><กระทู้ใหม่(4) วัตถุมงคลดีพิธีใหญ่สภาพสวย หลากหลายสายราคาเบา (สรุปรายการ น.1) ><

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย ศิษย์ปิยธโร, 5 มกราคม 2017.

  1. ศิษย์ปิยธโร

    ศิษย์ปิยธโร อายุ วรรณโณ สุขัง พลัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    15,159
    ค่าพลัง:
    +14,319
    3840.ของดีเมืองปากน้ำโพ เหรียญท้าวเวสสุวรรณ ธนบดีเศรษฐีอุดมทรัพย์(๑)
    ลพ.สมบูรณ์,ลพ.พัฒน์,ลพ.อิฐ,คบ.กฤษดา,ลพ.สุริยันต์,คบ,อริยชาติ ร่วมประจุพลัง

    คลิ้กเพื่อชมรูปใหญ่ครับ
    -d41e88770b4f6d7e.jpg

    dz.jpg
    เหรียญท้าวเวสสุวรรณ รุ่นแรก ธนบดีเศรษฐีอุดมทรัพย์ วัดวรนาถบรรพต(วัดเขากบ) จังหวัดนครสวรรค์ เนื้อทองแดงรมมันปู ตอกโค้ดรันนัมเบอร์ ดำเนินการจัดสร้างเมื่อปี พ.ศ.2565


    พุทธาภิเษกที่ยิ่งใหญ่ และขลังที่สุดแห่งหนึ่งของเมืองไทย

    เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2565 ฤกษ์มงคลเวลา 14.09 น.พิธีเททองหล่อ ท้าวเวสสุวรรณองค์ใหญ่ที่สุดในจังหวัดนครสวรรค์ เนื้อนวโลหะ สูง 4.5 เมตร พร้อมพิธีพุทธาเทวาภิเษกวัตถุมงคลท้าวเวสสุวรรณ รุ่น"ธนบดีเศรษฐีอุดมทรัพย์"


    โดยมี สมเด็จพระมหารัชมงคลมุนี วัดไตรมิตรวิทยาราม จังหวัดกรุงเทพมหานคร ( สมเด็จธงชัย ) เป็นประธานฝ่ายสงฆ์

    โดยพระพรหมวชิรมุนี (เชิด จิตฺตคุตฺโต) เจ้าอาวาสวัดสุทัศน์ กรุงเทพฯ จุดเทียนชัยและเททองหล่อท้าวเวสสุวรรณองค์ใหญ่ ที่มีพระราชรัตนเวที เจ้าอาวาสวัดวรนาถบรรพต เป็นประธานจัดสร้าง นายยุทธ ชลบุรี ดำเนินการจัดสร้าง

    รวมสุดยอดพระเกจิเถราจารย์ผู้ทรงคุณวิเศษ จากทั่วสารทิศ กว่า 29 รูป ร่วมนั่งปรกอธิษฐานจิต
    โดยมีรายนามพระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์เจริญภาวนาอธิษฐานจิต ดังนี้
    1.สมเด็จพระมหารัชมงคลมุนี เจ้าคณะใหญ่หนกลาง วัดไตรมิตรวิทยาราม จ.กรุงเทพ
    2.พระเทพวัชรญาณเวที (หลวงพ่อสมบูรณ์ กนฺตสีโส) วัดป่าสมบูรณ์ธรรม จ.พิษณุโลก
    3.พระราชมงคลวัชราจารย์ (หลวงพ่อพัฒน์ ปุญฺญกาโม) วัดห้วยด้วน จ.นครสวรรค์
    4.พระราชมงคลวชิรสาร (หลวงพ่อชอุ้ม กตสาโร) วัดตะเคียน จังหวัดนครสวรรค์
    5.พระนิโรธรักขิต (หลวงพ่อสุนทร ขนฺติโก) วัดบ้านมะเกลือ จ.นครสวรรค์
    6.พระภาวนารัตนญาณ วิ. (ครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโต)แสงแก้วโพธิญาณ จ.เชียงราย
    7.พระครูสุขุมธรรมธาดา (หลวงพ่อรวย อคฺคสาโร) วัดมาบตาพุด จ.ระยอง
    8.พระครูวิสุทธิ์วิทยาคม (หลวงพ่อทอง สุ ทฺธสีโล) วัดบ้านไร จ.นครราชสีมา
    9.พระครูสุนทรโชติธรรม (หลวงปู่บุญมา โชติธมฺโม) สำนักสงฆ์เขาแก้ว จ.ปราจีนบุรี
    10.พระครูโสภิต วิริยาภรณ์ (หลวงพ่ออิฏฐ์ ภทฺทจาโร วัดจุฬา จ.สมุทรสงคราม
    11.พระครูพิบูลธรรมทัศน์ (หลวงพ่อแสวง ธมฺมวโร) วัดโพธิ์แดน จ.พิตจิตร
    12.พระครูภาวนาชยานุสิฐ (พระอาจารย์สุริยันต์ โฆสปญฺโญ) วัดป่าวังน้ำเย็น จ.มหาสารคาม
    13.พระครูปลัดธรรมานุวัตร (หลวงพ่อช้าง เตชปญฺโญ)วัดจุกเฌอ จ.ฉะเชิงเทรา
    14.หลวงปู่ฝั้น ปสาโท วัดศรีถมอรัตน์ จ.เพชรบูรณ์
    15.พระครูสังฆรักษ์กฤษณะ กฤษณภทฺโทวัดบางชัน จ.กรุงเทพ
    16.พระครูวินัยธรณัฏฐาสันต์ สิทฺธิญาโณ วัดยางใหญ่ จ.นครศรีธรรมราช
    17.พระครูสมุห์ตะวัน อิทฺธิโชโต วัดน้อมประชาสรรค์ จ.อยุธยา
    18.ครูบากฤษดา สุเมโธ วัดป่ายาง (สันพระเจ้าแดง) จ.ลำพูน
    19.ครูบาน้อย ญาณวิไชย วัดถ้ำเขต จ.น่าน
    20.ครูบาเกียรติยศ พรหมปญฺโญ วัดบ้านแก่น จ.ลำปาง




    สภาพสวยเดิมๆจากวัด พิมพ์สวยคมชัดลึก พุทธศิลป์สวยงาม มวลสารและพิธีสุดยอดมาก พระดีมีคุณค่าน่าบูชาสะสมมาก เก่าเก็บไม่ได้ใช้ พุทธคุณดีทุกทาง แบ่งให้บูชา 234 บาท (พร้อมจัดส่ง EMS อย่างดีครับ)

    คุณวิทมน สุ่มเกิด ธ.กรุงไทย สาขาเทสโก้โลตัสอุตรดิตถ์ เลขที่ 6000088418
    โทร.086-0441367, Engineer0206nu@gmail.com
    *** ขอขอบพระคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม และอุดหนุนผมครับ ***
     
  2. ศิษย์ปิยธโร

    ศิษย์ปิยธโร อายุ วรรณโณ สุขัง พลัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    15,159
    ค่าพลัง:
    +14,319
    3841.ยอดของดีเมืองแปดริ้ว(คัดสวย๑) พระผงสมเด็จพระพิชิตไพรี
    มหาพิธี ลป.ทิม,ลป.สี,ลป.ขาว,ลพ.พรหม,ลป.โต๊ะ ร่วมประจุพลังตลอดคืน

    คลิ้กเพื่อชมรูปใหญ่ครับ
    -72b5c3278f0bc5ed.jpg

    image-8557_589196f1-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg

    image-b163_5889fddd-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg
    get_auc1_img48a149b70af7a7de.jpg

    พระผงสมเด็จพิชิตไพรี หลังยันต์บัว มรรค8 ชุดบรรจุกรุที่วัดโนนค่าง วัดท่าเกวียน จังหวัดฉะเชิงเทรา เนื้อผงวิเศษ ผสมผงพุทธคุณทั้ง 5, ผงเกสรดอกไม้ 108 ชนิด, ผงพรายกุมารหลวงปู่ทิม อิสริโก วัดละหารไร่, พลอยเสก เป็นต้น ดำเนินการจัดสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2514 โดยมูลนิธิธรรมรัช(โคราช) เป็นพระร่วมพิธีพุทธาภิเษกไม่มีในรายการจอง เมื่อประกอบพิธีแล้วเสร็จส่วนหนึ่งมอบให้วัดท่าเกวียน ส่วนหนึ่งแจกแก่ญาติโยม และส่วนหนึ่งนำไปบรรจุกรุที่วัดโนนค่าง จังหวัดนครราชสีมา ส่วนการแยกแยะก็คือ ถ้าพระบรรจุกรุที่วัดโนนค่า จะมีคราบกรุผิวฟองเต้าหู้หรือคราบดิน ส่วน พระที่ไม่บรรจุกรุพิมพ์จะคมชัด(เพราะไม่มีคราบกรุปกคลุม) เนื้อผงน้ำมันชัดเจน ผิวจะสวยๆสะอาดๆ

    *** เมื่อก่อนหาว่าข้อมูลคลุมเครือไม่อยากจะเก็บ ตอนนี้ข้อมูลชัดเจนนะครับ เก็บกันไว้บ้างนะครับตอนนี้พระเพิ่งกระจายออกมา เดี๋ยวตอนแพงๆแล้วจะมาหาเก็บกันทีหลังจะไม่ทันเอานะครับ ***


    มี 2พิมพ์ คือ

    1.พระผงสมเด็จพระพิชิตมาร หลังยันต์ห้า
    2.พระผงสมเด็จพิชิตไพรี หลังยันต์บัว มรรค8



    วาระพิธีมหาพุทธาภิเษก

    - พิธีมหาพุทธาภิเษก ได้ให้ฤกษ์ยามโดย พระอาจารย์ไสว วัดราชนัดดารามวรวิหาร ในวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ.2514 ซึ่งตรงกับวันพฤหัสบดี แรม 7 ค่ำ เดือน 4 ปีกุน จุลศักราช 1332 เวลา 18.05 น. อันเป็นฤกษ์จุดเทียนชัย โดยสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช วัดมกุฏกษัตริยาราม เวลา 19.30 เริ่มพิธีพุทธาภิเษกตลอดคืน

    รายนามพระคณาจารย์นั่งปรกปลุกเสก พิธีพุทธาภิเษก 108 รูป อาทิ

    1. พระพุทธมนต์วราจารย์ วัดสุทัศน์ ฯ กทม.
    2. หลวงพ่อนรรัตน์ วัดเทพศิรินทร์ ฯ กทม. ( มรณภาพก่อนวันงาน)
    3. พระรักขิตวันมุนี (ลพ.ถิร) วัดป่าเลไลย์ สุพรรณบุรี
    4. พระราชพุทธิรังสี วัดโสธร ฉะเชิงเทรา
    5. พระราชสุทธาจารย์ วัดวชิราลงกรณ์ กทม.
    6. พระครูปัญญาโชติวัฒน์(ลพ.เจริญ)วั ดทรงนพคุณ
    7. พระครูกาญจโนปมคุณ วัดลาดหญ้า
    8. พระครูสังฆรักษ์ (ลพ.สัมฤทธิ์) วัดอู่ทอง
    9. พระครูประภัศร์ธรรมาภรณ์ (ลพ.แต้ม) วัดพระลอย
    10.อาจารย์วิริยังค์ วัดธารมงคล
    11. อาจารย์สีนวล วัดทุ่งสาธิต
    12. พระครูพิชัยณรงค์ฤทธิ์ วัดสิตาราม กทม.
    13.หลวงพ่อเทียม วัดกษัตราธิราช กทม.
    14.อาจารย์ผ่องจินดา วัดจักรวรรดิราชาวาส กทม.
    15.หลวงพ่อเส่ง วัดกัลยา ณ มิตร กทม.
    16.หลวงพ่อบุตร วัดพรหมวิหาร เพชรบุรี
    17.หลวงพ่อเมือง วัดท่าแหน ลำปาง
    18.พระอาจารย์บำเรอ วัดปากน้ำภาษีเจริญ กทม.
    19. หลวงพ่อสา วัดราชนัดดาราม กทม.
    20. หลวงพ่อโด่ วัดนามะตูม ชลบุรี
    21. หลวงพ่อหอม วัดชากหมาก ระยอง
    22. หลวงพ่อผาง วัดอุดมคงคาคีรีเขตต์ ขอนแก่น
    23. หลวงพ่อขอม วัดโพธาราม สุพรรณบุรี
    24. หลวงพ่อเอีย วัดบ้านด่าน ปราจีนบุรี
    25. หลวงพ่อโต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี กทม.
    26. พระอธิการโต วัดบ้านกล้วย นครราชสีมา
    27. หลวงพ่อปลัดมิ วัดสิงห์ กทม.
    28. พระอาจารย์สนิท วัดลำบัวลอย นครนายก
    29. พระมหาเอี่ยม วัดราชนัดดาราม กทม.
    30. หลวงพ่อกก วัดดอนขมิ้น กาญจนบุรี
    31. พระครูประดิษฐ์ สุตาคม วัดสนามช้าง ฉะเชิงเทรา
    32. พระมหาอินทร์ วัดปากน้ำภาษีเจริญ กทม.
    33. หลวงพ่อทอง วัดก้อนแก้ว ฉะเชิงเทรา
    34. พระครูเฮง วัดนาเหล่ายก ฉะเชิงเทรา
    35. พระอาจารย์ไสว วัดลำมหาชัย ฉะเชิงเทรา
    36. พระอาจารย์สาย วัดซำป่าง่าม ฉะเชิงเทรา
    37. หลวงปู่คำมี ถ้ำคูหาสวรรค์ ลพบุรี
    38. หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ ระยอง
    39. หลวงพ่อพรหม วัดช่องแคนครสวรรค์
    40. หลวงปู่สี วัดถ้ำเขาบุญนาค นครสวรรค์
    41. หลวงปู่ศรี วัดสะแก อยุธยา
    42. หลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ เพชรบุรี
    43. หลวงพ่อสงฆ์วัดเจ้าศาลาลอย ชุมพร
    44. หลวงปู่เม้าวัดสี่เหลี่ยม บุรีรัมย์
    45. หลวงพ่อชื่น วัดมาบข่า ระยอง
    46. หลวงพ่อคร่ำ วัดวังหว้า ระยอง
    47. หลวงพ่อคงวัดวังสรรพรส จันทบุรี
    48. หลวงพ่อทบวัดชนแดน เพชรบูรณ์
    49. พระอาจารย์นำ แก้วจันทร์ วัดดอนศาลา นครศรีธรรมราช
    50. หลวงพ่อทิพย์ วัดโพธิ์ทอง บุรีรัมย์
    51. หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม นครปฐม
    52. หลวงพ่อมุมวัดปราสาทเยอเหนือ ร้อยเอ็ด
    53. หลวงพ่อแก้ว วัดช่องลม สมุทรสาคร
    54. หลวงพ่อสิม วัดถ้ำผาปล่อง เชียงใหม่
    55. พระอาจารย์วัน วัดถ้ำอภัยดำรงค์ธรรม สกลนคร
    56. หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง สิงห์บุรี
    57. หลวงปู่พริ้ง วัดโบสถ์โก่งธนู ลพบุรี
    58. หลวงพ่อแช่ม วัดดอนยายหอม นครปฐม
    59. หลวงพ่อทองอยู่ วัดใหม่หนองพะอง สมุทรสาคร
    60. หลวงพ่อกี๋ วัดหูช้าง นนทบุรี
    61. หลวงพ่อเต๋ คงทอง วัดสามง่าม นครปฐม
    62. หลวงปู่จันทร์ วัดศรีเทพฯ นครพนม
    63. หลวงปู่เพิ่มวัดกลางบางแก้ว นครปฐม
    64. หลวงพ่อเนื่องวัดจุฬามณี สมุทรสาคร
    65. หลวงปู่ธูป วัดแค กทม.
    66. หลวงพ่อคลิ้ง วัดถลุงทอง นครศรีธรรมราช
    67. หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ นครปฐม
    68. หลวงพ่อพรหม วัดขนอนเหนือ อยุธยา
    69. หลวงพ่อจันทร์ วัดทุ่งเฟื้อ นครศรีธรรมราช
    70. หลวงปู่แหวน วัดดอยแม่ปั๋ง เชียงใหม่ (อธิษฐานจิตมา)
    71. หลวงปู่ขาว วัดถ้ำกลองเพล อุดรธานี
    72. หลวงปู่หนู วัดทุ่งแหลม ราชบุรี
    73. หลวงพ่อนารถ วัดศรีโลหะราษฎร์บำรุง กาญจนบุรี
    74. หลวงพ่อมี วัดซำป่างาม ฉะเชิงเทรา
    75. หลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ อยุธยา
    76. ครูบาธรรมชัย วัดทุ่งหลวง เชียงใหม่
    77. หลวงพ่อหน่ายวัดบ้านแจ้ง อยุธยา
    78. ครูบาดวงดีวัดท่าจำปี เชียงใหม่
    79. หลวงพ่อโอด วัดจันเสน นครสวรรค์
    80. หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่ สุพรรณบุรี
    81. หลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่ นครราชสีมา
    82. หลวงพ่อเส็งวัดบางนา ปทุมธานี
    83. หลวงปู่เครื่อง วัดเทพสิงห์หาร อุดรธานี
    84. หลวงพ่อตาบ วัดมะขามเรียง สระบุรี
    85. หลวงพ่อไปล่ วัดดาวเรือง ปทุมธานี
    86. พระวิบูลเมธาจารย์ วัดดอนเจดีย์ สุพรรณบุรี
    87. หลวงพ่อเที่ยง วัดม่วงชุมกาญจนบุรี
    88. หลวงพ่อสายวัดจันทร์เจริญสุข สมุทรสงคราม
    89. พระครูไพศาลคณารักษ์ วัดไร่ขิง นครปฐม
    90. หลวงพ่อสีหมอก วัดเขาวังตะโก ชลบุรี
    91. พระครูศรีสัตตคุณ วัดสัตหีบ ชลบุรี
    92. หลวงปู่บุญทัน วัดประดู่ศรี ปราจีนบุรี
    93. พระวิสุทธาจารคุณ วัดเกาะหลัก ประจวบคีรีขันธ์
    94. พระอาจารย์สุบิน วัดถ้ำไก่แก้ว นครราชสีมา
    95. หลวงพ่อแดง วัดดอนยอ นครปฐม
    96. พระครูพิชัยณรงค์ฤทธิ์ วัดคอกหมู กทม.
    97. หลวงพ่อเพชร วัดดงยาง ฉะเชิงเทรา
    98. พระครูพิทักษ์เขมากร วัดท่าเกวียน ฉะเชิงเทรา
    99. หลวงพ่อเม็ด วัดบึงกระจับ ฉะเชิงเทรา
    100.หลวงพ่อผิว วัดหนองบัว ฉะเชิงเทรา
    101.หลวงพ่อเฮง วัดอ่าวสีเสียด ฉะเชิงเทรา
    102.หลวงพ่อสุด วัดกาหลงสมุทรสาคร
    103. หลวงปู่จันทร์ โฆสโก อุตรดิตถ์
    104. หลวงพ่ออินเทวดา วัดลาดท่าใหม่ จันทบุรี
    105. หลวงพ่อกลั่น วัดอินทาราม อ่างทอง
    106. ......................................................
    107. ......................................................
    108. .....................................................


    *** สูจิบัตรการสร้าง ชมได้ที่รูปที่แนบมาด้านล่างครับ ***

    รายละเอียดการพุทธาภิเศกที่ระบุไว้ และรายชื่อพระเกจิคณาจารย์บางส่วนที่เข้าร่วมพิธี รายชื่อพระเกจิคณาจารย์ที่ทางวัดได้นิมนต์มาปลุกเสกนั้น ในหนังสือประวัติการจัดสร้างจะมีลงไว้แค่ 37 รายชื่อ จากการค้นคว้าและสอบถามคนในพื้นที่
    ได้รายละเอียดในส่วนนี้คือ การนิมนต์พระเกจิในอดีตนั้นต้องใช้เวลาเป็นอย่างมาก บางรูปต้องใช้เวลาร่วมเดือน เนื่องจากการคมนาคมสัญจรในยุคนั้น ไม่ได้สะดวก
    สบายเหมือนในปัจจุบัน การเดินทางส่วนใหญ่จะใช้การเดินทางโดยทางน้ำ รถไฟ และ เดินเท้า ขนาดการนิมนต์พระในจังหวัดเดียวกันแต่ต่างอำเภอ ยังต้องใช้เวลา
    เป็นสัปดาห์ๆ ดังนั้นในหนังสือที่มีการจัดพิมพ์จึงยังไม่สามารถลงรายนามพระเกจิคณาจารย์ทั้งหมดได้ เนื่องจากกำลังอยู่ในระหว่างการนิมนต์อีกเป็นจำนวนมาก โดย
    ในพิธีพุทธิเศกนั้น มีพระเกจิคณาจารย์ 100 กว่ารูป เข้าร่วมในพิธีอันยิ่งใหญ่นี้ของวัดท่าเกวียน เมื่อปี พ.ศ.2514


    ส่วนข้อความนี้คัดลอกมาจากเว็ปพระ 8 ริ้ว

    รายนามพระคณาจารย์ที่มาร่วมพิธีพุทธาภิเษก ที่เห็นรายชื่ออยู่ในใบบอกบุญใบนี้ พึ่งจะมีรายชื่อพระคณาจารย์อยู่เพียง 36 รูป จะเห็นได้ว่า ในรายชื่อที่ 37 ระบุไว้ว่า
    "ยังมีพระอาจารย์ต่างๆที่ยังมิได้ลงรายชื่ิอ คณะกรรมการกำลังนิมนต์อยู่อีกมาก" นั่นเพราะว่าในใบบอกบุญใบนี้ ทางวัดได้ทำออกมาในช่วงแรกๆของการจัดสร้างวัตถุมงคล
    ซึ่งคงจะเป็นปลายปี 2513 ตามที่กล่าวไปแล้ว และได้นิมนต์พระคณาจารย์ไปแล้วบางส่วน (36 รูป) ในขณะที่ออกใบบอกบุญใบนี้ พระกับกรรมการวัดที่รับหน้าที่ไปนิมนต์
    พระคณาจารย์มาปลุกเสกวัตถุมงคลชุดนี้ ก็ยังอยู่ในระหว่างเดินทางออกนิมนต์พระคณาจารย์ โดยเดินทางไปในจังหวัดต่างๆทั่วทุกภาคของประเทศไทย
    เรียกว่ามีพระดังๆอยู่ตรงไหน ที่ไหน ไปหมด และนำรายนามพระคณาจารย์ที่รับนิมนต์กลับมาบอกทางวัดเป็นระยะๆ เพื่อให้ฝ่ายเตรียมการต้อนรับ จัดเตรียมการต้อนรับ
    ได้อย่างไม่ขาดตกบกพร่อง และเป็นเสมือนข่าวดีที่ทางวัดรอรับฟังข่าวอยู่ ตรงนี้ได้รับฟังจากคนเฒ่าคนแก่ ที่อยู่ร่วมในพิธีเล่าสู่ให้ฟังครับ (ลองไปสืบถามจากคนเฒ่าคนแก่
    ในท้องที่ตลาดพนมสารคามดูครับ จะพูดตรงกันแบบนี้จริงๆ) ส่วนหลวงพ่อนรรัตน์ (รายนามที่ 2) หรือเจ้าคุณนรฯ ตามที่เราเรียกกันในสมัยนี้ ท่านได้มรณภาพไปก่อนพิธี
    แต่ทางวัดได้เตรียมอาสนะที่นั่งไว้ให้ท่าน และกล่าวกันว่าท่านมาจริงๆ โดยผู้ที่ชงน้ำชาถวายพระนับจำนวนพระที่นั่งอยู่ในแต่ละแถวแล้วชงน้ำชามาถวายตามที่นับ
    ผลปรากฎว่าเหลือน้ำชา 1 ที่ ทำให้ผู้ที่ชงน้ำชาแปลกใจ และเมื่อสอบถามกันจนได้ความแล้วจึงเกิดความศรัทธาเจ้าคุณนรฯเป็นอย่างมาก ถึงกับเช่าวัตถุมงคลทุกชนิดของ
    ท่านเจ้านรฯเก็บไว้มากมาย

