เรื่องเด่น พุทธทำนาย ยุคกึ่งพุทธกาล จะเกิดภัยพิบัติและสงครามใหญ่ (ปีพ.ศ. 2560 เป็นต้นไป)

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย WebSnow, 25 สิงหาคม 2016.

  1. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    386
    ค่าพลัง:
    +30


    องค์ของภิกษุผู้ไม่ควรสนทนาด้วย
    อุ. ภิกษุทั้งหลายไม่พึงสนทนากับภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์เท่าไรหนอแล
    พระพุทธเจ้าข้า?
    พ. ดูกรอุบาลี ภิกษุทั้งหลายไม่พึงสนทนากับภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕. องค์ ๕ อะไรบ้าง? คือ:
    ๑. เป็นผู้ไม่ประกอบด้วยกองศีล ของพระอเสขะ
    ๒. เป็นผู้ไม่ประกอบด้วยกองสมาธิ ของพระอเสขะ
    ๓. เป็นผู้ไม่ประกอบด้วยกองปัญญา ของพระอเสขะ
    ๔. เป็นผู้ไม่ประกอบด้วยกองวิมุตติ ของพระอเสขะ
    ๕. เป็นผู้ไม่ประกอบด้วยกองวิมุตติญาณทัสสนะ ของพระอเสขะ

    ดูกรอุบาลี ภิกษุทั้งหลายไม่พึงสนทนากับภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล.


    องค์ของภิกษุผู้ควรสนทนาด้วย

    ดูกรอุบาลี ภิกษุทั้งหลายพึงสนทนากับภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕. องค์ ๕ อะไรบ้าง?คือ:
    ๑. เป็นผู้ประกอบด้วยกองศีล ของพระอเสขะ
    ๒. เป็นผู้ประกอบด้วยกองสมาธิ ของพระอเสขะ
    ๓. เป็นผู้ประกอบด้วยกองปัญญา ของพระอเสขะ
    ๔. เป็นผู้ประกอบด้วยกองวิมุตติ ของพระอเสขะ
    ๕. เป็นผู้ประกอบด้วยกองวิมุตติญาณทัสสนะ ของพระอเสขะ

    ดูกรอุบาลี ภิกษุทั้งหลายพึงสนทนากับภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล.


    องค์ของภิกษุผู้ไม่ควรสนทนาอีกนัยหนึ่ง

    ดูกรอุบาลี ภิกษุทั้งหลายไม่พึงสนทนากับภิกษุประกอบด้วยองค์แม้อื่นอีก ๕. องค์ ๕ อะไรบ้าง? คือ:
    ๑. ไม่เป็นผู้บรรลุอรรถปฏิสัมภิทา
    ๒. ไม่เป็นผู้บรรลุธรรมปฏิสัมภิทา
    ๓. ไม่เป็นผู้บรรลุนิรุตติปฏิสัมภิทา
    ๔. ไม่เป็นผู้บรรลุปฏิภาณปฏิสัมภิทา
    ๕. ไม่พิจารณาจิตตามที่วิมุติ

    ดูกรอุบาลี ภิกษุทั้งหลายไม่พึงสนทนากับภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล.
    องค์ของภิกษุผู้ควรสนทนาด้วย

    ดูกรอุบาลี ภิกษุทั้งหลายพึงสนทนากับภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕. องค์ ๕ อะไรบ้าง?คือ:
    ๑. เป็นผู้บรรลุอรรถปฏิสัมภิทา
    ๒. เป็นผู้บรรลุธรรมปฏิสัมภิทา
    ๓. เป็นผู้บรรลุนิรุตติปฏิสัมภิทา
    ๔. เป็นผู้บรรลุปฏิภาณปฏิสัมภิทา
    ๕. พิจารณาจิตตามที่วิมุติ

    ดูกรอุบาลี ภิกษุทั้งหลายพึงสนทนากับภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล.
    ภิกขุนีโอวาทวรรค ที่ ๘ จบ


    ปัจจัตตังเวทิตัพโพวิญญูหิติ

    ปุจฉา ได้ ก็ต้อง วิสัชนา แก้ได้


    แสดงธรรมใด ต้องมีพื้นฐาน คือ รู้ธรรมนั้น ไม่รู้เนื้อหาความหมาย เหตุและผลแน่ชัด อย่านำมาแสดง เวลามีบุคคลสงสัยหวังความเจริญในธรรม เขาถามมา จะตอบเขาไม่ได้


    อย่าพึ่งแต่ปริยัติ ถ้าไม่มีปฎิบัติและได้ซึ่งปฎิเวธ หากเล่าเรียนพระสูตรอันเรียนกันมาผิดลำดับ ด้วยบทและพยัญชนะที่ตั้งไว้ผิดแม้อรรถแห่งบทและพยัญชนะที่ตั้งไว้ผิด ย่อมมีนัยผิดไปด้วย การแสดงธรรมย่อมเลอะเลือนฟั่นเฟือน และจักถึงความเสื่อมสูญแห่งพระสัทธรรม

    เราขอถามไว้ใครในโลกนี้ที่มีความสามารถและมั่นใจตนเองว่า ได้เล่าเรียนพระสูตรอันเรียนกันมาถูกลำดับ ด้วยบทและพยัญชนะที่ตั้งไว้ถูกแม้อรรถแห่งบทและพยัญชนะที่ตั้งไว้ถูก และมีนัยถูกไปทั้งหมดด้วย เราจะกราบเท้าผู้นั้นขอนอบน้อมยอมตัวเป็นศิษย์เฝ้าอุปัฎฐากแต่โดยดี

    ถ้าไม่มีก็อย่ามั่นใจ ว่าสิ่งที่ตนมีตนได้ตนคิดพิจารณาแล้วว่าเป็นเลิศที่สุด แม้เราผู้ ปุจฉา-วิสัชนา ปัญหานี้ขึ้น ก็ยังจนปัญญา แล้วท่านเป็นใคร?


    " หากว่าศิษย์คู่ควร ศิษย์คนที่เข้าสมาธิขั้นลึกได้ เขาก็จะโชคดีที่ได้เห็นอาจารย์ "

    สากัจฉสูตร
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเป็นผู้ควรสนทนาของเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลด้วยตนเอง และเป็นผู้พยากรณ์ปัญหาที่มาในกถาปรารภสีลสัมปทาได้ ๑

    ย่อมเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสมาธิด้วยตนเอง และเป็นผู้พยากรณ์ปัญหาที่มาในกถาปรารภสมาธิสัมปทาได้ ๑

    ย่อมเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาด้วยตนเอง และเป็นผู้พยากรณ์ปัญหาที่มาในกถาปรารภปัญญาสัมปทาได้ ๑

    ย่อมเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติด้วยตนเอง และเป็นผู้พยากรณ์ปัญหาที่มาในกถาปรารภวิมุตติสัมปทาได้ ๑

    ย่อมเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะด้วยตนเอง และเป็นผู้พยากรณ์ปัญหาที่มาในกถาปรารภวิมุตติญาณทัสสนสัมปทาได้ ๑

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ควรสนทนาของเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ฯ
    จบสูตรที่ ๕

    345A8E05-4ADB-43BC-8CDF-DE2757416B91.jpeg


    เหล่าปฎิสัมภิทา จะมีความสามารถครอบคลุมทั้ง 3 สถานะ

    แต่สำหรับ พระอริยะสาวก ทรงกำชับว่า จะต้องเป็น พระอรหันต์ผู้หมดกิเลสเพียงเท่านั้น! ถึงจะสามารถ เพ่งวิมุตติ และพิจารณาตามจิตที่ต้องวิมุตติไป จนสามารถเข้าถึง พระสัทธรรมใน กถาญาน ที่เกี่ยวข้อง ต้องบุพกรรม ในสภาวะ ที่ได้บรรลุธรรม จะถูกถ่ายทอดลงมาเป็น เถระคาถา กล่าวอุทาน แต่จะไม่สามารถ เห็นได้โดยตรงโดยมาก ซึ่งองค์ พระสัทธรรม หรือ เป็นระดับที่อันเชิญพระสัทธรรมลงมาประดิษฐานได้


    พระอริยะสาวกที่มิได้บรรลุ ปฎิสัมภิทา อุปมาเหมือน ทหารเฝ้าประตูวัง มองได้ในที่ไกลๆ

    หากเป็นพระอริยะสาวกผู้บรรลุ ปฎิสัมภิทา ก็จะแยกเป็น 14 ระดับ อุปมามหาดเล็กอำมาตย์ เสนาบดี แม่ทัพ นายกอง ห้องเครื่อง ที่ต้องมีกิจวิ่งเข้าออกในพระราชฐานชั้นในได้ตามสะดวก บ้างก็ถึงห้องบรรทม เพราะมีกิจที่จะต้องดูแลใกล้ชิด ก็สามารถมองเห็นได้ละเอียดยิ่งขึ้น

    ยิ่งเคารพมาก อ่อนน้อมมาก ปรารถนามาก อยากดูแลเอาใจใส่มาก ยิ่งได้สถานะพิเศษ

    535F05F8-ADE9-42D4-AB49-F193A4DB0BB4.gif

    “อยากได้ปฎิสัมภิทา เรียนเอา ยังไงก็ได้ ไม่ได้ชาตินี้ก็ได้ชาติต่อๆไป “

    ขออนุโมทนาในบุญใหญ่นี้ด้วย ในอนาคตกาล พวกท่านทั้งหลายฯ หากมิได้ร่วมทำสังคายนา ก็จะต้องตามมาดูแลปกป้องพระไตรปิฎกและต้องบุพกรรม ! ตามบุญบารมีที่แต่ละท่านได้สั่งสมมา เป็นพระพุทธเจ้าบ้าง เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าบ้าง เป็นพระสาวกบารมีญานบ้าง เป็นอริยะสาวกบ้าง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 ธันวาคม 2022
  2. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    386
    ค่าพลัง:
    +30
    เราขอน้อมคำเตือนจากสมเด็จพระบรมมหาศาสดาท่านทั้งหลายฯ ดังนี้ว่า

    ”ถ้าท่านพลาดโสดาปัตติมรรค คือความแน่นอนแห่งพระสัทธรรมในศาสนานี้ ท่านจะต้องเดือดร้อนใจในภายหลัง สิ้นกาลนาน เหมือนวาณิชชื่อเสรีวะ ผู้นี้ ฉะนั้น”






    ว่าด้วย เสรีววาณิช

    [​IMG]พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อประทับอยู่ในเมืองสาวัตถี ทรงปรารภภิกษุรูปหนึ่งผู้ละความเพียรเหมือนกัน จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า อิธ เจ หิ นํ วิราเธสิ ดังนี้.
    [​IMG]ก็พระศาสดาทรงเห็นภิกษุนั้นถูกภิกษุทั้งหลายนำมาโดยนัยก่อนนั่นแล จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอบวชในศาสนาอันให้มรรคผลเห็นปานนี้ เมื่อละความเพียรเสีย จักเศร้าโศกตลอดกาลนาน เหมือนเสรีววาณิชเสื่อมจากถาดทองอันมีค่าแสนหนึ่ง ฉะนั้น.
    [​IMG]ภิกษุทั้งหลายทูลอ้อนวอนพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อทรงแสดงเรื่องนั้นให้แจ่มแจ้ง.
    [​IMG]พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงกระทำเหตุอันระหว่างภพปกปิดไว้ให้ปรากฏ.
    [​IMG]ในอดีตกาล ในกัปที่ ๕ แต่ภัทรกัปนี้ พระโพธิสัตว์ได้เป็นพ่อค้าเร่ ชื่อว่าเสรีวะ ในแคว้นเสริวรัฐ. เสรีววาณิชนั้น เมื่อไปเพื่อต้องการค้าขาย กับพ่อค้าเร่ผู้โลเลคนหนึ่ง ชื่อว่าเสรีวะ ข้ามแม่น้ำชื่อว่านีลพาหะ แล้วเข้าไปยังพระนครชื่อว่าอริฏฐปุระ แบ่งถนนในนคร (ไปคนละทาง) กันแล้ว เที่ยวขายสินค้าในถนนที่ประจวบกับตน.
    [​IMG]ฝ่ายวาณิชนอกนี้ ยึดเอาถนนที่ประจวบเข้ากับตนเท่านั้น. ก็ในนครนั้นได้มีตระกูลเศรษฐีตระกูลหนึ่งเป็นตระกูลเก่าแก่. บุตร พี่น้องและทรัพย์สินทั้งปวงได้หมดสิ้นไป. ได้มีเด็กหญิงคนหนึ่งเหลืออยู่กับยาย. ยายหลานแม้ทั้งสองนั้นกระทำการรับจ้างคนอื่น เลี้ยงชีวิต.
    [​IMG]ก็ในเรือน ได้มีถาดทองที่มหาเศรษฐีของยายกับหลานนั้นเคยใช้สอย ถูกเก็บไว้กับภาชนะอื่นๆ เมื่อไม่ได้ใช้สอยมานาน เขม่าก็จับ. ยายและหลานเหล่านั้นย่อมไม่รู้ แม้ความที่ถาดนั้นเป็นถาดทอง.
    [​IMG]สมัยนั้น วาณิชโลเลคนนั้นเที่ยวร้องขายของว่า จงถือเอาเครื่องประดับ จงถือเอาเครื่องประดับ ได้ไปถึงประตูบ้านนั้น.
    [​IMG]กุมาริกานั้นเห็นวาณิชนั้น จึงกล่าวกะยายว่า ยาย ขอยายจงซื้อเครื่องประดับอย่างหนึ่งให้หนู.
    [​IMG]ยายกล่าวว่า หนูเอ๋ย เราเป็นคนจน จักเอาอะไรไปซื้อ.
    [​IMG]กุมาริกากล่าวว่า พวกเรามีถาดใบนี้อยู่ และถาดใบนี้ไม่เป็นอุปการะเกื้อกูลแก่พวกเรา จงให้ถาดใบนี้ แล้วถือเอา (เครื่องประดับ).
    [​IMG]ยายจึงให้เรียกนายวาณิชมา แล้วให้นั่งบนอาสนะ ให้ถาดใบนั้น แล้วกล่าวว่า เจ้านาย ท่านจงถือเอาถาดนี้ แล้วให้เครื่องประดับอะไรๆ ก็ได้แก่หลานสาวของท่าน.
    [​IMG]นายวาณิชเอามือจับถาดนั่นแล คิดว่าจักเป็นถาดทอง จึงพลิกเอาเข็มขีดที่หลังถาด รู้ว่าเป็นทอง จึงคิดว่าเราจักไม่ให้อะไรๆ แก่คนเหล่านี้ จักนำเอาถาดนี้ไป แล้วกล่าวว่า ถาดใบนี้จะมีราคาอะไร ราคาของถาดใบนี้ แม้กึ่งมาสกก็ยังไม่ถึง จึงโยนไปที่ภาคพื้น แล้วลุกจากอาสนะหลีกไป.
    [​IMG]พระโพธิสัตว์คิดว่า คนอื่นย่อมได้เพื่อจะเข้าไปยังถนนที่นายวาณิชนั้นเข้าไป แล้วออกไป จึงเข้าไปยังถนนนั้น ร้องขายของว่า จงถือเอาเครื่องประดับ ดังนี้ ได้ไปถึงประตูบ้านนั้นนั่นแหละ.
    [​IMG]กุมาริกานั้นกล่าวกะยายเหมือนอย่างนั้นแหละอีก.
    [​IMG]ลำดับนั้น ยายได้กล่าวกะกุมาริกานั้นว่า หลานเอ๋ย นายวาณิชผู้มายังเรือนนี้ โยนถาดนั้นลงบนภาคพื้นไปแล้ว บัดนี้ เราจักให้อะไรแล้ว ถือเอาเครื่องประดับ.
    [​IMG]กุมาริกากล่าวว่า ยาย นายวาณิชคนนั้นพูดจาหยาบคาย ส่วนนายวาณิชคนนี้ น่ารัก พูดจาอ่อนโยน คงจะรับเอา.
    [​IMG]ยายกล่าวว่า ถ้าอย่างนั้นจงเรียกเขามา กุมาริกานั้นจึงเรียกนายวาณิชนั้นมา.
    [​IMG]ลำดับนั้น ยายและหลานได้ให้ถาดใบนั้นแก่พระโพธิสัตว์นั้น ผู้เข้าไปยังเรือน แล้วนั่ง.
    [​IMG]พระโพธิสัตว์นั้นรู้ว่า ถาดนั้นเป็นถาดทอง จึงกล่าวว่า แม่ ถาดใบนี้มีค่าตั้งแสน สินค้าอันมีค่าเท่าถาด ไม่มีในมือของเรา.
    [​IMG]ยายและหลานจึงกล่าวว่า เจ้านาย นายวาณิชผู้มาก่อนพูดว่า ถาดใบนี้มีค่าไม่ถึงแม้กึ่งมาสก แล้วเหวี่ยงถาดลงพื้นไป แต่ถาดใบนี้จักเกิดเป็นถาดทอง เพราะบุญของท่าน พวกเราให้ถาดใบนี้แก่ท่าน ท่านให้อะไรๆ ก็ได้แก่พวกเรา แล้วถือเอาถาดใบนี้ไปเถิด.
    [​IMG]ขณะนั้น พระโพธิสัตว์จึงให้กหาปณะ ๕๐๐ ซึ่งมีอยู่ในมือ และสินค้าซึ่งมีราคา ๕๐๐ กหาปณะทั้งหมด แล้วขอเอาไว้เพียงเท่านี้ว่า ท่านทั้งหลายจงให้ตาชั่งนี้กับถุง และกหาปณะ ๘ กหาปณะแก่ข้าพเจ้า แล้วถือเอาถาดนั้นหลีกไป.
    [​IMG]พระโพธิสัตว์นั้นรีบไปยังฝั่งแม่นํ้า ให้นายเรือ ๘ กหาปณะ แล้วขึ้นเรือไป. ฝ่ายนายวาณิชพาลหวนกลับไปเรือนนั้นอีก แล้วกล่าวว่า ท่านจงนำถาดใบนั้นมา เราจักให้อะไรๆ บางอย่างแก่ท่าน. หญิงนั้นบริภาษนายวาณิชพาลคนนั้น แล้วกล่าวว่า ท่านได้กระทำถาดทอง อันมีค่าตั้งแสนของพวกเรา ให้มีค่าเพียงกึ่งมาสก แต่นายวาณิชผู้มีธรรมคนหนึ่ง เหมือนกับนายท่านนั่นแหละ ให้ทรัพย์พันหนึ่งแก่พวกเรา แล้วถือเอาถาดทองนั้นไปแล้ว.
    [​IMG]นายวาณิชพาลได้ฟังดังนั้นคิดว่า เราเป็นผู้เสื่อมจากถาดทองอันมีค่าตั้งแสน. วาณิชคนนี้ทำความเสื่อมอย่างใหญ่หลวงแก่เราหนอ เกิดความโศกมีกำลัง ไม่อาจดำรงสติไว้ได้ จึงสลบไป (พอฟื้น) ได้โปรยกหาปณะที่อยู่ในมือ และสิ่งของไว้ที่ประตูเรือนนั่นแหละ ทิ้งผ้านุ่งผ้าห่ม ถือคันชั่งทำเป็นไม้ค้อน. หลีกไปตามรอยเท้าของพระโพธิสัตว์ ไปถึงฝั่งแม่นํ้านั้น เห็นพระโพธิสัตว์กำลังไปอยู่ จึงกล่าวว่า นายเรือผู้เจริญ ท่านจงกลับเรือ. พระโพธิสัตว์ห้ามว่า อย่ากลับ.
    [​IMG]เมื่อนายวาณิชพาล แม้นอกนี้ เห็นพระโพธิสัตว์ไปอยู่นั่นแล เกิดความโศกมีกำลัง หทัยร้อน เลือดพุ่งออกจากปาก หทัยแตกเหมือนโคลนในบึง ฉะนั้น. วาณิชพาลนั้นผูกอาฆาตพระโพธิสัตว์ ถึงความสิ้นชีวิตลง ณ ที่นั้นนั่นเอง.
    [​IMG]นี้เป็นการผูกอาฆาตในพระโพธิสัตว์ของพระเทวทัต เป็นครั้งแรก.
    [​IMG]พระโพธิสัตว์กระทำบุญมีทานเป็นต้น ได้ไปตามยถากรรม.
    [​IMG]พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ครั้นตรัสพระธรรมเทศนาแล้ว ทรงเป็นผู้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะแล้วแล ได้ตรัสพระคาถานี้ว่าแล้วทรงประกาศสัจจะ ๔ ในเวลาจบสัจจะ ภิกษุผู้ละความเพียร ดำรงอยู่ในพระอรหัตอันเป็นผลเลิศ.
    [​IMG]แม้พระศาสดาก็ทรงตรัสเรื่อง ๒ เรื่องสืบต่อกัน แล้วทรงประชุมชาดกว่า
    [​IMG]วาณิชพาลในกาลนั้น ได้เป็น พระเทวทัต ในบัดนี้
    [​IMG]นายวาณิชผู้เป็นบัณฑิตในกาลนั้น ได้เป็น เราเอง ทรงให้เทศนาจบลงแล้ว.

