มีวัตถุมงคลสายพระป่ากรรมฐานให้บูชาราคาเบาๆ

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย Somchai 2510, 8 กันยายน 2019.

  1. Higtmax

    Higtmax เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    2,342
    ค่าพลัง:
    +4,818
    ขอบคุณพี่ด้วย ครับ ไม่มีพี่ผมคงไม่มี โอกาส ได้สร้างมหาบุญ เชิญของมงคลไปประดิษสถานให้สาธุชนได้กราบไหว้บูชาครับ
     
  2. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 679 เหรียญรุ่นเเรกหลวงปู่บุญเพ็ง เขมาภิรโต พระอรหันต์เจ้าวัดถํ้ากลองเพล อ.เมือง จ.หนองบัวลำภู หลวงปู่บุญเพ็งเป็นศิษย์หลวงตามหาบัว วัดป่าบ้านตาด ,หลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถํ้ากลองเพล(ศิษย์พี่หลวงปู่จันทา ถาวโร วัดป่าเขาน้อย 1 พรรษา)เหรียญสร้างปี 2536 เนื้อทองเเดงรมดำ มาพร้อมพระเกศาหลวงปู่มาบูชาเป็นมงคล **********บูชาที่ 255 บาทฟรีส่งems
    bud04p1-11-jpg.jpg

    “หลวงปู่บุญเพ็ง เขมาภิรโต” เจ้าอาวาสวัดถ้ำกลองเพล ต.โนนทัน อ.เมือง จ.หนองบัวลำภู เป็น พระนักปฏิบัติธรรมรูปหนึ่ง ที่ชาวเมือง หนองบัวฯ และพุทธศาสนิกชนทั่วไปเลื่อมใสศรัทรา
    ประวัติย่อๆ
    นามเดิมชื่อ นายบุญเพ็ง จันใด เกิดเมื่อวันที่ 20 ต.ค.2472 ปีมะเส็ง บ้านเดิมอยู่ ที่บ้านศรีฐาน หมู่ 3 ต.กระสาย อ.ป่าติ้ว จ.ยโสธร บิดา-มารดา ชื่อ นายคูน และนางพรหมมา จันได มีพี่น้องร่วมบิดามารดา 4 คน ท่านเป็นบุตรคนที่ 3
      • ช่วงวัยเยาว์ ศึกษาเล่าเรียนที่โรงเรียน ศรีฐาน ซึ่งเป็นโรงเรียนวัด จึงทำให้ท่านมีความผูกพันกับพระพุทธศาสนา

    อายุ 12 ปี บวชเป็นผ้าขาว เพื่อศึกษาและปฏิบัติข้อวัตรของ ผู้ทรงศีล และบรรพชาเป็นสามเณรที่วัดศรีธรรมาราม อ.เมืองยโสธร

    ในห้วงที่เป็นสามเณร ได้เข้ากราบปรนนิบัติหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต บูรพาจารย์สายพระป่า ที่วัดป่าบ้านหนองผือนาใน ต.นาใน อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร จนท่หลวงปู่บุญเพ็งเคยเล่าประสบการณ์ที่ได้อยู่กับหลวงปู่มั่นช่วงหนึ่งให้ลูกศิษย์ฟังว่า “อาตมาเคยได้อยู่รับใช้ครูบาอาจารย์หลวงปู่มั่นเป็นเวลารวม 4 ปี คือ ตั้งแต่ พ.ศ.2489-2492 สิ่งที่ภาคภูมิใจก็คือ ได้อยู่ปรนนิบัติท่าน ได้อยู่ใกล้ชิดท่าน เมื่อติดขัดในปัญหาอันใดก็จะสามารถถามแก้ไขได้อย่างทันท่วงที ยิ่งในวัยชราของท่าน อาตมาและหมู่คณะได้ปรนนิบัติท่านพยายามเยียวยารักษาท่าน เพราะท่านเป็นพ่อแม่ที่ให้สิ่งที่มีคุณค่าทั้งสิ้น ไม่เคยสอนให้เสียคน ท่านคอยกล่าวตักเตือน ท่านว่า ‘เวลาไม่รอใคร ความตายอยู่เบื้องหน้า จงอย่าประมาทเลย’..”

    “ปีสุดท้ายคือ พ.ศ.2492 หลวงปู่มั่นอาพาธอาการเจ็บป่วยนั้นแรงกล้าขึ้นเรื่อยๆ คณะศิษย์ทุกคนก็พยายามกันมาก ช่วยกันดูแลจัดเวรยาม คอยดูแลอาการเจ็บป่วยท่านพระอาจารย์ใหญ่ด้วยความเป็นห่วงอย่างยิ่ง ภายหลังจากท่านพระอาจารย์มั่นมรณภาพและถวายเพลิงศพท่านไปแล้ว คณะศิษย์ทั้งหลายต่างแยกย้ายกันออกไป”

    ครั้นอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ สามเณรบุญเพ็ง เข้าพิธีอุปสมบท เมื่อวันที่ 21 ต.ค.2492 ที่วัดป่าสุทธาวาส อ.เมือง จ.สกลนคร โดยมีพระอาจารย์มหาทองสุก สุจิตโต เป็นพระอุปัชฌาย์, หลวงปู่ฝั้น อาจาโร เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์มหาไพบูลย์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์

