้มาโดยทุจริต ลักทรัพย์ ยักยอกทรัพย์ ฉ้อโกงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ ชิงทรัพย์ เป็นต้น

    2. เจตนาในการให้ทานต้องบริสุทธิ์ คือ เจตนาในการให้ทานถ้าจะบริสุทธิ์จริงจะต้องสมบูรณ์พร้อมกัน 3 ระยะคือ
    - ระยะก่อนที่จะให้ทาน ก่อนที่จะให้ทานก็มีจิตโสมนัสร่าเริง เบิกนดีที่จะให้ทาน เพื่อสงเคราะห์ผู้อื่นให้ได้รับความสุขเพราะทรัพย์สิ่งของของตน
    - ระยะที่กำลังลงมือให้ทาน ระยะที่กำลังลงมือทำทานอยู่นั้นเองก็ทำด้วยจิตโสมนัส ร่าเริง ยินดีและเบิกบานในทานที่ตนกำลังให้ผู้อื่น
    - ระยะหลังจากที่ได้ให้ทานไปแล้ว ครั้นเมื่อได้ให้ทานไปแล้วเสร็จ หลังจากนั้นก็ดี นานมาก็ดี เมื่อหวนคิดถึงทานที่ตนได้กระทำไปแล้วครั้งใด ก็มีจิต
    โสมนัสร่าเริง เบิกบานยินดีในทานนั้นๆ

    3.เนื้อนาบุญต้องบริสุทธิ์
    คำว่าเนื้อนานบุญ ในที่นี้ได้แก่ บุคคลผู้รับการทำทานของผู้ทำทานนั่นเอง เนื้อนาบุญที่ประเสริฐคือผู้ที่บวชเพื่อมุ่งหนีสงสารวัฏ โดยมุ่งจะทำมรรคผลนิพพานให้แจ้ง เป็นผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสเอาไว้ว่า แม้วัตถุทานจะบริสุทธิ์ดี เจตนาในการทำทานจะบริสุทธิ์ดี จะทำทานนั้นมีผลมากหรือน้อย ย่อมขึ้นอยู่กับเนื้อนาบุญเป็นลำดับต่อไป การทำทานแก่สัตว์เดรัจฉาน การทำทานแก่มนุษย์ผู้ไร้ศีล การทำทานแก่ผู้ที่มีศีลห้า การทำทานแก่ผู้ที่มีศีลแปด การถวายทานแก่สามเณรผู้มีศีลสิบ การถวายทานแก่พระสมติสงฆ์ การถวายทานแก่พระโสดาบัน การถวายทานแก่พระสกิทาคามี การถวายทานแก่พระอนาคามี การถวายทานแก่พระอรหันต์ การถวายทานแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า การถวายทานแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า การถวายทานที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นประธาน การถวายวิหารทาน การให้ธรรมทานและการให้อภัยทาน

    การให้อภัยทานคือาการไม่ผูกโกรธ ไม่อาฆาตจองเวร ไม่คิดร้ายผู้อื่นแม้แต่ศัตรู ซึ่งเป็นทานที่ให้บุญกุศลสูงมากที่สุดในฝ่ายทาน เพราะเป็นการบำเพ็ญเพียรเพื่อ ละโทสะกิเลส และเป็นการเจริญเมตตาพรหมวิหารธรรม อันเป็นพรหมวิหารข้อหนึ่งในพรหมวิหาร 4..ผู้ทรงพรหมวิหาร 4 ได้ย่อมเป็นผู้ทรงฌาณ แต่ถึงแม้การให้อภัยทานจะชนะการให้ทั้งปวง ผลบุญนั้นก็ยังน้อยกว่า ฝ่ายศีล เพราะเป็นการบำเพ็ญบารมีคนละขั้นกัน

    การรักษาศีล
    ศีล นั้นแปลว่า ปกติ คือสิ่งหรือกติกาที่บุคคลจะต้องระวังรักษาตามเพศและฐานะ ศีลนั้นมีหลายระดับ ศีล 5 ศีล 8 ศีล 10 ศีล 227และในบรรดาศีลชนิดเดียวกันยังแบ่งออกเป็นหลายระดับ ระดับธรรมดา ระดับกลาง ระดับสูง