    [​IMG]จบอรรถกถาเสรีวาณิชชาดกที่ ๓[​IMG]

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 ธันวาคม 2022
  3. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    386
    ค่าพลัง:
    +30



    อภิธรรมภาชนีย์
    อัฏฐังคิกวาร
    สัจจะ ๔ คือ
    ๑. ทุกข์
    ๒. ทุกขสมุทัย
    ๓. ทุกขนิโรธ
    ๔. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
    [๑๗๒] ในสัจจะ ๔ นั้น ทุกขสมุทัย เป็นไฉน
    ตัณหา นี้เรียกว่า ทุกขสมุทัย
    [๑๗๓] ทุกข์ เป็นไฉน
    กิเลสที่เหลือ อกุศลธรรมที่เหลือ กุศลมูล ๓ ที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ
    กุศลธรรมอันเป็นอารมณ์ของอาสวะที่เหลือ วิบากแห่งกุศลธรรม และอกุศล-
    *ธรรมที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ ธรรมเป็นกิริยามิใช่กุศล อกุศลและกรรมวิบาก
    รูปทั้งหมด นี้เรียกว่า ทุกข์
    [๑๗๔] ทุกขนิโรธ เป็นไฉน
    การประหาณตัณหา นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธ
    [๑๗๕] ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นไฉน
    ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลก
    ให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ [โสดาปัตติผล] สงัด
    จากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ที่มีวิตกมีวิจารมีปีติ
    และสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด มรรคมี
    องค์ ๘ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ ย่อมมีในสมัยนั้น
    [๑๗๖] ในมรรคมีองค์ ๘ นั้น สัมมาทิฏฐิ เป็นไฉน
    ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม ความเห็น
    ชอบ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อันใด
    นี้เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ
    [๑๗๗] สัมมาสังกัปปะ เป็นไฉน
    ความตรึก ความตรึกอย่างแรง ฯลฯ ความดำริชอบ อันเป็นองค์แห่ง
    มรรค นับเนื่องในมรรค อันใด นี้เรียกว่า สัมมาสังกัปปะ
    [๑๗๘] สัมมาวาจา เป็นไฉน
    การงด การเว้น การเลิกละ เจตนาเครื่องเว้น จากวจีทุจริต ๔ กิริยา
    ไม่ทำ การไม่ทำ การไม่ล่วงละเมิด การไม่ล้ำเขต การกำจัด ต้นเหตุวจีทุจริต
    ๔ วาจาชอบ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อันใด นี้เรียกว่า
    สัมมาวาจา
    [๑๗๙] สัมมากัมมันตะ เป็นไฉน
    การงด การเว้น การเลิกละ เจตนาเครื่องเว้น จากกายทุจริต ๓ กิริยา
    ไม่ทำ การไม่ทำ การไม่ล่วงละเมิด การไม่ล้ำเขต การกำจัดต้นเหตุกายทุจริต
    ๓ การงานชอบ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อันใด นี้เรียกว่า
    สัมมากัมมันตะ
    [๑๘๐] สัมมาอาชีวะ เป็นไฉน
    การงด การเว้น การเลิกละ เจตนาเครื่องเว้น จากมิจฉาอาชีวะ กิริยา
    ไม่ทำ การไม่ทำ การไม่ล่วงละเมิด การไม่ล้ำเขต การกำจัด ต้นเหตุมิจฉา-
    *อาชีวะ การเลี้ยงชีพชอบ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อันใด
    นี้เรียกว่า สัมมาอาชีวะ
    [๑๘๑] สัมมาวายามะ เป็นไฉน
    การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ ความพยายามชอบ วิริยสัมโพชฌงค์
    อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อันใด นี้เรียกว่า สัมมาวายามะ
    [๑๘๒] สัมมาสติ เป็นไฉน
    สติ ความตามระลึก ฯลฯ ความระลึกชอบ สติสัมโพชฌงค์ อันเป็น
    องค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อันใด นี้เรียกว่า สัมมาสติ
    [๑๘๓] สัมมาสมาธิ เป็นไฉน
    ความตั้งอยู่แห่งจิต ฯลฯ ความตั้งใจมั่นชอบ สมาธิสัมโพฌงค์ อันเป็น
    องค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อันใด นี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ
    นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ธรรมทั้งหลายที่เหลือสัมปยุตด้วย
    ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
    [๑๘๔] ในสัจจะ ๔ นั้น ทุกขสมุทัย เป็นไฉน
    ตัณหาและกิเลสที่เหลือ นี้เรียกว่า ทุกขสมุทัย
    [๑๘๕] ทุกข์ เป็นไฉน
    อกุศลธรรมที่เหลือ กุศลมูล ๓ ที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ กุศลธรรมที่
    เป็นอารมณ์ของอาสวะที่เหลือ วิบากแห่งกุศลธรรมและอกุศลธรรมที่เป็นอารมณ์
    ของอาสวะ ธรรมเป็นกิริยามิใช่กุศลอกุศลและกรรมวิบาก รูปทั้งหมด นี้เรียก
    ว่า ทุกข์
    [๑๘๖] ทุกขนิโรธ เป็นไฉน
    การประหาณซึ่งตัณหาและกิเลสที่เหลือ นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธ
    [๑๘๗] ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นไฉน
    ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลก
    ให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจาก
    อกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ที่มีวิตกมีวิจารมีปีติและสุขอันเกิดแต่
    วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญาอยู่ในสมัยใด มรรคมีองค์ ๘ คือ สัมมาทิฏฐิ
    ฯลฯ สัมมาสมาธิ ย่อมมีในสมัยนั้น นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ธรรม
    ทั้งหลายที่เหลือ สัมปยุตด้วยทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
    [๑๘๘] ในสัจจะ ๔ นั้น ทุกขสมุทัย เป็นไฉน
    ตัณหา กิเลสที่เหลือ และอกุศลธรรมที่เหลือนี้เรียกว่า ทุกขสมุทัย
    [๑๘๙] ทุกข์ เป็นไฉน
    กุศลมูล ๓ ที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ กุศลธรรมที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ
    ที่เหลือ วิบากแห่งกุศลธรรมและอกุศลธรรมที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ ธรรมเป็น
    กิริยามิใช่กุศลอกุศลและกรรมวิบาก รูปทั้งหมด นี้เรียกว่า ทุกข์
    [๑๙๐] ทุกขนิโรธ เป็นไฉน
    การประหาณซึ่งตัณหากิเลสที่เหลือและอกุศลธรรมที่เหลือ นี้เรียกว่า
    ทุกขนิโรธ
    [๑๙๑] ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นไฉน
    ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกจากโลก
    ให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจาก
    อกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ที่มีวิตกมีวิจารมีปีติและสุขอันเกิดแต่
    วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญาอยู่ในสมัยใด มรรคมีองค์ ๘ คือ สัมมา-
    *ทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ ย่อมมีในสมัยนั้น นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
    ธรรมทั้งหลายที่เหลือ สัมปยุตด้วยทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
    [๑๙๒] ในสัจจะ ๔ นั้น ทุกขสมุทัย เป็นไฉน
    ตัณหา กิเลสที่เหลือ อกุศลธรรมที่เหลือ กุศลมูล ๓ ที่เป็นอารมณ์
    ของอาสวะ นี้เรียกว่า ทุกขสมุทัย
    [๑๙๓] ทุกข์ เป็นไฉน
    กุศลธรรมอันเป็นอารมณ์ของอาสวะที่เหลือ วิบากแห่งกุศลธรรมและ
    อกุศลธรรมที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ ธรรมเป็นกิริยามิใช่กุศลอกุศลและกรรม
    วิบาก รูปทั้งหมด นี้เรียกว่า ทุกข์
    [๑๙๔] ทุกขนิโรธ เป็นไฉน
    การประหาณซึ่งตัณหา กิเลสที่เหลือ อกุศลธรรมที่เหลือ และกุศล-
    *มูล ๓ ที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธ
    [๑๙๕] ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นไฉน
    ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลก
    ให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิสงัดจากกามสงัดจากอกุศล-
    *ธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ที่มีวิตกมีวิจารมีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก
    เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด มรรคมีองค์ ๘ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ
    สัมมาสมาธิย่อมมีในสมัยนั้น นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ธรรมทั้งหลาย
    ที่เหลือ สัมปยุตด้วยทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
    [๑๙๖] ในสัจจะ ๔ นั้น ทุกขสมุทัย เป็นไฉน
    ตัณหา กิเลสที่เหลือ อกุศลธรรมที่เหลือ กุศลมูล ๓ ที่เป็นอารมณ์ของ
    อาสวะ กุศลธรรมที่เป็นอารมณ์ของอาสวะที่เหลือ นี้เรียกว่า ทุกขสมุทัย
    [๑๙๗] ทุกข์ เป็นไฉน
    วิบากแห่งกุศลธรรมและอกุศลธรรมที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ ธรรมที่เป็น
    กิริยามิใช่กุศลอกุศลและกรรมวิบาก รูปทั้งหมด นี้เรียกว่า ทุกข์
    [๑๙๘] ทุกขนิโรธ เป็นไฉน
    การประหาณซึ่งตัณหา กิเลสที่เหลือ อกุศลธรรมที่เหลือ กุศลมูล ๓
    ที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ และกุศลธรรมอันเป็นอารมณ์ของอาสวะที่เหลือ นี้เรียก
    ว่า ทุกขนิโรธ
    [๑๙๙] ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นไฉน
    ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลก
    ให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิสงัดจากกามสงัดจากอกุศล-
    *ธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ที่มีวิตกมีวิจารมีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก
    เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด มรรคมีองค์ ๘ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ
    สัมมาสมาธิ ย่อมมีในสมัยนั้น นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ธรรมทั้งหลาย
    ที่เหลือ สัมปยุตด้วยทุกขนิโรคามินีปฏิปทา

    27A3FC64-2AC9-4E36-AA24-77667E47403E.jpeg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 ธันวาคม 2022
  4. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    386
    ค่าพลัง:
    +30
    เป็นมนุษย์นี้แสนยาก



    บนพื้นโลกอันกว้างใหญ่ไพศาล เป็นที่อาศัยของสัตว์นานาชนิด มากมายเหลือที่จะนับ
    มีทั้งที่เราเคยเห็นและไม่เคยเห็น ที่มีรายกายใหญ่โตอย่างช้างก็มี ที่มีร่างกายเล็กอย่างมดหรือ
    เล็กยิ่งกว่ามดก็มี ที่มีร่างกายละเอียดเกินกว่าที่ตามนุษย์จะเห็นได้ เช่นเทวดาก็มี

    สัตว์บางพวกมีรูปร่างสวยงาม น่าทัศนา บางพวกมีรูปร่างน่าเกลียด ไม่ชวนมอง
    บางพวกก็มีรูปร่างแปลกๆ จนดูน่าขัน
    สัตว์นอกจากจะมีมากมายหลายชนิด และมีรูปร่างผิดแผกแตกต่างกันแล้ว ยังมีอุปนิสัยจิตใจ
    แตกต่างกันด้วย บางพวกมีจิตใจอ่อนโยน มีเมตตากรุณา บางพวกดุร้าย ใจแคบ บางพวกใจกว้างเอื้อ
    เฟื้อเผื่อแผ่อารีอารอบ ฯลฯ ไม่มีสัตว์ชนิดใดเลยที่เหมือนกันทุกอย่าง แม้ลูกฝาแฝดที่ว่ามีรูปร่างหน้าตา
    คล้ายกันมากที่สุด ก็ยังไม่เหมือนกันทุกส่วน ถ้าเหมือนกันทุกส่วนแล้ว เราจะไม่ทราบเลยว่าใครเป็นพี่
    ใครเป็นน้อง นอกจากนั้น นิสัยใจคอของฝาแฝดก็มิได้เหมือนกัน
    ชีวิตของสัตว์ทั้งหลายเกิดมาด้วยกรรม และดำเนินไปตามกรรมที่ตนทำไว้ มีกรรมจำแนก
    ให้ผิดแผกแตกต่างกัน
    ในน้ำมีกุ้ง ปู เต่า ปลาและสัตว์น้อยใหญ่ที่เรารู้จัก และไม่รู้จักอีกมากมาย
    บนบกมีมนุษย์ ช้าง ม้า วัว ควาย สุนัข แมวเป็นต้น
    ในอากาศมีนก ผีเสื้อ และแมลงต่างๆ
    นอกจากนั้นก็ยังมีเทพบุตร เทพธิดา อินทร์ พรหม ยม ยักษ์ เปรต อสุรกายและสัตว์นรก
    ในบรรดาสัตว์เหล่านั้น มนุษย์เป็นสัตว์ประเสริฐที่สุด ที่ประเสริฐที่สุดเพราะมนุษย์มีโอกาส
    ทำความดีได้ทุกชนิด ตั้งแต่ความดีเล็กน้อย ไปจนถึงความดีขั้นสูงสุด คือการบรรลุมรรคผลนิพพาน
    พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า "การได้อัตภาพเป็นมนุษย์นั้นแสนยาก" แต่การดำเนินชีวิต
    ให้ถูกทางเมื่อเกิดมาแล้วยังยากกว่า เพราะถ้าดำเนินชีวิตไม่ถูกทางแล้วชีวิตในอนาคต มีแต่จะตกต่ำลง
    ยากนักที่จะมีโอกาสกลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีก ในเมื่อตายไป
    การเกิดเป็นมนุษย์ต้องอาศัยปัจจัยหลายอย่างนำเกิดฉันใด การดำเนินชีวิตให้ถูกต้องเมื่อเกิด
    มาแล้ว ก็ต้องอาศัยปัจจัยหลายอย่างฉันนั้น
    การเกิดเป็นมนุษย์ต้องอาศัยบุญ มีทานเป็นต้นนำเกิด
    การดำเนินชีวิตให้ถูกต้อง ก็ต้องอาศัยสมบัติ ๔ อย่างที่พระพุทธองค์ตรัสเรียกว่า จักกะ ๔ หรือ
    จักร ๔ เป็นสำคัญผู้ใดมีจักร ๔ อย่างนี้ ย่อมได้รับโภคทรัพย์ ยศ ชื่อเสียง ความสุขและความเจริญ
    ตลอดชีวิต


    จักร ๔ อย่าง คือ
    ๑. ปฏิรูปเทสวาสะ การได้อยู่ในประเทศที่สมควร
    คำว่า ประเทศที่สมควร นั้นได้แก่ สถานที่ หรือถิ่นที่มีคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    แผ่ไปถึง หรือเป็นที่อยู่ หรือเป็นที่ผ่านไปมาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า
    พระสงฆ์สาวก หรืออุบาสก อุบาสิกา ผู้นับถือพระรัตนตรัย
    ลองพิจารณาดูเมืองไทยที่ได้ชื่อว่า ดินแดนแห่งพระพุทธศาสนาบ้าง บางแห่งก็ไม่มีพระสงฆ์
    สาวกของพระพุทธเจ้าอาศัยอยู่ หรือจาริกผ่านไป บางแห่งมีวัดก็ไม่มีพระสงฆ์ ต้องการจะทำบุญ ถวาย
    ทานสักครั้ง ก็หาภิกษุผู้รับทานไม่ได้ แม้การทำทานก็ยังยาก จะป่วยกล่าวไปไยกับการรักษาศีล หรือเจริญ
    ภาวนา ที่ใดที่กุศลเกิดได้ยาก ที่นั้นไม่ชื่อว่าประเทศที่สมควร
    https://youtu.be/ZxsogMNsVIk