    ต่อมาในปี พ.ศ.2500 ได้ฝากตัวเป็นศิษย์หลวงปู่ขาว อนาลโย ที่วัดป่าแก้วชุมพล อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร ก่อนจะออกธุดงค์

    กระทั่งปี พ.ศ.2503 ขณะที่ หลวงปู่ขาว สร้างวัดถ้ำกลองเพล อ.หนองบัวลำภู จ.อุดรธานี หลวงปู่บุญเพ็ง เข้ากราบและอยู่รับใช้อุปัฏฐากหลวงปู่ขาว อนาลโย จนละสังขาร และได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดถ้ำกลองเพล

    ในด้านการเผยแผ่ธรรม หลวงปู่บุญเพ็ง ใช้ธรรมะสั่งสอน ชาวบ้านให้รู้จักทำมาหากินด้วยความสุจริต มีความอดทน ขยัน หมั่นเพียร ใช้ชีวิตอย่างสมถะ และพอเพียง

    ท่านยังสั่งสอนให้ชาวบ้านได้เจริญภาวนาสมาธิ ให้ยึดมั่นในหลักธรรมของพระพุทธเจ้าและปฏิบัติตามศีล 5 ศีล 8 หรืออุโบสถศีล อย่างเคร่งครัด

    ด้วยสังขารเป็นสิ่งไม่เที่ยง หลวงปู่บุญเพ็ง ละสังขาร เมื่อเวลา 01.57 น. วันที่ 27 ก.พ.2561 ที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น หลังจากอาพาธด้วยโรคเบาหวาน ความดัน ติดเชื้อในกระแสเลือด และเข้ารับการรักษามานานนับสิบปี สิริอายุ 88 ปี พรรษา 68 >>>>หมายเหตุที่ลงรูปภาพคือพระเกศาของหลวงปู่บุญเพ็ง เขมาภิรโต ี่ผมได้มาสิบกว่าปีเเล้วครับ เเต่เกศาของหลวงปู่ยังมันวาวเพราะว่าวันโกนพระอุปฐากคงใช้ชมภูสระผมบนศรีษะหลวงปู่ในขณะโกนปลงเกศาหลวงปู่ เพื่อจะได้ปลงเกศาหลวงปู่สะดวกเเละง่ายในการปลงเกศาครับ หลวงปู่บุญเพ็งผมเองก็ไปกราบบ่อยบางตรั้งไปเจอช่วงหลวงปู่สรงนํ้าเเละบางครั้งได้ผมพารถเข็นหลวงปู่ไปเดินจงกรมบนพระเจดีย์หลวงปู่ขาวก็มี บางครั้งก็ไปช่วงเช้าก่อนฉันจังหันเช้าก็มี ได้นั่งรถสามล้อสกายเเล็บของหลวงปู่กับหลวงปู่ไปศาลาโรงฉันด้วยครับ พอลงจากรถสามล้อเครื่องของหลวงปู่เเล้ว ผมเห็นไม้จิ้มฟันของหลวงปู่ี่เสียบไว้บนหลังคารถสามเครื่องของหลวงปู่มาด้วยครับ (เเจกเพื่อนสมาชิกไปหมดเเล้ว) SAM_8852.JPG SAM_8865.JPG SAM_8866.JPG SAM_8867.JPG SAM_8868.JPG SAM_8869.JPG SAM_8870.JPG
     
  3. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 680 เหรียญรุ่นเเรกหลวงปู่สอ พันธุโล พระอรหันต์เจ้าวัดป่าหนองเเสง อ.เมือง จ.ยโสธร หลวงปู่สอเป็นศิษย์พระหลวงตามหาบัว วัดป่าบ้านตาด เหรียญสร้างปี 253 เหรียญองเเดงรมนํ้าตาล องค์นี้เลี่ยมกันนํ้าอย่างดี หายากครับเหรียญยังสวย*********มีพระเกศาหลวงปู่มาบูชาเป็นมงคลด้วยครับ >>>>>>บูชาที่ 555 บาฟรีส่งemslส
    ประวัติและปฏิปทา พระครูภาวนากิจโกศล (หลวงปู่สอ พันธุโล) วัดป่าบ้านหนองแสง ต.สิงห์ อ.เมือง จ.ยโสธร

    %B9%E0%B9%88%E0%B8%AA%E0%B8%AD-%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B9%82%E0%B8%A5-2.jpg
    หลวงปู่สอ พันธุโล วัดป่าบ้านหนองแสง
    พระอริยเจ้าผู้มีพลังจิตแก่กล้า แห่งวัดป่าบ้านหนองแสง ต.สิงห์ อ.เมือง จ.ยโสธร หลวงปู่สอ พันธุโล มีความเคร่งครัดในการปฏิบัติ จนเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของชาวบ้าน ท่านมีพระคู่บารมีที่ได้จากสมาธิ คือพระพุทธสิริสัตตราช หรือหลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์ พระพุทธรูปปางนาคปรกที่แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ จึงมีการสร้างองค์จำลองขนาดใหญ่ไว้ตามเขื่อนต่าง ๆ ทั่วประเทศไทย

    B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%AA%E0%B8%AD-%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B9%82%E0%B8%A5.jpg
    หลวงปู่สอ พันธุโล วัดป่าบ้านหนองแสง จ.ยโสธร
    หลวงปู่สอ พันธุโล เกิดในสกุล ขันเงิน เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน ๘ ปีระกา ตรงกับวันที่ ๗ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๖๔ ที่บ้านทุ่งมน ต.ทุ่งมน อ.ลุมพุก จ.อุบลราชธานี (ปัจจุบันคืออำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร)