    รายนามพระคณาจารยที่ปรากฎในใบบอกบุญใบนี้ ยังคงมีเพียง 36 รูป ไม่ครบ 108 รูป แต่ได้มีผู้นำรายชื่อพระคณาจารย์จากเอกสารชิ้นอื่นไปเผยแพร่ไว้ในเว็บไซต์ต่างๆ
    มากมาย เมื่อเห็นครั้งแรกๆผมเองไม่ค่อยเชื่อ คิดว่าเป็นการโปรโมทพระ ประมาณนั้นเสียมากกว่า เพราะหลักฐานที่เห็นก็มักเป็นเพียงใบถ่ายเอกสาร กับการเล่าต่อๆกันมา
    เลยคิดว่าเป็นการโปรโมทพระซะละมั้ง แต่เมื่อมาเจอใบบอกบุญใบนี้ซึ่งเป็นตัวจริงเสียงจริง เลยทำท่าอยากจะเชื่อ แต่ก็ยังสงสัยอยู่ในเรื่องพระคณาจารย์ที่มาปลุกเสก
    แต่เมื่อเทียบเคียงรายชื่อพระคณาจารย์ดู ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ เพราะรายชื่อพระคณาจารย์ที่ทางวัดนิมนต์มาปลุกเสกไปตรงกับรายชื่อพระคณาจารย์ที่เอามาเผยแพร่ไว้ใน
    เว็บไซต์ต่าง ตรงกันหลายชื่อมากๆ (ในเว็บไซต์ต่างๆมีรายนามพระคณาจารย์ที่มีหลักฐานและพอจำได้อยู่ 89 รูป โดยข้อมูลระบุว่าได้ข้อมูลมาจากพระ จิรวัฒน์)
    ส่วนในใบบอกบุญที่พบเจอมา มีรายชื่อพระคณาจารย์อยู่ 36 รูป เมื่อคัดรายชื่อที่ซ้ำกันออกไป จะมีรายชื่อพระคณาจารย์รวมแล้ว 105 รูป ซึ่งคงขาดตกหายไปเพียง
    3 รายชื่อเท่านั้น ที่สำคัญอยู่ตรงนี้ครับ รายนามพระคณาจารย์ที่มาปลุกเสกในยุคนั้น ตอนนี้ได้กลายเป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังในระดับประเทศมากมายหลาย
    องค์ด้วยกัน ซึ่งในตอนนั้นท่านอาจมีชื่อเสียงโด่งดัง เพียงแค่ในระดับภาคเท่านั้น เพราะยุคนั้น สื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆไม่เฟื่องฟูเหมือนสมัยนี้

    ข้อมูลบางส่วนจากหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ :




    สภาพสวยเดิมคราบกรุหนาแน่น พิมพ์คมชัดลึก มีรอยกดไม่ติด หรือ รอยปริบ้างเล็กๆน้อยๆตามปกติของเนื้อผงน้ำมัน เจตนาการสร้างที่บริสุทธิ์, ครูบาอาจารย์อธิษฐานจิตเต็มเปี่ยม พุทธคุณเปี่ยมล้นประสบการณ์สูง แบ่งให้บูชา 456 บาท(พร้อมจัดส่ง EMS อย่างดีครับ)



    (คุณtana_kan จองแล้วครับ)




    คุณวิทมน สุ่มเกิด ธ.กรุงไทย สาขาเทสโก้โลตัสอุตรดิตถ์ เลขที่ 6000088418
    โทร.086-0441367, Engineer0206nu@gmail.com
    *** ขอขอบพระคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม และอุดหนุนผมครับ ***
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 กรกฎาคม 2024
  3. ศิษย์ปิยธโร

    ศิษย์ปิยธโร อายุ วรรณโณ สุขัง พลัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    15,159
    ค่าพลัง:
    +14,319
    3842.กลับร้ายกลายเป็นดีหนุนดวง อธิษฐานจิตโดยผู้มีบารมีใหญ่(๓)
    เหรียญเพชรกลับมหามงคล หลวงปู่ศรี วัดป่ากุง ศิษย์องค์สำคัญ ลป.มั่น,ลต.มหาบัว

    คลิ้กเพื่อชมรูปใหญ่ครับ
    lp-sri-258-jpg-jpg.jpg

    --53fbd777434dd7e4.jpg
    เหรียญเพชรกลับมหามงคล หลวงปู่ศรี มหาวีโร วัดป่ากุง จังหวัดร้อยเอ็ด เนื้อทองฝาบาตร ตอกโค้ด รันนัมเบอร์ ดำเนินการจัดสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2554 จัดสร้างถวายโดย นายสมศักดิ์ ขำทวีพรหม ผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด (ที่ระลึกสำหรับแจกเท่านั้น)

    *** ตัวเหรียญสามารถหมุนกลับด้านได้ ดั่งวิชาเพชรกลับ
    สำหรับแจก ไม่มีให้บูชา หายากไม่มีหมุนเวียน อยู่กับลูกศิษย์ภายในและระดับๆผู้ใหญ่



    ----------------------------------------------------


    ประวัติโดยย่อ หลวงปู่ศรี มหาวีโร วัดป่ากุง “พระเทพ วิสุทธิมงคล”

    มีนามเดิม ว่า ศรี ปักกะสีนัง เกิดเมื่อ วันที่ 3 พ.ค.2460 ตรงกับวันศุกร์ เดือนหก ปีมะเมีย ที่บ้านขามป้อม อ.วาปีปทุม จ.มหาสารคาม บิดา-มารดา ชื่อ นายอ่อนสีและนางทุม ปักกะสีนัง

    ในช่วงปฐมวัย เข้าศึกษาที่โรงเรียนประชาบาล วัดบ้านขามป้อม จบชั้นประถมปีที่ 6 และได้ขวนขวายเข้ามาเรียนต่อ ที่โรงเรียนสารคามพิทยาคม จนจบชั้นมัธยมปีที่ 3 เมื่อปี พ.ศ.2480 เข้ารับราชการเป็นครู

    ครั้นอายุ 28 ปี เข้าพิธีอุปสมบท ที่พัทธสีมาวัดราษฎร์รังสรรค์ บ้านป่ายาง อ.เมือง จ.ร้อยเอ็ด มีพระโพธิญาณมุนี (ดำ) เจ้าคณะจังหวัดร้อยเอ็ด (ธรรมยุต) เป็นอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาว่า มหาวีโร

    พ.ศ.2489 จาริกไปจำพรรษาที่วัดป่าแสนสำราญ อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี มีโอกาสศึกษาปฏิบัติธรรม เจริญวิปัสสนา กับท่านพระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม ซึ่งเป็นศิษย์ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ด้วยความเลื่อมใสศรัทธาในปฏิปทาของหลวงปู่มั่น บุรพาจารย์ใหญ่ ด้านวิปัสสนากรรมฐาน ซึ่งขณะนั้นอยู่ในช่วงปัจฉิมวัย พำนักอยู่ที่สำนักป่า บ้านหนองผือ ต.นาใน อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร

    ไปกราบนมัสการ และศึกษาธรรมกับหลวงปู่มั่น พร้อมทั้งอุปัฏฐากรับใช้ จนกระทั่งหลวงปู่มั่นถึงแก่มรณภาพ

    พ.ศ.2495 ร่วมสร้างวัดป่าหนองแซง โดยบัญชาของพระธรรมเจดีย์ (จูม พันธุโล) วัดโพธิสมภรณ์ อุดรธานี

    ออกจาริกห่างถิ่นมหาสารคาม ในปี พ.ศ.2496 จาริกมายังวัดป่ากุง ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่ เป็นผู้นำศรัทธาในการพัฒนาวัดป่ากุงให้รุ่งเรืองโดยลำดับ จนกลายเป็นวัดที่งามสง่า
    จำพรรษาที่วัดประชาคมวนาราม หรือวัดป่ากุง ตั้งแต่ปี พ.ศ.2507 เป็นต้นมา เป็นผู้นำในการสร้างคุณูปการ และสาธารณประโยชน์เป็นจำนวนมาก
    ที่เป็นงานยิ่งใหญ่ คือ การก่อสร้างพระมหาเจดีย์ชัยมงคล ที่วัดผาน้ำทิพย์ อ.หนองพอก จ.ร้อยเอ็ด ประดิษฐานตระหง่านตระการตา

    ลำดับสมณศักดิ์ พ.ศ.2528 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระอุดมสังวรวิสุทธิเถร
    วันที่ 12 ส.ค.2535 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ พระราชสังวรอุดม
    พ.ศ.2545 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นเทพฝ่ายวิปัสสนาธุระที่ พระเทพวิสุทธิมงคล

    ในยามเช้า ผู้คนจากบ้านไกลหลายถิ่น จะมารวมกันที่หน้าวัดประชาคมวนาราม เพื่อเตรียมถวายภัตตาหารบิณฑบาต เป็นโอกาสที่สาธุชนจะได้กราบนมัสการหลวงปู่ศรีอย่างใกล้ชิด
    การบิณฑบาต เป็นวัตรที่พระกัมมัฏฐานประพฤติปฏิบัติ หลวงปู่ศรีจะตื่นแต่ดึก ออกเดินไปรอบวัด จนถึงเวลาบิณฑบาต ทำให้มีสุขภาพพลานามัยแข็งแรงแม้จะมีอายุกว่า 90 ปีแล้ว
    หลังจากบิณฑบาตแล้ว สาธุชนจะร่วมกันถวายภัตตาหารแด่พระภิกษุสามเณร หลังจากนั้นจะได้รับฟังธรรมเทศนา

    มีพระวิปัสสนาจารย์ที่เป็นสหธรรมิกที่ถูกอัธยาศัย อาทิ หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน, หลวงปู่บัว สิริปุณโณ, พระอาจารย์ชา สุภัทโท ซึ่งพระคณาจารย์เหล่านี้เคยออกเดินธุดงค์บำเพ็ญ สมณธรรมด้วยกันทั้งสิ้น เป็นร่มโพธิ์สำหรับสาธุชนทุกคน มีเมตตาธรรมเสมอภาค

    ละสังขารด้วยอาการสงบ เมื่อวันที่ 16 ส.ค.2554 เวลา 05.33 น.
    สิริอายุ 94 ปี 3 เดือน 13 วัน พรรษา 65



    สภาพสวยเดิมเก่าเก็บไม่ได้ใช้ครับ พุทธคุณหายห่วง แบ่งให้บูชา 280 บาท (พร้อมจัดส่ง EMS อย่างดีครับ)




    (คุณพุทโธ ภควา จองแล้วครับ)




    คุณวิทมน สุ่มเกิด ธ.กรุงไทย สาขาเทสโก้โลตัสอุตรดิตถ์ เลขที่ 6000088418
    โทร.086-0441367, Engineer0206nu@gmail.com
    *** ขอขอบพระคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม และอุดหนุนผมครับ ***
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 มิถุนายน 2024
  4. พุทโธ ภควา

    พุทโธ ภควา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กันยายน 2009
    โพสต์:
    567
    ค่าพลัง:
    +1,772
    ขอจองครับ
     
  5. ศิษย์ปิยธโร

    ศิษย์ปิยธโร อายุ วรรณโณ สุขัง พลัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    15,159
    ค่าพลัง:
    +14,319
    3843.ของดียุคต้นๆ ของพระมหาโพธิสัตว์ ผู้เปี่ยมด้วยเมตตาบารมี
    พระสมเด็จรุ่นแรก หลวงพ่อไพบูลย์ สุมังคโล

    คลิ้กเพื่อชมรูปใหญ่ครับ
    --d8e63dbb294fe517.jpg

    ddd58ev-jpg-jpg.jpg
    พระสมเด็จ รุ่นแรก หลวงพ่อไพบูลย์ สุมังคโล ( พระพรหมวชิรคุณ ) วัดอนาลโยทิพยาราม จังหวัดพะเยา เนื้อผงพุทธคุณ ดำเนินการจัดสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ปี2537 เพื่อเป็นที่ระลึกเนื่องในโอกาสครบ 5รอบหลวงพ่อ



    อัตโนประวัติ ‘หลวงพ่อไพบูลย์ สุมังคโล’

    หลวงปู่ไพบูลย์ สุมังคโล ท่านมีปฏิปทาเป็นที่เคารพเลื่อมใสของชาวบ้านในเขตจังหวัดพะเยาและจังหวัดใกล้เคียง ท่านเป็นพระกัมมัฏฐาน มีความเคร่งครัดต่อการฝึกฝนวิปัสสนากรรมฐาน ด้วยกิตติศัพท์ แห่งคุณงามความดีที่ท่านได้ฟื้นฟูสภาพจากสำนักสงฆ์วิปัสสนาที่ไม่มีอะไรเลย จนกลายเป็นวัดที่โดดเด่น คือ วัดอนาลโยทิพยาราม จนเป็นที่นับถือเลื่อมใสของพุทธศาสนิกชนทั่วไป

    หลวงปู่ไพบูลย์ สุมังคโล ท่านมีนามเดิมว่า “ไพบูลย์ สิทธิ” เกิดเมื่อวันที่ ๓ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๗๗ เป็นบุตรของคหบดีชาวอำเภอเกาะคา

    โยมบิดา-มารดา ชื่อ นายกองแก้ว และ นางคำสิทธิ สมัยวัยเยาว์ ท่านก็ได้ประสบพบเห็นแต่สิ่งที่ชักจูงใจให้ใฝ่แต่การบุญ สิ่งที่ชวนให้พิจารณาทุกข์ของสัตว์โลกตลอดมา

    ในวัยเยาว์ ได้เข้าศึกษาที่โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์ จ.เชียงใหม่ เรียนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ ก่อนไปประกอบอาชีพหาเลี้ยงตน จนอายุ ๒๙ ปี จึงได้เข้าพิธีอุปสมบทที่วัดป่าสำราญนิวาส อ.เกาะคา จ.ลำปาง มี พระครูธรรมวิวัฒน์ วัดเชตวัน จังหวัดลำปางเป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาว่า “สุมังคโล” ซึ่งมีความหมายว่า “ผู้มีมงคลดีพร้อม“

    หลังจากที่หลวงพ่อได้จำพรรษาและศึกษาธรรมกับ “หลวงปู่หลวง กตปุญโญ” เจ้าอาวาสวัดป่าสำราญนิวาส จนเข้าถึงแก่นธรรมได้ระดับหนึ่งแล้ว ท่านจึงได้ขยายความเข้าใจเพิ่มเติมโดยการออกเดินธุดงค์ตามป่าเขาและตั้งใจทำความเพียรอย่างเด็ดเดี่ยว ท่านว่าเมื่อนั่งภาวนาและเกิดนิมิตผุดขึ้นมาในดวงจิต อย่าได้ตื่นเต้นคิดว่าตนเองเป็นผู้วิเศษ ให้มีสติคุมรู้เท่าทันและพิจารณาด้วยหลัก ๒ ประการ คือ

    ๑. ไตรลักษณ์ ได้แก่ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ทุกอย่างไม่เที่ยง ทุกสิ่งเป็นทุกข์ ทุกสิ่งไม่ใช่ตัวตน

    ๒. อริยสัจ ๔ ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค พิจารณาเหตุให้เกิดทุกข์ ธรรม เป็นเครื่องดับทุกข์และข้อปฏิบัติให้ถึงธรรมเป็นที่ดับทุกข์

    หลวงปู่ไพบูลย์ สุมังคโล ท่านว่า… “สิ่งที่จริง ก็รู้เอง สิ่งที่ไม่จริง ก็แยกแยะได้”
    เมื่อมีความก้าวหน้าจากการปฏิบัติธรรมแล้ว ได้ออกท่องธุดงค์ไปจำพรรษาในภาคอีสาน และกลับธุดงค์ขึ้นมาแถบป่าเขาในเขตเชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน เชียงราย

    พ.ศ.๒๕๑๓ หลวงปู่ไพบูลย์ สุมังคโล ได้มีโอกาสไปร่วมงานถวายเพลิงศพพระอาจารย์สม ที่ อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง และได้พบกับ พระอาจารย์ทอง ที่เดินทางมาจากวัดอโศการาม จ.สมุทรปราการ จึงได้ชักชวนหลวงพ่อไพบูลย์ออกเดินธุดงค์หาความวิเวกคณะของหลวงพ่อไพบูลย์ สุมังคโลท่านได้ผ่าน มาถึง จ.พะเยา ได้พักบำเพ็ญสมณธรรมอยู่วัดร้างและจำพรรษา ณ วัดร้างแห่งนี้ ชาวบ้านแถบนั้นได้มาทำบุญฟังเทศน์ เกิดความเลื่อมใสศรัทธา พากันอาราธนาให้ท่านอยู่ ช่วยบูรณะวัดร้างขึ้นใหม่ อยู่ช่วยปฏิสังขรณ์วัดร้าง จากสภาพวัดร้าง จนมีสภาพดีขึ้นตามลำดับ พร้อมกันนี้ได้ยื่นหนัง สือขอสร้างวัดไปยังกรมการศาสนา ได้รับอนุญาต ให้สร้างเป็นวัดในพระพุทธศาสนา มีนาม “วัดรัตนวนาราม“

    ต่อมาได้มี ชาวบ้านจากบ้านสันป่าม่วง บ้านสันบัวบก บ้านสันป่าบง เข้ามาอาราธนาท่านไปดูสถานที่สำคัญ บนดอยสูง ฝั่งกว๊านพะเยาด้านตะวันตก เพื่อสร้างเป็นสำนักสงฆ์ไว้เป็นที่บำเพ็ญกุศลของชาวบ้าน สำนักสงฆ์แห่งนี้ ในเวลาไม่นาน ได้รับการยกฐานะให้เป็นวัด ชื่อ “วัดอนาลโยทิพยาราม” โดยได้รับประกาศจากกระทรวงศึกษาธิการ อนุญาตให้เป็นวัดโดยสมบูรณ์ วันที่ ๒๐ มกราคม พ.ศ.๒๕๓๐

    ◎ ลำดับสมณศักดิ์
    พ.ศ.๒๕๑๗ เป็น พระครูปลัด ฐานานุกรมใน พระเทพวราภรณ์ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามฯ
    พ.ศ.๒๕๒๔ เป็น พระครูปลัดสัมพิพัฑฒญาณาจารย์ สัทธรรมปฏิภาณปริยัติโกศล โสภณอาจารวัตร มหาสังฆนายก ธรรมยุตติกดิลก สถาวีรกิจจการี ฐานานุกรมใน สมเด็จพระญาณสังวร วัดบวรนิเวศวิหาร
    ๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๓๒ เป็น พระราชาคณะชั้นสามัญยก ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ที่ พระปัญญาพิศาลเถร
    ๑๒ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๔๗ เป็น พระราชาคณะชั้นราช ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ที่ พระราชสังวรญาณ พิศาลพัฒนกิจ ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี
    ๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๑ เป็น พระราชาคณะชั้นเทพ ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ที่ พระเทพวิสุทธิญาณ ภาวนาวิธานปรีชา ศาสนภารธุราทร ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี
    ๒๘ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๒ เป็น พระราชาคณะชั้นธรรม ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ที่ พระธรรมวิสุทธิญาณ ภาวนาวิธานปรีชา ญาณธรรมปคุณ ไพบูลศาสนกิจจาทร ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี

    ◎ ผลงานด้านการพัฒนา
    พระธรรมวิสุทธิญาณ วิ. หรือ หลวงปู่ไพบูลย์ สุมังคโล เป็นผู้อุปถัมภ์ในการก่อสร้างพระบรมรูปรัชกาลที่ ๘ โรงพยาบาลอานันทมหิดล จ.ลพบุรี ท่านได้ช่วยจัดหาทุนจ้างครูไปสอนเด็กในถิ่นทุรกันดาร โรงเรียนบ้านภูเงิน อีกทั้งยังได้มอบทุนแก่คณะครูที่ปฏิบัติดีเด่นประจำปี และอุปถัมภ์ในการสร้างอุโบสถวัดป่าสำราญนิวาส
    พระธรรมวิสุทธิญาณ วิ. (หลวงปู่ไพบูลย์ สุมังคโล) ได้มอบทุนการศึกษา ให้แก่เด็กนักเรียนยากจนเป็นประจำทุกปีๆ ละ ๑,๐๐๐ ทุนๆ ละ ๑,๐๐๐ บาท ได้จัดสร้าง พระพุทธรูปสมัยเชียงแสน ทูลเกล้าฯถวาย สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ประดิษฐานประจำที่ว่าการอำเภอทุกอำเภอของจังหวัดเชียงราย เป็นต้น

    ◎ ผลงานด้านการศึกษา
    หลวงปู่ไพบูลย์ สุมังคโล ท่านได้ให้ความสำคัญด้านการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีเป็นอย่างยิ่ง ด้วยถือว่าเป็นรากแก้วสำคัญของพุทธศาสนา เพราะภาษาบาลีเป็นภาษาที่รักษาพระพุทธพจน์ไว้อย่างสมบูรณ์ที่สุด การศึกษาพระบาลี ดุจเป็นการได้เข้าเฝ้าพระบรมศาสดา และได้สดับฟังพระสัทธรรมจากเบื้องพระพักตร์ ยิ่งศึกษายิ่งเกิดกุศลบุญ
    หลวงปู่ไพบูลย์ สุมังคโล ท่านได้มอบหมายให้ท่านพระครูปลัดพิศิษฐ์ (ครูบาอั๋น) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสเป็นอาจารย์ใหญ่ บริหารจัดการ เปิดการเรียนการสอนเมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๕ จนถึงปัจจุบัน โดยมีนักเรียนผู้สอบพระปริยัติธรรมแผนกธรรมบาลี รวมประโยคต่างๆ จำนวน ๕๔ รูป และที่สำนักเรียนแห่งนี้ ส่งนักเรียนสอบครบทุกประโยค ตั้งแต่ประโยค ๑-๙
    พระธรรมวิสุทธิญาณ ได้รับเป็นประธานจัดสร้างวัดพระจอมเกล้าราชานุสรณ์ (เฉลิมพระเกียรติ ครบ ๒๐๐ ปี) ต.วิเชตนคร อ.แจ้ห่ม จ.ลำปาง เป็นวัดที่คณะกรรมการบริหารคณะธรรมยุต ได้อนุมัติให้สร้างขึ้นในปีมหามงคล