    ผู้ที่อยู่ในถิ่นที่พระพุทธศาสนาแผ่ไปไม่ถึงนั้นน่าสงสารมาก แม้การหาเลี้ยงชีพจะไม่ฝืดเคือง
    มีอาหารบริโภคสมบูรณ์ แต่เขาก็ดำเนินชีวิตไปตามยถากรรม โดยไม่รู้ว่าอะไรควร อะไรไม่ควร
    อะไรทำแล้วเป็นบุญ อะไรทำแล้วเป็นบาป สักแต่ว่าทำตามๆกัน อย่างที่บรรพบุรุษเคยทำมา
    แม้คนที่อยู่ในถิ่นที่พระพุทธศาสนาแผ่ไปถึง แต่ไม่สนใจศึกษาหรือสดับพระธรรมคำสอนของ
    พระพุทธเจ้า ก็ไม่ผิดอะไรกับคนป่าคนดอย
    คนที่ไม่รู้จักพระพุทธศาสนานั้น เวลามีทุกข์ก็แสวงหาวิธีดับทุกข์ที่ไม่ถูกทาง
    บางคนอาศัยอบายมุข มีการพนันเป็นต้น เป็นเครื่องดับทุกข์
    บางคนบนบานเทวดา ผีสาง นางไม้ เจ้าป่า เจ้าเขาให้ช่วย
    บางคนคิดว่า ตายเสียได้คงพ้นทุกข์ จึงได้ฆ่าตัวตายด้วยวิธีต่างๆ ฯลฯ
    ผู้ที่แสวงหาสิ่งดังกล่าวแล้วเป็นต้นนี้ เป็นที่พึ่ง เป็นที่ดับทุกข์ ชื่อว่าแสวงหาที่พึ่งผิด
    ทาง เพราะที่พึ่งเหล่านั้นไม่ใช่ที่พึ่งอันประเสริฐ ไม่ใช่ที่พึ่งที่อาจดับทุกข์ได้ตลอดไป
    เพราะอะไร
    เพราะตัวของผู้เป็นทุกข์เองก็มีสภาพไม่เที่ยง ยังต้องมีความเกิด แก่ เจ็บ ตาย แตกดับ
    เป็นธรรมดา สิ่งที่ยึดเอาเป็นที่พึ่งนั้นเล่าก็ไม่เที่ยง มีความแตกดับเป็นธรรมดาเช่นเดียวกัน สิ่งที่มี
    สภาพไม่เที่ยง แตกดับด้วยกัน จะดับทุกข์ของกันได้ตลอดไปได้อย่างไร
    บางคนมีทุกข์ไม่ได้แสวงหาที่พึ่งดังกล่าวนั้น แต่อาศัยพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
    เป็นที่พึ่ง คนเช่นนี้ชื่อว่าแสวงหาที่พึ่งที่ถูกทาง แสวงหาเครื่องดับทุกข์ที่ถูกทาง
    เพราะอะไร
    เพราะพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ๓ ประการนี้ชื่อว่าที่พึ่งอันประเสริฐ ชื่อว่าที่พึ่งอัน
    สูงสุด ชื่อว่าที่พึ่งอันเกษม เพราะเป็นที่พึ่งที่เป็นปัจจัยให้เข้าถึงความเกษม คือพระนิพพาน อันไม่มี
    ความแตกดับ ก้าวล่วงทุกข์ทั้งปวงได้ในที่สุด



    พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ในธรรมบท พุทธวรรค ข้อ ๒๔ ว่า "มนุษย์ทั้งหลายเป็นอันมาก
    ถูกภัยคุกคามแล้ว ย่อมถือเอาภูเขา ป่า อาราม และรุกขเจดีย์ว่าเป็นที่พึ่ง นั่นไม่ใช่ที่พึ่งอันเกษม
    นั่นไม่ใช่ที่พึ่งอันสูงสุด บุคคลอาศัยสิ่งเหล่านั้นแล้วย่อมไม่พ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้
    ส่วนผู้ใดมาถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ว่าเป็นที่พึ่ง เห็นแจ้งอริยสัจ ๔ คือ
    ทุกข์, สมุทัย เหตุให้เกิดทุกข์, นิโรธ ธรรมเป็นเครื่องดับทุกข์, และอริยมรรคอันประกอบด้วย
    องค์ ๘ อันเป็นทางให้ถึงความดับทุกข์ ด้วยปัญญาอันชอบ นั่นเป็นที่พึ่งอันเกษม นั่นเป็นสูงสุด
    บุคคลอาศัยพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งแล้ว ยังพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้"
    เพราะฉะนั้น การอยู่ในประเทศที่สมควร ประเทศที่มีพระพุทธศาสนาแผ่ไปถึง จึงเป็นอุดมมงคล
    เป็นเหตุให้เกิดความเจริญ เป็นปัจจัยให้เราดำเนินชีวิตได้ถูกทางประการหนึ่ง
    ๒. สัปปุริสูปัสสยะ การเข้าไปอาศัยสัตบุรุษ หรือการคบหาสัตบุรุษ
    อย่าว่าแต่คนที่อยู่ในดินแดนที่ไม่สมควรเลย ที่จะแสวงหาที่พึ่งอันไม่ถูกทาง แม้คนที่อยู่ใน
    ประเทศที่สมควร บางครั้งและบางคนก็ยังแสวงหาที่พึ่งไม่ถูกทางเช่นเดียวกัน ทั้งนี้เพราะเขามิได้เข้าไป
    คบหา สนทนากับสัตบุรุษผู้รู้ทั้งหลาย เขาจึงไม่มีโอกาสทราบว่า สิ่งใดควรประพฤติ สิ่งใดไม่ควรประพฤติ
    สิ่งใดมีโทษ สิ่งใดไม่มีโทษ สิ่งใดเป็นประโยชน์ สิ่งใดไม่เป็นประโยชน์
    เพราะฉะนั้น การคบหาสัตบุรุษจึงเป็นปัจจัยประการหนึ่งที่ ๒ ในการดำเนินชีวิตให้ถูกต้อง
    สัตบุรุษนั้น ได้แก่ ผู้สงบ คือสงบจากกายทุจริต สงบจากวจีทุจริต สงบจากมโนทุจริต
    อันเป็นบาปอกุศล
    กายทุจริตการประพฤติชั่วทางกาย มี ๓ อย่าง คือ การฆ่าสัตว์ทั้งด้วยตนเองและใช้ผู้อื่น ๑
    การถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้ด้วยเจตนาคิดจะลัก ๑ การประพฤติผิดประเวณี ๑
    วจีทุจริตการประพฤติชั่วทางวาจา มี ๔ อย่าง คือ การพูดเท็จ ๑ การพูดส่อเสียด ให้ผู้อื่น
    แตกแยกกัน ๑ การพูดคำหยาบ ๑ การพูดเพ้อเจ้อ เหลวไหล ไร้สาระ ๑
    มโนทุจริตการประพฤติชั่วทางใจ มี ๓ อย่าง คือ อภิชฌา การคิดเพ่งเล็งอยากได้ของผู้อื่น
    มาเป็นของตน ๑ พยาบาท การคิดให้ผู้อื่นพินาศ ๑ มิจฉาทิฏฐิ ความเห็นผิดว่าทานที่ให้แล้วไม่มีผล เป็นต้น ๑
    สัตบุรุษนั้นเป็นผู้มีศรัทธา เชื่อมั่นในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เชื่อกรรมและผลของกรรม
    เชื่อว่าสัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน เป็นผู้มีศีล เป็นผู้มีพาหุสัจจะ คือ สดับฟังตรับฟังมาก มีหิริ ความ
    ละอายบาป มีโอตตัปปะ ความกลัวบาป มีจาคะ ยินดีในการให้ไม่ตระหนี่ และมีปัญญารู้จัก อะไรควร
    ไม่ควร ตลอดจนมีปัญญาพาตนให้พ้นทุกข์ได้
    พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอริยสาวก ตลอดจนผู้ตั้งอยู่ในศีล ในธรรม
    ชื่อว่าสัตบุรุษ ในบรรดาสัตบุรุษเหล่านั้น พระพุทธเจ้าประเสริฐที่สุด
    พระพุทธเจ้านั้นเกิดขึ้นได้แสนยาก นานนักหนาว่าจะมีพระพุทธเจ้ามาตรัสรู้สักพระองค์
    หนึ่ง การบังเกิดขึ้นของพระองค์นำมาซึ่งประโยชน์ และความสุขแก่มนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย อย่าง
    หาประมาณมิได้ พระองค์ทรงชี้ทางให้สัตว์ทั้งหลายได้เข้าสู่สุคติโลกสวรรค์ และมรรค ผล นิพพาน
    เป็นจำนวนมาก
    การได้ฟังพระสัทธรรม คือคำสั่งสอนของพระองค์ก็ยาก เพราะเราอาจจะไปเกิดเสียในทุคติ
    มีนรกเป็นต้น หรือแม้ได้เกิดในสุคติมีมนุษย์เป็นต้น ก็ไม่แน่ว่าเราจะได้มีโอกาสฟังธรรมของพระองค์
    หรือไม่ ทั้งนี้เพราะใจของสัตว์นั้นมากด้วยความยินดีต้องการ แต่พระองค์ทรงสอนให้ละความยินดีความ
    ต้องการ เป็นการทวนกระแสกิเลส ผู้ฟังที่ขาดปัญญาบารมี จึงมิได้สนใจคำสอนของพระองค์เท่าที่ควร
    เมื่อไม่สนใจก็ประพฤติผิดทาง
    ด้วยเหตุนี้ พระพุทธองค์จึงตรัสว่า "ในโลกนี้ คนที่เห็นแจ้งมีน้อย สัตว์ที่ไปสวรรค์มีน้อย
    เหมือนนกพ้นจากข่ายมีน้อย"
    และตรัสว่า "คนที่ไปถึงฝั่งคือพระนิพพานมีน้อย ส่วนมากมักเลาะอยู่ริมฝั่ง"
    ผู้ใดได้ฟังธรรมของพระองค์แล้วประพฤติตาม ย่อมได้รับความสุขชั่วนิรันดร
    พระพุทธเจ้าและพระสาวกของพระพุทธเจ้า เป็นผู้ที่ควรบูชา ใครๆ ไม่ควรดูหมิ่นว่า
    บุญที่เกิดจากการบูชาพระองค์และสาวกของพระองค์เป็นบุญเล็กน้อย เพราะว่าการบูชาบุคคล
    ที่ควรบูชา ผู้เช่นกับด้วยพระองค์และสาวกของพระองค์ผู้หมดจดจากกิเลสนั้น ใครๆ ไม่อาจ
    ประมาณบุญนั้นได้ว่ามีประมาณเท่านั้นเท่านี้
    เมื่อสัตบุรุษท่านเป็นผู้เพียบพร้อมด้วยคุณความดีดังกล่าวนี้ ท่านก็ปรารถนาให้ผู้อื่นได้เป็น
    เช่นเดียวกับท่าน เมื่อผู้ใดเข้าไปหาท่าน ท่านก็ย่อมจะสอนให้ผู้นั้นได้ตั้งอยู่ในคุณความดีเช่นเดียวกับ
    ท่าน นั่นคือสอนให้ละชั่ว ประพฤติดี ได้แก่ละบาปทุจริต ประพฤติกุศลสุจริต
    ปัจจุบันนี้แม้พระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานไปแล้ว แต่พระสงฆ์ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบ
    ตลอดจนอุบาสก อุบาสิกา ผู้ตั้งอยู่ในศีล ในธรรม มั่นคงในพระรัตนตรัย ยังมีอยู่ ท่านเหล่านี้
    เป็นสัตบุรุษที่เราควรเข้าไปคบหาสมาคม และดำเนินรอยตามท่าน
    การคบหาสัตบุรุษ จึงเป็นปัจจัยประการหนึ่งในการดำเนินชีวิตให้ถูกทาง
    ๓. อัตตสัมมาปณิธิ การตั้งตนไว้ชอบ
    แม้การคบสัตบุรุษจะเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งในการดำเนินชีวิตให้ถูกทาง แต่ถ้าเป็นแต่
    เพียงเข้าไปคบหา มิได้สนใจที่จะประพฤติตามคำสอนของท่านแล้ว การคบหานั้นก็ไม่เกิดประโยชน์อันใด
    ในเมื่อเรามิได้ตั้งตนไว้ชอบ คือมิได้ตั้งอยู่ในธรรมของสัตบุรุษ คือสุจริตธรรม ๑๐ ประการ มีการงดเว้น
    จากการฆ่าสัตว์เป็นต้น
    ก็สุจริตธรรม ๑๐ ประการ หรือกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการนี้ ชื่อว่าธรรมของมนุษย์
    เราเกิดเป็นมนุษย์แล้วมีกุศลกรรมบถไม่ครบ ๑๐ จะชื่อว่าเป็นมนุษย์โดยสมบูรณ์ได้อย่างไร
    ก็คำว่า "มนุษย์" นั้นแปลว่า ผู้มีใจสูง คือสูงด้วยคุณธรรม มีเมตตากรุณา ไม่ฆ่าสัตว์
    ไม่เบียดเบียนสัตว์ เป็นต้น ทั้งเป็นผู้จักเหตุที่สมควรและไม่สมควร เป็นผู้รู้จักว่าอะไรเป็นประโยชน์ อะไร
    ไม่เป็นประโยชน์ และอะไรเป็นกุศล อะไรไม่เป็นกุศล ถ้ามนุษย์ไม่รู้จักสิ่งเหล่านี้ มนุษย์ก็ไม่ต่างกับสัตว์
    เดียรัจฉาน
    มนุษย์ที่มีจิตใจเป็นมนุษย์ ท่านเรียกว่า มนุสสมนุสโส
    มนุษย์ที่มีจิตใจเหมือนเปรต คือหิวกระหาย อยากได้ ต้องการอยู่เสมอ ไม่อิ่ม ไม่เต็ม
    ท่านเรียกว่า มนุสสเปโต
    มนุษย์ที่มีจิตใจเหมือนเดียรัจฉาน ไม่รู้ว่าอะไรดี อะไรชั่ว เอาแต่กิน นอนและสืบพันธุ์เท่านั้น
    ท่านเรียกว่า มนุสสติรัจฉาโน
    มนุษย์ที่มีจิตใจเหมือนเทวดา คือรู้จักละอายบาปและกลัวบาป รื่นเริงบันเทิงอยู่ ท่านเรียกว่า
    มนุสสเทโว
    มนุษย์จึงควรมีศีล ๕ เป็นอย่างต่ำ มีกุศลกรรมบถ ๑๐ เป็นอย่างสูง ส่วนใครสามารถ
    จะทำฌาน วิปัสสนา มรรค ผล อันเป็นอุตตริมนุสสธรรม คือธรรมที่ยิ่งกว่า ธรรมของมนุษย์
    ให้เกิดได้ ยิ่งประเสริฐ
    คนในสมัยพุทธกาลเป็นจำนวนมาก ที่ได้เกิดในประเทศที่สมควร คือเกิดในดินแดนของ
    พระพุทธศาสนาในสมัยที่พระบรมศาสดาอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่ ได้เข้าไปคบหา
    ใกล้ชิดพระองค์ ได้ฟังธรรมของพระองค์ แต่ยังคงประพฤตินอกลู่นอกทาง ผิดศีล ผิดธรรม อย่างนี้
    ชื่อว่าตั้งตนไว้ผิด ดังพระเทวทัตเป็นตัวอย่าง เมื่อตั้งต้นไว้ผิด ชีวิตของเขาจะพบกับความสุขความเจริญ
    ได้อย่างไร
    ด้วยเหตุนี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงตรัสว่า "ตถาคตเป็นเพียงผู้บอกทาง" คือบอกทางสวรรค์
    และ มรรค ผล นิพพาน ให้เท่านั้น ส่วนการดำเนินชีวิตให้ถึงจุดหมายปลายทางนั้น ท่านทั้งหลายต้อง
    ประพฤติด้วยตนเอง
    ๔. ปุพเพ กตปุญญตา การได้ทำบุญไว้ในปางก่อน เป็นจักรข้อที่ ๔ ที่จะสนับสนุนให้
    เราดำรงชีวิตอยู่ในทางที่ชอบ กอปรด้วยประโยชน์
    การเกิดเป็นมนุษย์ในชาตินี้ ก็อาศัยบุญที่ได้ทำไว้ในปางก่อน คือในชาติที่ล่วงมาแล้วนำเกิด
    เมื่อมีชีวิตอยู่ มีโอกาสได้อยู่ในถิ่นที่สมควร ได้พบพระพุทธศาสนา ได้คบหาสัตบุรุษและฟังธรรมจากท่าน
    ทำให้ตั้งตนไว้ชอบ สนใจในการทำบุญกุศล ตลอดจนการประพฤติปฏิบัติ เพื่อบรรลุ มรรค ผล นิพพาน
    อันเป็นกุศลสูงสุด ก็ล้วนอาศัย บุญ ที่ได้เคยทำไว้เป็นปัจจัยสนับสนุนให้ได้รับผลสำเร็จทั้งสิ้น
    ถ้าขาดบุญเสียแล้ว ท่านจะไม่มีโอกาสได้รับสิ่งเหล่านี้เลย
    หากยังต้องเกิดอีกตราบใด บุญที่ทำไว้ในชาติก่อนๆที่ยังไม่มีโอกาสให้ผล รวมกับบุญ
    ที่ทำใหม่ในชาตินี้ ก็ยังติดตามไปให้ผลในชาติต่อไปด้วย
    สิ่งทั้งหลายที่เราปรารถนาและแสวงหามาไว้ ล้วนอยู่กับเราผู้เป็นเจ้าของไม่นานเลย ของเหล่า
    นั้นแม้จะเป็นที่รักสักเพียงใด ก็ไม่อาจติดตามเจ้าของไปภพหน้าได้ แม้เมื่อเจ้าของยังมีชีวิตอยู่ ก็ไม่แน่
    ว่าของนั้นจะอยู่กับเจ้าของตลอดไป อาจสูญหาย หรือถูกทำลายไปด้วยไฟบ้าง ด้วยโจรบ้าง ด้วยน้ำบ้าง
    ด้วยผู้มีอำนาจบ้าง ด้วยการล้างผลาญของทายาทที่มีความประพฤติไม่ดีบ้าง ฯลฯ
    ส่วนบุญมิได้เป็นเช่นนั้น ใครๆไม่อาจทำลายบุญให้สูญหายไปได้ แม้โจรก็ลักไปไม่ได้
    ไฟไหม้ไม่ได้ น้ำท่วมไม่ได้ ถูกผู้มีอำนาจริบไม่ได้ หรือถูกทายาทที่มีความประพฤติไม่ดีล้างผลาญ
    ไม่ได้ ฯลฯ แม้เมื่อสิ้นชีวิตแล้ว บุญนั้นสามารถติดตามไปให้ความสุขแก่เจ้าของในภพหน้าได้ด้วย
    เพราะเหตุนั้น บุญที่ทำไว้ จึงเป็นปัจจัยเกื้อกูลแก่ชีวิตของเรา ให้พบกับความสุขและ
    ความสำเร็จ ประการหนึ่ง
    ในทางตรงกันข้าม บาปที่บุคคลสั่งสมไว้ในปางก่อน ก็เป็นปัจจัยให้พบกับความทุกข์และ
    ความผิดหวังนานาประการ ทั้งยังติดตามไปให้ความทุกข์แก่ผู้กระทำในภพหน้าด้วย
    ผู้มีปัญญาจึงเพียรละบาป เร่งบำเพ็ญบุญ
    เรื่องของการทำความดี คือบุญกุศลนั้น เมื่อมีจิตเลื่อมใสศรัทธาแล้ว อย่ารีรอจงทำทันที เพราะ
    จิตนั้นกลับกลอกเปลี่ยนแปลงรวดเร็วนัก มีปกติไหลไปหาบาป ทั้งเราไม่อาจรู้ว่าความตายจะมาถึงเราเมื่อไร
    เราอาจจะตายเสียในขณะที่ยังรีรออยู่ก็ได้
    ชีวิตนั้นยังพอประกันได้ แต่ไม่มีใครสามารถประกันศรัทธาของใครได้ ว่าให้ตั้งอยู่นาน
    เท่านั้นเท่านี้แม้ท่านผู้ทรงฤทธิ์ เป็นพระอรหันต์อย่างท่านพระมหาโมคคัลลานะ ก็ยังไม่อาจประกัน
    ศรัทธาของอุบาสกผู้เป็นอุปัฏฐากของท่านได้
    มีเรื่องเล่าไว้ในสุปปาวาสาสูตร ขุททกนิกาย อุทาน ข้อ ๖๒ ตอนหนึ่งว่า ...
    พระนางสุปปาวาสาโกลิยธิดา ประสูติพระโอรสแล้ว ทรงปรารถนาจะถวายภัตตาหารแด่
    พระพุทธเจ้ากับพระสงฆ์สาวกสัก ๗ วัน เมื่อทรงส่งคนไปกราบทูลนิมนต์พระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าไม่อาจ
    ทรงรับนิมนต์ได้ในทันที เพราะอุบาสกผู้เป็นอุปัฏฐากของท่านพระมหาโมคคัลลานะ ได้กราบทูลนิมนต์ไว้
    ก่อนแล้ว จึงตรัสสั่งให้ท่านพระมหาโมคคัลลานะบอกเรื่องนี้แก่อุบาสกผู้เป็นอุปัฏฐากของท่าน อุบาสกนั้น
    กล่าวว่า ถ้าท่านพระมหาโมคคัลลานะสามารถประกันโภคสมบัติ ชีวิตและศรัทธาของท่านได้ ท่านก็ยอม
    ตกลง ท่านพระมหาโมคคัลลานะยอมประกันแต่โภคสมบัติ และชีวิตของอุบาสกนั้นเท่านั้น แต่ไม่อาจประ
    กันศรัทธาของอุบาสกได้
    เมื่ออุบาสกนั้นเห็นท่านพระมหาโมคคัลลานะประกันโภคสมบัติและชีวิตของตน ว่าจะไม่เป็น
    อันตรายใน ๗ วัน จึงได้ยินยอมให้พระนางสุปปวาสาถวายภัตตาหารแก่พระพุทธเจ้าและพระสาวกก่อน
    ตนจะถวายภายหลัง ทั้งนี้เพราะมั่นใจว่าศรัทธาของตนที่มีต่อพระพุทธเจ้าและพระสงฆ์สาวก จะไม่หวั่นไหว
    เปลี่ยนแปลงเป็นอื่น
    สรุปว่าไม่มีใครอาจประกันจิตที่เป็นกุศลของใครได้ว่าจะไม่เปลี่ยนเป็นอื่น เพราะจิตนั้นเกิดดับ
    รวดเร็ว กลับกลอกรักษาได้ยาก แต่ผู้ที่สามารถผึกจิตที่กลับกลอก รักษาได้ยากให้อยู่ในอำนาจได้
    คือให้ตั้งอยู่ในกุศลได้แล้ว เป็นความดีเพราะจิตที่บุคคลฝึกดีแล้วย่อมนำความสุขมาให้