    โยมบิดา-มารดา ชื่อ นายตา ขันเงิน และ นางขอ ขันเงิน มีพี่น้องร่วมมารดาเดียวกัน ๒ คน เป็นชายทั้งหมด ท่านเป็นบุตรชายคนโต

    ในสมัยหนุ่มเป็นฆราวาสนั้น นายสอเป็นคนที่ชอบสนุกสนานร่าเริง เข้ากับหมู่คณะได้ทุกคน ขณะเดียวกัน ยังเป็นคนที่ค่อนข้างจะมีความสามารถในการกล่าวกลอนสด (ผญา) ของคนอีสาน เป็นที่ชอบใจของผู้ฟัง แม้เรียนจบเพียงแค่ชั้นป.๓
    ถึงจะชอบสนุกสนาน รื่นเริง แต่มีนิสัยประจำตัวอย่างหนึ่ง คือ ความอดทน ความขยันหมั่นเพียร นับว่าเป็นคุณสมบัติอันสำคัญยิ่งที่ส่งผลให้การทำความเพียรของท่านในภายหลัง จากอุปสมบทแล้วมีความเด็ดเดี่ยวมั่นคงและเจริญก้าวหน้าไปโดยลำดับ

    กระทั่งอายุได้ประมาณ ๒๐ ปี ได้แต่งงานกับนางบับ หญิงสาวชาวบ้านเดียวกัน
    หลังจากแต่งงานมีครอบครัว ด้วยความเป็นหัวหน้าครอบครัว ทำให้ต้องตื่นแต่เช้าขยันทำการงาน หนักเอาเบาสู้ โดยหวังจะให้ภรรยาและลูกๆ มีความสุข บางครั้งต้องเดินทางรอนแรมไปต่างจังหวัด เพื่อหาเงินมาจุนเจือเลี้ยงครอบครัว

    ต่อมาท่านเกิดความเบื่อหน่ายในชีวิต ตัดสินใจบอกภรรยาว่าจะขอออกบวช
    ในปี พ.ศ.๒๔๙๖ ขณะอายุได้ ๓๒ ปี นายสอ ได้เข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ เป็นครั้งแรก ณ พัทธสีมา วัดสร่างโศรก ต.ในเมือง อ.ยโสธร จ.อุบลราชธานี (ปัจจุบันคือ วัดศรีธรรมาราม อ.เมือง จ.ยโสธร) มีพระครูปลัดบุญสิงห์ เป็นพระอุปัชฌาย์

    ภายหลังอุปสมบท พระสอ มีความพอใจมาก มีความปลอดโปร่ง เกิดความสงบเยือกเย็น มองเห็นชีวิตแห่งการบวชเป็นทางที่จะแสวงหาความสุขได้อย่างแท้จริง
    ในการบวชครั้งนี้ ท่านพยายามที่จะทำตามกำหนดเวลาของภรรยา คือ บวช ๑๕ วัน แต่ในขณะที่บวชอยู่นั้นมีความรู้สึกสบายกายสบายจิต คิดว่าจะบวชให้นานที่สุด และท่านก็ได้ขอผัดผ่อนภรรยาเรื่อยมา

    สุดท้ายเมื่อครบ ๑๕ วัน ท่านก็ไม่ได้สึกตามที่ภรรยากำหนดไว้ จึงทำให้ท่านได้อยู่ในเพศบรรพชิตและปฏิบัติธรรม แสวงหาความสงบ

    ปี พ.ศ.๒๔๙๖ ท่านได้จำพรรษาอยู่ที่วัดบ้านหนองแสง ต.สิงห์ อ.เมือง จ.ยโสธร ซึ่งขณะนั้นหลวงปู่บุญมี ปริปุณโณ เป็นเจ้าอาวาส ท่านได้แนะนำสั่งสอนข้อวัตรปฏิบัติ ตลอดถึงในการอบรมด้านสมาธิภาวนา

    B8%8D%E0%B8%A1%E0%B8%B5-%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%9B%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B9%82%E0%B8%93.jpg
    หลวงปู่บุญมี ปริปุณโณ
    แต่ด้วยสาเหตุจากครอบครัวทำให้ท่านจำใจต้องลาสิกขา แม้จะเป็นเช่นนั้น แต่ท่านก็ตั้งใจว่าเมื่อมีโอกาสจะกลับมาบวชอีก

    ปี พ.ศ.๒๕๐๑ หลวงปู่สอ ท่านได้อุปสมบทอีกครั้ง เมื่อวันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๐๑ ขณะมีอายุ ๓๗ ปี ณ พัทธสีมา วัดศรีธรรมาราม ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ยโสธร โดยมีพระครูปลัดบุญสิงห์ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูสังฆรักษ์ เป็นพระ กรรมวาจาจารย์ และพระมหาสาย เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า “พันธุโล“

    เมื่อได้อุปสมบทแล้ว หลวงปู่สอ พยายามฝึกฝนอบรมตัวเอง ด้วยการทำข้อวัตรปฏิบัติ และฝึกสมาธิภาวนาอย่างสม่ำเสมอ ท่านได้เร่งประกอบความเพียรมากขึ้นโดยลำดับ