    วโรกาสคล้ายวันพระบรมราชสมภพ ครบ ๒๐๐ ปี เมื่อวันที่ ๑๘ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๔๗ แห่งรัชกาลที่ ๔ ผู้ทรงสถาปนาคณะสงฆ์ธรรมยุต เพื่อเป็นการประกาศพระเกียรติ คุณของพระองค์ให้แผ่ไพศาลและสนองพระคุณูปการและเป็นการแสดงกตัญญูกตเวทิตาธรรม อุทิศถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระองค์ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ

    หลวงปู่ไพบูลย์ สุมงฺคโล เป็นพระเถระที่มีปฏิปทา เป็นพระกัมมัฏฐานในสาย พระอาจารย์ใหญ่มั่น ภูริทัตโต เป็นที่เคารพเลื่อมใสของชาวบ้านในเขตจังหวัดพะเยาและจังหวัดใกล้เคียง ท่านมีความเคร่งครัดต่อการฝึกฝนวิปัสสนากรรมฐาน ด้วยกิตติศัพท์แห่งคุณงามความดีที่ท่านได้ฟื้นฟูสภาพจากสำนักสงฆ์วิปัสสนาที่ไม่มีอะไรเลย จนกลายเป็นวัดที่โดดเด่น คือ วัดอนาลโยทิพยาราม จนเป็นที่นับถือเลื่อมใสของพุทธศาสนิกชนทั่วไป
    แม้ทุกวันนี้ หลวงปู่ไพบูลย์ สุมังคโล วัดอนาลโยทิพยาราม จะดำรงตำแหน่งพระสังฆาธิการชั้นผู้ใหญ่ แต่วัตรปฏิบัติท่านยังคงเรียบง่ายดุจเดิม ยังคงให้การอบรมศีลธรรมแก่สาธุชนที่เข้ามาทำบุญฟังธรรม เน้นให้ประพฤติปฏิบัติตามหลักคำสอนของพระ พุทธศาสนา ตามหลักเบญจศีล เบญจธรรม เป็นข้อปฏิบัติพื้นฐานในการดำรงชีวิตให้เป็นปกติสุขในสังคม แม้สังขารเริ่มโรยราไปบ้างตามกาลเวลา แต่จิตใจของท่านยังเข้มแข็ง เป็นบุคคลต้นแบบในการดำเนินชีวิตที่ดีงามโดยแท้

    อนึ่ง “หลวงปู่หลวง กตปุญโญ” อดีตเจ้าอาวาสวัดป่าสำราญนิวาส ผู้เป็นพระอาจารย์ของหลวงพ่อไพบูลย์ ในสมัยที่หลวงปู่หลวงยังมีชีวิตอยู่ท่านเคยกล่าวยกย่อง หลวงพ่อไพบูลย์ไว้หลายประการ เช่น

    ๑. หลวงปู่ไพบูลย์ สุมังคโล เป็นพระที่เก่งนิมิตจากการปฏิบัติธรรม แม้แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๙) ท่านทรงโปรดให้พระอาจารย์ไพบูลย์แปลพระนิมิตที่เกิดจากการปฏิบัติธรรมของพระองค์บ่อยครั้ง

    ๒. หลวงปู่ไพบูลย์ สุมังคโล เป็นพระที่เปี่ยมด้วยจาคะเสียสละด้วยการให้ ไม่ว่าจะเป็นให้ (ทาน) ให้อภัย เป็นพระสุปฏิบัติที่ปรารถนาพระโพธิญาณในอนาคตกาล”

    ปัจจุบัน หลวงปู่ไพบูลย์ สุมังคโล ท่านได้มาพำนักจำพรรษาที่ “สำนักสงฆ์ดอยเทพนิมิตสุดเขตสยาม” ต.ห้วยเม็ง อ.เชียงของ จ.เชียงราย และยังดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค ๔-๕-๖-๗ (ธรรมยุต) และเจ้าอาวาสวัดอนาลโยทิพยาราม ต.สันป่าม่วง อ.เมือง จ.พะเยา
    นับได้ว่าองค์ท่านหลวงปู่ไพบูลย์ สุมังคโล ถือเป็นพ่อแม่ครูอาจารย์ ที่กราบไหว้บูชาได้อย่างสนิทใจในยุคปัจจุบันด้วยว่าเปี่ยมไปด้วยกระแสแห่งความเมตตา อันหาประมาณมิได้ต่อศิษยานุศิษย์ผู้คนทุกชนชั้น

    แม้ทุกวันนี้ หลวงปู่ไพบูลย์ สุมังคโล จะดำรงตำแหน่งพระสังฆาธิการชั้นผู้ใหญ่ แต่วัตรปฏิบัติท่านยังคงเรียบง่ายดุจเดิม ยังคงให้การอบรมศีลธรรมแก่สาธุชนที่เข้ามาทำบุญฟังธรรม เน้นให้ประพฤติปฏิบัติตามหลักคำสอนของพระ พุทธศาสนา ตามหลักเบญจศีล เบญจธรรม เป็นข้อปฏิบัติพื้นฐานในการดำรงชีวิตให้เป็นปกติสุขในสังคม แม้สังขารเริ่มโรยราไปบ้างตามกาลเวลา แต่จิตใจของท่านยังเข้มแข็ง เป็นบุคคลต้นแบบในการดำเนินชีวิตที่ดีงามโดยแท้

    เมื่อวันที่ ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๔ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดสถาปนา พระธรรมวิสุทธิญาณ ขึ้นเป็น พระราชาคณะเจ้าคณะรอง ในราชทินนามว่า “พระพรหมวชิรคุณ วิบูลประชาพัฒนาการ ภาวนาวิธานโกศล วิมลศาสนกิจดิลก สาธกธรรมวิจิตร ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี สถิต ณ วัดเทพนิมิตสุดเขตสยาม จังหวัดเชียงราย”

    ในพรรษาปีนี้ พ.ศ.๒๕๖๖ พระพรหมวชิรคุณ (หลวงปู่ไพบูลย์ สุมังคโล) ท่านพำนักจำพรรษาที่ วัดเทพนิมิตสุดเขตสยาม ต.เวียง อ.เชียงของ จ.เชียงราย

    ◉ มรณภาพ
    พระพรหมวชิรคุณ (หลวงปู่ไพบูลย์ สุมังคโล) ท่านได้ละสังขารด้วยอาการสงบ เมื่อเวลา ๑๗.๒๔ น. ตรงกับวันอังคารที่ ๒๖ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๖ ณ โรงพยาบาลกรุงเทพ สิริอายุรวมได้ ๘๙ ปี ๑ เดือน ๒๓ วัน



    สภาพสวยเดิมๆ พุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ พุทธคุณครอบครบ สมปรารถนา ดั่งอธิษฐานจิตเอาเถิด แบ่งให้บูชา 290 บาท (พร้อมจัดส่ง EMS อย่างดีครับ)



    (คุณจินดา จองแล้วครับ)




    คุณวิทมน สุ่มเกิด ธ.กรุงไทย สาขาเทสโก้โลตัสอุตรดิตถ์ เลขที่ 6000088418
    โทร.086-0441367, Engineer0206nu@gmail.com
    *** ขอขอบพระคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม และอุดหนุนผมครับ ***
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 มิถุนายน 2024
  6. ศิษย์ปิยธโร

    ศิษย์ปิยธโร อายุ วรรณโณ สุขัง พลัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    15,159
    ค่าพลัง:
    +14,319
    3844.พระผู้มีชัยชนะเหนือหมู่มารทั้ง3โลก (๑) เหรียญหลวงพ่อวิชิตมาร
    ลพ.สวัสดิ์,ลพ.รวย,ลพ.เพิ่ม,ลป.นาม,ลพ.อุดม ร่วมประจุพลัง


    คลิ้กเพื่อชมรูปใหญ่ครับ
    20190226fc276ab6a4002875d935bc30cd56d089160712.jpg

    -4a3498a83a8b7d86.jpg
    เหรียญหลวงพ่อพระพุทธนิมิตวิชิตมารโมลีศรีสรรเพชญบรมไตรโลกนาถ รุ่นครบ 99ปีก่อตั้งธนาคารออมสิน วัดหน้าพระเมรุฯ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เนื้อทองแดงผิวไฟ ดำเนินการจัดสร้างเมื่อปีพ.ศ.2554 สร้างเป็นที่ระลึกงานทอดกฐินพระราชทาน ณ วัดหน้าพระเมรุฯ

    *** หลวงพ่อศักดิ์สิทธิ์มาก มีโอกาสขอแนะนำให้ไปกราบท่านนะครับ เชื่อผมครับ ***


    พิธีพุทธาภิเษก
    ประกอบพิธีพุทธาภิเษกอย่างยิ่งใหญ่ ณ มณฑลพิธีวัดหน้าพระเมรุฯ โดยมีพระเกจิอาจารย์แห่งยุคร่วมนั่งปรกปลุกเสกจำนวนมาก อาทิ
    - หลวงปู่สวัสดิ์ วัดศาลาปูน
    - หลวงพ่อรวย วัดตะโก
    - หลวงพ่อเพิ่ม วัดป้อมแก้ว
    - หลวงพ่อพูน วัดบ้านแพน
    - หลวงพ่อเฉลิม วัดพระญาติฯ
    - หลวงพ่อเอียด วัดไผ่ล้อม
    - หลวงพ่ออุดม วัดพิชัยสงคราม
    - หลวงพ่อหวล วัดพุทไธสวรรค์
    - หลวงพ่อหล่อ วัดโปรดสัตว์
    - หลวงพ่อทองหล่อ วัดพรหมรังษี
    - หลวงพ่อประจวบ วัดระฆัง
    - หลวงพ่อแวว วัดพนัญเชิง
    - หลวงพ่อทองย้อย วัดศรีบุรีรัตนาราม
    - หลวงปู่นาม วัดน้อยชมภู เป็นต้น


    วัดหน้าพระเมรุราชิการามวรวิหาร วัดในอยุธยาที่ไม่ถูกพม่าเผาทำลาย ตั้งอยู่นอกเกาะเมือง ไม่ไกลจากวัดเชิงท่าและพระราชวังโบราณ สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น จากอดีตถึงปัจจุบันยังคงปรากฏสถาปัตยกรรมแบบอยุธยาในสภาพสมบูรณ์ โดยเฉพาะพระอุโบสถ ที่มีหน้าบันเป็นไม้สักแกะสลักรูปพระนารายณ์ทรงครุฑเหยียบเศียรนาค ภายในประดิษฐานพระพุทธนิมิต พระพุทธรูปปางมารวิชัยหล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ ทรงเครื่องแบบกษัตราธิราช เชื่อกันว่าเป็นพระผู้มีชัยชนะเหนือหมู่มาร ทั้ง 3 โลก เป็นหนึ่งในจุดหมายในการไปไหว้พระอยุธยาที่คนนิยมลอดซุ้มประตูหน้าบันเพื่อแก้เคราะห์และขอพรในเรื่องต่าง ๆ

    หลวงพ่อพระพุทธนิมิตฯ(พระพุทธนิมิตวิชิตมารโมลีศรีสรรค์เพชรบรมไตรโลกนาถ)
    เป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องที่มีพุทธลักษณะงดงามมากทั้งเป็นที่เคารพบูชาของชาวเมืองอยุธยาและพุทธศาสนิกชนทั่วประเทศ ด้วยอภินิหารความศักดิ์สิทธิ์ขององค์หลวงพ่อพระพุทธนิมิตฯ ทำให้วัดหน้าพระเมรุเป็นวัดที่ไม่ถูกกองทัพพม่าเผาทำลาย ว่ากันว่ากองทัพพม่าได้ตั้งทัพอยู่ภายในบริเวณวัดและหันปากกระบอกปืนใหญ่ยิงเข้าใส่พระราชวัง โดยมีพระเจ้าอะลองพญา แม่ทัพพม่าเป็นผู้บัญชาการด้วยตัวเอง แต่ด้วยความศักดิ์สิทธิ์แห่งองค์หลวงพ่อพุทธนิมิตฯ ทำให้ปืนใหญ่ที่พระเจ้าอะลองพญาเป็นผู้จุดชนวนเกิดระเบิด เป็นเหตุให้พระเจ้าอะลองพญาสิ้นพระชนม์จนต้องถอยทัพกลับพม่า เรื่องราวนี้มีบันทึกเป็นพงศาวดารอยู่ภายในวัดฯ


    พระพุทธนิมิตอันศักดิ์สิทธิ์ ขอพรให้สมหวังดังใจคิด

    นะโม ๓ จบ
    พุทธนิมิตตัง อหังวันทา ขมามิหัง
    พุทธนิมิตตัง สหัสสะโกติเทวตานัง
    พุทธนิมิตตัง สาธุ รูปานัง
    อิติสุคะโต อะระหังพุทโธ นะโมพุทธายะ
    ปฐวีคงคา พระภูมะเทวา ขมามิหัง




    สภาพสวยผิวไฟเดิมๆ พุทธคุณ อำนวยลาภผลโภคทรัพย์ตามสมควร ปกปักรักษาให้บ้านเรือนร่มเย็นเป็นสุข มีความเจริญรุ่งเรือง และป้องกันภยันตรายสิ่งไม่ดีไม่งามต่างๆ แลสิริมงคลสูงสุด แบ่งให้บูชา 222 บาท (พร้อมจัดส่ง EMS อย่างดีครับ)



    (คุณธนกฤต จองแล้วครับ)




    คุณวิทมน สุ่มเกิด ธ.กรุงไทย สาขาเทสโก้โลตัสอุตรดิตถ์ เลขที่ 6000088418
    โทร.086-0441367, Engineer0206nu@gmail.com

    *** ขอขอบพระคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม และอุดหนุนผมครับ ***
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 มิถุนายน 2024
  7. ศิษย์ปิยธโร

    ศิษย์ปิยธโร อายุ วรรณโณ สุขัง พลัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    15,159
    ค่าพลัง:
    +14,319
    3845.Full option พระผงรูปเหมือนหลวงปู่ศรีจันทร์ รุ่นพิเศษล้างอาถรรพณ์
    ลป.หมุน,ลป.ทองดำ,ลป.จ้อย ร่วมเศกมหาพิธีของศตวรรษที่21

    คลิ้กเพื่อชมรูปใหญ่ครับ
    -b364d10f26c223d6.jpg

    6evr-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg
    6t4r-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg

    พระผงรูปเหมือน หลวงปู่ศรีจันทร์ วัณณาโภ รุ่นพิเศษล้างอาถรรพณ์ หลังประทับยันต์ประจำองค์ พิเศษบรรจุพระธาตุ+ฝังตะกรุดทองฝาบาตร เนื้อผงดำล้างอาถรรพณ์ วัดหลักเมืองพัฒนาราม บ้านรองกอก หล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ จัดสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2541

    หลวงปู่ศรีจันทร์ วัณณาโก วัดศรีสุทธาวาส (วัดเลยหลง)
    ท่านเป็นลูกศิษย์ของพระเถระแห่งยุคเก่าหลายรูป อาทิ
    - สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์(ม.ร.ว.ชื่น สุจิตฺโต นพวงศ์)
    - สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ติสสเถร(อ้วน ติสฺโส) วัดบรมนิวาส กรุงเทพฯ
    - หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต เป็นต้น

    นามเดิม ศรีจันทร์ จันทิหล้า เกิดเมื่อวันพุธ ขึ้น 13 ค่ำ เดือนยี่ ปีมะโรง ซึ่งตรงกับวันที่ 18 มกราคม 2447 เกิด ณ บ้านฟากเลย ตำบลวังสะพุง อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย

    : บรรพชาเป็นสามเณร เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2461 ณ วัดศรีชมชื่น ตำบลวังสะพุง อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย โดยมี พระครูหวาด เป็นพระอุปัชฌาย์ ขณะนั้นท่านมีอายุได้ 15 ปีเต็ม เนื่องจากได้บวชเป็นสามเณรแล้ว ท่านมีจิตใจรักในทางศึกษามากอยู่แล้ว ท่านจึงเข้าศึกษาทางด้านพระปริยัติธรรม

    ท่านจึงได้ออกเดินทางมาอยู่จำพรรษาที่กรุงเทพฯ และได้พำนักที่วัดสัมพันธวงศ์
    ภายหลังท่านได้รับความเมตตาอันสูงสุดให้ได้แปรญัตติเป็นสามเณรฝ่ายธรรมยุต
    เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2462 โดยได้รับพระเมตตาจากพระเดชพระคุณ สมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงวชิรญาณวงศ์ (ม.ร.ว.ชื่น สุจิตฺโต นพวงศ์) เป็นพระอุปัชฌาย์อาจารย์ พระมหารัชมังคลาจารย์เป็นพระกรรมวาจาจารย์

    : อุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2467 ณ วัดสัมพันธวงศ์ แขวงสัมพันธวงศ์ เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพฯ โดยมี สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ (ม.ร.ว.ชื่น นภวงศ์ สุจิตฺโต) วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นพระอุปัชฌาย์อาจารย์ พระมหารัชชมังคลาจารย์ (เทศ นิทฺเทสโก) เป็นพระกรรมวาจาจารย์

    ภายหลังจากอุปสมบทเป็นพระภิกษุสงฆ์ เจริญข้อวัตรพระธรรมวินัย ตามแบบฉบับท่านผู้รู้ทั้งหลาย อันเป็นเกียรติประวัติแก่ท่านในกาลต่อมาแล้ว หลวงปู่ศรีจันทร์ ท่านได้มีความพยายามที่จะศึกษา หาความรู้แก่ตนเองได้มากขึ้น ในพรรษาปี 2467 หลวงปู่ศรีจันทร์ วณฺณาโภ ท่านได้พยายามศึกษา พระธรรมวินัยอย่างยิ่งยวดไม่ปล่อยเวลาไปโดยเปล่าประโยชน์ ท่านได้ใช้เวลาส่วนมากทุ่มเทให้แก่การศึกษา ท่านพยายามสนองพระเดชพระคุณของพระอุปัชฌาย์อาจารย์ ที่พระเดชพระคุณเมตตา พึงหวังในตัวของท่านไว้ ความพยายามที่เกิดจากกำลังใจที่ครูบาอาจารย์คอยส่งเสริมท่านนี้ เป็นผลสำเร็จอย่างง่ายดายในปีเดียวกันคือ หลวงปู่ศรีจันทร์ วณฺณาโภ สามารถสอบนักธรรมชั้นเอก ในสนามหลวงได้เมื่อปี 2467 นั่นเอง หลวงปู่ศรีจันทร์ สมัยอยู่จำพรรษาที่วัดสัมพันธวงศ์ กรุงเทพฯ แม้ว่าท่านจะมีการศึกษาทางด้านพระปริยัติธรรม แต่ส่วนลึกของจิตใจท่านในยามนั้น หลวงปู่มีความสนใจประพฤติปฏิบัติภาวนาธรรมมาก และท่านได้เริ่มต้นปฏิบัติทางด้านพระกรรมฐาน ที่วัดสัมพันธวงศ์อีกด้วย สามารถกระทำควบคู่กันไปอย่างได้ผล และมีความชำนาญในสมาธิภาวนามาก

    ท่านได้ถือข้อวัตรไว้อย่างเคร่งครัด เช่น ฉันในบาตร ฉันหนเดียว รักษาความสันโดษ ไม่ชอบคลุกคลีกับหมู่คณะ ถ้าแม้ยามใดว่างจากภารกิจอื่นแล้ว หลวงปู่ศรีจันทร์จะเข้าที่บำเพ็ญเพียร ภาวนาทันที ดังนั้นก่อนที่จะหันเข้าไปอบรมอยู่กับหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต นั้น หลวงปู่ศรีจันทร์ พอมีความเข้าใจในการปฏิบัติมาบ้างแล้วในช่วงแรกๆ อย่างไรก็ตาม หลวงปู่ศรีจันทร์ได้ศึกษา มาเป็นตัวหนังสือในข้อธุดงควัตรขณะศึกษาปริยัติธรรม แต่ท่านถือหลักที่ว่ามีความเชื่อธรรม คำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้า หลวงปู่ศรีจันทร์จึงพิสูจน์และมีความรู้จริงดังการที่ได้พิสูจน์มาแล้วนั้น หลวงปู่ศรีจันทร์ วณฺณาโภ สมัยเป็นพระมหาได้เทียบด้วยสติปัญญาแล้วว่า "เป็นสถานที่ที่ควรตั้งมหาวิทยาลัย และเป็นวิชาที่ควรบรรจุเข้าในหลักสูตรมหาวิทยาลัยทางโลก

    หลวงปู่ศรีจันทร์ วณฺณาโภ ภายหลังจากได้รับอุบายธรรมปฏิบัติจากหลวงปู่มั่นแล้ว ท่านก็มิได้นิ่งนอนใจ หลวงปู่ศรีจันทร์ รีบออกขวนขวายหาทางปฏิบัติธรรมในป่าดงพงไพรต่อไป หลวงปู่ได้เคยออกเดินธุดงค์ โดยไปอาศัยตามป่าภูเขาเงื้อมผาบุกไปตามป่าดงดิบต่างๆ หลายหนหลายแห่งเพื่อบำเพ็ญเพียรภาวนาธรรม หลวงปู่ศรีจันทร์ ได้ถือกำลังใจดำเนินตนไปด้วยความสะดวกราบรื่นไม่ขลุกขลัก ขึ้นชื่อว่ากิเลสแล้วไม่ว่าชนิดใดมากน้อยเพียงใด มันต้องแสดงตัวเป็นข้าศึกของเราตลอดเวลา มันจะสำแดงฤทธิ์เดชของมันให้เห็นอยู่เสมอ ดังนั้น การออกเดินธุดงค์เพื่อขัดเกลามันออกจากจิตใจนี้ หลวงปู่ศรีจันทร์ มีความมานะอดทนเป็นอย่างยิ่ง ท่านเป็นพระนักต่อสู้เป็นนักปฏิบัติธรรม จึงถือว่ากิเลสเป็นข้าศึกแก่ตัวของท่านเอง และเป็นกองทุกข์ที่จะเกิดขึ้นแก่มนุษย์ทุกคน ท่านจึงย่อมไม่นิ่งนอนใจที่จะเลี้ยงกิเลสไว้ ท่านกลับเห็นเสียว่า "ถ้าได้ทำลายเสียให้สิ้นซากลงไปในขณะนี้ ก็จะเป็นที่พอใจอย่างยิ่ง ประเสริฐกว่าจะเลี้ยงไว้ทำพิษแก่ตนเองในภายหลัง หรือในวันอื่นต่อไป

    มรณกาล
    นับเป็นพระสุปฎิปันโนที่เป็นที่เคารพสักการะของชาวเมืองเลย ด้วยคุณความดีที่ท่านได้กระทำตลอดทั้งชีวิต หลวงปู่ศรีจันทร์ได้มรณภาพด้วยโรคตับวาย ไตวาย และหัวใจล้มเหลว วันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2540 สิริรวมอายุได้ 93 ปี พรรษา 73