    แต่จิตที่บุคคลตั้งไว้ผิด คือตั้งไว้ในบาปอกุศล มีกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ย่อมนำ
    ความทุกข์และความพินาศมาให้ แม้คนที่มีเวรต่อกัน ก็ยังนำความทุกข์และความพินาศมาให้น้อย
    กว่าจิตที่ตั้งไว้ผิด
    มีคนเป็นจำนวนไม่น้อยที่เข้าใจว่า จิตของมนุษย์เมื่อเริ่มเกิด คือถือกำเนิดในครรภ์มารดานั้น
    บริสุทธิ์ ไม่มีความต้องการใดๆ แต่เมื่อโตขึ้นจิตก็เศร้าหมอง เพราะอุปกิเลสมีโลภะเป็นต้นจรมารบกวน
    ทำให้ต้องการสิ่งโน้นสิ่งนี้ไม่มีที่สิ้นสุด
    จริงอยู่ พระพุทธองค์ตรัสไว้ใน องฺ. เอกนิบาต ข้อ ๕๐ ว่า
    จิตนี้ผุดผ่อง แต่ว่าจิตนี้เศร้าหมองแล้ว ด้วยอุปกิเลสที่จรมา
    คำว่า จิตปภัสสร ที่แปลกันว่า จิตผุดผ่อง นี้ ก็มีความหมายเพียงผุดผ่องเท่านั้น มิได้หมาย
    ไกลไปถึงว่าบริสุทธิ์ เพราะจิตบริสุทธิ์นั้นหมายถึงจิตที่ปราศจากกิเลสโดยสิ้นเชิง
    แต่จิตผุดผ่องมิได้เป็นเช่นนั้น เพราะยังมีกิเลสอย่างละเอียดคืออนุสัยกิเลสตามนอนอยู่ ด้วย
    เหตุที่ยังละไม่ได้ ก็อนุสัยกิเลสนี้ที่ทำให้จิตเศร้าหมอง หากเชื้อคืออนุสัยกิเลสยังนอนสงบนิ่งอยู่ตราบใด
    จิตนี้ผุดผ่องอยู่ตราบนั้น จิตผุดผ่องนี้คือภวังคจิต ที่ทำหน้าที่รักษาภพชาติคือความเป็นมนุษย์เอาไว้เป็น
    จิตที่รับอารมณ์ที่ได้รับมาจากภพเก่าคือชาติก่อน ยังมิได้ขึ้นสู่วิถี ทำหน้าที่เห็น ได้ยิน รู้กลิ่น รู้รส รู้สัมผัส
    เย็น ร้อน อ่อน แข็ง และรู้ธัมมารมณ์ ต่อเมื่อใดอารมณ์ใหม่มาปรากฎทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ
    เมื่อนั้นจิตก็ขึ้นวิถีทำหน้าที่เห็น ได้ยิน รู้กลิ่น รู้รส รู้สัมผัสเย็น ร้อน อ่อน แข็ง และรู้ธัมมารมณ์ หาก
    ไม่สำรวมจิตให้ดี คือขาดสติหลงใหลไปในอารมณ์เหล่านั้นอุปกิเลสก็จะจรเข้ามา ทำให้จิตเศร้าหมองทันที
    ด้วยเหตุนี้ ภวังคจิตจึงไม่ผิดกับน้ำที่มองดูใส แต่มีตะกอนนอนอยู่ข้างล่าง เมื่อมีอะไร
    มากวน น้ำนั้นก็ขุ่นทันที
    น้ำที่มีตะกอนนอนอยู่ข้างล่าง มองดูใสสะอาดฉันใด ภวังคจิตที่มีอนุสัยนอนสงบอยู่
    ก็ดูผุดผ่องฉันนั้น
    ด้วยเหตุผลดังกล่าวนี้ จิตของทารกแรกเกิดจึงมิได้บริสุทธิ์ เพราะถ้าจิตของทารกบริสุทธิ์แล้ว
    ไซร์ ทารกนั้นก็ปราศจากกิเลสโดยสิ้นเชิง เป็นพระอรหันต์มาตั้งแต่เกิด แต่พระอรหันต์นั้นเมื่อปรินิพพาน
    แล้ว ท่านไม่เกิดอีก เพราะท่านดับอนุสัยกิเลสอันเป็นเชื้อที่จะทำให้เกิดได้หมดแล้ว



    ในทางพระพุทธศาสนานั้นแสดงว่าผู้ที่มาเกิด ไม่ว่าจะเกิดในภพภูมิใด ผู้นั้นคือผู้ที่ยังไม่หมด
    กิเลส จิตยังไม่บริสุทธิ์ เพราะถ้าจิตบริสุทธิ์หมดกิเลสแล้วจะมาเกิดอีกไม่ได้ นอกจากนั้นยังแสดงว่า
    ผู้ที่เกิดขึ้นในภพใหม่นั้น เมื่อเกิดขึ้นแล้วจิตที่เกิดขึ้นรับอารมณ์ใหม่เป็นครั้งแรกต่อภวังคจิต
    คือโลภะจิตที่ประกอบด้วยความยินดีในภพที่ตนเกิด ต่อแต่นั้นจิตอื่นมีกุศลเป็นต้นจึงจะเกิดได้ ทั้งนี้
    ไม่เว้นแม้แต่พระอนาคามีผู้เกิดในพรหมโลก
    การร้องไห้ของทารกที่คลอดจากครรภ์มารดาก็ดี ร้องไห้เพราะต้องการนมก็ดี ล้วนแต่แสดงว่า
    ทารกนั้นมีกิเลสทั้งสิ้น จริงอยู่ เด็กไม่อาจแสดงออกซึ่งกิเลสหยาบมีการตีการด่า เป็นต้นได้ แต่เด็กก็แสดง
    ออกซึ่งกิเลสที่มีอยู่ในใจให้ผู้อื่นรู้ว่า เขาชอบใจ ไม่ชอบใจ อยากได้ ไม่อยากได้เป็นต้น



    ก็กิเลสที่มีอยู่ในใจนั้นมาจากไหนเล่า ถ้าหากว่าไม่มีเชื้อ คืออนุสัย ตามนอนอยู่ในสันดาน คือ
    ความสืบต่อของจิตแล้ว กิเลสอย่างกลางที่คอยกลุ้มรุมจิตใจให้เร่าร้อน และกิเลสอย่างหยาบที่แสดงออกทาง
    กายทางวาจา มีการตีการด่าเป็นต้น จะเกิดขึ้นได้อย่างไร แต่เพราะมีอนุสัยอันเป็นกิเลสอย่างละเอียดเป็น
    เชื้ออยู่ กิเลสอย่างกลางและอย่างหยาบจึงเกิดได้
    ด้วยเหตุนี้ ความเข้าใจที่ว่า จิตของมนุษย์แรกเกิดบริสุทธิ์จึงไม่ถูกต้อง เพราะเมื่อเรายังละเชื้อ
    คืออนุสัยยังไม่ได้ตราบใด อนุสัยนั้นก็ติดตามเราไปทุกชาติตราบนั้น ทำให้เกิดในภพใหม่อยู่ร่ำไป ทั้งยังทำให้
    จิตใจของเราผู้เกิดแล้ว ต้องเศร้าหมองด้วยความรักบ้าง ความโกรธบ้าง ความหลงบ้าง
    พระพุทธองค์ตรัสว่า ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นหัวหน้า มีใจประเสริฐที่สุด สำเร็จแล้วแต่ใจ
    (คือจิต) ถ้าบุคคลมีใจอันโทษประทุษร้ายแล้ว กล่าวอยู่ก็ตาม ทำอยู่ก็ตาม ทุกข์ย่อมไปตามบุคคลนั้น
    เพราะทุจริต ๓ อย่าง เหมือนล้อหมุนไปตามรอยเท้าโคตัวลากเกวียนไปฉะนั้น
    เพราะฉะนั้นจึงควรติดตามดูจิต เพื่อมิให้ตกไปในอกุศล ด้วยการกำหนดรู้สภาพของจิต
    ที่เกิดขึ้นทุกขณะ
    เพียงเท่านี้ก็จะเห็นได้ว่า การเกิดเป็นมนุษย์แล้วดำรงชีวิตให้ถูกทาง คือให้อยู่ในบุญกุศลนั้น
    แสนยาก เพราะต้องคอยประคับประคองจิตไม่ให้ตกไปในบาปอกุศล หากใจเป็นบาปอกุศลแล้วโอกาสที่
    ความชั่วทางกาย ทางวาจา ทางใจ คืออกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ อันมิใช่ธรรมของมนุษย์ย่อมเกิดขึ้น
    ได้ง่าย การรักษาใจเพียงอย่างเดียวชื่อว่ารักษากายและวาจาด้วย
    ในจำนวนคนเป็นล้านๆ มีกี่คนที่รักษาใจไว้มิให้ตกไปในบาปอกุศล แม้คนที่ศึกษาธรรมมาอย่าง
    ดี รู้โทษของอกุศลแล้ว ก็ยังยากที่จะทำใจให้เป็นกุศลได้ตลอดเวลา เพราะธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา จิต
    หรือใจก็เป็นอนัตตา ไม่อยู่ในอำนาจของใคร เราจึงไม่อาจบังคับจิตของเราให้เป็นกุศลตลอดไปได้ กุศล
    และอกุศลเกิดขึ้นตามเหตุปัจจัยและความคุ้นเคย กล่าวคือ ถ้าจิตคุ้นเคยอยู่กับบุญกุศล บุญกุศล
    ก็เกิดได้ง่าย แต่ถ้าจิตคุ้นเคยกับอกุศล อกุศลก็เกิดได้ง่าย ด้วยเหตุนี้ควรพยายามสั่งสมกุศลให้มา
    เพื่อให้จิตคุ้นเคยกับกุศล โดยเฉพาะกุศลขั้นภาวนาเพราะกุศลขั้นภาวนาเท่านั้น ที่ช่วยรักษาจิตมิให้ตกไป
    ในบาปอกุศลได้ การตามรู้สภาพของจิตตามความเป็นจริงนี้ จะช่วยให้เรารู้ว่าขณะนี้จิตเป็นกุศล หรือจิต
    เป็นอกุศล เมื่อรู้ว่าเป็นกุศลก็พยายามรักษาไว้และเจริญให้มากขึ้น แต่ถ้ารู้ว่าจิตเป็นอกุศลก็พยายามละ
    และระวังไม่ให้เกิดขึ้นอีก
    การฝึกจิตให้คุ้นเคยกับกุศลนั้นทำอย่างไร ไม่ยากเลย ขอเพียงอย่าปล่อยกุศลเล็กๆ น้อยๆ ผ่าน
    ไปโดยไม่ใส่ใจ หรือดูหมิ่นว่าเป็นกุศลเล็กน้อย ไม่จำเป็นต้องทำ ซึ่งไม่ถูกต้อง กุศลทุกชนิดไม่ควรละเลย
    เช่นเราเห็นมดลอยน้ำอยู่ในน้ำ โอกาสที่เราจะช่วยให้มดรอดตายมีอยู่ จะโดยการใช้มือช้อนขึ้นมา
    หรือใช้ไม้เขี่ยให้พ้นน้ำก็ได้ แต่เราไม่ได้ทำ เพราะคิดว่าธุระไม่ใช่ มดไม่ใช่ลูกหรือพ่อแม่ ญาติพี่น้องของเรา
    หรือคิดว่าการช่วยมดไม่ทำให้เราได้รับประโยชน์อันใด ถึงจะได้บุญ ก็ได้บุญเล็กน้อย เสียเวลา เอาไว้ทำบุญ
    ใหญ่ๆดีกว่า แล้วก็ละเลยเสีย ไม่ได้คิดว่านั่นเป็นโอกาสที่จะได้ทำกุศลแล้ว กลับปล่อยให้กุศลที่จะเกิดผ่านไป
    เสียด้วยความประมาท ความจริงแล้วมดก็มีชีวิตจิตใจเช่นเดียวกับมนุษย์ กลัวตายเหมือนมนุษย์ ทั้งหมดนั้น
    อาจเป็นพ่อแม่หรือญาติพี่น้องของเราในอดีตก็ได้ ใครจะรู้ว่าในวัฏฏสงสารอันยืดยาวนี้ เราและสัตว์ทั้ง
    หลายมีความผูกพันกันอย่างไร จึงไม่ควรดูดาย คนที่ตกน้ำแลัวช่วยตนเองไม่ให้จมน้ำตายไม่ได้ ย่อมกลัว
    ตายอย่างไร มดก็กลัวจมน้ำตายอย่างนั้นการช่วยให้มดรอดชีวิตจึงไม่ใช่กุศลเล็กน้อย แต่เพราะประมาทดูหมิ่น
    ว่าเป็นกุศลเล็กน้อย กุศลก็เกิดไม่ได้ มิหนำซ้ำอกุศลยังเกิดแทนอีกด้วย
    หรือเพียงเราเดินไปตามถนนหนทาง พบเศษกระเบี้องหรือเศษแก้วทิ้งอยู่บนทางเดิน พบแล้ว
    ก็มิได้เดินผ่านไปเฉยๆ ได้เก็บเศษแก้วแตกนั้นออกไปให้พ้นทางเดิน ด้วยจิตใจที่ประกอบด้วยเมตตากรุณา
    ต้องการให้ผู้คนที่เดินผ่านไปมาได้รับความปลอดภัย ไม่ถูกกระเบื้องแตกตำเท้าให้บาดเจ็บ ซึ่งบางคร้งเมื่อ
    ถูกตำแล้วไม่รักษาให้ถูกต้อง ปล่อยให้สกปรก อาจเป็นบาดทะยักถึงตายได้ การทำอย่างนี้ ก็เป็นบุญเป็น
    กุศล ซึ่งบางคนอาจคิดว่าเป็นบุญเล็กน้อยจึงละเลย ความจริงหาได้เล็กน้อยไม่ เพราะเป็นประโยชน์แก่คน
    เป็นอันมาก
    ถ้าเราหมั่นฝึกจิตของเราให้ไม่ละเลยต่อกุศล แม้เล็กน้อยอย่างนี้บ่อยๆ จิตใจของเราจะคุ้นเคย
    กับกุศล จนกุศลสามารถเกิดได้บ่อยและง่ายขึ้น อกุศลหาโอกาสแทรกได้ยาก ด้วยเหตุนี้จึงไม่ควรปล่อยให้
    กุศลเล็กน้อยผ่านไป อย่าลืมว่าพระพุทธเจ้าตรัสว่า "บุคคลไม่ควรดูหมิ่นบุญว่าบุญมีประมาณน้อย จัก
    ไม่มาถึง แม้หม้อน้ำยังเต็มได้ด้วยหยาดน้ำที่ตกลงมาทีละหยาดๆ ฉันใด นักปราชญ์สั่งสมบุญ
    แม้ทีละน้อยๆ ย่อมเต็มด้วยบุญ ฉันนั้น"
    ในทางตรงกันข้าม เราก็ไม่ควรดูหมิ่นบาปเล็กน้อยว่าจะไม่เพิ่มมากขึ้น ในเมื่อเราทำบาปนั้น
    บ่อยๆ และเมื่อทำบ่อยๆ จิตใจก็คุ้นกับบาป เป็นเหตุให้บาปเกิดได้ง่ายและบ่อยขึ้น
    ลองสังเกตดูเด็กที่ขาดการอบรมสั่งสอน มักชอบรังแกและฆ่าสัตว์เล็กๆโดยเห็นเป็นของสนุก
    เมื่อโตขึ้นก็สามารถฆ่าสัตว์ใหญ่ตลอดจนมนุษย์ได้อย่างสบาย โดยไม่มีความละอายและเกรงกลัวบาป
    เห็นการกระทำความชั่ว การกระทำบาปเป็นเรื่องธรรมดา ทั้งนี้ก็เพราะ จิตใจของเขาคุ้นเคยกับบาปมา
    ตั้งแต่เยาว์
    บางคนชอบลักเล็กขโมยน้อย หยิบฉวยทรัพย์สินของผู้อื่น ทั้งที่เป็นของสาธารณะ และของส่วน
    บุคคลจนเคยชิน สายไฟ หลอดไฟตามถนนหนทางถูกขโมย ต้นไม้ที่มีผลยื่นออกมานอกรั้ว หรือแม้จะอยู่
    ภายในรั้ว มีเจ้าของหวงแหนและระแวดระวัง ก็ถูกคนจำพวกนี้หยิบฉวย เก็บเอาไปทั้งต่อหน้าและลับหลัง
    โดยขาดความละอายใจ ว่าตนได้ละเมิดกรรมสิทธิ์ของผู้อื่น
    คนเหล่านี้หวงแหนชีวิตและทรัพย์สินของตน ใครมาทำลายชีวิตและทรัพย์ของตนก็โกรธคิดอาฆาต
    พยาบาท แต่ร่าเริงบันเทิงใจ เมื่อได้ชีวิตและทรัพย์สินของผู้อื่นโดยมิชอบธรรม ลืมเอาใจเขามาใส่ใจเรา
    ว่าเรารักชีวิตและทรัพย์สินของเราอย่างไร ผู้อื่นก็รักชีวิตและทรัพย์สินของเขาอย่างนั้น
    พระพุทธองค์ตรัสว่า "บุคคลไม่ควรดูหมิ่นบาปว่ามีประมาณน้อยจะไม่มาถึง แม้หม้อน้ำย่อม
    เต็มด้วยหยาดน้ำที่ตกลงมาทีละหยาดๆฉันใด คนพาลสั่งสมบาปแม้ทีละน้อยๆ ย่อมเต็มด้วยบาปฉันนั้น"
    เพราะฉะนั้นจงสั่งสมบุญ ละเว้นบาป
    ด้วยเหตุที่การเกิดเป็นมนุษย์นี้แสนยาก เพราะต้องอาศัยบุญนำเกิด เมื่อได้ความเป็นมนุษย์มา
    แล้ว ก็ควรใช้ชีวิตให้ถูกต้อง ให้สมกับที่ได้มาโดยยาก และให้สมกับที่ได้รับสมญาว่า "ผู้มีใจสูง" ผู้มีใจสูง
    ย่อมตั้งตนไว้ในบุญกุศล คือ ทาน ศีล ภาวนา ไม่ปล่อยตนให้ตกไปในบาปอกุศล เพราะถ้าประมาทพลาด
    พลั้งไปกับบาปอกุศลแล้ว โอกาสที่จะได้กลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีกนั้นยากนัก
    พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ในอังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เอกธัมมาทิบาลี ตอนหนึ่งว่า
    "สัตว์ที่จุติคือตายจากมนุษย์กลับมาเกิดในมนุษย์มีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่จุติจากมนุษย์ไปเกิดในนรก
    เกิดในกำเนิดเดียรัจฉาน เกิดในปิตติวิสัย มากกว่าโดยแท้"
    ถ้าไม่อยากไปเกิดในนรก ในกำเนิดเดียรัจฉาน ในปิตติวิสัย ก็จงตั้งตนไว้ในธรรมของมนุษย์
    คือกุศลกรรมบถ ๑๐ อันได้แก่การงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ๑ การงดเว้นจากการถือเอาของที่เจ้าของเขาไม่
    ให้ ๑ งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม ๑ งดเว้นจากการพูดเท็จ ๑ งดเว้นจากการพูดส่อเสียด ๑ งดเว้น
    จากการพูดคำหยาบ ๑ งดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ ๑ ไม่เพ่งเล็งอยากได้ของผู้อื่น ๑ ไม่พยาบาทปองร้ายผู้
    อื่น ๑ มีความเห็นถูก คือเห็นว่าการทำบุญมีผล เป็นต้น ๑ หรือจะเจริญกุศลให้สูงยิ่งขึ้นจนได้ฌาน วิปัสสนา
    และมรรค ผล นิพพาน ก็ยิ่งประเสริฐ
    แม้ว่าการเกิดเป็นมนุษย์จะได้มาโดยยาก และมนุษย์จะได้ชื่อว่าเป็นสัตว์ประเสริฐ ถึงกระนั้น
    การเกิดเป็นมนุษย์ก็เป็นทุกข์ ไม่ใข่จะเป็นสุขไปทุกอย่าง ทุกข์เพราะต้องแสวงหาสิ่งต่างๆมาปรนเปรอชีวิต
    ทุกข์เพราะเจ็บป่วย ทุกข์เพราะต้องพลัดพรากจากสิ่งที่เป็นที่รัก เป็นต้น แม้มนุษย์ที่มีความเป็นอยู่อุดมสม
    บูรณ์ที่สุดอย่างพระเจ้าจักรพรรดิ ก็หนีทุกข์เป็นต้นเหล่านี้ไม่พ้น เกิดมาแล้วก็เป็นทุกข์บ้าง สุขบ้าง คละ
    เคล้ากันไป