    ครั้นมีปัญหาอุปสรรคจากการภาวนา ท่านจะเข้าไปกราบเรียนขอคำแนะนำจากครูบาอาจารย์ผู้ที่เคารพนับถืออยู่เสมอ พระมหาเถระที่หลวงปู่ท่านให้ความเคารพนับถืออย่างยิ่ง และไปพักปฏิบัติธรรมรับการแนะนำสั่งสอนจากท่านเป็นประจำ คือ หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี, หลวงปู่ชอบ ฐานสโม, หลวงปู่ขาว อนาลโย, หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ, หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน และ หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ

    นอกจากนี้ ยังมีครูบาอาจารย์ที่ท่านได้เคยเดินทางไปธุดงค์ด้วยกัน อาทิ หลวงปู่สาม อกิญจโน, หลวงปู่บัวพา วัดป่าพระสถิตย์, หลวงปู่บุญมี ปริปุณโณ และ หลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร เป็นต้น

    B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%AA%E0%B8%AD-%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B9%82%E0%B8%A5.jpg
    (ซ้าย) หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ (ขวา) หลวงปู่สอ พันธุโล
    9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87-%E0%B8%88.%E0%B8%A2%E0%B9%82%E0%B8%AA%E0%B8%98%E0%B8%A3.jpg
    หลวงปู่สอ พันธุโล วัดป่าบ้านหนองแสง จ.ยโสธร
    ในพรรษาแรกนี้ หลวงปู่สอ ท่านได้จำพรรษาอยู่วัดบ้านหนองแสง ศึกษาอบรมข้อปฎิบัติอยู่กับหลวงปู่บุญมี ปริปุณโณ (ปัจจุบันท่านอยู่วัดป่าศิลาพร จังหวัดยโสธร ) พอออกจากพรรษาแล้วท่านจึงเดินทางไปจังหวัดอุดรธานี เพื่อศึกษาข้อวัตรปฎิบัติกับหลวงปู่มหาบัว ญาณสัมปันโน วัดป่าบ้านตาด อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ซึ่งในครั้งนั้น ท่านต้องเดินทางธุดงค์รอนแรมพักภาวนาไปเรื่อยๆ โดยไม่ได้เร่งรีบอะไร กว่าจะถึงจังหวัดอุดรธานีก็ใช้เวลาหลายวัน และเมื่อเข้าสู่วัดป่าบ้านตาดอันเป็นสำนักปฏิบัติธรรมที่มีชื่อเสียงที่ท่านปรารถนาแล้ว ก็เข้าถวายสักการะหลวงปู่บัว ญาณสัมปันโน มอบถวายกายใจให้ท่านอบรมสั่งสอน และทำให้การปฏิบัติธรรมของท่านก้าวหน้าไปโดยลำดับ

    ในปี พ.ศ.๒๕๐๒ ซึ่งเป็นพรรษาที่สองของหลวงปู่สอ พันธุโล ท่านได้จำพรรษาอยู่วัดป่าบ้านตาด จังหวัดอุดรธานี ในพรรษานี้ท่านได้เร่งความเพียร เพราะเห็นว่าเป็นโอกาสอันดีที่จะได้ศึกษาอบรมกับพ่อแม่ครูบาอาจารย์ผู้ทรงคุณธรรม และในพรรษานี้เองที่หลวงปู่สอ ท่านได้นิมิตเห็นงูใหญ่ ตัวสีทอง เลื้อยเข้ามาหาในกุฎิในขณะนั่งสมาธิอยู่แล้วดันตัวท่านขึ้นขนดลำตัวเป็นวงกลมให้ท่านนั่ง
    ซึ่งนิมิตอันนี้เองเป็นจุดที่เริ่มต้นที่จะให้ได้มาซึ่งพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ “หลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์” อันเป็นพระพุทธรูปคู่บุญบารมีหลวงปู่สอ ท่านเล่าว่าเมื่อปรากฏนิมิตเช่นนั้นแล้ว ท่านได้เล่าถวายหลวงปู่บุญมีฟัง ต่อมาเมื่อหลวงปู่มหาบัวทราบ จึงได้เรียกท่านไปสอบถามความเป็นไปต่าง ๆ ในขณะเกิดนิมิต และสุดท้ายหลวงปู่มหาบัว ท่านได้สั่งกำชับไม่ให้พูดให้ใครฟังอีก มันจะเกิดอะไรขึ้นก็อย่างไปสนใจให้พิจารณาลงสู่ไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เพราะหากเราส่งใจหลงใหลได้ปลื้มไปกับนิมิตที่ปรากฏ จะทำให้การปฏิบัติธรรมเนิ่นช้า และอาจเกิดวิปลาส ได้ง่าย หลวงปู่สอ เอง ท่านก็รับฟังคำแนะนำ ตักเตือนของพ่อแม่ครูบาอาจารย์ด้วยดี