    การรักษาศีลเป็นความเพียรพยายามเพื่อระงับโทษทางกายและวาจา อันเป็นเพียงกิเลสหยาบมิให้กำเริบขึ้น และเป็นการบำเพ็ญบุญบารมีที่สูงขึ้นกว่าการให้ทาน ทั้งในการถือศีลเองก็ยังได้บุญมากน้อยต่างกันไปตามลำดับดังนี้ การถือศีล 5 การถือศีล 8 การบวชเป็นสามเณรรักษาศีล 10 การอุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา มีปาฏิโมกขสังวร 227 ข้อ

    ในฝ่ายศีลแล้ว การได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา ได้บุญบารมีมากที่สุด เพราะเป็นเนกขัมมบารมีในบารมี 10 ทัศ ซึ่งเป็นการออกจากกามเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติธรรมขั้นสูงๆ คือ การภาวนาเพื่อมรรค ผล นิพพานต่อๆไป แต่ศีลนี้แม้จะมาอานิสงส์มากเพียงไร ก็ยังเป็นแต่การบำเพ็ญบุญบารมีในขั้นกลางเท่านั้น เพราะเป็นเพียงระเบียบหรือกติกาที่จะรักษากายวาจาให้สงบ ไม่ให้ก่อให้เกิดทุกข์โทษขึ้นทางกายและวาจาเท่านั้น ส่วนทางจิตนั้นศีลยังไม่สามารถที่จะควบคุมหรือทำให้สะอาดบริสุทธิ์ได้
    ดังนั้นการรักษาศีลจึงยังได้บุญน้อยกว่าการภาวนา เพราะการภาวนาเป็นการรักษาใจ รักษาจิต และซักฟอกจิตให้เบาบางลงหรือจนหมดกิเลส คือ ความโลภ โกรธ หลง อันเป็นเครื่องร้อยรัดให้บรรดาสรรพสัตว์ทั้งหลายต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในสังสารวัฏ การภาวนาจึงเป็นการบำเพ็ญบารมีที่สูงที่สุด ประเสริฐที่สุด ได้บุญมากที่สุด เป็นกรรมอันยิ่งใหญ่ เรียกว่า มหัคคตกรรม อันเป็นมหัคคตกุศล

    การภาวนา
    การเจริญภาวนานั้น เป็นการสร้างบุญบารมีที่สูงที่สุดและยิ่งใหญ่ที่สุดในพระพุทธศาสนา จัดว่าเป็นแก่นแท้และสูงกว่าฝ่ายศีลมากนัก การเจริญภาวนานั้นมี 2 อย่างคือ สมถภาวนา (การทำสมาธิ )วิปัสนาภาวนา (การเจริญปัญญา )

    สมถภาวนา
    สมถภาวนา ได้แก่การทำจิตให้เป็นสมาธิหรือเป็นฌาณ คือการทำจิตให้ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่านแส่ส่ายไปอารมณ์อื่นๆ วิธีภาวนานั้นมีมากมายหลายร้อยชนิด ซึ่งพระพุทธองค์ทรงบัญญัติแบบอย่างเอาไว้ 40 ประการเรียกกันว่า กรรมฐาน40ซึ่งผู้ใดจะเลือกใช้วิธีใดก็ได้ตามแต่สมัครใจ ทั้งนี้ย่อมสุดแล้วแต่อุปนิสัยและวาสนาบารมีที่ได้เคยสร้างสมอบรมมาแต่อดีตชาติเมื่อสร้างสมอบรมมาในกรรมฐานกองใด จิตก็มักจะน้อมชอบกรรมฐานกองนั้นมากกว่ากองอื่นๆและการเจริญภาวนาก็จะก้าวหน้าเร็วและง่ายยิ่งขึ้น แต่ไม่ว่าจะเลือกปฏิบัติวิธีใดก็ตามจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรักษาศีลครบถ้วนบริบูรณ์ตามเพศของตนเสียก่อนจึงจะทำจิตให้เป็นฌาณได้ หากศีลยังไม่มั่นคงย่อมเจริญฌาณให้เกิดขึ้นได้โดยยาก เพราะศีลย่อมเป็นกำลังให้เกิดสมาธิขึ้น