    ในวัฏฏสงสารอันยาวนานนี้ เราจำกันได้หรือไม่ว่า เราได้เกิดมากี่ครั้ง เชื่อแน่ว่าไม่มี
    ใครจำได้
    *พระพุทธเจ้าตรัสว่าสงสารนี้กำหนดที่สุดและเบื้องต้นไม่ได้ เมื่อหมู่สัตว์ผู้มีอวิชชากางกั้น
    มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ที่สุดและเบื้องต้นย่อมไม่ปรากฎ
    *อนมตัคคสังยุตต์ สังยุตตนิกาย นิทานวรรค

    พระพุทธองค์ทรงแสดงให้เราทราบว่า ทุกคนที่เกิดมานี้ล้วนแต่มีบรรพบุรุษสืบสายกันมานับไม่
    ถ้วน ทั้งทางฝ่ายมารดาและบิดา โดยทรงเปรียบเทียบกับผืนแผ่นดินใหญ่นี้ว่าถ้าเราจะเอาดินมาปั้นเป็นก้อน
    เล็กๆเท่าเมล็ดกระเบา แล้วสมมุติให้ก้อนนี้เป็นมารดาของเรา ก้อนนี้เป็นมารดาของมารดาเราเป็นลำดับไป
    มารดาของมารดาเราจะไม่ถึงความสิ้นสุด แต่ดินบนผืนแผ่นดินใหญ่นี้จะพึงหมดไปเสียก่อน แม้ในฝ่ายบรรพ
    บุรุษของบิดาก็เช่นเดียวกัน
    เราได้เสวยความทุกข์เดือดร้อน ร้องไห้ คร่ำครวญกันมานานไม่น้อยเลย พระพุทธองค์
    ตรัสว่า น้ำตาของเราผู้ร้องไห้อยู่ในสงสารอันยาวนานนี้ ยังมากกว่าน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ รวมกัน
    เสียอีก ร่างกายของเรานั้นเล่าก็นอนทับถมพื้นดินกันมานานมิใช่น้อย จนนับประมาณมิได้
    ตลอดเวลาที่เราท่องเที่ยวอยู่ในสงสารนี้ บางคราวก็จากโลกนี้ไปสู่โลกอื่น บางคราวก็จากโลก
    อื่นมาสู่โลกนี้ เวียนวนไปมาอยู่อย่างนี้ โดยไม่อาจกำหนดที่สุดของการเกิดของเราได้เลย ตราบเท่าที่ยัง
    ไม่เห็นอริยสัจ ๔
    ทุกข์นั้นมีมากมาย แต่ไม่มีทุกข์อะไรที่น่ากลัวยิ่งกว่า ทุกข์ในวัฏฏะ อันมีการเวียนเกิดเวียนตาย
    ที่หาจุดจบมิได้ เกิดทีไรก็เป็นทุกข์ทีนั้น
    การเกิดบ่อยๆ จึงเป็นทุกข์ การไม่ต้องเกิดเป็นอะไรเลยเป็นความสุข
    ทุกข์เหล่านี้มีตัณหาความอยาก ความต้องการเป็นมูล พระพุทธองค์ตรัสว่า ผู้มีตัณหาเป็นเพื่อน
    สองท่องเที่ยวไปอยู่สิ้นกาลนาน ย่อมไม่ก้าวล่วงสงสารไปได้ เพราะฉะนั้นการดับตัณหาอันเป็นมูลเหตุของ
    ทุกข์ทั้งมวลเสียได้ จึงเป็นความสุขอย่างยิ่ง
    ตัณหาจะดับได้ก็เพราะได้ดำเนินตามทางสายกลางที่เรียกว่า อริยมรรคมีองค์ ๘ อันประกอบ
    ด้วย สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ ๑ สัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบ ๑ สัมมาวาจา การเจรจาชอบ ๑
    สัมมากัมมันตะ การทำงานชอบ ๑ สัมมาอาชีวะ การเลี้ยงชีพชอบ ๑ สัมมาวายามะ การเพียร ๑
    สัมมาสติ การระลึกชอบ ๑ สัมมาสมาธิ การตั้งใจมั่นชอบ ๑ จนบรรลุพระอรหัตต์เป็นพระอรหันต์เท่านั้น
    ความเป็นมนุษย์ของเราจะสมบูรณ์ที่สุดก็เพราะได้เข้าถึง อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ อันเกษม
    จากโยคะ หมดสิ้นทั้งกิเลสและขันธ์ทั้งปวง ไม่ต้องเกิดมาพบกับความทุกข์อีก
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 ธันวาคม 2022
  5. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    386
    ค่าพลัง:
    +30


    สี่แสนยาก


    ที่ชาติหน้าจะมีโอกาสมาพบเห็นอีกหรือไม่ ?

    ๑. กิจโฉ มะนุสสะปะฏิลาโภ (ขุ.ธ. ๒๕/๓๙)

    ความได้เป็นมนุษย์ เป็นการยาก

    การได้เกิดมาเป็นมนุษย์นั้น จะต้องอาศัยกุศลกรรม คือ กรรมขาวอันเป็นกรรมฝ่ายดี ที่มีกำลังมากกว่ากำลังของฝ่ายอกุศลกรรมเป็นเหตุปัจจัย จึงจะนำมาให้เกิด คือ ถือปฏิสนธิเกิดเป็นมนุษย์ได้ ฉะนั้น การที่จะได้เกิดเป็นมนุษย์สักครั้งหนึ่งนั้น นับว่ายากยิ่งนัก เราท่านทั้งหลายโชคดีแล้วที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์และโชคดีอีกชั้นหนึ่ง เมื่อได้พบพระพุทธศาสนา จึงต้องพยายามทำคุณความดีไว้ให้มาก ให้ได้ผลคุ้มค่ากับที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์และได้พบพระพุทธศาสนา.
    ๒. กิจฉัง มัจจานะ ชีวิตัง (ขุ. ธ. ๒๕/๓๙)

    ความเป็นอยู่ของสัตว์ เป็นการยาก

    สัตว์นี้หมายถึง สิ่งที่มีชีวิตเคลื่อนไหวได้ทุกจำพวก สัตว์ทุกจำพวกไม่ว่าจะเป็นคนหรือสัตว์จำพวกอื่น ตั้งแต่เกิดลืมตาขึ้นมาดูโลก ก็ต้องผจญกับภัยอันตรายของชีวิต มีทั้งอันตรายภายใน ได้แก่ ความแก่ ความเจ็บ ความตาย และทั้งอันตรายภายนอก เช่น ความร้อน ความหนาว เป็นต้น ฉะนั้น การที่จะมีชีวิตอยู่รอดได้ในโลกอันมากไปด้วยอันตรายนี้ จึงนับว่าเป็นการยากลำบากยิ่งนัก
    ๓. กิจฉัง สัทธัมมัสสะวะนัง (ขุ.ธ. ๒๕/๓๙)

    การได้ฟังธรรมของสัตบุรุษ เป็นการยาก

    สัตบุรุษ คือ บุรุษผู้ได้บำเพ็ญบารมีไว้มาก มีสติปัญญาความสามารถเหนือชนทั้งหลาย เป็นพหูสูต รอบรู้ทั้งสิ่งที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์ ย่อมแนะนำแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ให้เว้นจากสิ่งที่มีโทษ ดังนั้น การที่บุคคลจะพบสัตบุรุษเช่นนี้และได้ฟังธรรมจากท่าน ย่อมจะเป็นการยากอย่างยิ่ง เพราะสัตบุรุษไม่ได้มีอยู่ทั่วไป นาน ๆ จึงจะเกิดขึ้นสักคนหนึ่ง.
    ๔. กิจโฉ พุทธานะมุปปาโท (ขุ.ธ. ๒๕/๓๙)

    ความเกิดขึ้นแห่งท่านผู้รู้ เป็นการยาก

    ผู้รู้ หมายถึง บุคคลหลายชนิด มีทั้งผู้รู้ทางคดีโลกและผู้รู้ทางคดีธรรม การที่ท่านเหล่านี้จะเกิดขึ้นมานั้นเป็นการยากอย่างยิ่ง ในที่นี้จะได้กล่าวเฉพาะความเกิดขึ้นแห่งผู้รู้แจ้งแทงตลอดสิ่งทั้งปวงคือ พระพุทธเจ้า อันธรรมดาผู้ที่จะเกิดเป็นพระพุทธเจ้านั้นจะต้องได้สั่งสมบารมีมาเป็นเวลาหลายโกฏิกัปป์เลยที่เดียว เมื่อรู้ดังนี้แล้ว ท่านทั้งหลายไม่ควรให้โอกาสที่ได้พบพระพุทธศาสนานี้ให้ล่วงเลยไปโดยเปล่าประโยชน์เลย.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 ธันวาคม 2022
  6. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    386
    ค่าพลัง:
    +30
    0ABEE053-A3A8-44E7-B6A0-DE27D0EAD082.jpeg พระไตรปิฎกธร, พระภัททันตะ วิจิตตสาราภิวังสะ, พระอาจารย์ภัททันตะ วิจิตตะ, พระผู้แตกฉานด้านพระไตรปิฎกในที่ประชุม การสังคายนาที่ประเทศพม่าปี ๒๔๙๗ ชาวพม่าขนานนามว่า บุรุษอาชาไนย ท่านมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า ปฐมเมิงกุน สยาดอ เมืองสะกาย ท่านสามารถจำพระไตรปิฎกได้ทุกหน้าทุกบรรทัดราวกับเปิดข้อมูลจากคอมพิวเตอร์

    หลวงพ่อมิงกวนสยาด่อ ไม่ได้เป็นพระรูปเดียว ที่สามารถทรงจำพระไตรปิฎกได้ มีพระรุ่นหลัง ๆ ที่มีความสามารถเช่นเดียวกันนี้ต่อมาอีกถึง ๑๓ รูป แต่ยังไม่มีใครสามารถสอบได้โดยใช้เวลาน้อย คือ เพียง ๔ ปี เท่ากับหลวงพ่อมิงกวนสยาด่อ ผู้เป็นพระผู้ทรงพระไตรปิฎกรูปแรก หากผู้อ่านสนใจอยากได้ยินเสียงท่องพระไตรปิฎกของ หลวงพ่อมิงกวนสยาด่อ สามารถ search หาฟังได้ทางอินเตอร์เน็ต จะมีพระสูตรต่าง ๆ หลายพระสูตรที่หลวงพ่อสาธยายเอาไว้ และได้รับการบันทึกเสียงเก็บรักษาไว้อย่างดี เสียงดัง ฟังชัดเจน ราวกับว่าเพิ่งอัดมาไม่นานนี้เอง การท่องได้นั้นจะเรียบลื่นกว่าอ่านมากนัก เพราะสิ่งที่ท่องนั้นมาจากสมอง มาจากภายใน มีความต่อเนื่องและไพเราะมาก จากการที่ไม่มีเสียงสะดุดเลย ปัญหาคือ หากใครไม่ได้ศึกษาภาษาบาลีเพียงพอ คงฟังไม่รู้เรื่อง เพราะเสียงท่องนั้นเป็นภาษาบาลีล้วน ๆ

    เนื่องจากหลวงพ่อมิงกวนสยาด่อ เป็นพระผู้ทรงไตรปิฎก หรือ พระติปิฏกธรรูปแรก ท่านจึงมีบทบาทสำคัญในการทำฉัฏฐสังคายนาที่ประเทศพม่า (ชื่อในครั้งนั้น เมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๙) โดยมีพระสงฆ์ระดับอาจารย์ของพม่า และพระสงฆ์ผู้ทรงความรู้จากประเทศที่เป็นเถรวาท เช่นเดียวกัน คือ ประเทศไทย และประเทศศรีลังกา ได้มาเข้าร่วมทำสังคายนาด้วย

    ในการทำสังคายนานั้นจะมีการสอบทานข้อความในพระไตรปิฎกว่า ข้อความนี้อยู่ที่ใด ด้วยการปุจฉา-วิสัชนา โดยพระสงฆ์ระดับสยาด่อ เช่น มหาสีสยาดอ และผู้ที่บอกว่า ข้อที่สงสัยนั้น คืออะไร อยู่ในพระไตรปิฎกเล่มใด คือหลวงพ่อมิงกวนสยาด่อ ซึ่งท่านสามารถทำหน้าที่วิสัชนาได้เป็นอย่างดี ปรากฏเป็นที่ตื่นตะลึงและเป็นที่ชื่นชมโสมนัส ในความสามารถอันเป็นอัศจรรย์นั้น สมศักดิ์ศรีของความเป็นพระผู้ทรงพระไตรปิฎก

    57_2_1Panorama_resize1.jpg

    เหตุการณ์หนึ่งที่อยากจะเล่าสู่กันฟัง ในเรื่องพระผู้ทรงพระไตรปิฎก ที่เดินทางมาเยือนไทยพร้อมกันถึง ๘ รูป เมื่อวันเสาร์ที่ ๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๗ ณ วัดจากแดง โดย วัดจากแดง ได้นิมนต์พระผู้ทรงพระไตรปิฎกทั้งหมด ที่ยังมีชีวิตอยู่ จากประเทศเมียนม่าร์ มาให้ญาติโยมคนไทย และคนเมียนม่าร์ได้ชื่นชมความมหัศจรรย์นี้ ซึ่งไม่มีในศาสนาใด ๆ ในโลกนี้ และทางวัดฯ ได้นิมนต์มาทั้งหมดเช่นนี้ ย่อมเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ยากมาก เพราะพระผู้ทรงพระไตรปิฎกทุกท่าน ต่างก็มีภารกิจมากมายในประเทศของท่าน ผู้เขียนได้ทราบข่าวนี้ มีหรือจะพลาดไม่ไปดูไปฟังให้เห็นกับตา ให้ได้ยินกับหูว่า พระผู้ทรงพระไตรปิฎกแต่ละรูป หน้าตาเป็นอย่างไร ท่านจะพูดอะไรบ้าง