    พอถึงฤดูกาลออกพรรษา ซึ่งเริ่มย่างเข้าฤดูหนาวหลวงปู่สอ ได้กราบลาพ่อแม่ครูอาจารย์ หลวงปู่มหาบัว ญาณสัมปันโน ไปเที่ยวธุดงค์ แถวจังหวัดหนองคาย และจังหวัดเลยเพื่อหาประสบการณ์ ในสมัยนั้นเมื่อ ๓๐ กว่าปีมาแล้ว ทั้งสองจังหวัดนี้ป่าเขายังอยู่อุดมสมบูรณ์มาก อาจเรียกได้ว่าเป็นลักษณะป่าช้าดงเสือ เมื่อเดินทางผ่านไปพบสถานที่ใดเหมาะแก่การเจริญจิตภาวนาท่านก็จะหยุดพักภาวนา ๗ วันบ้าง ๑๕ วันบ้าง บางแห่งพักนานเป็นเดือน ๆ ก็มี และมีอยู่ครั้งหนึ่ง ท่านไปพักอยู่บ้านนาบะฮี มีอาชีพเป็นชาวไร่ทำมาหากินกันอยู่ ๓ ครอบครัว ท่านได้อาศัยญาติโยมทั้ง ๓ ครอบครัวนี้ในการบิณฑบาต บางวันก็ได้ข้าวกับเม็ดกะบก บางวันก็ข้าวกับพริก และปลาร้า ท่านบอกว่าแม้อาหารการฉันจะอัตคัดขัดสน แต่การทำความพากเพียรทำสมาธิภาวนาดีมาก จิตใจมีความปลอดโปร่งสบายไม่เป็นทุกข์ไม่เป็นกังวลกับสิ่งใดๆ ตรงที่หลวงปู่สอ พักภาวนานี้ เป็นถ้ำที่ชาวบ้านเรียกว่า “ถ้ำพระ” ถ้ำแห่งนี้สมชื่อสมนามจริงๆ เพราะคนจะอยู่ได้ต้องมีจิตใจเป็นพระ คือ ต้องมีความอดทนเข้มแข็งจริง ๆ ถ้าใครอยากจะเป็นพระให้มาภาวนาที่ถ้ำนี้ เมื่อเที่ยวธุดงค์ แสวงหาความสงบเย็นใจไปตามจังหวัดต่าง ๆ พอสมควรแล้ว หลวงปู่สอ จึงวกกลับมาทางจังหวัดอุดรธานีอีกครั้ง

    สุดท้าย หลวงปู่สอ ได้มาอยู่จำพรรษาที่วัดป่าบ้านหนองแสง ต.สิงห์ อ.เมือง จ.ยโสธร และดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส

    พ.ศ.๒๕๒๐ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นโท ในราชทินนามที่ พระครูภาวนากิจโกศล

    %B8%88%E0%B9%87%E0%B8%94%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B9%8C.jpg
    หลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์
    8%AD%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%AA%E0%B8%87-%E0%B8%88.%E0%B8%A2%E0%B9%82%E0%B8%AA%E0%B8%98%E0%B8%A3.jpg
    หลวงปู่สอ พันธุโล วัดป่าบ้านหนองแสง จ.ยโสธร
    หลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์ เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์เชื่อกันว่า มีพุทธานุภาพสามารถบันดาลให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล ยังความชุ่มฉ่ำเย็นแก่พื้นที่กว้างใหญ่ไพศาล องค์จริงนั้น เป็นพระพุทธรูปปางนาคปรกหล่อสัมฤทธิ์โบราณ ตามการสันนิษฐานของกรมศิลปากร มีอายุประมาณ ๘๐๐ ปีเศษ มีพุทธลักษณะคล้ายศิลปะเชียงแสนหรือเวียงจันทร์ ขนาดฐานกว้างประมาณ ๑๐ นิ้ว สูงประมาณ ๑๕ นิ้ว น้ำหนักประมาณ ๑๐ กิโลกรัม พุทธลักษณะพิเศษ คือ เป็นพระพุทธรูปที่มีงูใหญ่ ๗ ตัว ๗ หัว แผ่คลุมองค์พระซึ่งไม่เหมือนกับพระพุทธรูปปางนาคปรกโดยทั่วไปที่มีพญานาค ๑ ตัว ๗ หัวบ้าง ๕ หัวบ้าง พระพุทธรูปลักษณะนี้มีอยู่ ๒ องค์ องค์หนึ่งอยู่ในเจดีย์นครปฐม อีกองค์หนึ่งเป็นพระคู่บารมีของพระครูภาวนากิจโกศล (หลวงปู่สอ พันธุโล) วัดป่าบ้านหนองแสง ต.สิงห์ อ.เมือง จ.ยโสธร ซึ่งอยู่กับท่านมานานกว่า ๓๐ ปีแล้ว

    ด้วยวัยชราภาพ หลวงปู่สอ มีอาการอาพาธเป็นประจำ คณะศิษย์ผู้ใกล้ชิดหลวงปู่สอ ได้นิมนต์ท่านไปพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลยโสธร จนกระทั่ง วันที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๒ เวลา ๑๕.๔๗ น. หลวงปู่สอ ได้มรณภาพด้วยอาการติดเชื้อในกระแสโลหิต สิริอายุ ๘๘ ปี ๔ เดือน ๔ วัน พรรษา ๕๑

    นับเป็นการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ของชาวเมืองยโสธร ที่ได้สูญเสียพระอริยสงฆ์อันเป็นเสาหลักอย่างไม่มีวันกลับคืน

    %B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%AA%E0%B8%87-1024x678.jpg
    อัฐิธาตุ ของท่าน หลวงปู่สอ พันธุโล วัดป่าบ้านหนองแสง
    9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%AA%E0%B8%87-3-1024x678.jpg
    อัฐิธาตุ ของท่าน หลวงปู่สอ พันธุโล วัดป่าบ้านหนองแสง
    ธรรมโอวาท หลวงปู่สอ พันธุโล