    การทำสมาธิเป็นการสร้างบุญกุศลที่ยิ่งใหญ่ ลงทุนน้อยที่สุดเพราะไม่ได้เสียเงินเสียทอง ไม่ได้เหนื่อยยากแบกหามแต่อย่างใด เพียงแต่คอยระวังสติ คุ้มครองจิตมิให้แส่ส่ายไปสู่อารมณ์อื่นๆโดยให้ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียวเท่านั้น อย่างไรก็ดีการเจริญสมถภาวนาหรือสมาธินั้นแม้จะได้อานิสงส์มากมายมหาศาลอย่างไร ก็ยังมิใช่บุญกุศลที่สูงสุดยอดในพระพุทธศาสนา แต่เป็นการเจริญวิปัสสนาหรือการเจริญปัญญา จึงจะเป็นการสร้างบุญกุศลที่สูงสุดยอดในพระพุทธศาสนาซึ่งถือเป็นแก่นแท้

    วิปัสสนาภาวนา
    วิปัสสนาภาวนา คือการที่จิตคิดใคร่ครวญหาเหตุและผลในสภาวธรรมทั้งหลาย และสิ่งที่เป็นอารมณ์ของวิปัสสนานั้นมีเพียงอย่างเดียวคือ ขันธ์ 5 ซึ่งนิยมเรียกว่า รูป-นาม โดยรูปมี 1 ส่วน และนามมี 4ส่วนคือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นเพียง อุปทานขันธ์เพราะแท้ที่จริงแล้วเป็นแต่เพียงสังขารธรรมที่เกิดขึ้นเนื่องจากการปรุงแต่ง แต่เพราะอวิชาหรือความไม่รู้เท่าสภาวธรรมจึงเกิดการยึดมั่นด้วยอำนาจอุปทานว่าเป็นตัวตนและของตน การเจริญวิปัสสนาก็เพื่อให้จิตพิจารณาจนรู้แจ้งเห็นจริงว่า สภาวธรรมทั้งหลายล้วนแต่มีอาการเป็นไตรลักษณ์คือ อนิจจัง ทุกขังอนัตตา

    อนิจจัง (ความไม่เที่ยงแท้แน่นอน เกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไปแล้วเกิดของใหม่ขึ้นมาแทนที่อยู่ตลอดเวลา) ทุกขัง (สภาพที่ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ เมื่อเป็นเด็กแล้วจะเป็นเด็กเช่นนั้นต่อไปก็หาไม่ ก็ต้องเป็นหนุ่มสาวและเป็นคนแก่เฒ่าไปและตายลงในที่สุด)อนัตตา(ความไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่สิ่งของ เป็นเพียงแค่ธาตุทั้ง 4 มาประชุมกันเพียงชั่วคราว เมื่อนานไปก็ย่อมเปลี่ยนแปลงไปแล้วแตกสลายกลับคืนสู่สภาพเดิม ส่วนที่เป็นดินก็กลับสู่ดิน ส่วนที่เป็นน้ำก็กลับสู่น้ำ ส่วนที่เป็นลมก็กลับสู่ลม ส่วนที่เป็นไฟก็กลับสู่ไฟ ไม่มีอะไรให้เรายึดเป็นที่พึ่งอันถาวรได้ )