    มวลสารหลักที่ใช้ในการจัดสร้าง ผงมหาจักรพรรดิ
    ธาตุเหล็กไหล พระธาตุ 500 อรหันต์ พระธาตุข้าว พระธาตุ 500 อรหันต์ พระธาตุข้าว หงอนพญานาค แก้วขนเหล็ก เพชรหน้าทั่ง ผงเหล็กไหลฤาษี ผงเหล็กไหลเงินยวง ผงเหล็กไหลตาแรด โคตรเหล็กไหลสีเงินยวง ขี้เหล็กไหล เหล็กย้อย เหล็กทรหด หยกพันปี แร่บางไผ่ ผงธนบัตรเก่า ผงตะไบเหล็กน้ำพี้ (ถลุงแล้ว) แร่เหล็กน้ำพี้ไหลเพชรดำ ขมิ้นหินหมื่นปี ข้าวตอกพระร่วง แก่นไม้สักหินอายุ 160 ล้านปี ลูกมณีโคตร คดกะลา กะลาตาเดียว กะลาไม่มีตา (กะลามหาอุด) มะพร้าวลูกกรอก กัลปังหาดิน ดินโป่ง ดินกลางใจเมือง และน้ำจากศาลหลักเมือง 76 จังหวัด ตะกรุดข้าวสารหิน คดหอย ทรายเสก ผงพระครูเทพโลกอุดร ผงหลวงปู่ดู่ วัดสะแก ผงหลวงปู่แหวน ผงจิตรลดา ผงพระปิลันทน์ ผงพระตุ๊กตาวัดพลับ ผงหลวงปู่ทิมวัดระหารไร่ ผงหลวงพ่อแก้ววัดเครือวัลย์ แป้งเสกหลวงปู่อยู่วัดไทรโยง ผงว่านหลวงพ่อเมี้ยนวัดโพธิ์กบเจา เศษพระหักหลวงพ่อมีวัดมารวิชัย เศษพระหักหลวงปู่คำพันธ์วัดธาตุมหาชัย และวัดต่าง ๆ อีกมากมาย เขากวางคุด น้ำมันมนต์หลวงพ่อเมี้ยนวัดโพธิ์กบเจา ชานหมากเสกหลวงพ่อดำวัดท่าทอง ดินวิเศษสีเหลือง สมุนไพร 300 กว่าชนิด น้ำมนต์ 100 ตุ่ม หลวงปู่หงส์วัดเพชรบุรี ดินวิเศษสีเขียว แร่เงิน แร่ทอง แร่นาค ผงธูปสมเด็จโตวัดระฆัง ผงธูปวัดเกศไชโย ผงธูปหลวงปู่ทวดวัดช้างให้ ผงธูปหลวงพ่อแช่มวัดท่าฉลอม ผงธูปหลวงพ่อจรัญวัดอัมพวัน แม่ลิ้มกอเนี่ย ผงธูปศาลเจ้าพ่อเสือ ผงธูปวัดเล่งเน่ยยี่ ผงธูปวัดไต๋ฮงกง พระบรมสารีริกธาตุ หินพระธาตุเขา 300 ยอด พระธาตุสิวลีสีขาว พระธาตุสิวลีสีทอง พระธาตุแก้วขวานฟ้าผ่าเนื้อหิน 16 อัน ข้าวสารหินหมื่นปี ข้าวสารดำพันปี ผงมณีรัตนะ โคตรเหล็กไหล (สีดำเงา) แร่เกาะล้าน เหล็กย้อย ลูกมณีโคตร อุกามณี (สะเก็ดดาว) ไม้กลายเป็นหิน ดอกไม้หิน เพชรน้ำค้าง หินเขี้ยวหนุมาน ขมิ้นขาวเปลือกหอย 75 ล้านปี ไม้งิ้วดำ คดปลวก ลูกธนูคนธรรพ์ แร่ทรายเงิน แร่ทรายทอง ผงงาช้าง งาช้างตายพราย งาช้างกระเด็น งาช้างกระดอน ผงเพชรแท้ เศษพลอยเมืองจันทร์ ผงเก่า วัดระฆัง ผงสร้างพระหลวงพ่อคูณวัดบ้านไร่ ผงสร้างพระหลวงพ่อแพวัดพิกุลทอง ผงสร้างพระหลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ ผงสร้างพระหลวงพ่อคงวัดบางกระพ้อม ผงสร้างพระหลวงปู่นิลวัดครบุรี ผงสร้างพระหลวงพ่อยิด วัดหนองจอก ผงสร้างพระหลวงพ่อเชิญวัดโคกทอง ผงสร้างพระหลวงปู่คำพันธ์วัดธาตุมหาชัย ผงสร้างพระ หลวงพ่อเกษมเขมโกสุสานไตรลักษณ์ ผงสร้างพระอาจารย์ต่าง ๆ อีก 300 กว่ารูป (ซึ่งไม่สามารถลงหมดได้) เศษพระหักของวัดระฆัง เศษพระหักวัดปากน้ำ พระเครื่องเก่าที่ชำรุดอีกเป็นจำนวนมาก ผงตะไบพระกริ่งเนื้อนวะวัดสุทัศน์ ชานหมากหลวงปู่นิลวัดครบุรี ชานหมากหลวงพ่อเมี้ยนวัดโพธิ์กบเจา แป้งเสกหลวงปู่บุดดา ผงยาจินดามณีหลวงปู่บุญวัดกลางบางแก้ว ผงจินดามณีหลวงปู่เพิ่มวัดกลางบางแก้ว น้ำมันงาเสกหลวงพ่อคงวัดเขาสมโภชน์ น้ำมันงาเสกแร่บางไผ่ น้ำมันมนต์ไพรดำ น้ำมันมนต์จากคณาจารย์ต่าง ๆ และศาลหลักเมืองทั่วประเทศ ดินกากยายักษ์ ดินพระแม่ธรณี ดินวิเศษสีขาว ดอกไผ่ 70 ปี ว่าน 108 เกสร 108 สมุนไพร 108 ผงยันต์ 108 ผงอิทธิเจ ผงปถมัง ผงมหาราช ผงตรีนิสิงเห ผงนรหรคุณ แร่อาถรรพณ์ภูเขาควายประเทศลาว ผงฤาษีผสมแล้ว ผงศักดิ์สิทธิ์จากถ้ำละว้า ผงศักดิ์สิทธิ์จากถ้ำม้าร้อง ผงศักดิ์สิทธิ์จากถ้ำไก่หล่น ผงศักดิ์สิทธิ์จากถ้ำเนินมะปรางค์ ผงใบลานคัมภีร์คาถาต่าง ๆ ผงเก่าสมัยอยุธยา ผงเก่าสมัยทวาราวดี ใบเสมาศิลาแลงสมัยอยุธยา ผงเก่าที่อยู่ในไหขุดได้ที่ จากวัดร้างอายุหลายร้อยปี ทองคำเปลวจากสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ทั่วประเทศ ตะไคร่โบสถ์ ตะไคร่วิหาร ตะไคร่พระปรางค์สามยอด ตะไคร่กำแพงเมืองเก่า ดินจากเนินดินพระอรหันต์ ดินจากสถานที่ประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน และสถานที่ปฐมเทศนาจากประเทศอินเดีย (ดินสังเวชนียสถานทั้ง 4 แห่ง) กระเบื้องโบสถ์และวิหารหลวงพ่อโสธร กระเบื้องโบสถ์และวิหารหลวงพ่อชินราช กระเบื้องโบสถ์และวิหารพระแก้วมรกต กระเบื้องโบสถ์และวิหารวัดไร่ขิง กระเบื้องโบสถ์หลวงพ่อโตวัดบางพลีใน กระเบื้องโบสถ์และวิหารหลวงพ่อพระร่วงโรจน์ฤทธิ์ กระเบื้องโบสถ์และวิหารหลวงพ่อเศวตฉัตร์ ชิ้นส่วนหรืออิฐเก่าจากองค์พระธาตุพนม ชิ้นส่วนหรืออิฐเก่าจากองค์พระปฐมเจดีย์ ชิ้นส่วนหรืออิฐเก่าจากองค์พระธาตุและตะไคร่พระบรมสารีริกธาตนครศรีธรรมราชและเจดีบริวารอีก 150 กว่าเจดีย์ ผงตะไบสังฆวานร ผงลูกแก้วสามดวงหลวงพ่อพรหมวัดช่องแค ผงลูกแก้วสีชมพู หลวงปู่ดู่วัดสะแก ผงใต้คานหลวงพ่อคล้อยวัดถ้ำเขาเงิน ผงหลวงปู่โต๊ะวัดประดู่ฉิมพลี ผงหลวงพ่อแดงวัดศรีมหาโพธิ์ ผงหลวงปู่ทองฤทธิ์ วัดป่าฉันทนิมิต ผงหลวงพ่อโอดวัดจันทร์เสนจว.นครสวรรค์ ผงหลวงพ่อสุรเสียงวัดป่าเชิงจาน ผงพระกรุวัดป่าเชิงจาน ไหลคำดำประเทศลาว จีวรหลวงพ่อทองดำวัดท่าทอง ชาดหมากหลวงปู่หงษ์วัดเพชรบุรี ชานหมากหลวงปู่ทิมวัดพระขาว ชานหมากหลวงพ่อพุฒิวัดป่าสาละวัน สีผึ้งหลวงพ่อพรหมวัดช่องแค (ละลายในน้ำมนต์) น้ำมันมนต์นะหน้าทองหลวงพ่อคล้อยวัดถ้ำเขาเงิน
    9 พิธีพุทธาพิเษกใหญ่ พ.ศ.2544 (ศตวรรษที่ 21)

    1. พิธีใหญ่รุ่นพระกริ่งจอมไทย 7 วัน 7 คืน วัดสุทัศน์ กรุงเทพ ฯ
    2. วัดประสาทบุญญาวาส กรุงเทพ ฯ
    3. วัดเวียง อ.ท่าเรือ จว.พระนครศรีอยุทธยา
    4. วัดวสันตาราม อ.ศรีประจันต์ จว.สุพรรณบุรี
    5. วัดพยัคฆาราม อ.ศรีประจันต์ จว.สุพรรณบุรี
    6. วัดสับปะรดเทศน์ อ.ศรีประจันต์ จว.สุพรรณบุรี
    7. วัดศรีสันต์มณฑาราม อ.เมือง จว.สุพรรณบุรี
    8. วัดศรีฐานปิยราม อ.หล่มสัก จว.เพชรบูรณ์ วันที่ 7 เม.ย.44
    9. วัดหลักเมืองพัฒนาราม อ.หล่มสัก จว.เพชรบูรณ์ วันที่ 7 พ.ค.44


    คณาจารย์ที่อธิฐานจิตเสกเดี่ยวในปี พ.ศ.2544 (ศตวรรษที่ 21)
    1. หลวงปู่หมุน ฐิตสีโล อายุ 106 ปี วัดบ้านจาน
    2. หลวงปู่ทองคำ อายุ 104 ปี วัดท่าทอง อุตรดิตถ์
    3. หลวงปู่เหมือน ฐานุตตโม อายุ 104 วัดบ้านคลองทรายใต้
    4.หลวงปู่กอง จันทวโส อายุ 103 ปี วัดสระมณฑล
    5. หลวงปู่ละมัย ฐิตมโน อายุ 102 ปี สวนป่าสมุนไพร
    6. ครูบาอิน อินโท พระครูวรวุฒิธิคุณ อายุ 100 ปี วัดทุ่งปุย
    7. หลวงปู่คำพันธ์ โฆสปัญโญ วัดธาตุมหาชัย
    8. หลวงปู่โถม กุลปุญโญ อายุ 80 ปี วัดธรรมปัญญาราม
    9. หลวงปู่หลวง กตปุญโญ อายุ 85 ปี วัดป่าสำราญนิวาส
    10. ครูบาอินตา (พระครูถาวรชัยวุฒิ) อายุ 97 ปี วัดห้วยไทร
    11. พระครูพิศาลธรรมนิเทศ (รองเจ้าคณะอำเภอ) วัดมหาวัน
    12. พระครูปัญญาธรรมวัฒน์ ครูบาอินทร อายุ 50 ปี วัดสันป่ายางหลวง
    13. ครูบาดวงจันทร์ จันทโร อายุ 89 ปี วัดป่าเส้า
    14. พระครูถาวรศิลคุณ ครูบาอินตา อายุ 94 ปี วัดวังทอง
    15. ครูบาสุข อายุ 79 ปี วัดป่าซางน้อย
    16. ครูบาจ๋อน จันทรสี อายุ 87 ปี วัดป่าตาล
    17. ครูบาศรีนวล นนทกุล อายุ 93 ปี วัดช้างค้ำ
    18. พระครูอภิรักษ์ วัดป่าสามขา
    19. ครูบาคำตั๋น อายุ 94 ปี วัดสันทรายหลวง
    20. พระอาจารย์เปลี่ยน ปัญญาปทีโป อายุ 68 ปี วัดอรัญญวิเวก
    21. ครูบาอิ่นคำ พระครูสันติยานุศาสตร์ อายุ 92 ปี วัดท้าวแท่นหลวง
    22. ครูบาหล้า วัดป่าลาย อายุ 92 ปี
    23. ครูบาจั่นต๊ะรังษ๊ วัดกู่เต้า
    24. ครูบาอิ่นคำ อายุ 83 วัดมหาวัน
    25. ครูบาบุญปั๋น ธมมปญโญ อายุ 94 ปี วัดรุ้งขุ้ม
    26. ครูบาคำ อายุ 66 ปี วัดธรรมชัย
    27. ครูบาดวงดี อายุ 95 ปี วัดท่าจำปี
    28. ครูบาผัด อายุ 76 ปี วัดศรีดอนมูล
    29. ครูบาน้อย อายุ 51 ปี วัดศรีดอนมูล
    30. หลวงปู่เหลือ อายุ 92 ปี วัดท่าไม้เหนือ
    31. หลวงพ่อจ้อย จันทสุวรรณโณ อายุ 88 ปี วัดศรีอุทุมพร
    32. หลวงปู่อุย พระครูนิพาทธรรมวัฒน์ อายุ 84 ปี วัดช่องคีรีศรีสิทธิวราราม
    33. หลวงปู่ท้าว อายุ 86 ปี สำนักวชิรกัลยาณ์
    34. หลวงปู่สมควร วิชชาวิสาโล อายุ 85 ปี วัดถือน้ำ
    35. หลวงพ่ออ้วน จรณะวุฑิโฒ อายุ 57 ปี วัดหนองกระโดน
    36. หลวงพ่อบุญนำ ชิตมาโร อายุ 73 ปี วัดนครสวรรค์
    37. หลวงปู่ต่อ (พระครูนิทัศนพลธรรม) อายุ 82 ปี วัดเขาแก้ว
    38. หลวงพ่อสะอาด (พระครูนิวิทฐมณีวงศ์) อายุ 58 ปี วัดเขาแก้ว
    39. หลวงพ่อประเทือง อิทวโร อายุ 63 ปี วัดหนองโพ
    40. หลวงพ่อ เศรียร สุธรรมโม อายุ 69 ปี วัดอินทราราม
    41. พระอาจารย์สมชาย วัดหลักเมืองพัฒนาราม
    42. หลวงปู่บ๊ก (สุวรรณ กัลยาณี) อายุ 92 ปี วัดหนองเนินพะยอม
    43. หลวงปู่ นะ ฐิตปัญโญ อายุ 85 ปี วัดปทุมวนาราม(หนองบัว)
    44. หลวงปู่ มหาโพธิ์ ญาณสังวโร อายุ 82 ปี วัดคลองมอญ
    45. หลวงปู่สำราญ อายุ 89 ปี วัดปากคลองมะขามเฒ่า
    46. หลวงปู่ตี๋ ญาณโสภโณ (พระครูอุทัย ธรรมกิจ) อายุ89 ปี
    47. พระเทพรัตนดิลก(ธ.) อายุ 73 ปี วัดเพชรวราราม
    48. พระราชพัชราภรณ์ (ม.)วัดมหาธาตุ อยุ 64 ปี วัดมหาธาตุ
    49. หลวงปู่ปิ่น (พระครูพัชรธรรมโสภณ) อายุ 70 ปี วัดหนองใฝ่
    50. หลวงพ่อเวิน กัลป์ยาณธัมโม อายุ 74 ปี เจ้าคณะ
    51. หลวงพ่ออาคม อินทสโร อายุ 78 ปี วัดดาวนิมิตร
    52. หลวงพ่อศรีนวล สิริมังคโล อายุ 72 ปี วัดสว่างสามัคคี
    53.หลวงพ่อเปรื่อง ฐานังกะโร อายุ 70 ปี วัดสันติวัฒนา
    54. หลวงพ่อทอง จันทศิริ (พระครูสุวรรณวัยวุฒิ) อายุ 98 ปี วัดสามปลื้ม
    55. หลวงพ่อจืด นิมมโล อายุ 63 ปี สำนักโพธิเศรษฐี
    56. หลวงพ่อสมพงษ์ ธีระธัมโม อายุ 66 ปี วัดใหม่ปิ่นเกลียว
    57. หลวงพ่อรอด สิทธิกาโร อายุ 74 ปี วัดวังน้ำเขียว
    58. เจ้าคุณไวย์ อายุ 90 ปี วัดพนัญเชิง
    59. หลวงปู่ทิม อัตตสันโต (พระครูสังวรสมณกิจ) อายุ 88 ปี วัดพระขาว
    60. หลวงพ่อรวย ปาสาทิโก (พระครูสุนทรธรรมนิวิฐ) อายุ 81 ปี วัดตะโก
    61.พระครูสังฆรักษ์เฉลิม อายุ 76 ปี วัดพระญาติ
    62. หลวงพ่อเอียด อินทวังโส (พระครูสุนทรยติกิจ) อายุ 73 ปี วัดไผ่ล้อม
    63.หลวงพ่อเพิ่ม อัตตทีโป อายุ 75 ปี วัดป้อมแก้ว
    64. หลวงพ่อจำลอง เขมะนันโท อายุ 77 ปี วัดเจดีย์แดง
    65. หลวงพ่อ สวัสดิ์ โสตถิทัตโต อายุ 84 ปี วัดศาลาปูน
    66. หลวงพ่อพูน ฐิตสีโล อายุ 69 ปี วัดบ้านแพน
    67.หลวงพ่อวงศ์ อายุ 75 ปี เจ้าคณะตำบลเจ้าเจ็ดเขต 2
    68.หลวงพ่อหยด กิติสาโร อายุ 76 ปี วัดเจ้าเจ็ดใน
    69. หลวงพ่ออื้น จันทวรรณโณ อายุ 75 ปี วัดเจ้าเจ็ดนอก
    70. หลวงปู่ บุญนาค ฐานนาโค อายุ อายุ 87 ปี วัดหนองโป่ง
    71. หลวงพ่อเพี้ยน อัคคธัมโม อายุ 77 ปี วัดเกริ่นกฐิน
    72. หลวงปู่ถม ธัมมทีโป (พระครูธรรมโสภณ) อายุ 89 ปี วัดเชิงท่า
    73. หลวงพ่อสารันต์ จันทูปโม (พระครูจันทสิริธรา) อายุ 54 ปี
    74. หลวงพ่อหลิว กตปุญโญ อายุ 78 ปี วัดคุ้งเขาเขียว

    สุดยอดพระเครื่องแห่งกรุงรัตนโกสินทร์สร้างอย่างมากปีละครั้ง จากชนวนมวลสารอันศักดิ์สิทธิ์และหาได้ยากยิ่งจากทั่วทุกภาคของประเทศไทย นำมาบดสร้างเป็นองค์พระจนได้คำขวัญที่ว่ารูปแบบสวย มวลสารดี พิธีการเยี่ยม ประสบการณ์ยอด พระพุทธคุณสูงและได้ผ่านพิธีมหาพุทธาภิเษกจากพระคณาจารย์ชื่อดังมาแล้วหลายครั้งหลายหนจนเกิดอภินิหารย์ และมีประสบการณ์ต่าง ๆ ขึ้นมาแล้วอย่างมากมายทั้งในเมืองไทยและต่างประเทศซึ่งเป็นพระเครื่องที่มีกรรมวิธีการสร้างอย่างวิจิตรพิสดารยิ่งนัก ยากที่จะมีใครมาปลอมแปลงให้เหมือนได้


    สภาพสวยเดิม ไม่หักไม่ซ่อม พิมพ์คมชัดลึก เนื้อหามวลสารสุดยอดเยี่ยมพิธีใหญ่ พุทธคุณล้นฟ้าราคาเบาหวิว แนะนำให้เก็บกันนะครับเพื่อความเป็นศิริมงคล ตอนนี้เริ่มหายากแล้วครับลูกศิษย์เก็บกันหมด บอกกันไว้แล้วเดี๋ยวจะมาตามเก็บทีหลังกันนะครับ ไม่สดไม่ใหม่ไม่แท้คืนเต็มครับ แบ่งให้บูชา 345 บาท (พร้อมจัดส่ง EMS อย่างดีครับ)

    คุณวิทมน สุ่มเกิด ธ.กรุงไทย สาขาเทสโก้โลตัสอุตรดิตถ์ เลขที่ 6000088418
    โทร.086-0441367, Engineer0206nu@gmail.com

    *** ขอขอบพระคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม และอุดหนุนผมครับ ***
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 มิถุนายน 2024
  8. ศิษย์ปิยธโร

    ศิษย์ปิยธโร อายุ วรรณโณ สุขัง พลัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    15,159
    ค่าพลัง:
    +14,319
    3846.เมตตาค้าขายร่ำรวย เสกตามตำราโบราณ พระปิดตาโภคทรัพย์
    หลวงปู่หุน วัดบางผึ้ง ทายาทพุทธคม ลพ.จาด วัดบางกระเบา

    คลิ้กเพื่อชมรูปใหญ่ครับ

    spd_20150717231944_b-jpg.jpg

    -6105cc7897a034ef.jpg


    พระปิดตาโภคทรัพย์ หลวงปู่หุน วัดบางผึ้ง จังหวัดฉะเชิงเทรา เนื้อผงพุทธคุณ ดำเนินการจัดสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2557



    ด้วยความเมตตาของหลวงพ่อหุนที่อยากให้ลูกศิษย์ได้ของดีไว้บูชา ให้ร่ำ ให้รวย ให้คุ้มครองกันถ้วนหน้า ปรกปลุกเสกตามตำราของสองครูบาอาจารย์ที่ท่านได้ร่ำเรียนมาอย่างเข้มขลังและให้สร้างเพียงเนื้อตะกั่วเพียงเนื้อเดียวเพื่อที่ว่าไม่ว่าจะยากดีมีจนหรือรวยล้นฟ้าเพียงใดก็จะได้ใช้เหรียญเท่าเทียมกัน