    “…ธรรมะมันเป็นเครื่องรักษาเรา รักษาทรัพย์ คือจิตใจ ถ้าใจของเราสะอาดหรือใจของเราสงบ สบาย นั่นธรรมะครอบงำเราอยู่ รักษาเราอยู่ให้เราปฏิบัติใจ เพราะธรรมะทั้งหมดมันอยู่ที่ใจ ให้เราเข้าใจอย่างนั้น อย่าไปเข้าใจว่าธรรมะมันอยู่ที่อื่น…”

    “…โลกนี้เป็นของสมมุติ สมมุตินั้น สมมุตินี่ ถ้าเราตัดความสมมุตินี้ได้ เราก็จะถึงวิมุติความหลุดพ้น ในโลกนี้ไม่มีอะไรติดตัวไปได้เลย นอกจากความดีและความชั่วเท่านั้น
    >>>>>>หมายเหตุ 4 รูปภาพสุดท้ายที่ผมถ่ายภาพลงให้ดูสดๆเลยครับ เป็นอัฐิธาตุของหลวงปู่สอที่ได้มอบให้ผมด้วยองค์ท่านเองเลยครับ ผมมีเวลาจะเล่าให้ฟังทีหลังนะครับผม SAM_8873.JPG SAM_8872.JPG SAM_7609.JPG SAM_8875.JPG SAM_8874.JPG SAM_8876.JPG SAM_8877.JPG .
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 กันยายน 2021
  4. ผู้ผ่านมา

    ผู้ผ่านมา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มกราคม 2006
    โพสต์:
    164
    ค่าพลัง:
    +140
    ขอบูชาครับ
     
  5. wangbao

    wangbao Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 พฤศจิกายน 2018
    โพสต์:
    187
    ค่าพลัง:
    +149
    ได้รับวัตถุมงคลเรียบร้อย ขอบคุณครับ
     
  6. Khun Kriang

    Khun Kriang สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2019
    โพสต์:
    290
    ค่าพลัง:
    +4
    จองครับ
     
  7. Khun Kriang

    Khun Kriang สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2019
    โพสต์:
    290
    ค่าพลัง:
    +4
    จองครับ
     
  8. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 681 เหรียญโต๊ะหมู่บูชาหลวงปู่อ่อนสา สุขกาโม พระอรหันต์เจ้าวัดประชาชุมพลพัฒนา อ.เมือง จ.อุดรธานี หลวงปู่อ่อนสาเป็นศิยษ์หลวงปู่มั่นยุคกลาง(น้องพรรษาหลวงตามหาบัว 1 พรรษา) เหรียญสร้างปี 25 สร้างเนื่องหลวงปู่อายุครบ 84 ปี เนื้ออัลปาก้า เหรียญใหม่ไม่เคยใช้ มีพระเกศาหลวงปู่มาบูชาด้วยครับ ************บูชาที่ 545 บาทฟรีส่งemsสส
    ประวัติและปฏิปทา

    หลวงปู่อ่อนสา สุขกาโร
    วัดประชาชุมพลพัฒนาราม
    บ้านหนองใหญ่ อ.เมือง จ.อุดรธานี


    B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B2-%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%82%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B9%82%E0%B8%A1.jpg
    หลวงปู่อ่อนสา สุขกาโร วัดป่าประชาชุมพลพัฒนาราม
    พระกรรมฐานยุคก่อนโน้น ในสายของ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต แล้ว นับได้ว่า..มีความกว้างขวางและออกประกาศธรรมะได้ผลเป็นอย่างยิ่ง

    อย่างไรก็ตาม ถ้าแม้เป็นการเผยแพร่โดยลําพัง หลวงปู่มั่นเพียงองค์เดียวก็คงยากแก่การนําความ สําเร็จมาสู่วงการพระพุทธศาสนา

    ก็ด้วยเหตุนี้ เราผู้เกิดมาที่หลัง จึงต้องสดับตรับฟังจากคณะศิษย์ของท่าน ซึ่งได้มีบทบาท สําคัญในการแจกแจงธรรมะ และเผยแพร่พระธรรมคําสอนของพระพุทธเจ้า

    ด้วยการกระทําให้เกิดทานบารมีให้การรักษาศีล เพื่อความบริสุทธิ์เป็นบารมี

    ให้กระทําสมาธิ จิตใจจะได้ แน่วแน่ มีความมั่นคง และให้กระ ทําขั้นวิปัสสนาเกิดปัญญาธรรม

    ครูบาอาจารย์ทั้งปวง จึงเป็นทั้งที่พึ่งและผู้ชี้แนะแก่เราท่านทั้งหลายมาด้วยดีตลอดเวลา

    ลูกศิษย์ในสายของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต เราจะมีความรู้จักน้อยกว่าองค์อื่น ๆ ก็เห็นจะได้แก่ หลวงปู่อ่อนสา สุขกาโม แห่งวัดป่าบ้านหนองใหญ่ จังหวัดอุดรธานี

    หลายครั้งที่คณะชาวกรุงเทพฯ ได้เดินทางไปกราบนมัสการ และได้สนทนาธรรมกับท่านนั้นหลวงปู่อ่อนสา จะพูดน้อย หรือที่เราพูดว่า “ถามค่าตอบคําเลยทีเดียว”

    หลวงปู่อ่อนสา สุขกาโม ท่านเป็นพระกรรมฐาน ที่มีอัธยาศัยใจคอมีเมตตามาก มีความเอื้ออารีเมตตาด้วยใจอันบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว เป็นกันเองเสมอ