    ทั้งสมาธิและวิปัสสนาเป็นเหตุผลของกันและกันและอุปการะซึ่งกันและกัน จะมีวิปัสสนาปัญญาเกิดขึ้นโดยขาดกำลังสมาธิสนับสนุนมิได้เลย การเจริญวิปัสสนาจึงจำเป็นที่จะต้องพยายามทำสมาธิให้ได้เสียก่อน แต่ตราบใดที่ยังไปไม่ถึงฝั่งนิพพานก็ต้องเก็บเล็กผสมน้อย โดยทำทุกๆทางเพื่อความไม่ประมาท โดยทำทั้ง ทาน ศีล ภาวนา สุดแต่โอกาสจะอำนวยให้ จะถือว่าการเจริญวิปัสสนานั้นลงทุนน้อยที่สุดแต่ได้กำไรมากที่สุด ก็เลยทำวิปัสสนาอย่างเดียว โดยไม่ยอมลงทุนทำบุญให้ทานใดๆไว้เลย เมือ่เกิดมาชาติหน้าเพราะเหตุที่ยังไปไม่ถึงนิพพาน ก็เลยมีแต่ปัญญาอย่างเดียวไม่มีจะกินจะใช้ ก็จะเจริญวิปัสสนาให้ถึงฝั่งนิพพานไปไม่ได้เหมือนกัน

    การเจริญสมถะและวิปัสนาอย่างง่ายๆในชีวิตประจำวัน นั่ง ยืน เดิน นอน ทำบ่อยๆทำให้มากๆจนจิตเป็นอารมณ์แนบแน่น คือ คิดใคร่ครวญถึงความเป็นจริง 4 ประการ
    1.มีจิตใคร่ครวญถึง มรณัสสติกรรมฐาน คือการใคร่ครวญความตายเป็นอารมณ์ ความตายเป็นธรรมอันยิ่งใหญ่ที่ไม่มีสิ่งใดเอาชนะได้ ให้นึกถึงความตายอยู่ทุกลมหายใจเข้าออก เมื่อเกิดขึ้นแล้ว มีการเจริญเติบโต มีการแก่เฒ่าและตายไปในที่สุด ผู้ที่คิดถึงความตายนั้น เป็นผู้ไม่ประมาทในชีวิต เพราะเมื่อนึกถึงความตายแล้วก็จะเร่งกระทำความดีและบุญกุศล

    2.มีจิตใคร่ครวญถึงอสุภกรรมฐาน หรือสิ่งไม่สวยงามเช่น ซากศพ คือ มีจิตพิจารณาให้เห็นความเป็นจริงว่า ร่างกายของคนและสัตว์อันเป็นที่นิยมรักใคร่เสน่หา ปละเป็นบ่อเกิดของตัณหาราคะ กามกิเลส ว่าเป็นของสวยงามเป็นที่เจริญตาและใจ แท้ที่จริงแล้ว เป็นอนิจจัง ไม่เที่ยงแท้แน่นอน เป็นทุกขัง คือ ทนอยู่ในสภาพเช่นนั้นไมได้ วันเวลาย่อมพรากความสวยสดงดงามให้ค่อยๆจากไปจนเข้าสู่วัยชราผิวหนังเหี่ยวย่นไปตามกาลเวลาและในที่สุดก็ตาย น้ำเหลืองขึ้น ขึ้นอืด มีกลิ่นเหม็นเป็นที่น่ารังเกียจของหมู่ชนทั้งหลายและในที่สุดก็สูญสลายกลายเป็นปุ๋ย สังขารของเราก็เป็นเช่นนี้ไม่มีอะไรเป็นของเราเลย

    3..มีจิตใคร่ครวญถึงกายคตานุสติกรรมฐาน เป็นกรรมฐานที่มีอานิสงส์มากเพราะสามารถทำให้ละ สักกายทิฐิ อันเป็นสังโยชน์ข้อต้นได้โดยง่ายและเป็นกรรมฐานที่พิจารณาร่างกายให้เห็นตามสภาพความเป็นจริง มักจะพิจารณาร่วมกับอสุภกรรมฐานและมรณัสสติกรรมฐาน ซึ่งพระอริยะเจ้าทุกๆพระองค์ที่จะบรรลุพระอรหัตผลได้ จะต้องผ่านการพิจารณากรรมฐานทั้งสามกองนี้เสมอ เพราะบรรดาสรรพกิเลสทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นความโลภ โกรธ หลง ต่างๆก็เกิดขึ้นที่กายนี้เพราะการยึดมั่นด้วยอำนาจอุปทานว่าเป็นตัวตนและของตน การพิจารณาก็คือ พิจารราใคร่ครวญให้เห็นตามสภาพความเป็นจริงที่ว่า อันร่างกายของคนและสัตว์ที่น่ารักใคร่สวยงามนั้น แท้ที่จริงก็เป็นของปฏิกูล สกปรกโสโครก ไม่สวย ไม่งาม ไม่น่ารักใคร่ทะนุถนอม เป็นแหล่งรวมของสกปรกต่างๆ มีสารพัดขี้ ขี้หู ขี้ตา ขี้มูก ขี้ไคล ขี้ฟัน สิ่งเหล่านี้เมื่อขับถ่ายออกมาจากร่างกายแล้วไม่มีใครอยากเป็นเจ้าของ