    ******************************************


    หลวงปู่หุน วัดบางผึ้ง ท่านถือเป็นพระสุปฏิปันโนแห่งภาคตะวันออก

    หลวงปู่หุนอายุ 93 ปี ท่านบวชตั้งแต่เป็นเณร จนเมื่อครบบวชพระ ท่านก็ได้บวชพระและออกร่ำเรียนกับพระอาจารย์เก่ง ๆ ในสมัยนั้นมากมาย โดยเฉพาะหลวงพ่อจาด วัดบางกระเบาเมื่อครั้งเกิดสงครามยุคมหาเอเชีย (พ.ศ. 2483) จอมพล พิบูลย์สงครามได้ขอให้หลวงพ่อจาด ช่วยทำตะกรุดแจกทหาร จนเกิดประสบการณ์มีชื่อเสียงเรียงสนั่นในยุคนั้น ครั้นมีเครื่องบินของฝรั่งเศสมาทิ้งระเบิดใส่ทหาร หากแต่ไม่มีผู้ใดได้รับบาดเจ็บเลยหลวงปู่หุนนี่่แหละที่ท่านเป็นผู้ม้วนตะกรุดและพันตะกรุดให้หลวงพ่อจาดในเวลานั้น และคอยรับใช้ในเรื่องต่าง ๆ มากมายจนกระทั่งหลวงพ่อจาดเมตตาในความขยันและความเป็นผู้อ่อนน้อมของท่าน จึงเมตตามาก รักเหมือนลูก สอนวิชาอาคมต่าง ๆ ให้จนหมดสิ้น สอนวิชาปลุกเสกพระ วิชาเมตตามหานิยม คงกระพันชาตรี

    โดยเฉพาะวิชาบังไพร หลวงพ่อจาดท่านเก่งมากหลายครั้งหลวงพ่อจาดท่านจะเรียกหลวงพ่อหุนให้มาร่วมปลุกเสกเหรียญและตะกรุดด้วยกันเพื่อต้องการทดสอบลูกศิษย์ จนหลวงพ่อจาดเอ่ยชมว่า
    "เอ็งนี่แน่ เสกได้เหมือนข้าไม่มีผิด ได้ดั่งใจข้าจริง ๆ "

    จากนั้นหลวงพ่อหุนท่านก็ได้ขอลาหลวงพ่อจาด ออกร่ำเรียนต่อไปอีกจนมาพบหลวงพ่อทอง วัดก้อนแก้ว ชาวบ้านแถวนั้นรู้จักดี เพราะหลวงพ่อทองท่านเก่งมากในเรื่อวิปัสสนากรรมฐาน ช่วยเหลือชาวบ้านในเรื่องต่าง ๆ ทั้งเรื่องเงิน ๆ ทอง ๆ เดือดร้อนล้มละลายเจ็บไข้หลวงพ่อทองท่านช่วยได้

    หลวงพ่อหุนท่านจึงฝากเนื้อฝากตัวเป็นศิษย์อยู่นานถึง 7 ปี เรียนวิชาท่านมาทั้งหมด หลวงพ่อทองท่านได้แนะนำหลวงพ่อหุนให้ไปหาหลวงปู่คำปั่น พระสายเขมรเพื่อร่ำเรียนวิชา ต่อ
    หลวงพ่อหุนท่านก็ออกธุดงไปจนได้พบและโดนหลวงปู่คำปั่นทดสอบวิชามากมาย
    มีคืนหนึ่ง หลวงปู่คำปั่น ได้เสกท่อนฟืนเผาผีเป็นตะขาบนับร้อยตัว ยั๊วเยี๊ยไปหมด หลวงปูหุนได้ร่างคาถาท่องมนต์และลูบตัวตะขาบ เท่านั้นตะขาบก็กลับไปเป็นท่อนฟืนดังเดิม ถัดจากตะขาบก็เสกก้อนถ่าน กลายเป็นผึ้งนับพันตัว หลวงปู่หุนท่า่นหยิบดิน 1 กำเสกคาถา1 อึดใจ แล้วลืมตาโปรยดินใส่ฝูงผึ้ง จากนั้นผึ้งก็กลายเป็นกองถ่านดังเดิม
    เมื่อทดสอบวิชาผ่าน หลวงปู่คำปั่นจึงสอนวิชาให้จนหมดสิ้น แล้วท่านจึงได้ลาหลวงปู่คำปั่นเพื่่อศึกษาต่อไป

    หลวงปู่หุนท่านเป็นเจ้าอาวาสที่วัดบางผึ้ง ฉะเชิงเทรา จากวิชาที่ท่านร่ำเรียนมา ท่านคอยช่วยเหลือลูกศิษย์มากมาย ช่วยได้ทุกเรื่อง เศรษฐีแถวนั้นนับถือท่านมาก เพราะหลวงปู่ได้ช่วยไว้เยอะจากล้มละลายกลายเป็นอภิมหาเศรษฐี จากคนจนกลายเป็นคนรวย หลวงปู่นี่แหละเสกแผ่นทองเข้าตัว เสกตั๋วให้เป็นเงิน นับว่าท่านเป็นพระสุปฏิปันโนแห่งลุ่มน้ำบางปะกง

    ปัจจุบัน
    หลวงปู่หุนมรณภาพจากอาการอาพาธจากโรคไต ร่างกายอ่อนเพลียต้องให้น้ำเกลือและพักรักษาอาการที่โรงพยาบาลมาอย่างต่อเนื่อง และมรณภาพอย่างสงบที่ รพ.บางปะกง ช่วงบ่ายของวันเสาร์ที่ 22 พ.ค. 2564 สิริอายุ 103 ปี



    สภาพสวยกล่องเดิมๆ พิมพ์คมชัดลึก พุทธคุณครอบครบ แบ่งให้บูชา 199 บาท (พร้อมจัดส่ง EMS อย่างดีครับ)

    คุณวิทมน สุ่มเกิด ธ.กรุงไทย สาขาเทสโก้โลตัสอุตรดิตถ์ เลขที่ 6000088418
    โทร.086-0441367, Engineer0206nu@gmail.com
    *** ขอขอบพระคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม และอุดหนุนผมครับ ***
     
  9. ศิษย์ปิยธโร

    ศิษย์ปิยธโร อายุ วรรณโณ สุขัง พลัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    15,159
    ค่าพลัง:
    +14,319
    3847.ของดีพิธีใหญ่ที่ถูกลืม พระสมเด็จ ท่านเจ้าคุณเสงี่ยม วัดสุทัศน์
    ลพ.แพ,ลป.โต๊ะ,ลพ.เนื่อง,ลพ.คง,ลพ.พริ้ง,ลพ.หอม ร่วมปลุกเสกมหาพิธี

    คลิ้กเพื่อชมรูปใหญ่ครับ
    --16594b1e55616dd4.jpg

    ja1jr0-jpg-jpg.jpg
    hpecc9-jpg-jpg-jpg.jpg
    hpe6yb-jpg-jpg-jpg.jpg

    พระสมเด็จ หลังยันต์ ท่านเจ้าคุณเสงี่ยม จันทสิริ เจ้าอาวาสวัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร กทม. เนื้อผงพุทธคุณ ดำเนินการจัดสร้างเมื่อปี พ.ศ.2516

    วโรกาสอันเป็นมงคลยิ่ง

    เมื่อคราวที่พระบาทสมด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่9 ได้ทรงเสด็จพระราชดำเนินมาเททองในพิธีหล่อพระบรมรูปรัชกาลที่ 8 และหล่อพระกริ่งพระชัยวัฒน์ เมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2516 ในการนั้นทางวัดสุทัศน์ โดย สมเด็พระพุฒาจารย์(เสงี่ยม) อดีตเจ้าอาวาสวัดสุทัศน์ฯ จึงได้สร้างเหรียญเนื้อนวโลหะเป็นรูปพระศรีศากยมุนีจำลองด้านหลังเป็นพระปรมาภิไทว่า"อ.ป.ร." (พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดถ รัชกาลที่ 8 )

    เพื่อแจกให้แก่ผู้ที่มีจิตศรัทธาร่วมก่อตั้งมูลนิธิอัฏฐมราชานุสรณ์ โดยใช้เชื้อชนวนพระบูชา พระกริ่ง ของสมเด็จพระสังมราช (แพ)มาเป็นส่วนผสมหลักในการสร้างพระเนื้อโลหะรุ่นนี้ นอกจากพระกริ่งพระชัยวัฒน์ และเหรียญพระศรีศากยมุนี แล้วก็ยังสร้าง เหรียญสมเด็จพระสังฆราช (แพ) ด้วยเนื้อนวโลหะเช่นเดียวกันอีกด้วย

    ส่วนพระกริ่งและพระชัยวัฒน์ที่สร้างในคราวเดียวกันนี้ ก็กระทำการเททองแบบโบราณ ซึ่งมีประสบการณ์ดีเยี่ยม เป็นที่แสวงหากันมากในปัจจุบัน ท่านผู้อ่านยังคงจะจำได้ว่า เมื่อเดือนมษายนปี พ.ศ.2527 กองกำลังของทหารเวียดนามได้โจมตียิงเครื่องบินลาดตระเวนของไทยตกเครื่องหนึ่งทำให้นักบินเสียชีวิตไป
    คนหนึ่งและรอดมาได้อย่างปาฏิหาริย์คนหนึ่ง นักบินคนที่รอดมาได้นั้น มีพระกริ่งรุ่น พ.ศ. 2516 ที่กล่าวอยู่ขณะนี้ติดตัวอยู่องค์หนึ่ง (เป็นที่นำเสียดายว่าพระกริ่งรุ่นนี้หมดไปจากวัดสุทัศน์นานแล้ว) เรื่องนี้ พ.ต.ประชา ธรรมโชติ ป็นผู้บอกเเก่ผู้เขียน หากท่านผู้อ่าน สนใจก็สามารถสอบถามไปยังท่านผู้นี้ได้ ปัจุบันท่านเป็นกรรมการผู้จัการมูลนิธิอัฏฐมราชานุสรณ์ เลขที่ 11ถนนตีทอง (เวลาบทความใน ปี 2526)


    พิธีมหาพุทธาภิเษก

    ณ. พระอุโบสถวัดสุทัศน์เทพวราราม โดยมีพระคณาจารย์ ผู้ทรงวิทยาคุณนั่งอฐิฐานจิตบริกรรมคาถสภาวนา จำนวน 49 รูป ดังนี้ รายนามดังอไปนี้


    1.พระครูศรีพรหมโสกิต (หลวงพ่อแพ เขมกโร) วัดพิกุลทอง อ.ท่าช้าง จ.สิงห์บุรี
    2.พระครุวิริยะกิตติ (หลวงปู่ โต๊ะ) วัดประดูฉิมพลี ก.ท.ม.
    3.พระครูพิพิธวิหารการ (หลวงพ่อ เทียม) วัดกษัตราธิราช จ.พระนครศรีอยุธยา
    4.พระครูโกวิทสมุทรคุณ (หลวงพ่อ เนื่อง ) วัดจุฬามณี จ.สมุทรสงคราม
    5.พระครูกิตตินนทคุณ (หลวงพ่อกี๋) วัดหูช้าง จ.นนทบุรี
    6.พระรักษิตวันมุนี (หลวงพ่อถริ) วัดป่าเลไลยก์ จ.สุพรรณบุรี
    7.พระครูพิศาลพัฒนากิจ (หลวงพ่อรอด) วัดประดู่พัฒนาราม จ.นครศรีธรรมราช
    8.หลวงพ่อหอม วัดชากหมาก จ.ระยอง
    9.พระครูนนทกิจวิมล (หลวงพ่อชื้น) วัดตำหนักเหนือ จ.นนทบุรี
    10.พระญาณโพธิ์ (เข็ม) วัดสุทัศน์เทพวราราม ก.ท.ม.
    11.พระศรีสัจจญาณมุนี (ประหยัด ปญญวะโร) วัดสุทัศน์เทพวราราม ก.ท.ม.
    12.พระพุทธมงคลวราจารย์ (สุพจน์) วัดสุทัศน์เทพวราราม ก.ท.ม.
    13.พระมหาอำนวย วัดสุทัศน์เทพวราราม ก.ท.ม.
    14.พระมงคลทิพย์มุนี วัดพระเชตุพนวิมังคลาราม ก.ท.ม.
    15.พระครูญาณวิจักษ์ (พระปรมจารย์นอง) วัดจักรวรรดิ์ (สามปลื้ม) ก.ท.ม.
    16.พระครูพิทักษ์วิหารกิจ วัดราชนัดดา ก.ท.ม.
    17.พระครูโสภณกัลยาณวัตร (เล่ง) วัดกัลยานิมิตร ธนบุรี.
    18.พระครูมงคลนวการร (หลวงพ่อฉาย) วัดศรีสาคร จ.สิงห์บุรี.
    19.พระครูอุดมเวทวรคุณ (หลวงพ่อเมือง) วัดท่าแหน จ.ลำปาง.
    20.พระอาจรย์แสน (หลวงแสนเมือง) วัดท่าแหน จ.ลำปาง.
    21.พระครูพรหมจักรสุนทร วัดธรรมจักร จ.พิษณุโลก.
    22.หลวงพ่อมี วัดสิงห์ บางขุนเทียน ก.ท.ม.
    23.พระครูสุตาธิการี (หลวงปู่ทองอยู่) วัดใหม่หนองพะอง จ.สมุทรสาคร.
    24.หลวงพ่อพล วัดหนองคณฑี จ.สระบุรี.
    25.พระครูสาธรพัฒนกิจ (ลมูล) วัดเสด็จ จ.ปทุมธานี.
    26.พระครูจันทสโรภรณ (เที่ยง) วัดม่วงชุม จ.กาญจนบุรี.
    27.พระครูศรีปริยัติยานุรักษ์ (ไผ่) วัดพันอ้น จ.เชียงใหม่.
    28.พระครูประธาทน์ขันธคุณ (มุข) วัดปราสาทเยอร์เหนือ จ.ศรีษะเกษ.
    29.หลวงพ่อชื้น วัดญาณเสน จ.พระนครศรีอยุธยา
    30.พระครูประสาทเวรคุณ (หลวงพ่อ พริ้ง) วัดโบสถ์โก่งธนู จ.ลพบุรี
    31.พระอาจรย์ใหญ่ วัดถ้ำใหญ่คูหาสวรรค์ จ.ลพบุรี
    32.พระครูใบฎีกาคล้อย ฐานธัมโม (หลวงพ่อคล้อย) วัดถ้ำเขาเงิน จ.ชุมพร
    33.หลวงพ่อสงฆ์ วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย จ.ชุมพร
    34.พระครูวิมลคุณาทร วัดประสาทนิกร จ.ชุมพร
    35.พระราชญาณวที วัดขันเงิน จ.ชุมพร
    36.พระครูภาวนาวิสุทธิ์ (หลวงพ่อจรัล จิตอินโท) วัดอัมพวัน จ.สิงห์บุรี
    37.พระมุจลินทโมณี วัดมุจลินทวาปีวิหาร จ.ปัตตานี
    38.หลวงพ่อสัมฤทธิ์ วัดอู่ทอง จ.สุพรรณบุรี
    39.หลวงพ่อสาลี วัดสองพี่น้อง จ.ปทุมธานี
    40.พระครูอาคมวิสุทธิ์ (หลวงพ่อคง สุวัณโณ) วัดวังสรรพรส จ.จันทบุรี
    41.พระครูประเวทย์วรญาณ (หลวงพ่อนคร) วัดอิติสุคโต จ.ประจวบคีรีขันธ์
    42.หลวงพ่อผาง จิตตสุคโต (ผาง) วัดอุดมคงคาคีรีเขต จ.ขอนแก่น
    43.หลวงพ่อธีร์ จ.ขอนแก่น
    44.พระราชมุนี (พระมหาโฮม) วัดปทุมวนาราม ก.ท.ม.
    45.พระอาจารย์สมพล วัดปทุมคงคาราม ก.ท.ม.
    46.หลวงพ่อเกตุ วัดเกาะหลัก จ.ประจวบคีรีขันธ์
    47.หลวงพ่อนำ ชินวโร(แก้วจันทร์) วัดดอนศาลา อ.ดอนขนุน จ.นครศรีธรรมราช
    48. พระคูรอมร ธุตคุณ วัดศิลาชลเขต อ.สิชล จ.นครศรีธรรมราช
    49. หลวงพ่อเจริญ วัดทองนพคุณ จ.เพชรบุรี



    บทความ บางส่วนจาก หนังสือ"ลานโพธิ์"



    สภาพสวยผิวเดิมๆ ไม่เคยผ่านการบูชา ของดีราคาเบา พุทธคุณล้นฟ้าราคาหลักร้อย แบ่งให้บูชา 345 บาท (พร้อมจัดส่ง EMS อย่างดีครับ)

    คุณวิทมน สุ่มเกิด ธ.กรุงไทย สาขาเทสโก้โลตัสอุตรดิตถ์ เลขที่ 6000088418
    โทร.086-0441367, Engineer0206nu@gmail.com
    *** ขอขอบพระคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม และอุดหนุนผมครับ ***
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 มิถุนายน 2024
  10. ศิษย์ปิยธโร

    ศิษย์ปิยธโร อายุ วรรณโณ สุขัง พลัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    15,159
    ค่าพลัง:
    +14,319


    -jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 มิถุนายน 2024
  11. ศิษย์ปิยธโร

    ศิษย์ปิยธโร อายุ วรรณโณ สุขัง พลัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    15,159
    ค่าพลัง:
    +14,319
    3848.กระเทือนทั้งสามแดนโลกธาตุ(ใหญ่ใบลาน๒) หลวงปู่ทวดรุ่นโพธิญาณมหามงคล9
    หลวงตามหาบัว วัดป่าบ้านตาด เมตตาอธิษฐานจิต 2วาระ

    คลิ้กเพื่อชมรูปใหญ่ครับ

    6gmj-jpg-jpg.jpg

    ntrels-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg

    1eef9c5f35927033d9cbacbc467e20df-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg

    e4372c285d3415217c06bfd1cd0a20f8-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg

    พระผงหลวงปู่ทวด รุ่นโพธิญาณมหามงคล 9 พิมพ์ใหญ่ เนื้อสีดำแก่ผงใบลาน สร้างจากเนื้อว่านมงคล 108 ผสมผงครูบาอาจารย์เกษา โรยด้วยผงตะไบชนวนโลหะเก่า ฝังแผ่นโค๊ตทองเหลืองรูปดอกบัว 1 โค้ด ดำเนินการจัดสร้างขี้นเมื่อปี พ.ศ.2542 โดยหลวงปู่บุญเพ็ง กัปปโก วัดป่าวิเวกธรรม อ.เมือง จังหวัดขอนแก่น พิมพ์ใหญ่เนื้อดำ 1โค้ด จำนวนสร้าง 8,150องค์

    *** ในส่วนของข้อมูลที่หลวงตาอธิษฐานจิตให้ตามที่มีข้อมูลแพร่หลายอย่างกว้างขวางหรือไม่ ผมconfirm ว่าหลวงตาอธิษฐานจิตให้อย่างเต็มเปี่ยม เนื่องจากได้มีโอกาสมาอยู่ขอนแก่น และได้มีโอกาสพบกับคณะกรรมการวัดป่าวิแวกธรรมในสมัยนั้นอายุ70กว่าปีแล้ว ท่านเล่าให้ฟังว่าหลวงตาท่านมาหาหลวงปู่บุญเพ็งแบบเป็นการภายในบ่อยเป็นประจำ และท่านได้อธิษฐานจิตให้มีพยานรู้เห็นหลายท่าน " ได้รับฟังอย่างนี้ด้วยตัวเองผมหมดข้อกังขาทุกประการในมงคลวัตถุรุ่นนี้ และหวังพึ่งพุทธคุณได้อย่างสนิทใจครับ " *** เจตนาการสร้างบริสุทธิ์เพื่อการบุญทั้งสิ้นนะครับ ถ้าไม่มีงานบุญปกติหลวงปู่ไม่ดำริสร้างพระเครื่องอยู่แล้วครับ

    วัตถุประสงค์ :
    - เพื่อหาปัจจัยสมทบทุนสร้างศาลากลางน้ำ และซ่อมแซมพระอุโบสถที่ชำรุดของ วัดป่าวิเวกธรรม


    มงคลวัตถุที่จัดสร้าง
    - พระผงหลวงปู่ทวด วัดช้างไห้ รุ่นโพธิญาณ9
    - เหรียญรุ่นแรก หลวงปู่บุญเพ็ง วัดป่าวิเวกธรรม
    - พระพุทธชินราช วัดป่ากู่ทอง รุ่น2


    วาระการเมตตาอธิษฐานจิต
    - โดยหลวงปู่บุญเพ็งได้นิมนต์องค์หลวงตามหาบัว ญาณสัมปัณโณ อธิฐานจิต 2วาระ ณ วัดป่าวิเวกธรรม อ.เมือง จังหวัดขอนแก่น
    ครั้งที่1 : วันที่ 28 กรกฎาคม 2542 (วันเข้าพรรษา)
    ครั้งที่2 : วันที่ 19 กันยายน 2542 (วันที่ 9 เดือน 9 ปี 99 )


    - เมตตาอธิษฐานจิตตามอัธยาศัยโดย หลวงปู่บุญเพ็ง กัปปโกณ ณ. วัดป่าวิเวกธรรม อ.เมือง จังหวัดขอนแก่น

    การจัดสร้างพระพุทธชินราช วัดป่ากู่ทอง รุ่น2
    - หลังจากหลวงตาเททองหล่อพระประธานจะมีเนื้อชนวนล้นที่เกินมาจากเบ้า หลวงปู่ให้นำไปผสมทองแดง แล้วนำไปทำรุ่นสองเพื่อให้แตกต่างจึงอุดฐาน พร้อมนำสายสิญจ์ที่หลวงตาฯจับมาตัดแบ่งแล้วอุดครับ แต่ร่นนี้หลวงตาฯก็รับทราบครับ เพราะหลวงตาฯมาที่วัดหลวงปู่


    โดยในช่วงนั้นมีคนนำพระหลวงปู่ทวดโพธิญาณ ทำมาถวาย หลวงปู่ท่านเลยห่อผ้าขาวล้อมสายสิญจ์ และห่อผ้ารวมกับชินราชรุ่นสอง พอหลวงตาฯมาที่วัดพอดีเห็นห่อผ้าเด็มไปหมดเลยถามว่าคืออะไร หลวงปู่ท่านก็ตอบว่าพระจะนำไปแจกงานวันครบรอบวันเกิด หลวงตาฯก็ไม่ว่าอะไร พร้อมตรงไปกราบพระที่โต๊ะหมู่และมีสายสิญจ์ล้อมจากพระประธานไปที่กองผ้าอยู่

    หลวงตาฯท่านก็กราบสามครั้ง แล้วบอกว่าที่เรากราบสามครั้งนี้กระเทือนทั้งสามแดนโลกธาตุ แล้วหลวงตาฯก็ไม่พูดอะไรต่อ ดังนั้นชินราชรุ่นสอง พร้อมพระหลวงปู่ทวดรุ่นโพธิญาณ จึงเป็นพระที่หลวงตาฯรับรู้เช่นกันครับ

    และในเรื่องสร้างพระของหลวงปู่บุญเพ็งนี้ เคยมีคนนำไปฟ้องหลวงตาฯว่าหลวงปู่บุญเพ็ง โดยหวังว่าหลวงตาฯจะดุหลวงปู่แต่ปรากฎว่า หลวงตาท่านพูดว่า "เป็นจริต วาสนา ของตาเพ็งเค้า เค้าชอบแบบนั้นก็ให้เค้าทำเถอะ เค้ามีเจตนาดี"