    ส่วนธรรมปฏิบัตินั้น ท่านจะไม่ตอบให้ยืดยาว ท่านมีธรรมะโดยอุบายสั้นๆ ใช้คําพูดน้อยที่สุด แล้วนําไปบําเพ็ญภาวนาให้เกิดเป็นธรรมสมบัติของตน ครั้งท่านได้อบรมลูกศิษย์ที่ไปกราบท่านว่า

    “การที่มาขอธรรมะ นโยบายปฏิบัตินั้น ในสมัยพระอาจารย์ใหญ่ ท่านก็ให้ ถ้าได้มาขอท่านก็บอกอุบายอันแยบคายให้ แต่นั่นก็เป็นธรรมะที่ออกมาจากจิตใจของท่าน มันยังไม่ใช่ ธรรมะที่ออกจากจิตใจเราโดยแท้

    แม้จะเอาของดีไปก็ไม่สามารถรักษาให้อยู่กับตัวได้ บางทีขอไปวันนี้ พรุ่งนี้ก็ลืมวางไว้ที่ไหน ก็ไม่รู้นะ

    ก็ไม่ใช่ของเรานั่นเอง ถ้าเป็นของเราแล้วจะอยู่กับเราตลอด จําได้แม่นยํา

    เราตื่นก็มีอยู่ เราหลับก็มีอยู่ เราตายไปธรรมนั้นก็ตามไปกับ จิตเราด้วยเสมอ

    ก็เหมือนกับสภาวะปัจจุบัน ไหนใครลองบอกมาหน่อยซิว่า วันนี้เป็นโชคของเรา…

    ไม่มีใช่ไหม ?

    ถ้าเป็นของเราละก็ มันต้องอยู่กับเราตลอดไป ถ้ากลางวันก็ต้องอยู่อย่างนี้ จะมืดค่ำไม่ได้ต้อง อยู่กับเรา

    ฉะนั้น ธรรมะก็เช่นกัน ทุกวันนี้พวกเราชาวพุทธนักปฏิบัติ เขาว่าอย่างนั้นนะ เที่ยววิ่งขอ ธรรมะแต่ไม่ยอมปฏิบัติเลยสักที

    เหลาะ ๆ แหละ ๆ เดี๋ยวน้ำ เดี่ยวแห้ง ไม่เอาจริงสักที

    ระวังเน้อ สะสมธรรมะมาก ไม่ดีพุงจะแตกเอา ต้องนําออกมาระบาย คือการพิจารณาแยกเหตุ แยกผลของธรรมะบ้าง เราเรียกว่า วิปัสสนาก็ได้ เอาลองดูซี…

    ความจริงธรรมะนั่น ไม่มีใครเขาให้มากหรอก มันจะฟุ้งซ่าน บางทีเกิดลังเลสงสัย ต้องแสดงเลยความลังเลจึงจะหมด แล้วจะคลายสงสัยได้เด็ดขาดเลย…”

    หลวงปู่อ่อนสา สุขกาโม ท่านเป็นพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในรุ่น หลวงตาบัว ญาณสัมปันโน

    ท่านเป็นชาวอีสานโดยกําเนิด เมื่อได้บวชเป็นสงฆ์แล้ว ก็ได้ฝากตัวเป็นศิษย์ปฏิบัติกับหลวงปู่มั่น และท่านพระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม

    ส่วนท่านเจ้าคุณจูม พันธุโล ท่านจะต้องไปมานมัสการอยู่เสมอ ซึ่งท่านเป็นพระเถระผู้ใหญ่ (พระธรรมเจดีย์จูม)

    ชีวิตแห่งสมณเพศ ท่านถือแนวทางเพื่อความหลุดพ้นเท่านั้น ท่านเป็นพระผู้สละทุกอย่าง มีความสันโดษ พอใจตามอัตภาพของตน หรือวาสนาของตน ไม่ลุ่มหลงกับสิ่งภายนอก ไม่ขอเพิ่มภาระแก่ตนให้เสียเวลาปฏิบัติธรรม

    ท่านเคยให้เหตุผลว่า…

    “เหตุที่ไม่ยอมสร้างอะไรเลย นั้นก็เพราะว่า “ไม่มีเงิน”

    อีกอย่างหนึ่งไม่อยากเอาทุกข์ มาสุมหัว และไม่อยากให้ญาติโยมลําบาก แค่ข้าวน้ำที่ญาติโยมทําทานมา ก็ดูว่าเหลือเข็ญอยู่แล้ว

    ปัจจุบันแย่งกันกิน แย่งกันนอน แย่งกันหายใจ จะให้สร้างอะไรอีก มิเป็นการเบียดเบียนละ หรือ

    เคยอยู่ป่า มีกลด มีบาตร กาน้ำก็อยู่ได้แล้ว พระพุทธเจ้าของเรานะ ท่าน ร่ำรวยมหาศาลเห็นไหม ทําไม พระองค์ท่านจึงสละเสียหมด เอาป่าดงเป็นที่อยู่เฉย

    ดังนั้นหลวงปู่ก็มีความคิดอย่าง นี้คือ ไม่ติดอะไรเลยดีกว่า…”