    WP_20140201_044_resize1.jpg

    ท้องฟ้าวันนั้นสดใสเหมือนเป็นใจให้เหตุการณ์นี้ผ่านไปด้วยดีเมื่อไปถึงภายในวัด ขณะนั้นเป็นเวลาเกือบสี่โมงเย็นแล้ว จริงๆ แล้วพิธีต้อนรับ เริ่มจัดมาตั้งแต่ช่วงเช้า มีการบรรยายหัวข้อที่เกี่ยวกับเรื่องพระไตรปิฎก ให้ญาติโยมฟัง เป็นการปูพื้นก่อนพบตัวจริง เสียงจริง ผู้เขียนไม่สะดวกที่จะมาช่วงเช้า เลยจำใจต้องพลาดไป ภาพที่เห็นเมื่อเดินเข้าเขตวัด คือหมู่ชนชาวพม่าแต่งกายประจำชาติอย่างเรียบร้อย หญิงนุ่งซิ่นยาวกรอมเท้า ใส่เสื้อแขนกระบอก ตกแต่งผมด้วยดอกไม้เหมือนอย่างที่เราเคยเห็นภาพ ออง ซาน ซูจี แต่งกายแบบนี้ประดับผมแบบนี้ อยู่ตลอดเวลาอย่างไรอย่างนั้น ฝ่ายผู้ชายโพกหัว ใส่เสื้อแขนยาว นุ่งโสร่ง ยืนเข้าแถวรอรับพระผู้ทรงพระไตรปิฎก ซึ่งเดินขึ้นไปบนกุฏิ รวมเวลาผ่านไปสักพักพระผู้ทรงพระไตรปิฎก ๗ รูป (ตามกำหนดการว่าจะมาทั้งหมด ๘ รูป ขาดไป ๑ รูป บังเอิญท่านติดกิจนิมนต์ ที่รับไว้ก่อนหน้านี้ทำให้มาไม่ได้)

    พุทธศาสนิกชนชาวเมียนม่าร์ทุกคนถอดรองเท้า ทำให้พวกเราชาวไทยต้องถอดรองเท้าออกด้วย เรื่องถอดรองเท้าสำคัญมากในประเทศเมียนม่าร์ พวกเขาจะไม่อยู่สูงกว่าพระ การใส่รองเท้า ทำให้เราสูงกว่าพระ นอกจากนี้ ยังมีธรรมเนียมห้ามสวมรองเท้าเดินในพุทธสถานต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นวัด หรือพระเจดีย์ทั้งหลาย

    600128_13.jpg

    พระผู้ทรงพระไตรปิฎกทุกรูปจะมีผู้ถือร่มสีขาว (รัฐบาลจะจัดเจ้าหน้าที่มาทำหน้าที่นี้) สูงสามชั้น ติดตามมาด้วยทุกรูปเพราะเป็นสัญลักษณ์ว่า ท่านผู้นั้นคือพระผู้ทรงพระไตรปิฎก และเมื่อท่านนั่งลง ณ ที่ใด ร่มนี้จะวางไว้ข้าง ๆ ด้วย ระหว่างที่ท่านดำเนินไปที่ศาลาการเปรียญหลังใหม่ของวัดชื่อ ศาลาสุธัมมา อุบาสก อุบาสิกา ชาวเมียนม่าร์และคนไทยที่อยู่ในที่นั้น ต่างพนมมือกันอย่างพร้อมเพรียง และพูดอะไรบางอย่างที่ฟังออก ภาษาบาลี หรือ ภาษาพม่าก็สุดจะเดา เสียงสวดดังกระหึ่มไปทั่วทั้งวัดเป็นบรรยากาศที่ก่อให้เกิดศรัทธาน่าเลื่อมใสอย่างยิ่ง เมื่อถึงศาลา มีพระสงฆ์รอรับ แล้วอัญเชิญให้พระผู้ทรงพระไตรปิฎกทั้ง ๗ รูป นั่งประจำที่ที่ทางวัดจัดไว้

    WP_20140201_17_49_41_PanoramaJPG_resize.jpg

    พระอาจารย์มหาไพโรจน์ ญาณกุสโล ธรรมาจริยะ วินัยปิฎกธร ปาฬิปารคู เป็นผู้กล่าวต้อนรับและแนะนำวัดจากแดง ด้วยภาษาพม่า พระอาจารย์มหาประนอม ธมฺมาลงฺกาโร ธรรมาจริยะ รองเจ้าอาวาสในขณะนั้น ก็กล่าวแนะนำพระผู้ทรงพระไตรปิฎกแต่ละรูป ทำให้ทราบประวัติความเป็นมา ของการทรงจำพระไตรปิฎก ยาวนานกว่า ๖๖ ปีแล้ว มีพระผู้ทรงพระไตรปิฎกทั้งหมด ๑๓ รูป มรณภาพไปแล้ว ๕ เหลือ ๘ รูป การสอบทรงจำพระไตรปิฎก จัดในเดือนธันวาคมของทุกปี โดยจะมีพระมาสมัครสอบกี่รูปก็ได้ สอบวันละ ๘ ชั่วโมง ให้พักได้ คือแต่ละชั่วโมงให้พัก ๑๕ นาที เปิดให้สาธารณชนเข้าฟังการสอบได้ โดยจะมาเชียร์ หรือมาดู มาสังเกตการณ์ได้ตามอัธยาศัย

    เนื่องจากพระไตรปิฎกมีความยาวมาก คือ ประมาณ ๑๖,๐๐๐ หน้า ทำให้ไม่สามารถสอบได้เสร็จภายในปีเดียว พระผู้ทรงพระไตรปิฎกที่สามารถสอบได้เร็วที่สุด คือ หลวงพ่อมิงกวนสยาด่อ ชื่อเสียงกิตติคุณของท่านถูกบันทึกไว้ใน Guinness Book of Records ว่า เป็นผู้ที่มีความทรงจำอันเป็นเลิศที่สุดในโลก สอบผ่านได้ตำแหน่งติปิฏกธร (ติ-ปิ-ตะ-กะ-ธะ-ระ) ท่านเป็นผู้ที่ใช้เวลาน้อยที่สุดในการสอบ ๔ ปี นอกจากนั้น ก็จะมี ๖ ปีไปจน ๒๖ ปีกว่าจะสอบผ่านได้

    600128_25.jpg

    ทำไมท่านจึงต้องการเป็นพระผู้ทรงพระไตรปิฎก ?
    มีการถามปัญหา คำถามหนึ่งน่าสนใจมาก คือ ทำไมท่านจึงต้องการเป็นพระผู้ทรงพระไตรปิฎก รูปหนึ่งตอบว่า พระไตรปิฎกคือที่รวบรวมคำสอนของพระพุทธเจ้าพระในฐานะพุทธสาวกควร (ต้องช่วยกัน) ทรงจำคำสอนอยู่แล้ว สองท่านต้องการทดสอบปุพเพกตปุญญตา (บุญที่เคยทำไว้ในกาลก่อน) ของท่านว่า มีมากพอที่จะให้ท่านทำได้สำเร็จหรือไม่

    คำตอบนี้ฟังแล้วชอบมาก เพราะรู้สึกเสมอว่า คนเราไม่ได้เกิดมาเพียงชาติเดียว เราต้องสั่งสมบางสิ่งบางอย่างติดตัวมา ถ้าไม่เคยมีความเพียรเช่นนี้มาก่อน ย่อมทำสิ่งยากยิ่งอย่างนี้ไม่ได้ อย่างแน่นอน การทรงจำหนังสือ ๑๖,๐๐๐ หน้า ไม่ใช่เรื่องที่มนุษย์ธรรมดาสามัญจะทำได้เลย ต้องมีความทรงจำที่ดีเยี่ยม มีความเพียรสูงสุด และมีปุพเพกตปุญญตานี่แหละจึงจะทำได้สำเร็จ

    ท่านเล่าว่า มีพระบางรูปท่องได้ถึงปิฎกที่สามแล้ว แต่ไม่สามารถท่องให้จบหมดได้สูญเสียความสามารถในการทรงจำไปด้วยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็หมดโอกาสที่จะเป็นพระผู้ทรงพระไตรปิฎกไปเลย ข้อที่สาม ท่านบอกว่าในเมื่อทรงจำพระไตรปิฎกได้แล้ว ย่อมนำมาใช้ประโยชน์ได้ง่าย ได้สะดวกมากทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นการเทศน์หรือการสอน พระผู้ทรงพระไตรปิฎกมีกิจต้องเทศน์ต้องสอนอยู่เสมอ แทบจะเรียกได้ว่า เป็นงานหลักที่ท่านทำทุกวัน

    600128_16.jpg
    การท่องพระไตรปิฎกสัมพันธ์กับการปฏิบัติอย่างไร
    อีกคำถามที่น่าสนใจ คือ การท่องพระไตรปิฎกสัมพันธ์กับการปฏิบัติอย่างไร พระผู้ทรงพระไตรปิฎกรูปหนึ่งตอบว่า การทรงจำพระวินัยได้หมด ทำให้สามารถดำรงรักษาศีลได้ อย่างไม่ผิดเพี้ยน การทรงจำพระสูตร ช่วยให้การปฏิบัติทางจิตภาวนาได้ดีและการทรงจำพระอภิธรรมปิฎก ช่วยให้เจริญวิปัสสนาได้ดี (เพราะรู้องค์ธรรมทั้งหมดอย่างละเอียด จนสามารถนำมาพิจารณาในการปฏิบัติ)


    จะสร้างพระผู้ทรงพระไตรปิฎกให้เกิดขึ้นได้อีกอย่างไร ?
    อีกคำถามหนึ่ง คือ ท่านคิดว่าจะสร้างพระผู้ทรงพระไตรปิฎกให้เกิดขึ้นได้อีกอย่างไร พระผู้ทรงพระไตรปิฎกรูปหนึ่งตอบว่า ท่านเองมีเทคนิคในการทรงจำของท่าน ซึ่งแต่ละรูปก็จะมีเทคนิคต่าง ๆ กัน เช่น การผูกแต่ละส่วนเป็นคำกลอน เพื่อจะได้ท่องง่ายขึ้น เป็นต้น และท่านก็ได้ถ่ายทอดเทคนิคการทรงจำพระไตรปิฎกให้กับลูกศิษย์ ๓๒๐ รูป มีประมาณยี่สิบรูปท่องได้ รูปหนึ่ง กำลังจะท่องจบสามปิฎก มีคำถามอื่นอีกที่จำได้ไม่ดีนัก เลยไม่กล้าเล่า กลัวจะเล่าผิด เอาเป็นว่า ท่านตอบคำถามได้ตามสมควร ตอนท้ายพิธีมีการสวดพระวินัยให้ญาติโยมฟังและแผ่เมตตา ตอนที่ท่านสวดพระวินัยนั้น ไพเราะมาก ผู้เขียนอธิษฐานในใจว่า จากการที่ข้าพเจ้า ได้มีส่วนร่วมในวาระอันศักดิ์สิทธิ์นี้ ขอความมีสิริมงคลจงเกิดแก่ข้าพเจ้า ท่องซ้ำไปซ้ำมาอยู่หลังสวดจบ เป็นอันเสร็จพิธี จากนั้นท่านเจ้าอาวาสวัดจากแดง (ในขณะนั้น) พระครูธรรมธรสุมนต์ นนฺทิโก ได้ อนุญาตให้ญาติโยมบูชาสักการะและทำบุญกับพระผู้ทรงพระไตรปิฎกทั้ง ๗ รูป ตามอัธยาศัย


    ความเห็นผู้เขียนบทความนี้
    ผู้เขียนเห็นว่า ปล่อยให้ชาวเมียนม่าร์ทั้งหลายได้ฟังเทศน์ฟังธรรมภาษาของเขาให้ชื่นใจว่า แม้มาอยู่ต่างแดน ก็มีโอกาสได้พบพระผู้ทรงพระไตรปิฎก ส่วนผู้เขียนเองนั้นรู้สึกอิ่มใจ ชื่นใจ อย่างยากจะอธิบาย นึกว่านี่เป็นบุญของเราด้วยที่ได้มาอยู่ในสถานที่นั้น ได้มาเป็นประจักษ์พยานในสิ่งมหัศจรรย์ของโลก ที่บังเกิดมีขึ้นในพระพุทธศาสนาเท่านั้น ซึ่งยังไม่มีศาสนิกในศาสนาใดทำได้ ที่จะท่องพระไตรปิฎก ทั้ง ๓ ปิฎกได้สำเร็จ โดยไม่มีผิดเลยสักตัวเดียว นับเป็นบุญตา บุญใจ บุญหู บุญชีวิต และน่าจะเป็นปุพเพกตปุญญตาของเรา ที่ทำให้ได้มีโอกาสมาพบเจอ ประสบการณ์น่าประทับใจอย่างที่สุด อันจะดำรงคงอยู่ตลอดไปในความทรงจำ

    WP_20140201_141_resize1.jpg

    สิ่งหนึ่งที่ได้จากการนี้ คือ มีความเชื่อมั่นในศักยภาพของมนุษย์มากขึ้นว่า หากประสงค์จะทำสิ่งใด ก็สามารถทำได้ หากตั้งใจจริง ไม่สำเร็จในชาตินี้ ก็จะสำเร็จได้ในอนาคตกาลข้างหน้า หากประสงค์พระนิพพาน ย่อมจะได้พระนิพพาน ก็น่าจะเป็นเรื่องที่ทำได้ แม้จะยากเท่าใดก็ไม่ไกลเกินกว่าศักยภาพของมนุษย์ผู้ตั้งใจจริง

    หมายเหตุ
    พระผู้ทรงพระไตรปิฎกมีใครบ้าง มีประวัติความเป็นมาอย่างไร อ่านได้จาก หนังสือเล่มน้อย ชื่อ ติปิฏกธร แปลโดย พระมหาไพโรจน์ ญาณกุสโล ภายในหนังสือจะมีรูป เรื่องราวของ พระผู้ทรงพระไตรปิฎก แต่ละรูป พร้อมทั้งความเป็นมาและวิธีการสอบ
     
  7. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    386
    ค่าพลัง:
    +30
    “ปฎิสัมภิทาญาน แตกต่างจากการทรงจำท่องจำอย่างนี้”

    พระไตรปิฏกธรท่านผู้มีความเพียรในการศึกษาพระธรรมที่ถูกจารจารึกตีพิมพ์ไว้ หรือโดยมุขปาฐะการท่องจำจนขึ้นใจ

    แต่

    ปฎิสัมภิทาญาน คือ การตรัสรู้พระสัทธรรม น้อมนำพระธรรมลงมาโปรดเหล่าเวไนยสัตว์ โดยตรงตามกาลนับตั้งแต่ปฐมสังคายนาแต่โบราณมานานนั่นเทียว



    “เราไม่เชื่อว่า นอกจากเราแล้วจะไม่มีใครเลยในยุคกึ่งพุทธกาลนี้ จะไม่บรรลุ ปฎิสัมภิทาญาน”


    ขอเพียงมีคนต่อไป เกิดขึ้นมา คนอื่นๆก็จักมารวมกัน ไม่สละตน ไม่เร่งรัด ไม่แตกตื่น ไม่ปรากฎ กรรมแท้ฯ คนหน้าหนา หน้าด้าน อย่างเราจึงต้องพลีกรรมอย่างนั้น
    719D5087-1615-49E9-9A0A-E2BD61C72937.jpeg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 ธันวาคม 2022
  8. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    386
    ค่าพลัง:
    +30




    พระสัทธรรมราชา เบื้องบนสุด

    และเสนาบริวาร และคัมภีร์ธรรมเหล่าอื่น ฯที่พ่ายและยอมรับความศิโรราบ


    สัทธรรมปฎิรูป /ขุยไผ่ฆ่าต้นไผ่ ทรยศ และชักศึกเข้าบ้าน ไปจนถึงอสัทธรรมปิฏกมารนอกรีต
    14801064-9CA5-4605-B04B-2A6BF67EC414.jpeg
    E452BEB1-B7C8-442C-B894-6E9F714348B4.jpeg เปิดดูไฟล์ 6085456 06BC35D2-85C0-40CF-BA63-3D89DDE95757.jpeg

    นึกภาพเอา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 ธันวาคม 2022
  9. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    386
    ค่าพลัง:
    +30
    B304BB40-3FD9-4816-87FC-6133F2287DEA.jpeg

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์ ผู้ใดผู้หนึ่งพึงสำคัญ
    ที่จะติเตียน คัดค้านธรรมบรรยายมหาจัตตารีสกะนี้ การกล่าวก่อนและการกล่าวตามกัน ๑๐ ประการ อันชอบด้วยเหตุของสมณะหรือพราหมณ์ผู้นั้น ย่อมถึงฐานะน่าตำหนิในปัจจุบันเทียว ถ้าใครติเตียนสัมมาทิฐิ เขาก็ต้องบูชา สรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีทิฐิผิด ถ้าใครติเตียนสัมมาสังกัปปะ เขาก็ต้องบูชาสรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีสังกัปปะผิด ถ้าใครติเตียนสัมมาวาจา เขาก็ต้อง
    บูชา สรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีวาจาผิด ถ้าใครติเตียนสัมมากัมมันตะเขาก็ต้องบูชา สรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีการงานผิด ถ้าใครติเตียนสัมมาอาชีวะ เขาก็ต้องบูชา สรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีอาชีวะผิด ถ้าใครติเตียนสัมมาวายามะ เขาก็ต้องบูชา สรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีความพยายามผิดถ้าใครติเตียนสัมมาสติ เขาก็ต้องบูชา สรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีสติผิดถ้าใครติเตียนสัมมาสมาธิ เขาก็ต้องบูชา สรรเสริญท่านสมพราหมณ์ผู้มีสมาธิผิดถ้าใครติเตียนสัมมาญาณะ เขาก็ต้องบูชา สรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีญาณผิดถ้าใครติเตียนสัมมาวิมุตติ เขาก็ต้องบูชา สรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มี
    วิมุตติผิด ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง พึงสำคัญที่จะติเตียน คัดค้านธรรมบรรยายมหาจัตตารีสกะนี้ การกล่าวก่อนและการกล่าวตามกัน ๑๐ ประการ อันชอบด้วยเหตุของสมณะหรือพราหมณ์พวกนั้น ย่อมถึง
    ฐานะน่าตำหนิในปัจจุบันเทียว ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้พวกอัสสะและพวกภัญญะชาวอุกกลชนบท ซึ่งเป็นอเหตุกวาทะ อกิริยวาทะ นัตถิกวาทะ ก็ยังสำคัญที่จะไม่ติเตียน ไม่คัดค้านธรรมบรรยายมหาจัตตารีสกะ นั่นเพราะเหตุไร เพราะกลัวถูกนินทา ถูกว่าร้าย และถูกก่อความ ฯ

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 ธันวาคม 2022
  10. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    386
    ค่าพลัง:
    +30
  11. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    386
    ค่าพลัง:
    +30
    49E27D3C-FF56-436E-91FA-61BE4F05AE16.jpeg ADB4DA72-2280-46F1-B1DD-011B43FC93D4.jpeg


    อิทัปปัจจยตา

    สิ่งนี้มีสิ่งนี้จึงมี


    เมื่อพระสัทธรรมอันตรธาน แต่ สัทธรรมปฎิรูป ยังคงทำงาน อสัทธรรมยังคงแผ่ขยาย


    คงเหลือแต่เมืองร้าง!กับซากปรักหักพังเพียง เท่านั้น

     
  12. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    386
    ค่าพลัง:
    +30
    นิกายสำคัญของพระพุทธศาสนา


    ศาสนาพุทธมีนิกายที่สำคัญอยู่ ๒ นิกาย อันเกิดจากการสังคายนาครั้งที่ ๒ เป็นเหตุให้มีการถือพระวินัยแตกต่างกัน คือ