    สรุปมงคลวัตถุนี้ล้วนมีความศักดิ์สิทธิ์และดีทุกทาง ทั้งเนื้อมวลสารในการจัดสร้าง บวกกับพ่อแม่ครูอาจารย์ที่อธิษฐานจิตให้ทั้ง2องค์ คือองค์หลวงตามหาบัว และหลวงปู่บุญเพ็ง เป็นพระอริยะเจ้าผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ซึ่งหายากยิ่งนักที่จะได้พบปรากฏการณ์เช่นนี้ โดยปกติแล้วองค์หลวงตามหาบัวท่านไม่ใช่จะอธิษฐานจิตให้ง่ายๆนะครับ

    สภาพสวยเดิม เก่าเก็บไม่ผ่านการบูชา เจตนาการสร้างบริสุทธิ์เพื่อการบุญทั้งสิ้นนะครับ ถ้าไม่มีงานบุญปกติหลวงปู่ไม่ดำริสร้างพระเครื่องอยู่แล้วครับ พุทธคุณครอบครบ เป็นศิริมงคลแก่บรรดาลูกศิษย์เพื่อหวังพึ่งพระพุทธคุณได้อย่างสนิทใจ แบ่งให้บูชา 444 บาท(พร้อมจัดส่ง EMS อย่างดีครับ)





    (คุณหนุ่ย จองแล้วครับ)





    คุณวิทมน สุ่มเกิด ธ.กรุงไทย สาขาเทสโก้โลตัสอุตรดิตถ์ เลขที่ 6000088418
    โทร.086-0441367, Engineer0206nu@gmail.com
    *** ขอขอบพระคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม และอุดหนุนผมครับ ***
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 กรกฎาคม 2024
  12. ศิษย์ปิยธโร

    ศิษย์ปิยธโร อายุ วรรณโณ สุขัง พลัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    15,159
    ค่าพลัง:
    +14,319

    รายการจัดส่ง แฟลช 29/06/2567



    290667-.jpg



    ***สรุปรายการที่ หน้า1 ครับผม***
    Tel: 086-0441367, Engineer0206nu@gmail.com
    Line id : engiman_nu



    -gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif.gif
     
  13. ศิษย์ปิยธโร

    ศิษย์ปิยธโร อายุ วรรณโณ สุขัง พลัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    15,159
    ค่าพลัง:
    +14,319
    3849.สวยเดิมๆหายากมากกๆๆ เหรียญบาตรน้ำมนต์หลวงปู่ฝั้น
    ลป.ขาว,ลป.แหวน,ลป.ดุลย์,ลป.ชา,ลป.โต๊ะ,ลพ.สุด,ลป.สิม ร่วมประจุพลัง

    คลิ้กเพื่อชมรูปใหญ่ครับ

    --05dabffc8facbb9d.jpg
    เหรียญบาตรน้ำมนต์ชุดกรรมการ พิมพ์หลวงปู่ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร จังหวัดสกลนคร เนื้อดีบุกผสมตะกั่ว ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 7 ซ.ม. หนา 0.6 ซ.ม. ดำเนินการจัดสร้างขี้นเมื่อปี พ.ศ.2517-2522 โดยมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย เพื่อเป็นที่ระลึกสมเด็จพระบรมฯ ทรงผนวช

    เหรียญบาตรน้ำมนต์ชุดกรรมการ 4องค์ ประกอบด้วย
    1. เหรียญสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ทรงผนวช
    2. เหรียญหลวงปู่ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร จ.สกลนคร
    3. เหรียญ หลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง จ.เชียงใหม่
    4. เหรียญ หลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถ้ำกลองเพล จ.อุดรธานี


    ประกอบพิธีพุทธาภิเษก 3 วาระ ดังนี้

    ครั้งที่ 1 :
    - เมื่อปี พ.ศ. 2517ปลุกเสกเดี่ยว โดย หลวงปู่ขาว วัดถ้ำกลองเพล และ หลวงปู่แหวน วัดดอยแม่ปั๋ง

    ครั้งที่ 2 :
    เหรียญนี้ได้เข้าร่วมปลุกเสกกับ พระสมเด็จทรงจิตรลดา นางพญา (หลังอุณาโลม ) และ ( หลัง สก.) ณ พระอุโบสถ คณะรังษี วัดบวรนิเวศวิหาร ใน วันที่ 12 กรกฎาคม 2519 เป็น เวลา 7 วัน 7 คืน เกจิอาจารย์ที่ร่วมปลุกเสก มีดังนี้

    วันจันทร์ 5 ก.ค. 2519 เวลา 17.00 น.
    พระเกจิคณาจารย์ที่นั่งปรกปลุกเสก
    - สมเด็จพระญาณสังวร วัดบวรฯ
    - พระสังวรวิมลเถระ(หลวงปู่โต๊ะ) วัดประดฉิมพลี
    - หลวงปู่สิม พุทธาจาโร วัดถ้ำผาปล่อง เชียงใหม่
    - หลวงพ่อเมตตาหลวง วัดเทพพิทักษ์ฯ นครราชสีมา
    - พระเทพวราลังการ(หลวงปู่ศรีจันทร์) วัดศรีสุทธาวาส จ.เลย
    - พระสุทธิสารโสภณ วัดศรีโพแท่น จ.เลย
    - หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ วัดป่านิโครธาราม จ.อุดรธานี
    พระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ เจริญพุทธมนต์ ๑๐รูป
    - สมเด็จพระวันรัต วัดสังเวชวิศยาราม
    - สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ วัดสามพระยา
    - สมเด็จพระพุทธิวงศมุนี วัดเบญจมบพิธ
    - พระพรหมคุณากรณ์ วัดสระเกศ
    - พระธรรมวราลังการ วัดบุปผาราม
    - พระธรรมวิสุทธาจารย์ วัดพิชัยญาติการาม
    - พระธรรมธีรราชมหามุนี วัดปากน้ำ
    - พระราชสารมุนี วัดเขมาภิรตาราม
    - พระปริยัติเมธี วัดมกุฎกษัตริย์
    - พระอุดมศีลคุณ วัดบุรณศิริมาตยาราม

    วันอังคาร 6 ก.ค. 2519
    พระเกจิคณาจารย์ที่นั่งปรกปลุกเสก
    - พระสังวรวิมลเถระ (หลวงปู่โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี
    - หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ วัดป่านิโครธาราม จ.อุดรธานี
    - พระอาจารย์วัน อุตตโม วัดอภัยดำรงธรรม สกลนคร
    - หลวงพ่ออ่อนสี วัดพระงาม หนองคาย
    - หลวงพ่อมา วัดวิเวกอาศรม ร้อยเอ็ด
    - พระโพธิสังวรเถร (หลวงพ่อฑูรย์) วัดโพธินิมิต ธนบุรี
    - พ่อหลวงเปลื้อง ปญญานโต วัดบางแก้วผดุงธรรม จ.พัทลุง

    วันพุธ 7 ก.ค. 2519
    พระเกจิคณาจารย์ที่นั่งปรกปลุกเสก
    - พระสังวรวิมลเถระ (หลวงปู่โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี
    - พระอาจารย์วัน อุตตโม วัดอภัยดำรงธรรม สกลนคร
    - พ่อหลวงเปลื้อง ปญญานโต วัดบางแก้วผดุงธรรม จ.พัทลุง
    - หลวงพ่ออ่อนสี วัดพระงาม หนองคาย
    - หลวงพ่ออ่อน วัดประชานิยม กาฬสินธุ์
    - หลวงปู่สี มหาวีโร วัดประชาคมฯ ร้อยเอ็ด
    - หลวงพ่อชา วัดศรีแก่งคร้อ ชัยภูมิ
    - หลวงพ่อชม วัดป่าบ้านบัวค่อม อุดรธานี
    - หลวงพ่อบุญมา วัดอุดมคงคาคีรีเขต
    - หลวงพ่อมา วัดวิเวกฯ ร้อยเอ็ด

    วันพฤหัสบดี 8 ก.ค. 2519
    พระเกจิคณาจารย์ที่นั่งปรกปลุกเสก
    - พระสังวรวิมลเถระ (หลวงปู่โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี
    - พ่อหลวงเปลื้อง ปญญานโต วัดบางแก้วผดุงธรรม จ.พัทลุง
    - หลวงปู่สี มหาวีโร วัดประชาคมฯ ร้อยเอ็ด
    - หลวงพ่อบุญมา วัดอุดมคงคาคีรีเขต
    - พระอาจารย์สาม วัดป่าไตรวิเวก สุรินทร์
    - หลวงพ่อจ้อย วัดสุวรรณประดิษฐ์ สุราษฎร์ธานี
    - หลวงพ่อบุญรักษ์ วัดคงคาวดี สิชล นครศรีธรรมราช
    - หลวงพ่อเหรียญ วัดป่าอรัญญบรรพต หนองคาย
    - พระอาจารย์บัวพา วัดป่าพระสถิต หนองคาย

    วันศุกร์ 9 ก.ค. 2519
    พระเกจิคณาจารย์ที่นั่งปรกปลุกเสก
    - พระสังวรวิมลเถระ (หลวงปู่โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี
    - พ่อหลวงเปลื้อง ปญญานโต วัดบางแก้วผดุงธรรม จ.พัทลุง
    - หลวงพ่อพุธ วัดป่าสาละวัน นครราชสีมา
    - หลวงพ่อโชติ วัดภูเขาแก้ว อุบลฯ
    - หลวงพ่อพั่ว วัดบ้านนาเจริญ อุบลฯ
    - พระอาจารย์สมชาย วัดเขาสุกิม จันทบุรี
    - หลวงพ่อจันทร์(อายุ ๑๐๒ปี) วัดนามะตูม ชลบุรี

    วันเสาร์ 10 ก.ค. 2519
    พระเกจิคณาจารย์ที่นั่งปรกปลุกเสก
    - สมเด็จพระญาณสังวร วัดบวรฯ
    - พระสังวรวิมลเถระ (หลวงปู่โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี
    - หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี สมุทรสงคราม
    - หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลย์ สุพรรณบุรี
    - หลวงพ่อเก็บ วัดดอนเจดีย์ สุพรรณบุรี
    - หลวงพ่อสนิท วัดศีลขันธาราม อ่างทอง
    - หลวงพ่อซ้วน วัดลาดใต้ อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา

    วันอาทิตย์ 11 ก.ค. 2519
    พระเกจิคณาจารย์ที่นั่งปรกปลุกเสก
    ตอนกลางวัน (เวลา 13.00 - 1600 น.) หลวงปู่ธูป วัดสุทรธรรมทาน(วัดแค) กทม. นั่งปรกบริกรรมภาวนาเดี่ยว 4 ชั่วโมงเต็ม
    ตอนค่ำ
    - สมเด็จพระญาณสังวร วัดบวรฯ
    - พระสังวรวิมลเถระ (หลวงปู่โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี
    - หลวงพ่อซ้วน วัดลาดใต้ อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา
    - พระอาจารย์ผ่อง วัดสามปลื้ม กทม.
    - หลวงพ่อเส่ง วัดกัลยาฯ ธนบุรี
    - หลวงพ่อสา วัดราชนัดดา กทม.
    - พระครูสงัด วัดพระเชตุพนฯ กทม.

    ในวันที่ 12 ก.ค. 2519 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนิน ทรงเจิมและสุหร่าย สมเด็จนางพญา ส.ก.และพระสมเด็จอุณาโลม ในเวลา 16.00 น. ณ พระอุโบสถคณะรังษี วัดบวรฯ
    รายนามพระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์เจริญชัยมงคลคาถา ๑๐ รูป
    - สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ วัดราชผติการาม
    - พระสาสนโสภณ วัดเทพศิรินทราวาส
    - พระพุทธพจน์วราภรณ์ วัดราชบพิธ
    - พระญาณวโรดม วัดบวรราชนิเวศ
    - พระธรรมปาโมกข์ วัดราชประดิษฐ์
    - พระธรรมเสนานี วัดพระเชตุพนฯ
    - พระธรรมวราภรณ์ วัดนรนาทสุนทริการาม
    - พระเทพวราภรณ์ วัดบุรณศิริมาตยาราม
    - พระเทพปัญญากวี วัดราชาธิวาส
    - พระเทพกวี วัดบวรฯ

    ครั้งที่ 3 :
    ปลุกเสกพร้อมสมเด็จนางพญา ณ พระอุโบสถ คณะรังษี วัดบวรนิเวศวิหาร วันที่ 9 - 12เมษายน พ.ศ 2522
    รายนามพระอาจารย์ที่อาราธนามานั่งบริกรรมภาวนา
    - พระเทพวราลังการ (ศรีจันทร์) วัดศรีสุทธาวาส จ เลย
    - พระราชสังวราภิมณท์ (หลวงปู่โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี
    - พระราชธรรมวิจารย์ (หลวงปู่ธูป) วันสุนทรธรรมทาน
    - พระราชสังสรวิสุทธิ์ (บุญเลิศ) วัดราชสิทธาราม
    - พระภาวนาวิมลเถร (สิริ) วัดชนะสงครม
    - พระวิสุทธิสารเถร (ถิร) วัดป่าเลไลย์ สุพรรณบุรี
    - พระรัตนากรวิสทุธิ์ (หลวงปู่ดุลย์) วัดศรีบูรพาราม สุรินทร์
    - พระโพธิญาณเถร (หลวงปู่ชา) วัดหนองป่าพง
    - พระณาญโพธิ (หลวงพ่อเข็ม) วัดสุทัศนเทพวราราม
    - พระชินวงศาจารย์ (พุธ) วัดป่าสาลวัน นครราชสีมา
    - พระโพธิสังวรเถร (ไพฑูรย์ ) วัดโพธินิมิตร ธนบุรี
    - พระอุดมวิสุทธิเถร (อาจารย์วัน) วัดถ้าอภัยดำรง สกลนคร
    - พระสุนทรธรรมภาณี (หลวงพ่อเเพ) วัดพิกุลทอง สิงห์บุรี
    - พระครูเกษมธรรมานันท์ (เเช่ม) วัดดอนยายหอม
    - พระครูสมุทรธรรมสุนทร (หลวพ่อสุด) วัดกาหลง สมุทรสาคร
    - พระครูโกวิทสมุทรคุณ (หลวงพ่อเนื่อง) วัดจุฬามณี สมุทรสงคราม
    - พระครูธรรมกิจโกศล (นอง) วัดทรายขาว ปัตตานี
    - พระครูสุจิตตานุรักษ์ (จวน) วัดหนองสุ่ม สิงห์บุรี
    - พระครูสังวรธรรมมานุวัตร (หลวงพ่อพล) วัดหนองคณที สระบุรี
    - พระครูถาวรวิทยาคม (เพิ่ม) วัดสรรเพชณ์ นครปฐม
    - พระมหาวีระ (ฤาษีลิงดำ ) วัดจันทาราม อุทัยธานี
    - พระอาจารย์สี มหาวีโร วัดประชาคมวนาราม ร้อยเอ็ด
    - พระอาจารย์เหรียญ มหาปุญโญ วัดมหาสมณกิจภาวนา
    - พระอาจารย์พัฒน์ สุขกาโม วัดทับซ้าน สกลนคร
    - พระอาจารย์เเบน ธนากโร วัดธรรมเดจีย์ สกลนคร
    - พระอาจารย์จวน กุลเชฐโร วัดเจติยาคิรี สกลนคร
    - พระอาจารย์ฟัก สนติธมโม วัดเขาสามผาน จันทบุรี
    - พระอาจารย์สาม อกิญจโน วัดไตรวิเวก สุรินทร์
    - พระครูปลัดไพบูลย์ สุมังคโล วัดรัตนาราม พะเยา


    ขอขอบพระคุณแหล่งข้อมูลจาก
    - https://www.jramulet.com/products_detail/view/7293272
    - https://uauction4.uamulet.com/AuctionDetail.aspx?bid=62&qid=126047



    สภาพสวยเดิม เก่าเก็บไม่ผ่านการบูชา พุทธคุณครอบครบ เป็นศิริมงคลแก่บรรดาลูกศิษย์เพื่อหวังพึ่งพระพุทธคุณได้อย่างสนิทใจ แบ่งให้บูชา 1,999 บาท(พร้อมจัดส่ง EMS อย่างดีครับ)



    (คุณPeterbn จองแล้วครับ)




    คุณวิทมน สุ่มเกิด ธ.กรุงไทย สาขาเทสโก้โลตัสอุตรดิตถ์ เลขที่ 6000088418
    โทร.086-0441367, Engineer0206nu@gmail.com
    *** ขอขอบพระคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม และอุดหนุนผมครับ ***
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 กรกฎาคม 2024
  14. ศิษย์ปิยธโร

    ศิษย์ปิยธโร อายุ วรรณโณ สุขัง พลัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    15,159
    ค่าพลัง:
    +14,319
    3850.สุดยอดของดีหมุนเวียนน้อยบรรจุกรุ เมตตามหาเสน่ห์เมืองสิงห์
    พระผงยอดขุนพล หลวงปู่ปรง สาสโน วัดธรรมเจดีย์

    คลิ้กเพื่อชมรูปใหญ่ครับ
    --648af81fff0bff48.jpg

    ddjthnq-jpg.jpg
    พระผงยอดขุนพล เสาร์5 หลวงปู่ปรง สาสโน วัดธรรมเจดีย์ จังหวัดสิงห์บุรี เนื้อดินผสมผงอิทธิเจ ผงเกสร ว่าน 108 ดำเนินการจัดสร้างเมื่อปี พ.ศ.2538 - 2539 ทางวัดดำนเนินการจัดสร้างเองโดยตรงในช่วงกำลังจัดสร้างซุ้มประตูวัด และ กำแพงวัดรรมเจดีย์

    พระชุดนี้ สร้างทั้งหมด 3 พิมพ์
    1. พิมพ์ ยอดขุนพล ขนาด 3.5 X 4.2 ซม.
    2. พิมพ์ พระนางพญา ขนาด 2.7 X 3 ซฒ.
    3. พิมพ์ พระนาคปรก ขนาด 2.2 X 3 ซม.


    เริ่มตั้งแต่ หาดินดีดินบริสุทธ์ จึงต้องขุดลงไปลึกถึง 20เมตร จึงได้ดินบริสุทธิ์ปราศจากมลทิล นำมากดพิมพ์พระได้ตามต้องการ

    นำมาเผา ด้วยความร้อน 350-400 องศา นานถึง 24 ชั่วโมง ขั้นตอนนี้ลูกศิษย์ท่านนำเตาอบไฟฟ้ามาช่วยทำ จึงทำให้พระชุดน้ำอบเผาด้วยความร้อนได้สม่ำเสมอกันดีมาก สีสันใกล้เคียงกัน แทบทุกองค์

    พระชุดนี้ ได้นำบรรจุกรุไว้ส่วนหนึ่ง และได้บรรจุไว้ที่กำแพงและซุ้มประตู วัดธรรมเจดีย์ ส่วนหนึ่ง ส่วนที่เหลือจึงนำออกจำหน่ายให้บูชาจึงมีจำนวนที่ออกมาไม่มากนัก



    พุทธคุณ
    - ทำให้ผู้บูชามีสง่าราศี บังเกิดความศักดิ์สิทธิ์ ทางด้านเมตตา มหานิยม มหาเสน่ห์ เป็นเสน่ห์ต่อเพศตรงข้ามและอุดมด้วยโชคลาภ ผู้ที่บูชาพระเครื่องของท่านล้วนแต่เจริญในหน้าที่การงาน ร่ำรวยเป็นเศรษฐีก็มีมากทั้งยังมีประสบการณ์ทางด้านแคล้วคลาด รอดตายจากอุบัติเหตุ ลูกศิษย์ที่มีพระเครื่องของท่านไว้บูชาบางคนถูกลอบยิง แต่ไม่ได้รับอันตราย ปืนยิงไม่ออก ปากกระบอกปืนแตก

    วิธีบูชา
    ตั้งนะโม 3 จบ
    นึกถึงคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ คุณบิดามารดา คุณครูบาอาจารย์
    เเล้วให้ภาวนาคาถาว่า สุนะโมโล มหาลาโภ ภวันตุเมฯ
    ให้ภาวนาคาถานี้ทุกวัน จะบังเกิดสิริมงคล เมตตามหานิยม โชคลาภเงินทอง ดีนักหนาฯ




    พระผงของท่าน ไม่ต้องหาสวย
    ท่านลบผงเอง กดพิมพ์เอง ทำแบบโบราณที่วัด
    .....
    .....
    ผงอิทธิเจ ของ หลวงปู่ปรงนั้น

    เด็ดขาดมาก ทาง มหานิยม มหาเสน่ห์ ขนาดที่ว่า เวลาที่ท่านลบผง และทำผงอิทธิเจ จะมีพวกแมลงต่างๆ มากมายมารุ่มเกาะตามตัวและ ใบหน้าของท่านเต็มไปหมด นั้นแสดงให้เห็นว่า เมื่อผู้ใด ได้พระของท่านไปบูชา จะทำให้ ผู้บูชา มีสง่าราศี บังเกิด ความศักดิ์สิทธิ์ ทางด้าน เมตตา มหานิยม มหาเสน่ห์ เป็นเสน่ห์ต่อเพศตรงข้ามและอุดมด้วยโชคลาภ....ผู้ที่บูชาพระเครื่อง ของท่านล้วนแต่เจริญในหน้าที่การงาน ร่ำรวยเป็นเศรษฐีก็มีมาก





    ประวัติหลวงปู่ปรง

    เดิมชื่อ ปรง ปิ่นทอง เกิดปีมะเส็ง เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๘ เป็นบุตรของคุณพ่อปั้น ปิ่นทอง เเละคุณเเม่ปลีก ปิ่นทอง มีพี่น้องสามคน คนเเรกชื่อ นานยโป้ย ปิ่นทอง คนรองชื่อนางเปล่ง จงกสิกรรม หลวงปู่ปรงเป็นคนสุดท้อง

    อุปสมบท
    อุปสมบทครั้งเเรกเมื่อพ.ศ.๒๔๖๘ ที่วัดห้วยเจริญสุข มีหลวงพ่อพระครูศรี วิริยะโสภิต วัดพระปรางค์ เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อช้ามเเละหลวงพ่อผ่อง เป็นพระคู่สวด เรียนวิชากับหลวงพ่อศรีได้ ๖ พรรษา จากนั้นได้ลาสิกขาเพราะร้อนวิชา ออกมามีครอบครัวเเละใช้ชีวิตเเบบฆราวาส มีบุตรชายหนึ่งคน

    ท่านเคยใช้ชิวิตเเบบเสือ เเบบนักเลง ภายหลังกลับใจมาบวชอีกครั้ง หลวงปู่เข้าอุปสมบทครั้งที่สองปีพ.ศ.๒๕๐๔ ที่วัดราชประสิทธิ์ จ.สิงห์บุรี มีหลวงพ่อเตี้ยมเป็นพระอุปัชฌาย์ หลังจากนั้น ท่านได้มาจำพรรษาที่วัดธรรมเจดีย์ ๓๐ พรรษา จากนั้นหลวงปู่ได้ออกธุดงค์ไปทางจังหวัดอุทัยธานี เข้าสู่ป่าใหญ่ ออกไปถึงประเทศเขมรเป็นเวลา ๓ ปี จึงกลับมายังวัดธรรมเจดีย์