    แม้แต่สังขารร่างกายของคนเราเมื่อได้แยกแยะพิจารณาไปแล้ว ก็เห็นความเป็นจริงที่ว่าเป็นที่ประชุมรวมกันของอวัยวะชิ้นต่างๆที่เป็นหู ตา จมูก ปาก ลิ้น เนื้อ ปอด ตับ ม้าม หัวใจ กระเพาะอาหาร ลำใส้ หนัง พังผืด เส้นเอ็น เส้นเลือด น้ำเลือด น้ำเหลือง น้ำลาย น้ำตา น้ำปัสวะ ฯลฯ เรียกว่าอาการ 32 เมื่อแยกหรือควักออกมาดูทีละชิ้น จะไม่มีชิ้นใดที่เรียกกันว่าสวยงาม น่ารักน่าพิสวาสเลย กลับเป็นของที่น่ารังเกียจ ไม่สวยงาม ไม่น่าดู เพียงแต่สิ่งเหล่านี้ถูกปกปิดห่อหุ้มด้วยหนังถ้าหากไม่มีหนังหุ้มแล้วก็ไม่เห็นว่าจะสวยงามตรงไหนดูๆไปก็อกสั่นขวัญแขวนถึงขั้นจับไข้ไปเลยก็มี

    เมื่อได้รู้แจ้งเห็นจริงดังกล่าวมากๆเข้า ก็จะมีอำนาจในการทำลายกิเลสและเกิดการเบื่อหน่ายในร่างกายของตนเองและผู้อื่น จึงเป็นการง่ายที่ นิพพิทาญาณ จะเกิดขึ้นและเมื่อได้เกิดขึ้นแล้ว จนมีญาณทัสสนะเห็นแจ้งอาการพระไตรลักษณ์ ซึ่งจะนำไปสู่อารมณ์อันวางเฉยไม่ยินดียินร้ายในร่างกาย คลายกำหนัดในรูปนามขันธ์เรียกว่าจิตปล่อยวาง ซึ่งจะนำไปสู่การละสักกายะทิฐิ

    4.มีจิตใครครวญถึงธาตุกรรมฐาน คือ นอกจากจะมีจิตใคร่ครวญถึงความเป็นจริงของร่างกายดังกล่าวมาแล้ว จึงควรพิจารณาแยกให้เห็นถึงความเป็นจริงว่า อันร่างกายของเราก็ดีของผู้อื่นก็ดี เป็นเพียงแค่ ธาตุ 4 อันประกอบด้วย ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ มาประชุมรวมกัน และสิ่งเหล่านี้ก็ทนอยู่ในสภาพที่รวมกันเช่นนั้นไม่ได้ นานไปก็เก่าแก่แล้วแตกสลายตายไป ธาตุดินก็กลับสู่ความเป็นดิน ธาตุน้ำก็กลับสู่ความเป็นน้ำ ธาตุลมก็กลับสู่ความเป็นลม ธาตุไฟก็กลับสู่ความเป็นไฟตามเดิม แร่ธาตุต่างๆนั้นก็เนื่องมาจากพลังงานโปรตรอนและอิเล็กตรอนเท่านั้น หาใช่ตัวตนของเราไม่เมื่อตายไปแล้วก็ยังเอาติดตัวไปด้วยไม่ได้ ดังนั้นการสร้างสมบุญบารมีที่เป็นอริยะทรัพย์อันประเสริฐ ซึ่งจะติดตามตัวไปได้ในภพหน้าชาติหน้าย่อมจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่า
     

แชร์หน้านี้

Loading...