    ๑. นิกายเถรวาท
    page3.gif ได้แก่ นิกายที่ทางคณะคณะสงฆ์อันมีพระยศกาลัณบุตรถือตามแนวพระพุทธบัญญัติ ดังที่พระเถระมีพระมหากัสสปะเป็นประธานได้ทำสังคายนาไว้ พระสงฆ์คณะนี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า พวก "สถวีระ" หรือในกาลต่อมาถูกพวกนิกายมหายานเรียกว่า "หีนยาน" ซึ่งแปลว่า ยานเลว ยานเล็ก ยานคับแคบ ไม่สามารถขนสัตว์โลกไปสู่ความพ้นทุกข์มากได้ เพราะมีวัตรอันเข้มงวดกวดขัน ทำให้ผู้ปฏิบัติบรรลุจุดหมายปลายทางได้ยาก แต่ในการประชุมพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลกครั้งแรกที่ลังกา เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๓ ที่ประชุมได้ลงมติเป็นเอกฉันท์ให้เลิกใช้คำว่า "หีนยาน" และให้กลับใช้คำว่า "เถรวาท" แทนเพราะเห็นว่า คำว่า "หีนยาน" เกิดขึ้นเพราะการแก่งแย่งแข่งขันในอดีต นิกายเถรวาทนี้ตั้งมั่นอยู่ในประเทศ ศรีลังกา พม่า ไทย ลาว และกัมพูชา





    ๒. นิกายมหายาน

    ได้แก่ นิกายที่พระภิกษุชาววัชชีบุตรถือตามที่อาจารย์ของตนได้แก้ไขขึ้น ในภายหลัง พระสงฆ์คณะนี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "มหาสังฆฺกะ" หรือ “นิกายอาจาริยวาท” และในเวลาต่อมาเรียกตัวเองว่า "มหายาน" ซึ่งแปลว่าว่า ยานใหญ่โตสามารถบรรทุกสัตว์โลกไปสู่ความพ้นทุกข์ได้มาก เพราะการแก้ไขวัตรปฏิบัติให้อำนวยความสะดวกสบายยิ่งขึ้น จะช่วยสามารถนำสัตว์ความพ้นทุกข์ได้จำนวนมาก นิกายมหายานนี้แพร่หลายในประเทศทิเบต จีน มองโกเลีย เกาหลี เวียดนาม สิกขิม และภูฏาน


    มูลเหตุของการแยกนิกายในพุทธศาสนา

    ๑. มูลเหตุของการแตกแยก มีสมมติฐานมาจากความขัดแย้งในทางปฏิบัติพระวินัยและคำอธิบายในพระพุทธวัจนะไม่ตรงกัน สงฆ์ฝ่ายหนึ่งเห็นว่า ควรแก้ไขผ่อนปรนในการปฏิบัติวินัยบางข้อ โดยอ้าง พระพุทธานุญาตที่มีไว้กับพระอานนท์ในสมัยจวนดับขันธ์ปรินิพพานว่า “ ดูก่อนอานนท์ ถ้าสงฆ์ต้องการ ก็ให้ถอนสิกขาบทเล็กน้อยได้ ” (มหาปรินิพพานสูตร ๑๐/๑๔๑) สงฆ์อีกฝ่ายหนึ่งไม่เห็นพ้องด้วย โดยอ้างเหตุผลว่า คำว่าสิกขาบทเล็กน้อย ไม่อาจทราบพระพุทธประสงค์ได้ว่า หมายความถึงสิกขาบทข้อไหน พระอานนท์เองก็ไม่ได้ทูลถามให้ชัดเจนว่า ได้แก่สิกขาบทหมวดไหน ฉะนั้น อย่าเพิกถอนสิกขาบททั้งหมดเลยแหละดี ควรจะรักษาเอาไว้ทุกอย่างอย่างเคร่งครัด” (เหตุการณ์ช่วงนี้ยังไม่มีการแยกนิกาย เป็นแต่เพียงเชื้อแห่งการแบ่งแยก)

    ๒. อาจารย์สอนมีความเห็นแตกต่างกันระหว่างอาจารย์ด้วยกัน สงฆ์ฝ่ายนิกายมหาสังฆิกะ มหายานเป็นพวกที่ต้องการแก้ไขผ่อนปรนในการปฏิบัติพระวินัย และถืออรรถาธิบายพระพุทธวัจนะของพระอาจารย์เป็นใหญ่ (เสถียร โพธินันทะ,ชุมนุมพระสูตรมหายาน , (สำนักพิพมพ์บรรณาคาร, ๒๕๑๖), หน้า ช-ฉ.)

    สรุปว่า มูลเหตุของการแตกแยกนิกายมี ๒ ประเด็นหลัก คือ
    ๑. เพราะการปฏิบัติพระวินัยไม่สม่ำเสมอเหมือนกัน เรียกว่า ความวิบัติแห่งศีลสามัญญตา
    ๒. เพราะทัศนะในหลักธรรมอธิบายไม่ตรงกัน เรียกว่า ความวิบัติแห่งทิฏฐิสามัญญต
    มูลเหตุหลัก ๒ ประการนี้ มีความสำคัญในการทำให้เกิดความคิดความเข้าใจ การตีความหลักธรรมแตกต่างกันไป จนกลายเป็นนิกายต่าง ๆ อย่างไรก็ตามในช่วงพุทธปรินิพพานยังไม่ถึง ๑๐๐ ปี ยังไม่มี การแบ่งแยกเป็นนิกายชัดเจน จนถึงหลังจากพระพุทธองค์ปรินิพพานได้ ๑๐๐ ปี ในการสังคายนาครั้งที่ ๒ ได้มีคณะสงฆ์มหาสังฆิกะ ซึ่งมีจำนวนมาก ได้แยกจากกลุ่มเถรวาทเดิม โดยมีมูลเหตุจากความเห็นที่แตกต่างเรื่องหลักปฏิบัติของภิกษุ และมหาสังฆิกะได้แยกกลุ่มนิกายย่อยออกไปอีก ๑๘ นิกาย ในกาลต่อ ๆ มา เนื่องจากมีทัศนะ อุดมคติ การตีความหลักธรรม และวัตรปฏิบัติที่แตกต่างกัน
    พุทธศาสนานิกายเถรวาท

    นิกายนี้มีผู้นับถือมากในประเทศลังกา พม่า ลาว เขมร โดยเฉพาะประเทศไทย นิกายเถรวาทมีทัศนะที่ว่า พระพุทธเจ้าไม่ใช่เทวดาหรือพระเจ้าแต่เป็นมนุษย์ที่มีศักยภาพเหมือนสามัญชนทั่วไป สามารถบรรลุ สัจธรรมได้ด้วยความวิริยะอุตสาหะ เป็นแบบอย่างที่ดีของพุทธศาสนิกชนที่จะต้องดำเนินตามรอยพระบาท คำสอนของพระพุทธองค์ไม่ใช่สิ่งรี้ลับที่ยากเกินกว่าจะเข้าใจ แต่เป็นหลักปฏิบัติในชีวิตที่ทุกคนควรกระทำ คือ ทำความดี ละเว้นความชั่ว ทำจิตใจให้ผ่องแผ้ว และการที่เราจะทำสิ่งเหล่านี้ได้นั้นจะต้องมีศีล สมาธิ ปัญญา เพื่อเป็นพาหนะนำผู้โดยสารข้ามทะเลแห่งวัฏฏสงสารไปสู่พระนิพพาน

    ในประเทศไทย พุทธศาสนานิกายเถรวาทยังได้แบ่งเป็นนิกายย่อยอีก ๒ นิกาย คือ มหานิกาย และธรรมยุตินิกาย


     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 ธันวาคม 2022
  13. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    386
    ค่าพลัง:
    +30
    CACF3D97-25D0-4D17-A345-D58C7BFA676C.jpeg

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 ธันวาคม 2022
  14. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    386
    ค่าพลัง:
    +30


    62A57B4D-44CC-42F3-9CC7-26B7E4038445.jpeg

    ถ้า ปฎิสัมภิทา อยู่ พระสัทธรรม ก็ยังอยู่ ถ้า เหล่า ปฎิสัมภิทาหาย พระสัทธรรม ก็ย่อมหายไปด้วย

    แต่

    ยังมีช่องว่าง ให้ใน ตอนท้าย ในมหาปรินิพพานสูตรอยู่


    ก็สมัยนั้น ปริพาชกนามว่า สุภัททะ อาศัยอยู่ในเมืองกุสินารา
    สุภัททปริพาชกได้สดับว่า พระสมณโคดมจักปรินิพพานในปัจฉิมยามแห่งราตรี
    ในวันนี้แหละ สุภัททปริพาชกได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ก็เราสดับถ้อยคำของพวก
    ปริพาชกผู้เฒ่าผู้แก่ ซึ่งเป็นอาจารย์และปาจารย์กล่าวอยู่ว่า พระตถาคตอรหันต-
    *สัมมาสัมพุทธเจ้าจะอุบัติในโลก ในบางครั้งบางคราว พระสมณโคดมจัก
    ปรินิพพานในปัจฉิมยามแห่งราตรีในวันนี้แหละ อนึ่ง ธรรมอันเป็นที่สงสัยนี้
    ซึ่งบังเกิดขึ้นแก่เราก็มีอยู่ เราเลื่อมใสในพระสมณโคดมอย่างนี้ว่า พระสมณโคดม
    ย่อมสามารถจะแสดงธรรมแก่เรา โดยประการที่เราจะพึงละธรรมอันเป็นที่สงสัย
    นี้ได้ ฯ
    ลำดับนั้น สุภัททปริพาชกเข้าไปยังสาลวันอันเป็นที่แวะพักของพวกเจ้า
    มัลละ เข้าไปหาท่านพระอานนท์ ครั้นแล้วได้กล่าวว่า ข้าแต่ท่านอานนท์
    ข้าพเจ้าได้สดับถ้อยคำของพวกปริพาชกผู้เฒ่าผู้แก่ ซึ่งเป็นอาจารย์และปาจารย์
    กล่าวอยู่ว่า พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าจะอุบัติในโลก ในบางครั้ง
    บางคราว พระสมณโคดมจักปรินิพพานในปัจฉิมยามแห่งราตรีในวันนี้แหละ อนึ่ง
    ธรรมอันเป็นที่สงสัยนี้ ซึ่งบังเกิดขึ้นแก่ข้าพเจ้าก็มีอยู่ ข้าพเจ้าเลื่อมใสในพระ-
    *สมณโคดมอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมย่อมสามารถจะแสดงธรรมแก่ข้าพเจ้าโดย
    ประการที่ข้าพเจ้าจะพึงละธรรมอันเป็นที่สงสัยนี้ได้ ข้าแต่ท่านอานนท์ ขอโอกาส
    เถิด ข้าพเจ้าควรได้เฝ้าพระสมณโคดม เมื่อสุภัททปริพาชกกล่าวอย่างนี้แล้ว
    ท่านพระอานนท์ได้กล่าวตอบสุภัททปริพาชกว่า อย่าเลย สุภัททะ ท่านอย่า
    เบียดเบียนพระตถาคตเลย พระผู้มีพระภาคทรงลำบากแล้ว แม้ครั้งที่สอง สุภัทท-
    *ปริพาชก ... แม้ครั้งที่สาม สุภัททปริพาชกก็ได้กล่าวว่า ข้าแต่ท่านอานนท์
    ข้าพเจ้าได้สดับถ้อยคำของพวกปริพาชกผู้เฒ่าผู้แก่ ซึ่งเป็นอาจารย์และปาจารย์
    กล่าวอยู่ว่า พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าจะอุบัติในโลก ในบางครั้ง
    บางคราว พระสมณโคดมจักปรินิพพานในปัจฉิมยามแห่งราตรีในวันนี้แหละ
    อนึ่ง ธรรมเป็นที่สงสัยนี้ ซึ่งบังเกิดขึ้นแก่ข้าพเจ้าก็มีอยู่ ข้าพเจ้าเลื่อมใสใน
    พระสมณโคดมอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมย่อมสามารถจะแสดงธรรมแก่ข้าพเจ้า
    โดยประการที่ข้าพเจ้าจะพึงละธรรมอันเป็นที่สงสัยนี้ได้ ข้าแต่ท่านพระอานนท์
    ขอโอกาสเถิด ข้าพเจ้าควรได้เฝ้าพระสมณโคดม แม้ครั้งที่สาม ท่านพระอานนท์
    ก็ได้กล่าวตอบสุภัททปริพาชกว่า อย่าเลย สุภัททะ ท่านอย่าเบียดเบียนพระตถาคต
    เลย พระผู้มีพระภาคทรงลำบากแล้ว


    พระผู้มีพระภาคทรงได้ยินถ้อยคำท่านพระอานนท์เจรจากับสุภัททปริพาชก จึงตรัสเรียกท่านพระอานนท์มารับสั่งว่า อย่าเลยอานนท์ เธออย่าห้ามสุภัททะ สุภัททะจงได้เฝ้าตถาคต สุภัททะจักถามปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่งกะเรา จักมุ่งเพื่อความรู้ มิใช่มุ่งความเบียดเบียน

    อนึ่ง เราอันสุภัททะถามแล้ว จักพยากรณ์ข้อความอันใดแก่สุภัททะนั้น สุภัททะจักรู้ทั่วถึงข้อความนั้นโดยฉับพลันทีเดียว ฯ
    ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์ได้บอกสุภัททปริพาชกว่า ไปเถิดสุภัททะพระผู้มีพระภาคทรงทำโอกาสแก่ท่าน สุภัททปริพาชกเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้วได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้กราบทูลว่า

    ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ สมณพราหมณ์เหล่านี้ใด เป็นเจ้าหมู่ เจ้าคณะ เป็นคณาจารย์มีชื่อเสียง มียศ เป็นเจ้าลัทธิ ชนเป็นอันมาก สมมติว่าเป็นคนดี คือบูรณกัสสป มักขลิโคสาล อชิตเกสกัมพล ปกุธกัจจายนะ สัญชัยเวลัฏฐบุตร นิครณฐนาฏบุตรสมณพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด ได้ตรัสรู้ตามปฏิญญาของตนๆ หรือว่าทั้งหมดไม่ได้ตรัสรู้ หรือว่าบางพวกไม่ได้ตรัสรู้ ฯ

    พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า อย่าเลย สุภัททะ ที่ข้อถามนั้นงดเสียเถิด ดูกรสุภัททะ เราจักแสดงธรรมแก่ท่าน ท่านจงตั้งใจฟังธรรมนั้น จงใส่ใจให้ดีเราจักกล่าว สุภัททปริพาชกทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า

    ดูกรสุภัททะ ในธรรมวินัยใด ไม่มีอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ในธรรมวินัยนั้น ไม่มีสมณะที่ ๑ สมณะที่ ๒ สมณะที่ ๓ หรือสมณะที่ ๔ในธรรมวินัยใด มีอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ ในธรรมวินัยนั้น มีสมณะที่ ๑ที่ ๒ ที่ ๓ หรือที่ ๔ ดูกรสุภัททะ ในธรรมวินัยนี้ มีอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ ในธรรมวินัยนี้เท่านั้น มีสมณะที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๓ หรือที่ ๔ ลัทธิอื่นๆ
    ว่างจากสมณะผู้รู้ทั่วถึง ก็ภิกษุเหล่านี้พึงอยู่โดยชอบ โลกจะไม่พึงว่างจากพระอรหันต์ทั้งหลาย ฯ


    [๑๓๙] ดูกรสุภัททะ เราโดยวัยได้ ๒๙ ปี บวชแล้ว ตามแสวงหาว่า
    อะไรเป็นกุศล ตั้งแต่เราบวชแล้ว นับได้ ๕๑ ปี แม้สมณะผู้
    เป็นไปในประเทศแห่งธรรมเป็นเครื่องนำออก ไม่มีในภายนอก
    แต่ธรรมวินัยนี้ ฯ
    สมณะที่ ๒ สมณะที่ ๓ หรือสมณะที่ ๔ ก็มิได้มี ลัทธิอื่นว่างจากสมณะ
    ผู้รู้ทั่วถึง ก็ภิกษุเหล่านี้พึงอยู่โดยชอบ โลกไม่พึงว่างจากพระอรหันต์ทั้งหลาย ฯ
    [๑๔๐] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว สุภัททปริพาชก ได้กราบ-
    *ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
    ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด
    บอกทางแก่คนหลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืด ด้วยคิดว่า ผู้มีจักษุจักเห็นรูป
    ดังนี้ ฉันใด พระผู้มีพระภาคทรงประกาศพระธรรมโดยอเนกปริยาย ฉันนั้น เหมือน
    กัน ข้าพระองค์นี้ ขอถึงพระผู้มีพระภาคพระธรรมและพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ
    ข้าพระองค์พึงได้บรรพชา พึงได้อุปสมบทในสำนักของพระผู้มีพระภาค ฯ
    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรสุภัททะ ผู้ใดเคยเป็นอัญญเดียรถีย์ หวังบรรพชา
    หวังอุปสมบท ในธรรมวินัยนี้ ผู้นั้นต้องอยู่ปริวาสสี่เดือน เมื่อล่วงสี่เดือน ภิกษุ
    ทั้งหลายเต็มใจแล้ว จึงให้บรรพชา ให้อุปสมบท เพื่อความเป็นภิกษุ ก็แต่ว่า
    เรารู้ความต่างแห่งบุคคลในข้อนี้ ฯ
    สุภัททปริพาชกกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หากผู้ที่เคยเป็นอัญญ-
    *เดียรถีย์ หวังบรรพชา หวังอุปสมบทในพระธรรมวินัยนี้ จะต้องอยู่ปริวาสสี่เดือน
    เมื่อล่วงสี่เดือน ภิกษุทั้งหลายเต็มใจแล้ว จึงให้บรรพชา ให้อุปสมบท เพื่อความ
    เป็นภิกษุไซร้ ข้าพระองค์จักอยู่ปริวาสสี่ปี เมื่อล่วงสี่ปี ภิกษุทั้งหลายเต็มใจแล้ว
    จึงให้บรรพชา ให้อุปสมบทเถิด ฯ
    ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกท่านพระอานนท์มารับสั่งว่า ดูกรอานนท์
    ถ้าเช่นนั้น เธอจงให้สุภัททปริพาชกบวชเถิด ท่านพระอานนท์ทูลรับพระดำรัสของ
    พระผู้มีพระภาคแล้ว สุภัททปริพาชกได้กล่าวกะท่านพระอานนท์ว่า ดูกรท่านอานนท์
    ผู้มีอายุ เป็นลาภของท่าน ท่านได้ดีแล้ว ที่พระศาสดาทรงอภิเษกด้วยอันเตวาสิกา-
    *ภิเษก ในที่เฉพาะพระพักตร์ในพระศาสนานี้ สุภัททปริพาชกได้บรรพชา อุปสมบท
    ในสำนักพระผู้มีพระภาค ก็ท่านสุภัททปริพาชกได้บรรพชาอุปสมบทแล้วไม่นาน
    หลีกออกไปอยู่แต่ผู้เดียว เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปแล้วอยู่
    ไม่ช้านานนัก ก็ทำให้แจ้งซึ่งที่สุดพรหมจรรย์ ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ที่กุลบุตร
    ทั้งหลายผู้มีความต้องการ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบ ด้วยปัญญา
    อันยิ่ง ด้วยตนเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบ
    แล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มี ท่านสุภัททะ
    ได้เป็นอรหันต์รูปหนึ่ง ในจำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย ท่านเป็นสักขิสาวกองค์
    สุดท้ายของพระผู้มีพระภาค ฯ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 ธันวาคม 2022
  15. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    386
    ค่าพลัง:
    +30
    ความหวังสุดท้าย โคตรภูสงฆ์ ฟังท่านพระพยอม ท่านเทศน์บ้าง




     
  16. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    386
    ค่าพลัง:
    +30


    โดนตาม 2 ครั้งแล้วนะ! ไม่กี่วันมานี้ ราวๆ2 อาทิตย์ เดือน พ.ย.56 งั้นปีหน้าจะไป ไปแล้วจะยังไง? มีอะไร? จะให้อะไรหรือจะเอาอะไรอย่างนั้นหรือ? ใครจะไปผลักลง ก้อนตั้งใหญ่โต


    นุ่งโจงกระเบนผิวดำแดงคล้ำ นั่งบนก้อนหิน เสื้อไม่ใส่!