    การศึกษาวิทยาคม
    ได้บวชเรียนเเละศึกษาวิชาต่างๆกับหลวงพ่อศรี วัดพระปรางค์ ๖ พรรษา นอกจากนี้ยังได้เรียนวิชาจากพระสงฆ์เเละฆราวาสต่างๆดังนี้
    - หลวงพ่อต้วม วัดสนามชัย ชัยนาท
    - หลวงพ่อคำ จ.อุทัยธานี
    - หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ
    - หลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา
    - หมอเจียก จ.อุทัยธานี
    - หลวงพ่อเคน วัดดงเศรษฐี จ.อุทัยธานี หลวงพ่อเคนนี้ เป็นอาจารย์หลวงปู่กวยด้วยเช่นกัน เก่งวิชารักษาโรค ประสานกระดูก มีวิชาเล่นเเร่เเปรธาตุ ทำตะกั่วให้เป็นทองคำได้เเบบหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ
    - อาจารย์รื่น อำเภอวิเชียร จ.เพชรบูรณ์
    - อาจารย์อ้วน วัดด่านช้าง จ.สุพรรณบุรี


    เสือกลับใจ
    หลังจากบวชครั้งที่สองปีพ.ศ.๒๕๐๔ หลวงปู่จำพรรษาที่วัดธรรมเจดีย์ โดยตัดทางโลกสิ้นเชิง สมัยนั้นทางกองปราบเคยส่งมือปราบมาฆ่าท่าน เพราะท่านเคยมีรายชื่ออยู่ในบัญชีดำ ทางกองปราบส่งคนปลอมตัวมาเเบบสามัญชน มาหลอกถามท่านว่า บวชทำไม จะสึกหรือไม่ หลวงปู่ตอบไปว่า บวชครั้งนี้ ขอบวชให้พระพุทธองค์ จะไม่ขอลาสิกขาอีกเเล้ว จนกว่าจะถึงฝั่งพระนิพพาน คนที่ปลอมตัวมา เห็นหลวงปู่พูดจาจริงจังดังนั้นจึงไม่ทำอะไรท่าน เเละได้ลบชื่อหลวงปู่ออกจากรายชื่อบัญชีดำ หลวงปู่ก็ได้ปฎิบัติธรรมอย่างจริงจังดังที่ท่านได้กล่าวออกไป

    จากนั้นท่านก็ไปศึกษาตำราเก่าของหลวงพ่อศรี วัดพระปรางค์ สมัยนั้นหลวงพ่อทอง เป็นเจ้าอาวาส เดินทางไปเรียนวิชากับหลวงพ่อเคน วัดดงเศรษฐที่อุทัยธานี หลวงปู่เก่งวิชาหลายอย่างที่เรียนจากหลวงพ่อศรี เช่น การทำเเหวนเเขน ลงตะกรุด เช่นตะกรุดสามกษัตริย์ ตะกรุดโทน ตะกรุดสามดอก นอกจากนี้ยังเก่งเรื่องทำผงวิเศษ ทำสีผึ้ง ลงมีดหมอได้ขลัง เเละเก่งวิชาตะกรุดกระดอนสะท้อน คือ ถ้าถูกยิง ลูกปืนจะย้อนกลับ

    ปฎิปทา
    ๑. เป็นผู้คงเเก่เรียน ชอบศึกษา ทำผงได้เก่ง เก่งทางตะกรุด มีดหมอ ลงอาถรรพ์ วิชาหลายอย่างทำได้เเบบหลวงปู่กวย
    ๒. ชอบทำวัตถุมงคลเอง ที่หน้ากุฎิหลวงปู่มักนั่งจารตะกรุด หรือเขียนผ้ายันต์ คนไปกราบ บางครั้งนั่งลงยันต์ไป นั่งคุยไป เขียนเสร็จ เสกเดี๋ยวนั้นเลยก็มี
    ๓. ร้อนวิชา หลวงปู่ค่อนข้างร้อนวิชา อย่างที่กล่าว ท่านชอบลงของ ทำของด้วยตัวเอง
    ๔. ชอบเลี้ยงสัตว์ หลวงปู่เลี้ยงหมา เเมว ไก่ ตอนเช้าๆท่านจะขุนข้าวให้มันเอง ปรกติหลังหกโมงเย็น หลังจารตะกรุด ท่านจะมาให้ข้าวพวกมัน เเมวคลุกข้าวให้กินในกุฎิ หมาจะมีข้าวในอ่างให้ข้างนอก เสร็จกิจ หลวงปู่จะสรงน้ำ ทำวัตรสวดมนต์ ปลุกเสกวัตถุมงคลเเละปฎิบัติธรรม
    ๕. ชอบยิงคุนกระสุน คันกระสุนนี้ ใช้ลูกดินยิงเเทนลูกธนู ท่านมักวางไว้ใกล้ตัว สมัยก่อน ใครเคยไปกราบ มักจะเห็นคันกระสุนวางข้างๆตัวท่าน

    คุณวิเศษ
    ๑. หายตัวได้ หลายครั้งที่ศิษย์พบเหตุการณ์ดังกล่าว เช่นขับรถมาถึงหน้ากุฎิ เห็นหลวงปู่นั่งจารตะกรุด พอลงรถมาถึง จะกราบท่านเเละนำของมาถวาย กลับมองไม่เห็น พอเดินไปเดินมา หาท่าน กลับเห็นท่านนั่งอยู่ที่เดิม พอถามว่าท่านไปไหน หลวงปู่ตอบว่า นั่งอยู่ตรงนี้ ไม่ได้ไปไหน ศิษย์ใกล้ชิดบางคนบอกมาว่า เวลาหลวงปู่เสก หรือลงตะกรุดให้เป็นกำบัง ต้องลงจนไม่มีใครเห็นตัวท่าน
    ๒. ถ่ายรูปไม่ติด หลายครั้งที่ท่านไปงานพิธีต่างๆ มีช่างมาขอถ่ายรูปท่าน บางครั้งหลวงปู่รำคาญ ถ่ายเเบบไม่เกรงใจ หรือท่านยังไม่พร้อม พวกช่างเลยกดชัตเตอร์ไม่ลง บางครั้งถ่ายไปไม่ติดก็เคยมี หลวงปู่เคยเหน็บตะกรุดชนิดหนึ่งที่ท่านทำให้คนทำบุญ เเต่ท่านพกติดตัว มีศิษย์ถาม ท่านเลยตอบไปว่า ท่านรำคาญพวกถ่ายรูป เลยต้องมีดีติดตัวไว้บ้าง ครั้งนึงมีศิษย์มาจากอเมริกา มากราบท่าน หลวงปู่ได้เอาตะกรุดชนิดนี้ออกมาให้ทำบุญ ท่านบอกว่า เงินหาได้ เเต่ตะกรุดเเบบนี้ หาได้ยากกว่าหลายร้อยเท่านัก
    ๓. ทำวัตถุมงคลได้ขลัง ท่านเป็นพระ ชอบพระเอง เเม้อายุมาก ผ้ายันต์ ตะกรุดจารเอง มีดหมอก็จารเอง สมเด็จยุคเเรกๆหลวงปู่ทำเอง รุ่นต่อมาเเม้ไม่ได้ทำเอง เเต่ก็คุมเรื่องมวลสาร เนื้อหา ส่วนผสมต่างๆ วัตถุหลักที่เป็นส่วนผสม เช่น ผงอิทธิเจ เเร่ เส้นเกศา เป็นต้น
    การปลุกเสก มีการอัญเชิญพระอรหันต์ เสกด้วยคาถาชินบัญชร พระคาถาธรรมจักรกัปปะวัตนสูตร พระผงท่านเด่นทางเมตตาเเรง เหรียญเเละตะกรุดก็มหาอุตม์ หยุดปืนได้ไม่เเพ้ใคร
    ๔. ลงอาถรรพ์ได้ ในสระที่วัด หลวงปู่ได้ขุดไว้ ให้ชาวบ้านได้ใช้น้ำอาบเเละกิน ท่านได้ลงอักขระทื่เสา ฝังไว้ที่ขอบสระทั้งสี่ด้าน ถือเป็นเขตวัด เขตอภัยทาน ต่อมีมีชาวบ้านบางกลุ่ม ถือวิสาสะ ไม่เกรงใจเขตวัดเขตอภัยทาน มาดักปลาในสระไปทำอาหารกินกัน ต่อมาเกิดอาเภท บ้านถูกไฟไหม้ ต้องคดีติดคุก มีอันเป็นไปต่างๆนานา เรื่องนี้เป็นที่โจษขานกันมาก ลองไปถามเเถววัดดู เเล้วจะทราบดี


    มรณภาพ
    ในบั้นปลายชีวิต หลวงปู่ได้ย้ายมาจำพรรษาที่วัดห้วยเจริญสุข บ้านเกิดท่าน หลวงปู่ปรง ได้ช่วยบูรณปฏิสังขรณ์อุโบสถที่ชำรุดทรุดโทรม จนคืนสู่สภาพเรียบร้อยแข็งแรงดี ท่านได้มรณภาพลงเมื่อ พ.ศ.๒๕๔๐ ด้วยโรคชรา สิริรวมอายุได้ ๙๕ ปี



    สภาพผิวหิ้งเก่าเก็บ พุทธคุณครบทุกทาง ดีทุกอย่าง ทั้งเมตตา โชคลาภ แคล้วคลาดมหาอุด นอกจากนี้ยังสามารถแก้พิษต่างๆได้ด้วย แบ่งให้บูชา 260 บาท (พร้อมจัดส่ง EMS อย่างดีครับ)

    คุณวิทมน สุ่มเกิด ธ.กรุงไทย สาขาเทสโก้โลตัสอุตรดิตถ์ เลขที่ 6000088418
    โทร.086-0441367, Engineer0206nu@gmail.com

    *** ขอขอบพระคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม และอุดหนุนผมครับ ***
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 มิถุนายน 2024
  15. ศิษย์ปิยธโร

    ศิษย์ปิยธโร อายุ วรรณโณ สุขัง พลัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    15,159
    ค่าพลัง:
    +14,319
    3851.The last เหรียญดีที่น่าบูชา เหรียญ9สังฆราช9มหาราช วัดเทพากร
    ลป.โต๊ะ,ลพ.กวย,ลป.หน่าย ร่วมเสกมหาพิธี 5วาระ

    คลิ้กเพื่อชมรูปใหญ่ครับ
    9-1.jpg

    image-23e9_592ae841-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg

    xyo3gv-jpg.jpg
    xyemb8-jpg.jpg
    xyeyqr-jpg.jpg

    เหรียญ 9สังฆราช 9มหาราช วัดเทพากร ธนบุรี กทม. เนื้อทองแดงรมดำ จัดสร้างเมื่อวันที่ 20 มีนาคม ปีพ.ศ.2513 เนื่องในที่ระลึกงานวางศิลาฤกษ์โรงเรียนพระปริยัติธรรม สำนักเรียน วัดเทพากร (มีการปลุกเสกตั้งแต่ปี 2513 จนกระทั่งปี 2515 เสกรวม 5 วาระ พร้อมวัตถุมงคลแบบอื่นๆ รุ่นนี้สร้างพร้อม เหรียญ9สังฆราช9มหาราช) เหรียญรุ่นนี้คือ เหรียญรุ่น1 ของวัดเทพากร ที่ได้มีการจัดสร้างพิธีพุทธาภิเษกขึ้นมา ซึ่งหลวงพ่อกวย มาเสกให้แน่นอน 100%ครับผม

    จัดพิธีพุทธาภิเษกอันยิ่งใหญ่ พระคณษจารย์ทั่วฟ้าเมืองไทยร่วมปลุกเสก พิธีพุทธาภิเษกทั้ง 5วาระ
    วาระที่1
    - เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ.2513 โดยอาราธนาพระคณาจารย์ 19รูป นั่งปรกบริกรรมปลุกเสก (ไม่ทราบรายนาม เกจิสายใต้)

    วาระที่2
    - เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ.2513 ท่านเจ้าคุณโพธิวรคุณ นั่งปรกบริกรรมปลุกเสก

    วาระที่3
    - เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ.2513 (วันปิยะมหาราช) ไม่ทราบรายนามคณาจารย์

    วาระที่4
    - เมื่อเสาร์ วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2515 พระคณาจารย์ 40รูปนั่งปรกบริกรรมปลุกเสก รายนามพระคณาจารย์ที่เข้าร่วมพุทธาภิเษก
    - พระเทพวิริยากรณ์ วัดยานนาวา เป็นประธานจุดเทียนชัย
    - หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลยก์
    - หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี
    - ท่านเจ้าคุณโพธิวรคุณ วัดโพธินิมิต
    - พระอาจารย์สุพจน์ วัดสุทัศน์
    - หลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม
    - หลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ
    - หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง
    - หลวงพ่อพริ้ง วัดโบสถ์
    - ครูบาวัง วัดบ้านเด่น
    - หลวงพ่อจวน วัดหนองสุ่ม
    - หลวงพ่อลมูล วัดเสด็จ
    - หลวงพ่อป่วน วัดโพธิ์งาม
    เป็นต้น

    วาระที่5
    - เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ.2515 ไม่ทราบรายนามพระคณาจารย์

    ลักษณะเหรียญ
    มหาราช 9.พระองค์ คือ
    1.พระเจ้าพรหมมหาราช
    2.พระเจ้าเม็งรายมหาราช
    3.พ่อขุนรามคำแหงมหาราช
    4.พระเจ้าอู่ทองมหาราช
    5.พระนเรศวรมหาราช
    6.พระนารายณ์มหาราช
    7.พระเจ้าตากสินมหาราช
    8.พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
    9.พระปิยมหาราช

    พระสังฆราช 9.พระองค์ คือ
    1.สมเด็จพระสังฆราช (สุก)
    2.สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส
    3.สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์
    4.สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
    5.สมเด็จพระสังฆราชเจ้า พระเจ้าวรวงค์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์
    6.สมเด็จพระสังฆราช (แพ)
    7.สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงค์
    8.สมเด็จพระสังฆราช (ปลด)
    9.สมเด็จพระสังฆราช (อยู่)

    ข้อมูลจากเว็บวัดโฆสิตาราม :
    - http://www.watkositaram.com/forum/index.php?topic=10536.0


    สภาพสวยผิวปรอทเดิมๆ เหรียญดีพิธีใหญ่พระคณาจารย์ร่วมเสกล้วนคงวิทยาล้นเหลือ ของดีราคาถูก ข้อมูลทั้งหมดจากบันทึกการจัดสร้างพระชุดนี้ครับ แบ่งให้บูชา 333 บาท (พร้อมจัดส่ง EMS อย่างดีครับ)

    คุณวิทมน สุ่มเกิด ธ.กรุงไทย สาขาเทสโก้โลตัสอุตรดิตถ์ เลขที่ 6000088418
    โทร.086-0441367, Engineer0206nu@gmail.com
    *** ขอขอบพระคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม และอุดหนุนผมครับ ***
     
  16. ศิษย์ปิยธโร

    ศิษย์ปิยธโร อายุ วรรณโณ สุขัง พลัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    15,159
    ค่าพลัง:
    +14,319
    3852.The last บรรจุของอธิษฐานเก่า(๒) รูปหล่อคุณแม่ชีบุญเรือน
    ลป.ประไพ,ลพ.สิริ,ครูบากฤษดา เมตตาอธิษฐานจิต

    คลิ้กเพื่อชมรูปใหญ่ครับ
    -ddb9be474ef257a1.jpg

    thumb-1bb0_57826bbb-jpg-4141677-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg thumb-4888_57826bbb-jpg-4141678-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg thumb-8a74_57826bbb-jpg-4141679-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg thumb-dd5c_57826c24-jpg-4141680-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg

    รูปหล่อคุณแม่ชีบุญเรือน โตงบุญเติม เนื้อสำริดเหลือง ตอกโค้ตตัว "บ" ที่ฐานด้านหน้า ใต้ฐานบรรจุมวลสารเก่าที่คุณแม่อธิฐานไว้ คือ ปูนอธิฐาน,ทรายทอง,ข้าวตอกพระร่วง,ข้าวสารหิน,ศิลาน้ำ และแป้งเสก หลวงปู่บุดดา เป็นต้น ดำเนินการจัดสร้างขึ้นเมื่อวันที่ 7 กันยายน ปีพ.ศ2555 โดยคณะศิษย์คุณแม่บุญเรือน โตงบุญเติม จำนวนการสร้าง 999องค์

    วาระการอธิษฐานจิต อาทิ
    - หลวงปู่ประไพ อรรคธัมโม วัดป่าอรรคธรรมาราม จังหวัดนครพนม ปัจจุบันอายุ 90ปี (ศิษย์หลวงปู่ฝั้น และ หลวงปู่ผาง)

    - หลวงพ่อสามารถ สมาธิโก วัดสังฆทาน จังหวัดนนทบุรี (ศิษย์หลวงปู่สังวาลย์ เขมโก)

    - หลวงพ่อสิริ สิริวัฒโน วัดตาล จังหวัดนนทบุรี (พระเกจิอาจารย์สืบสายวิชาหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า)

    - ครูบากฤษดา สุเมโธ วัดสันพระเจ้าแดง(ป่ายาง) จังหวัดลำพูน เป็นต้น

    พระคาถาพระฉิมของคุณแม่บุญเรือน
    ๏ นะชาลีติ ฉิมพาลี จะ มหาเถโร สุวรรณะมามา โภชนะมามา วัตถุวัตถามามา พลาพลังมามา โภคะมามา มหาลาโภมามา สัพเพชะนา พหูชะนา ภวันตุเม ฯ.

    พระคาถานี้คุณแม่บุญเรือนได้จากสมาธิเมื่อวันศุกร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2500 ท่านให้สวดตามกำลังวันเพื่อบูชาพระสิวลีมหาเถระหรือพระฉิมพลีจะเป็นมหาลาภ มหาโชค มหาโภคทรัพย์อย่างยิ่ง
    กำลังวันมีดังนี้ วันอาทิตย์ 6 วันจันทร์ 15 วันอังคาร 8 วันพุธ 17 วันพฤหัสบดี 19 วันศุกร์ 21 และวันเสาร์ 10

    สภาพสวยเดิมๆ พิมพ์คมชัดลึก พุทธคุณครอบครบ เมตตาคลาดแคล้วปลอดภัย ทำมาหากินคล่อง แบ่งให้บูชา 555 บาท (พร้อมจัดส่ง EMS อย่างดีครับ)




    (คุณphraedhammajak จองแล้วครับ)





    คุณวิทมน สุ่มเกิด ธ.กรุงไทย สาขาเทสโก้โลตัสอุตรดิตถ์ เลขที่ 6000088418
    โทร.086-0441367, Engineer0206nu@gmail.com
    *** ขอขอบพระคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม และอุดหนุนผมครับ ***
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 กรกฎาคม 2024
  17. phraedhammajak

    phraedhammajak เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    1,602
    ค่าพลัง:
    +2,972
    3852.The last บรรจุของอธิษฐานเก่า(๒) รูปหล่อคุณแม่ชีบุญเรือน
    ลป.ประไพ,ลพ.สิริ,ครูบากฤษดา เมตตาอธิษฐานจิต

    จองรายการนี้
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  18. ศิษย์ปิยธโร

    ศิษย์ปิยธโร อายุ วรรณโณ สุขัง พลัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    15,159
    ค่าพลัง:
    +14,319
    3853.พระผู้มีชัยชนะเหนือหมู่มารทั้ง3โลก (๒) เหรียญหลวงพ่อวิชิตมาร
    ลพ.สวัสดิ์,ลพ.รวย,ลพ.เพิ่ม,ลป.นาม,ลพ.อุดม ร่วมประจุพลัง


    คลิ้กเพื่อชมรูปใหญ่ครับ
    20190226fc276ab6a4002875d935bc30cd56d089160712-jpg.jpg

    -2f1f235f3dc30222.jpg
    เหรียญหลวงพ่อพระพุทธนิมิตวิชิตมารโมลีศรีสรรเพชญบรมไตรโลกนาถ รุ่นครบ 99ปีก่อตั้งธนาคารออมสิน วัดหน้าพระเมรุฯ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เนื้อทองแดงผิวไฟ ดำเนินการจัดสร้างเมื่อปีพ.ศ.2554 สร้างเป็นที่ระลึกงานทอดกฐินพระราชทาน ณ วัดหน้าพระเมรุฯ

    *** หลวงพ่อศักดิ์สิทธิ์มาก มีโอกาสขอแนะนำให้ไปกราบท่านนะครับ เชื่อผมครับ ***


    พิธีพุทธาภิเษก
    ประกอบพิธีพุทธาภิเษกอย่างยิ่งใหญ่ ณ มณฑลพิธีวัดหน้าพระเมรุฯ โดยมีพระเกจิอาจารย์แห่งยุคร่วมนั่งปรกปลุกเสกจำนวนมาก อาทิ
    - หลวงปู่สวัสดิ์ วัดศาลาปูน
    - หลวงพ่อรวย วัดตะโก
    - หลวงพ่อเพิ่ม วัดป้อมแก้ว
    - หลวงพ่อพูน วัดบ้านแพน
    - หลวงพ่อเฉลิม วัดพระญาติฯ
    - หลวงพ่อเอียด วัดไผ่ล้อม
    - หลวงพ่ออุดม วัดพิชัยสงคราม
    - หลวงพ่อหวล วัดพุทไธสวรรค์
    - หลวงพ่อหล่อ วัดโปรดสัตว์
    - หลวงพ่อทองหล่อ วัดพรหมรังษี
    - หลวงพ่อประจวบ วัดระฆัง
    - หลวงพ่อแวว วัดพนัญเชิง
    - หลวงพ่อทองย้อย วัดศรีบุรีรัตนาราม
    - หลวงปู่นาม วัดน้อยชมภู เป็นต้น


    วัดหน้าพระเมรุราชิการามวรวิหาร วัดในอยุธยาที่ไม่ถูกพม่าเผาทำลาย ตั้งอยู่นอกเกาะเมือง ไม่ไกลจากวัดเชิงท่าและพระราชวังโบราณ สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น จากอดีตถึงปัจจุบันยังคงปรากฏสถาปัตยกรรมแบบอยุธยาในสภาพสมบูรณ์ โดยเฉพาะพระอุโบสถ ที่มีหน้าบันเป็นไม้สักแกะสลักรูปพระนารายณ์ทรงครุฑเหยียบเศียรนาค ภายในประดิษฐานพระพุทธนิมิต พระพุทธรูปปางมารวิชัยหล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ ทรงเครื่องแบบกษัตราธิราช เชื่อกันว่าเป็นพระผู้มีชัยชนะเหนือหมู่มาร ทั้ง 3 โลก เป็นหนึ่งในจุดหมายในการไปไหว้พระอยุธยาที่คนนิยมลอดซุ้มประตูหน้าบันเพื่อแก้เคราะห์และขอพรในเรื่องต่าง ๆ

    หลวงพ่อพระพุทธนิมิตฯ(พระพุทธนิมิตวิชิตมารโมลีศรีสรรค์เพชรบรมไตรโลกนาถ)
    เป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องที่มีพุทธลักษณะงดงามมากทั้งเป็นที่เคารพบูชาของชาวเมืองอยุธยาและพุทธศาสนิกชนทั่วประเทศ ด้วยอภินิหารความศักดิ์สิทธิ์ขององค์หลวงพ่อพระพุทธนิมิตฯ ทำให้วัดหน้าพระเมรุเป็นวัดที่ไม่ถูกกองทัพพม่าเผาทำลาย ว่ากันว่ากองทัพพม่าได้ตั้งทัพอยู่ภายในบริเวณวัดและหันปากกระบอกปืนใหญ่ยิงเข้าใส่พระราชวัง โดยมีพระเจ้าอะลองพญา แม่ทัพพม่าเป็นผู้บัญชาการด้วยตัวเอง แต่ด้วยความศักดิ์สิทธิ์แห่งองค์หลวงพ่อพุทธนิมิตฯ ทำให้ปืนใหญ่ที่พระเจ้าอะลองพญาเป็นผู้จุดชนวนเกิดระเบิด เป็นเหตุให้พระเจ้าอะลองพญาสิ้นพระชนม์จนต้องถอยทัพกลับพม่า เรื่องราวนี้มีบันทึกเป็นพงศาวดารอยู่ภายในวัดฯ


    พระพุทธนิมิตอันศักดิ์สิทธิ์ ขอพรให้สมหวังดังใจคิด

    นะโม ๓ จบ
    พุทธนิมิตตัง อหังวันทา ขมามิหัง
    พุทธนิมิตตัง สหัสสะโกติเทวตานัง
    พุทธนิมิตตัง สาธุ รูปานัง
    อิติสุคะโต อะระหังพุทโธ นะโมพุทธายะ
    ปฐวีคงคา พระภูมะเทวา ขมามิหัง




    สภาพสวยผิวไฟเดิมๆ พุทธคุณ อำนวยลาภผลโภคทรัพย์ตามสมควร ปกปักรักษาให้บ้านเรือนร่มเย็นเป็นสุข มีความเจริญรุ่งเรือง และป้องกันภยันตรายสิ่งไม่ดีไม่งามต่างๆ แลสิริมงคลสูงสุด แบ่งให้บูชา 222 บาท (พร้อมจัดส่ง EMS อย่างดีครับ)

    คุณวิทมน สุ่มเกิด ธ.กรุงไทย สาขาเทสโก้โลตัสอุตรดิตถ์ เลขที่ 6000088418
    โทร.086-0441367, Engineer0206nu@gmail.com

    *** ขอขอบพระคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม และอุดหนุนผมครับ ***
     
  19. ศิษย์ปิยธโร

    ศิษย์ปิยธโร อายุ วรรณโณ สุขัง พลัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    15,159
    ค่าพลัง:
    +14,319
    3854.สุดยอดของดียุคต้นหลวงปู่ มีเกศา
    พระผงพิมพ์เจ้าสัว หลวงปู่แสง ญาณวโร วัดป่าอรัญญาวิเวก

    คลิ้กเพื่อชมรูปใหญ่ครับ
    93189153_3040345882753730_4802909911044325376_n.jpg
    -dbd766bd66fe2fdf.jpg
    พระผงพิมพ์เจ้าสัว รุ่นหลักทองมหาเศรษฐี หลวงปู่แสง ญาณวโร ออกวัดป่ามโนรมย์สมประสงค์ จังหวัดอำนาจเจริญ เนื้อผงพุทธคุณหลายชนิด และเกศา หลวงปู่แสง ผสมลงไปด้วย ดำเนินการจัดสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.254X ศิษย์สร้างถวาย เพื่อเป็นแจกเป็นที่ระลึก

    ( รุ่นนี้ไม่มีให้บูชา หลวงปู่แจกเท่านั้น )



    ประวัติ “หลวงปู่แสง จันดะโชโต ญาณวโร”
    ข้อมูลจาก เพจโบราณนานมา ระบุว่า “หลวงปู่แสง จันดะโชโต (ญาณวโร)” วัดป่าดงสว่างธรรม บ้านดงสว่าง ตำบลโคกนาโก อำเภอป่าติ้ว จังหวัดยโสธร เดิมชื่อ “นายแสง ดีหอม” เกิดเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2467 อำเภอฟ้าหยาด จังหวัด อุบลราชธานี (ปัจจุบัน คือ อำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร)

    อุปสมบทเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2490 ณ วัดศรีจันทร์ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ปัจจุบันสิริอายุปีที่ 97 พรรษา 75 (บางคนเล่าว่าจริง ๆ แล้วท่านอายุ 105 ปี เพราะสมัยนั้นแจ้งเกิดช้า)

    ประวัติการจำพรรษา วิเวกธุดงค์
    : ศึกษาหลักธรรมกับหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ที่วัดป่าบ้านหนองผือ ตำบลนาใน อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร (ช่วงบั้นปลายของท่านอาจารย์มั่นที่อยู่บ้านหนองผือ)

    : หลวงปู่คำดี ปภาโส วัดถ้ำผาปู่ จังหวัด เลย (ปี 2494-2496)

    : พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร ได้ร่วมสร้างวัดถ้ำขาม (ปี 2497)

    : หลวงปู่เทศก์ เทสรังสี วัดหินหมากเป้ง อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย (1 พรรษา)

    : หลวงปู่บัว สิริปุณโณ วัดราษฎร์สงเคราะห์ อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี (20 พรรษา)

    : พระอาจารย์แบน ธนากโร ได้ร่วมสร้างกุฏิศาลาที่วัดธรรมเจดีย์ จังหวัดสกลนคร

    : หลวงปู่ดูลย์ อตุโล วัดบูรพาราม อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์

    : หลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถ้ำกลองเพล อำเภอหนองบัวลำภู จังหวัดอุดรธานี ได้ร่วมธุดงค์ที่ภูวัว

    : หลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่

    : หลวงปู่ชอบ ฐานสโม วัดป่าสัมมานุสรณ์ อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย

    : หลวงปู่ศรี มหาวีโร ได้วิเวกธุดงค์ที่ภูเกล้า ภูเวียง จังหวัดขอนแก่น

    : หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ วัดอรัญบรรพต อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย – ได้วิเวกธุดงค์ด้วยกันที่วัดดอยหินหมากเป้ง

    : หลวงปู่จันทร์โสม กิตติกาโร วัดป่านาสีดา จังหวัดอุดรธานี ได้วิเวกธุดงค์ด้วยกันที่ อำเภอผือ อำเภอสามพราน และ อำเภอน้ำโสม

    : พระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ, พระอาจารย์วัน อุตตะโม หลวงปู่หล้า เขมปัตโต และพระอาจารย์สิงห์ทอง ธัมมวโร ได้วิเวกธุดงค์ร่วมกันที่ถ้ำสาลิกา ภูสิงห์ ภูทอง ภูพานคำ และ ภูทอก ฯลฯ

    : หลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร วัดป่าวังเลิง จังหวัดมหาสารคาม ได้จำพรรษาด้วยกัน (ปี 2532 – 2533)

    : ตั้งแต่ ปี 2534 – 31 ธันวาคม 2551 จำพรรษา ที่วัดป่าอรัญญาวิเวก บ้านไก่คำ จังหวัดอำนาจเจริญ

    : 31 ธันวาคม 2551 – 11 ตุลาคม 2552 จำพรรษาที่วัดป่าอิสิปตนมฤคทายวัน (เสนาสนป่าโคกค่าย) บ้านหนองไฮน้อย ตำบลหนองข่า อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ

    : 11 ตุลาคม 2552 จำพรรษาที่วัดป่านาเกิ้งญาณวโร บ้านนาเกิ้ง อำเภอเสนางคนิคม จังหวัดอำนาจเจริญ

    : 21 พฤศจิกายน 2553 จำพรรษาที่ วัดป่ามโนรมย์สมประสงค์ (สำนักสงฆ์ภูทิดสา)

    : บ้านห้วยฆ้อง ตำบลหนองข่า อำเภอ ปทุมราชวงศา จังหวัด อำนาจเจริญ

    : 3 พฤศจิกายน 2556 สำนักสงฆ์บ้านเวินชัย อำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร

    : ปัจจุบัน หลวงปู่แสง ญาณวโร จำพรรษา ที่ วัดป่าดงสว่างธรรม บ้านดงสว่าง ตำบลโคกนาโก อำเภอ ป่าติ้ว จังหวัดยโสธร


    ก่อนหน้านี้หลาย ๆ ท่านคงคุ้นเคยกับฉายาของท่านคือ “หลวงปู่แสง ญาณวโร” หลวงปู่ท่านได้เมตตาเล่าให้ลูกศิษย์ฟังถึงเหตุการณ์ที่เปลี่ยนฉายาจาก “ญาณวโร” เป็น “จันดะโชโต เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2557 หลวงปู่ท่านได้เล่าให้ฟังว่า “…สมัยที่ท่านหนุ่ม ๆ ท่านได้เดินทางไปธุดงค์ที่ จังหวัดอุดรธานี เพื่อที่จะไปปักกลดที่วัดร้างแห่งหนึ่ง ทางที่จะไปนั้น ต้องนั่งเรือข้ามห้วยชื่อว่า “ห้วยหลวง” ขณะที่หลวงปู่ท่านกำลังนั่งเรืออยู่นั้น เรือได้เกิดพลิกคว่ำ ทำให้บาตรของหลวงปู่ได้หล่นน้ำ ซึ่งในบาตรนั้นได้มีสูติบัตรพระอยู่ด้วย ทำให้สูติบัตรของหลวงปู่ท่านได้ลอยหายไปกับกระแสน้ำ

    หลังจากนั้นหลวงปู่ก็ได้ไปทำสูติบัตรพระใหม่ซึ่งหลวงปู่ท่านมาเห็นในภายหลังว่า เจ้าหน้าที่พิมพ์ฉายาให้ท่านผิดไปเป็นฉายา “ญาณวโร” โดยแท้จริงแล้วหลวงปู่ท่านได้ใช้ฉายา “จันดะโชโต” มาตั้งแต่ต้น จึงทำให้หลวงปู่ได้ใช้ฉายา “ญาณวโร” ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาเป็นเวลาหลายปี

    จนกระทั่งปี 2557 หลวงปู่ท่านได้มอบหมายให้พระครูสุทธิพรหมคุณ (สุทธิพงศ์ ชนุตตโม) เจ้าอาวาสวัดป่าวังเลิง เจ้าคณะจังหวัดมหาสารคาม ให้ดำเนินการในการเปลี่ยนฉายาของหลวงปู่กลับมาเหมือนเดิม จาก “ญาณวโร” เป็น “จันดะโชโต” ซึ่งเป็นฉายาที่แท้จริงของหลวงปู่ และหลวงปู่ยังได้กล่าวอีกว่า “จันดะโชโต” มีความหมายว่า “ผู้ที่รุ่งเรือง” หลวงปู่ท่านเคยจำพรรษาที่วัดป่าวังเลิง จังหวัดมหาสารคาม เมื่อปี 2532 – 2533…”



    สภาพสวยเก่าเก็บ ของดีมวลสารเยี่ยม มีเกศาหลวงปู่ แบ่งให้บูชา 270 บาท (พร้อมจัดส่ง EMS อย่างดีครับ)

    คุณวิทมน สุ่มเกิด ธ.กรุงไทย สาขาเทสโก้โลตัสอุตรดิตถ์ เลขที่ 6000088418
    โทร.086-0441367, Engineer0206nu@gmail.com
    *** ขอขอบพระคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม และอุดหนุนผมครับ ***
     
  20. ศิษย์ปิยธโร

    ศิษย์ปิยธโร อายุ วรรณโณ สุขัง พลัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    15,159
    ค่าพลัง:
    +14,319
    3855.The last ของดีของปู่มีOption พระสมเด็จชนะมารปฐวีธาตุ(๒)
    หลวงพ่อทองดำ วัดท่าทอง ยอดมวลสารพิธีคุณสุธันย์ สร้างถวาย

    คลิ้กเพื่อชมรูปใหญ่ครับ
    -034d5f78ad89f278.jpg
    พระสมเด็จชนะมารปฐวีธาตุ หลวงพ่อทองดำ วัดท่าทอง จังหวัดอุตรดิตถ์ เนื้อผงวิเศษ ดำเนินการจัดสร้างเมื่อปี พ.ศ.2545-2547 จัดสร้างโดย คุณอาคม แซ่อึ้ง และ คุณสุธันย์ สุนทรเสวี(เป็นผู้รวบร่วมมวลสาร)
    มี Option ติดจีวร และชานหมากหลวงปู่ทองดำ ซึ่งผมได้ขอความอนุเคราะห์มาจากลูกศิษย์ที่อุปฐากหลวงปู่ครับ

    จำนวนสร้างทั้งหมด 3,000 กว่าองค์
    -ถวายหลวงปู่ทองดำจำนวน 1,000 กว่าองค์
    -บรรจุที่วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม 1,000 กว่าองค์
    -คุณสุธันย์ สุนทรเสวี นำไปแจกกับผู้ร่วมทำบุญที่สถานีอนามัย 1,000 กว่าองค์
    -องค์ที่ฝังพระธาตุองค์พระประมาณ 300 กว่าองค์ครับ

    พุทธลักษณะ
    ด้านหน้า :
    เป็นรูปจำลองพระพุทธรูปปางมารวิชัยประทับนั่งบนรัตนบัลลังก์เหนือพระแม่ธรณีปางบิดมวยผม ภายใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์

    ด้านหลัง :
    เป็นพระยันต์ยะประเสริฐ "ยันต์ยะประเสริฐ" เป็นเอกลักษณ์ที่เรียกว่า "ยันต์ครู" (อักขระที่คล้ายเลข ๘ ขึ้นยอด มีตัวยะอยู่ตรงกลาง) ภายในตารางยันต์บรรจุคาถาหัวใจพระเจ้า 5 พระองค์ นะโมพุทธายะ และหัวใจพระไตรสรณคมน์ พุท ธะ(ธา)สัง มิฯ บรรทัดต่อมาจารึกชื่อหลวงปู่ และปีการจัดสร้าง

    มวลสารศักดิ์สิทธิ์ที่ได้สถาปนาขึ้นจากมวลสารศักดิ์สิทธิ์ทุกภาคทั่วประเทศ อาทิ
    ผงพุทธคุณ :
    - ผงชันเพชร พระแก้วมรกต ผงทรายเสกหลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม ผงอิทธิเจหลวงปู่ใจ วัดเสด็จ ผงปถมังหลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง ผงพระสมเด็จจิตรลดา, ผงพระสมเด็จวัดระฆัง, ผงพระสมเด็จวัดบางขุนพรหม, ผงพระสมเด็จปิลันทน์, ผงพระของขวัญวัดปากน้ำ รุ่น 1-4, ผงพระกรุ จ.ลำพูน, จ.กำแพงเพชร, จ.สุโขทัย, จ.พระนครศรีอยุธยา, จ.สุพรรณบุรี และ จ.นครศรีธรรมราช ผงพระธาตุจากถ้ำสามร้อยยอด จ.ประจวบคีรีขันธ์ ผงชันเพชรจากองค์มหาบุษบกทองคำ ที่ประดิษฐานองค์พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร (พระแก้วมรกต) ผงอิฐ โมเสส กระจก และกระเบื้อง จากหลังคาพระอุโบสถ พระมหาเจดีย์ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) ผงพวงมาลัยและดอกไม้ ธูป ที่ใช้บูชาพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร (พระแก้วมรกต) ผงกระเบื้องหลังคาพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร, วัดราชบพิตร, วัดมกุฏกษัตริยาราม และวัดวิสุทธาวาส ผงจีวรพระสุปฏิปัณโณ ผงทองที่ปิดพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ ผงทรายเสกและปฐวีธาตุ ผงแร่ธาตุศักดิ์สิทธิ์ ผงดินใต้พระธาตุองค์สำคัญ ผงชานหมาก ผงขี้ธูป พวงมาลัย ดอกไม้จากที่บูชาพระ และผงข้าวก้นบาตรพระสุปฏิปัณโณ ดินสังเวชนียสถานสำคัญ 4 ตำบล ผงว่านมงคล 108 ผงกาฝากไม้มงคล 108 ผงไม้มงคล 9 ชนิด ดินจากใจกลางทุกจังหวัด เป็นต้น

    ผงอัฐิธาตุ ผงอังคารธาตุ และผงสรีระธาตุ+เกศาธาตุของพระอริยเจ้าผู้บริบูรณ์ด้วยวิชชาและวิมุตติเป็น จำนวนมาก อาทิเช่น :
    - หลวงปู่แหวน วัดดอยแม่ปั๋ง, หลวงปู่ครูบาอินถา วัดน้ำบ่อหลวง, หลวงปู่สิม วัดถ้ำผาปล่อง, หลวงปู่เกษม สำนักสุสานไตรลักษณ์, หลวงปู่ศรีจันทร์ วัดศรีสุทธาวาส, หลวงปู่คำดี วัดถ้ำผาปู่, หลวงปู่ชอบ วัดป่าสัมมานุสรณ์, หลวงปู่ขาว วัดถ้ำกลองเพล, หลวงปู่หลุย วัดถ้ำผาบิ้ง, หลวงปู่อ่อน วัดป่านิโครธาราม, หลวงปู่เทศก์, หลวงปู่ฝั้น, หลวงปู่ตื้อ, หลวงปู่สาม, หลวงปู่ชา, หลวงปู่หล้า วัดภูจ้อก้อ, หลวงพ่อพุธ, หลวงปู่บัวพา วัดป่าพระสถิตย์, หลวงปู่ครูบาพรหมา วัดพระพุทธบาทตากผ้า, หลวงพ่อพรหม วัดช่องแค, หลวงปู่ครูบาชุ่ม โพธิโก, หลวงปู่คลิ้ง วัดถลุงทอง, หลวงปู่ครูบาชัยยะ วัดพระบาทห้วยต้ม, หลวงปู่ครูบาหล้า วัดป่าตึง, หลวงปู่ครูบาศรีวิชัย หลวงปู่ดู่ วัดสะแก(อังคาร), หลวงปู่สี วัดถ้ำเขาบุนนาค(ผงสรีระ), หลวงพ่อภัทร วัดโคกสูง เป็นต้น

    มวลสารศักดิ์สิทธิ์ที่ใส่เพิ่มเติมลงไปอีก คือ
    1. ผงปฐวีธาตุ(ที่ตกแบบอุกกาบาต หลวงปู่คำพันธ์ หลวงพ่ออุตตมะ หลวงปู่พรหมา หลวงพ่อไพบูลย์ อธิษฐานจิต) ที่เหลือจำนวนราว 1 ถ้วยกาแฟ ซึ่งผู้สร้างได้รับมอบจาก อ.อนันต์ สวัสดิเสาวนีย์

    2. ปฐวีธาตุชนิดถูกต้องตามตำรา ที่ผ่านการแผ่เมตตาจากหลวงปู่คำพันธ์ โฆษปัญโญ จำนวน 1 โหลกาแฟ ได้รับมอบจากคุณอำพล เจน


    การบรรจุพุทธานุภาพ

    1.พิธีมหาพุทธาภิเษก
    - วัดพระศรีรัตนศาสดาราม กทม. เมื่อ 10 พ.ย.2545 พิธีพระพทธนิรโรคันตราย
    - วัดเลา กทม. เมื่อ 15 พ.ย.2545 พิธีพระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ พุทธรังสี
    - วัดไผ่ล้อม จ.นครปฐม เมื่อ 28-29 ธ.ค.2545 พิธีมงคลอายุวัฒน์
    - วัดบวรณิเวศวิหาร กทม.
    - วัดพระศรีรัตนศาสดาราม กทม. เมื่อ 27 มิ.ย.2545 พิธีมหาจักรพรรดิ์พุทธาภิเษก
    - วัดสัทัศนเทพวราราม กทม. เมื่อ 16 ต.ค.2545 พิธีเหรียญเศรฐมุนี

    2.วาระปลุกเสกเดี่ยว รวม 11 องค์ ดังนี้
    ปลุกเสกเดี่ยว รวม 11 องค์ ได้แก่
    - หลวงพ่ออุตตะมะ วัดวังก์วิเวการาม
    - หลวงพ่อพูล วัดไผ่ล้อม
    - หลวงปู่ทองดำ วัดท่าทอง
    - หลวงปู่แดง วัดห้วยฉลองราษฎร์
    - พระอาจารย์สมบูรณ์ วัดป่าสมบูรณ์ธรรม
    - หลวงปู่ทิม วัดพระขาว
    - หลวงปู่ทอง วัดจักรวรรดิ
    - หลวงพ่อช่อ วัดโคกเกตุ
    - หลวงพ่อม่วง วัดยางงาม
    - หลวงปู่นนท์ วัดเหนือวน
    - หลวงพ่อตัด วัดชายนา

    คุณสุธันย์ได้แสดงความกตัญญูกตเวทีในการสร้างถวายหลวงพ่อทองดำ พร้อมนำไปตระเวนประจุอานุภาพอย่างจุใจ แล้วขอให้หลวงพ่อทองดำ ตั้งใจเสกเป็นครั้งสุดท้าย ดังนั้นพระสมเด็จชนะมาร หลังยันต์ยะประเสริฐ จึงพบมากในจังหวัดอุตรดิตถ์


    สภาพสวยเดิมๆจากวัด มีรอยเนื้อมวลสารกดไม่ติดเล็กๆ เพราะพระชุดนี้แก่มวลสารมาก พระส่วนใหญ่จึงออกมาผิวไม่เรียบตึง แต่จะมีรอยปริ รอยแยะ รอยเนื้อกดไม่ติดหรือหลุดติดแม่พิมพ์บ้างเป็นธรรมชาติครับ เนื่องจากชุดที่คุณสุธันย์ สร้างถวายหลวงปู่ เนื้อมวลสารจะหยาบแก่ว่านแก่มวลสาร ซึ่งต่างจากชุดที่แจกที่อนามัย จะละเอียดมากกว่า พิมพ์สวยคมชัดลึก พุทธศิลป์สวยงาม มวลสารและพิธีสุดยอดมาก พระดีมีคุณค่าน่าบูชาสะสมมาก เก่าเก็บไม่ได้ใช้ พุทธคุณดีทุกทาง เชื่อถือคุณภาพได้เลยว่าเยี่ยมจริงๆ แบ่งให้บูชา 650บาท (พร้อมจัดส่ง EMS อย่างดีครับ)

    คุณวิทมน สุ่มเกิด ธ.กรุงไทย สาขาเทสโก้โลตัสอุตรดิตถ์ เลขที่ 6000088418
    โทร.086-0441367, Engineer0206nu@gmail.com
    *** ขอขอบพระคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม และอุดหนุนผมครับ ***
     

แชร์หน้านี้

Loading...