    เท้าเปล่า!
    081FEEDD-0AA1-4AED-BFCD-4853EA047285.jpeg


     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 ธันวาคม 2022
  17. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    386
    ค่าพลัง:
    +30


    พุทธทำนาย จากศิลาจารึกในมหาวิหารเจตมหาเชตวัน ณ สวนมฤคทายวัน ประเทศอินเดีย โดยคณะฑูตไทยที่ไปอันเชิญพระบรมสารีริกธาตุเมื่อปี พ.ศ.2485

    พุทธทำนาย

    จากศิลาจารึกในมหาวิหารเจตมหาเชตวัน ณ สวนมฤคทายวัน ประเทศอินเดีย
    โดยคณะฑูตไทยที่ไปอันเชิญพระบรมสารีริกธาตุเมื่อปี พ.ศ.2485

    อรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เป็นพระสัพพัญญูรู้แจ้งโลกทั้งในอดีตและใน อนาคต ทรงมีเมตตากรุณาแก่สัตว์โลกเป็นล้นพ้นเมื่อครั้งพระองค์ดำรงพระชนม์อยู่ ได้ตรัสแก่พระอานนท์ว่า

    อานันทะ ดูก่อนอานนท์ก่อนกึ่งพุทธกาล ๑๕ ปี (ก่อน พ.ศ. 2560)
    จะเกิดการณ์ร้ายแรง จะมีการรบราฆ่าฟันซึ่งกันและกัน
    ฝนเหล็กจะตกจากอากาศ ไฟจะลงมาจากอากาศ
    จะเผาผลาญประชาชนให้พินาศ จะมีการล้มตายซึ่งกันและกันเป็นอันมาก

    ดูก่อนอานนท์ เมื่อศาสนาของของตถาคต ล่วงเลยไปก่อนกึ่งพุทธกาล ๑๕ ปี (ก่อน พ.ศ. 2560)
    สัตว์โลกทั้งหลาย ที่เกิดในยุคนั้น จะพบแต่ความลำบาก ทุกชาติทุกศาสนา
    ตามธรรมชาติอันหมุนเวียนของโลก ที่หมุนไปใกล้ความแตกสลาย
    แผ่นดินแผ่นน้ำจะลุกเป็นไฟ มนุษย์และสัตว์จะได้ รับภัยพิบัติสารพัดทั่วทุกทิศ
    คนในสมัยนั้นจะมีนิสัยโหด ดุจกำเนิดจากสัตว์ป่าอำมหิต
    จะรบราฆ่าฟันกันเอง ถึงเลือดนองแผ่นดินแผ่นน้ำ

    ส่วนเวไนยสัตว์ ผู้ขวนขวายในกุศลตามวจนะของตถาคต ก็จะระงับร้อนไม่รุนแรง
    บ้านเมืองใดมีความเคารพยำเกรงใน พระรัตนตรัยและคุณบิดามารดา
    เหตุร้ายภัยพิบัติจะเบาบาง แต่ก็จะหนีกฎธรรมชาติไม่พ้น
    แต่ว่า ดูก่อนอานนท์ก่อนกึ่งพุทธกาล ๑๕ ปี จะถือว่าเป็นการณ์ร้ายแรงหาได้ไม่
    ทั้งนี้ก็เพราะว่าหลังกึ่งพุทธกาลไปแล้วนั้น

    อานันทะ ดูก่อนอานนท์ หลังกึ่งพุทธกาล (ช่วงหลัง พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป)
    จะมีความร้ายแรงมากกว่าก่อนกึ่งพุทธกาลมาก
    ยักษ์นอกพุทธศาสนาจะรบราฆ่าฟันซึ่งกันและกัน ต่างฝ่ายจะล้มตายกันฝ่ายละมาก ๆ
    สมณะ ซี พราหมณ์ จะล้มตาย จะตายไปฝ่ายละครึ่งจึงเลิกรากัน
    สำหรับประเทศที่นับถือพุทธศาสนาจะมีภัยเหมือนกัน แต่ไม่ร้ายแรงนัก

    เริ่มแต่พุทธศาสนาล่วงเลย 2,500 ปี เป็นต้นไป (ช่วงหลัง พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป)
    ไฟจะรุกรามมาทางทิศตะวันออก ไหม้วัดวาอาราม สมชีพรามณ์จะอดอยากยากเข็ญ
    ลูกไฟจะตกจากฟ้าเป็นเพลิงผลาญ เหล็กกล้าจะทะยานจากน้ำ มหาสมุทธจะชอกซ้ำ

    สงครามจากทั่วทิศศึกจะติดเมือง ข้าวจะขาดแคลนทั่วแคล้นจะอดอยาก
    ผีโขมดป่าจะเข้าเมือง พระเสื้อเมือง ทรงเมือง จะหนีเข้าไพร
    ผู้เป็นใหญ่มีอำนาจ จะเรียกแมลงผีเสื้อเหล็กนับแสนตัว มาปล่อยไข่เป็นไฟผลาญ
    ยักษ์หินที่ถูกสาบเป็นเวลานาน จะตื่นขึ้นมาอาละวาทโลก

    ดินฟ้าอากาศจะแปรปรวน ตลิ่งจะพัง แผ่นดินจะถล่มเป็นทะเล
    โลกมนุษย์จะดิ่งสู่ความหายนะ นักปราชญ์จะถูกทำร้ายให้สิ้นสูญ

    ในระยะนั้นศาสนาของตถาคตจะเสื่อมลงมาก เพราะพุทธบริษัท ไม่ต้องอยู่ในศีลธรรม
    เชื่อคำคนโกง กล่าวคำเท็จ ไม่เคารพรักธรรมนิยม คนประจบ สอพลอได้รับความเชื่อถือในสังคม
    ผู้ที่มีศีลธรรม ประพฤติดี ประพฤติชอบ กลับไม่มีใครเคารพยำเกรง

    พระธรรมจะเริ่มเปล่งรัศมีฉายแสงส่องโลกอีกวาระหนึ่งก็ต่อเมื่อ
    มีธรรมิกราชโพธิญาณบังเกิดขึ้น อยู่ในความอุปถัมภ์ของพระเถระผู้ทรงธรรมฤทธิ์
    ทั้งสองพระองค์สถิตย์ ณ เบื้องต้นตะวันออกของมัชฌิมประเทศ
    จะเสด็จมาเสริมสร้างศาสนาของตถาคต ให้รุ่งเรืองสืบไปถึง 5,000 พระวัสสา

    ดูก่อนอานนท์ เวลานั้นพลโลกเหลือน้อยมาก
    คำทำนายของตถาคตนี้ ย่อมยังเวไนยสัตว์ให้ตั้งอยู่ในความไม่ประมาท
    ผู้ใดรู้แล้วไม่เชื่อ นับว่าเป็นกรรมของสัตว์ ที่ต้องสิ้นสุดไปตามกรรมชั่วของตน

    ผู้ใดปรารถนารอดพ้นจากภัยพิบัติ ให้รักษาศิล 5 ประการ
    เจริญเมตตาภารนา ประกอบสัมมาอาชีพ มีใจสันโดดรู้จักพอ
    ไม่โป้ปดคตโกง ไม่หลงมัวเมาอำนาจและลาภยศ
    ตั้งใจปฏิบัติตน ตามคำสอนของตถาคตให้มั่นคง
    จึงจะพ้นอันตรายในกึ่งพุทธกาล

    7345CB51-A88E-4760-A14A-588D4FC3DB47.jpeg

    ปริศนาที่ยังไม่ได้คำตอบ

    นี่ขนาดนับเอาแค่ ค้นพบ 2485 แล้ว

    รู้ล่วงหน้า 3 ปี ได้อย่างไร?

    ผู้ใดเป็นผู้บันทึก

    เอาเทคโนโลยีใด ศาสตร์ใด มาชี้วัด คาดคะเน

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 ธันวาคม 2022
  18. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    386
    ค่าพลัง:
    +30
    F95B666A-D870-469E-AF41-88BF45FE6CC3.jpeg ถ้าอ้างว่า พึ่งบันทึก ขีดเขียนลงไปแต่หนหลัง ใครในยุคสมัยนั้น จะสามารถปลอมพุทธทำนายล่วงหน้าได้ 3 ปี อย่างละเอียดแม่นยำ!

    เราผู้ ปุจฉา และ วิสัชนา ปัญหานี้ไว้ได้ ก็ยังจนปัญญา


    คนบ้า เพ้อเจ้อ โมเม ที่ไหน จะทำได้

    คนผู้นี้ เป็นผู้ที่ถือ ทิฐิได้ ! เพราะรู้ชัด!

    วัดในประเทศไทย ก็ไหม้ มากที่สุดในโลก!

    มหาสมุทรแปซิฟิกก็ทดลองระเบิดหลังจากนั้นเป็นครั้งแรก

    ยักษ์บาดาลสายม่วง พยานาค อดทนมากๆ

    คิดแล้ว อยากอธิษฐานให้ ท้าว กกขนาก ให้เป็นอิสระจริงๆ

    มาช่วย! สั่งสอนสัตว์โลก! ให้รู้บาปบุญคุณโทษ



    94BACF40-7107-4584-9800-5DCF529F2B86.jpeg E750F943-66BA-41DF-BF52-C14A336F442F.jpeg 9AC4D94D-0634-4832-8514-70A903B76D5B.jpeg 71698A8F-41AD-4616-9F32-7E07BAAB1B0D.jpeg





    CA36CF51-D01F-44AC-B51E-10D495BD10D2.jpeg BC189D26-BCCB-4265-B8CE-7EFE062E473D.jpeg 4D639558-5A16-4D0B-A017-F00089B617EB.jpeg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 ธันวาคม 2022
  19. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    386
    ค่าพลัง:
    +30
    ไม่เชื่อพุทธทำนาย เจอ จักกวัตติสูตรไป หงายท้อง! สลบเหมือด!

    ไม่ต้อง 10 ปี เป๊ะ! ก็แหลกล้านแล้ว ฆ่าล้างเผ่าพันธ์ุ กัน หลายแสน หลายล้านคน !







    ฯลฯ

    https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=11&A=1189&Z=1702

    เมื่อความขัดสนถึงความแพร่หลาย
    อทินนาทานก็ได้ถึงความแพร่หลาย
    เมื่ออทินนาทานถึงความแพร่หลาย
    ศัสตราก็ได้ถึงความแพร่หลาย
    เมื่อศัสตราถึงความแพร่หลาย
    ปาณาติบาตถึงความแพร่หลาย
    เมื่อปาณาติบาตถึงความแพร่หลาย
    มุสาวาทก็ได้ถึงความแพร่หลาย
    เมื่อมุสาวาทถึงความแพร่หลาย
    ปิสุณาวาจาก็ได้ถึงความแพร่หลาย
    เมื่อปิสุณาวาจาถึงความแพร่หลาย
    กาเมสุมิจฉาจารก็ได้ถึงความแพร่หลาย
    เมื่อกาเมสุมิจฉาจารถึงความแพร่หลาย
    ธรรม ๒ ประการคือ ผรุสวาจา
    และสัมผัปปลาปะก็ได้ถึงความแพร่หลาย
    เมื่อธรรม ๒ ประการถึงความแพร่หลาย
    อภิชฌาและพยาบาทก็ได้ถึงความแพร่หลาย
    เมื่ออภิชฌาและพยาบาทถึงความแพร่หลาย
    มิจฉาทิฐิก็ได้ถึงความแพร่หลาย
    เมื่อมิจฉาทิฐิถึงความแพร่หลาย
    ธรรม ๓ ประการคือ อธรรมราคะ วิสมโลภ มิจฉาธรรม ก็ได้ถึงความแพร่หลาย
    (๑) ความกำหนัดในฐานะอันไม่ชอบธรรม
    (๒) ความโลภไม่เลือก
    (๓) ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจผิดธรรมดา

    เมื่อธรรม ๓ ประการถึงความแพร่หลาย ธรรมเหล่านี้ คือ ความไม่ปฏิบัติชอบในมารดา ความไม่ปฏิบัติชอบในบิดา ความไม่ปฏิบัติชอบในสมณะ ความไม่ปฏิบัติชอบในพราหมณ์ ความไม่อ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในตระกูล ก็ได้ถึงความแพร่หลาย

    เมื่อธรรมเหล่านี้ถึงความแพร่หลาย แม้อายุของสัตว์เหล่านั้นก็เสื่อมถอย แม้วรรณะก็เสื่อมถอย เมื่อสัตว์เหล่านั้นเสื่อมถอยจากอายุบ้าง เสื่อมถอยจากวรรณะบ้าง บุตรของมนุษย์ที่มีอายุ ๒๕๐ ปี ก็มีอายุถอยลงเหลือ ๑๐๐ ปี ฯ


    ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักมีสมัยที่มนุษย์เหล่านี้มีบุตรอายุ ๑๐ ปี ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๑๐ ปี เด็กหญิงมีอายุ ๕ ปี จักสมควรมีสามีได้

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๑๐ ปี รสเหล่านี้คือเนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้งน้ำอ้อย และเกลือ จักอันตรธานไปสิ้น ดูกรภิกษุทั้งหลายในเมื่อมนุษย์ มีอายุ
    ๑๐ ปี หญ้ากับแก้ ๑- จักเป็นอาหารอย่างดี

    ดูกรภิกษุทั้งหลายเปรียบเหมือนข้าวสุกข้าวสาลีระคนกับเนื้อสัตว์ จักเป็นอาหารอย่างดี ในบัดนี้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลายในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๑๐ ปี หญ้ากับแก้ก็จักเป็นอาหารอย่างดี ฉันนั้นเหมือนกัน

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๑๐ ปี กุศลกรรมบถ ๑๐ จักอันตรธานไปหมดสิ้น อกุศลกรรมบถ ๑๐ จักรุ่งเรืองเหลือเกิน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ๑๐ปี แม้แต่ชื่อว่ากุศลก็จักไม่มี และคนทำกุศลจักมีแต่ไหน

    ดูกรภิกษุทั้งหลายในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๑๐ ปี คนทั้งหลายจักไม่ปฏิบัติชอบในมารดา จักไม่ปฏิบัติชอบในบิดา จักไม่ปฏิบัติชอบในสมณะ จักไม่ปฏิบัติชอบในพราหมณ์ จักไม่
    ประพฤติอ่อนน้อมต่อท่านผู้ใหญ่ในตระกูล เขาเหล่านั้นก็จักได้รับการบูชา และได้รับการสรรเสริญ เหมือนคนปฏิบัติชอบในมารดา ปฏิบัติชอบในบิดา ปฏิบัติชอบในสมณะ ปฏิบัติชอบในพราหมณ์ ประพฤติอ่อนน้อมต่อท่านผู้ใหญ่ในตระกูล ในบัดนี้ ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๑๐ ปี เขาจักไม่มีจิตคิดเคารพยำเกรงว่า นี่แม่ นี่น้า นี่พ่อ นี่อา นี่ป้า นี่ภรรยาของอาจารย์ หรือว่านี่ภรรยาของท่านที่เคารพทั้งหลาย สัตว์โลกจักถึงความสมสู่ปะปนกันหมด เปรียบเหมือนแพะ ไก่ สุนัขบ้าน สุนัขจิ้งจอก ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ๑๐ปี สัตว์เหล่านั้นต่างก็จักเกิดความอาฆาต ความพยาบาท ความคิดร้าย ความ
    คิดจะฆ่าอย่างแรงกล้าในกันและกัน มารดากับบุตรก็ดี บุตรกับมารดาก็ดี บิดากับบุตรก็ดี บุตรกับบิดาก็ดี พี่ชายกับน้องหญิงก็ดี น้องหญิงกับพี่ชายก็ดี จักเกิดความ
    อาฆาต ความพยาบาท ความคิดร้าย ความคิดจะฆ่ากันอย่างแรงกล้า นายพรานเนื้อเห็นเนื้อเข้าเกิดความอาฆาต ความพยาบาท ความคิดร้าย ความคิดจะฆ่าอย่างแรงกล้าฉันใด ฉันนั้นเหมือนกัน ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๑๐ ปี จักมีสัตถันตรกัปสิ้น ๗ วัน มนุษย์เหล่านั้นจักกลับได้ความสำคัญกันเองว่าเป็นเนื้อ ศัสตราทั้งหลายอันคมจักปรากฏมีในมือของพวกเขา พวกเขาจะฆ่ากันเองด้วยศัสตราอันคม
    นั้นโดยสำคัญว่า นี้เนื้อ

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 ธันวาคม 2022
  20. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    386
    ค่าพลัง:
    +30


    โรคันตรกัป หมายถึงช่วงเวลา(กัป)ที่โลกพินาศหรือหมู่สัตว์ล้มตายเพราะโรคภัยไข้เจ็บ สัตถันตรกัป หมายถึงช่วงเวลา(กัป)ที่โลกพินาศหรือหมู่สัตว์ล้มตายเพราะฆ่ากันเองด้วยศาสตรา ทุพภิกขันตรกัป หมายถึงช่วงเวลา(กัป)ที่หมู่สัตว์ล้มตายเพราะทุพภิกขภัย

    โรคันตรกัป มักเกิดกับหมู่สัตว์ที่มีโมหะหนา

    สันถันตรกัป มักเกิดขึ้นกับหมู่สัตว์ที่เต็มไปด้วยโทสะ

    ทุพภิกขันตรกัป มักเกิดขึ้นกับหมู่สัตว์ที่เต็มไปด้วยความโลภ

    ทั้งหมดนี้เป็นคำพยากรณ์เกี่ยวกับอนาคตของโลก อันเนื่องมาจากความเสื่อมศีลธรรมของมนุษย์ ซึ่งทำให้มนุษย์มีความลำบากและมีอายุขัยสั้นลง


    X3

    7DD087B6-A25F-4055-A78E-7712C709D307.png
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 ธันวาคม 2022

แชร์หน้านี้

Loading...