    สาธุ..สาธุ..สาธุ พระสงฆ์ ผู้เจริญฯ



    หลวงปู่อ่อนสา สุขกาโม สหธรรมิก “หลวงตามหาบัว” ศิษย์ “หลวงปู่มั่น” ท่านได้ละสังขารแล้ว เมื่อ วันที่ ๕ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๒ เวลา ๑๖.๑๗ น. สิริอายุ ๙๕ ปี พรรษา ๗๕

    ◎ โอวาทธรรมหลวงปู่อ่อนสา สุขกาโร

    ความมีมิตรไมตรี “ปิยวาจา” นี่แหละสำคัญที่สุด
    วันทั้งวันทำหน้าทำตาเป็น ”ยักษ์ซดน้ำร้อน”
    พูดจาไม่เข้าหูคน แล้วจะไปเป็นมิตรกับใครได้
    เช่นเดียวกัน ในทางตรงกันข้าม ยิ้มแย้มแจ่มใส เกื้อหนุนกัน
    ไม่นานก็กลายเป็นมิตร และมหามิตรในที่สุด SAM_8896.JPG SAM_8897.JPG SAM_8899.JPG SAM_8898.JPG SAM_7644.JPG
     
  9. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    >>>>เมื่อวานได้จัดส่งวัตมงคลให้เพื่อนสมาชิก 1 ท่านครับ เลขที่ ems ตามใบฝอยี่ลงครับผม SAM_8894.JPG
     
  10. ผู้ผ่านมา

    ผู้ผ่านมา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มกราคม 2006
    โพสต์:
    164
    ค่าพลัง:
    +140
    ขอบูชาครับ
     
  11. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 682 พระผงโต๊ะหมู่รุ่นเเรกรุ่นอุดมสมพรหลวงปู่เเปลง สุนทโร พระอรหันต์วัดป่าอุดมสมพร อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร หลวงปู่เเปลงเป็นศิษย์หลวงปู่ฝั้น อาจาโร พระอรหันต์วัดป่าอุดมสมพร องค์พระสร้างปี 2561 เนื้อดำ มาพร้อมกล่องเดิม มีตอกโค๊ตตัวเลขด้านหลังองค์พระ สุนทโร 614 มีพระเกศาหลวงปู่มาบูชาเป็นมงคลด้วยครับ ********บูชาที่ 275 บาทฟรีส่ง ems(อนึ่ง....หลวงปู่เเปลงองค์ท่านไม่นิยมสร้างวัตถุมงคลเลยครับ นี้เป็นครั้งเเรกครับ องค์ท่านยังดำรงค์ธาตุขันต์อยู่ครับผม)
    ประวัติและปฏิปทา
    หลวงปู่แปลง สุนทโร

    วัดป่าอุดมสมพร
    ต.พรรณา อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร

    8%B4%E0%B8%84%E0%B8%A1%E2%80%8B-%E0%B8%88.%E0%B8%AA%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%A3.jpg
    หลวงปู่แปลง สุนทโร วัดป่าอุดมสมพร ต.พรรณา อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร
    “พระครูอุดมธรรมสุนทร” หรือ “หลวงปู่แปลง สุนทโร” มีนามเดิมว่า แปลง อินทร์หนอง เกิดเมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน พุทธศักราช ๒๔๗๓ ตรงกับวันเสาร์ แรม ๑๓ ค่ำ เดือน ๑๐ ปีมะเมีย ณ บ้านดอนเชียงคูณ ตำบลเชียงเครือ อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร โยมบิดา-โยมมารดาชื่อ นายกง และนางคู อินทร์หนอง มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันทั้งหมด ๗ คน ท่านเป็นบุตรคนที่ ๖

    การศึกษาเบื้องต้น
    หลวงปู่แปลง ท่านได้เข้าศึกษาในโรงเรียนประชาบาลบ้านดอนกระเล็น ตำบลพังขว้าง อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร (ปัจจุบันเป็นตำบลเชียงเครือ) จนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ ต่อจากนั้นได้ศึกษาต่อที่โรงเรียนช่างไม้สกลนคร จนจบอาชีวะชั้นต้นปีที่ ๓ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๙ หลวงปู่เล่าถึงอาชีพของท่านว่า “ก็ได้ทำไร่ไถนาธรรมดานี่แหละ ทำก็ทำไร่ทำนา ส่วนมากจะทำนา ทำนาเป็นอาชีพ เลี้ยงวัวเลี้ยงควายเลี้ยงม้า เป็นอาชีพของชาวบ้าน”

    การอุปสมบท
    สาเหตุที่จะได้บวชนั้น หลวงปู่แปลง เล่าว่า.. “คือบวชตามประเพณี คือป่วยตั้งแต่เป็นเด็ก เขาบนบวช ทีนี้ว่าจะบวชวัดบ้านนั่นล่ะ มีโยมคนหนึ่งที่รู้จักกับแม่ บอกว่ากูจะไปฝากหลวงปู่ฝั้นให้ เขาเป็นโยมอุปัฏฐากท่าน โชคดีไปฝากกับหลวงปู่ฝั้น เลยได้ไปอยู่กับท่าน ก็ห่างจากบ้าน ๖-๗ กิโลเมตร จากวัดท่านน่ะ สาเหตุที่ได้ไป บุญดึงไปล่ะถ้าพูดตามภาษาบ้านเราน่ะ ไม่ใช่เจตนาหรอก บวชก็บวชไม่ใช่จะอยู่ตลอดหรอก บวชตามประเพณี ได้บวชผ้าขาวกับ หลวงปู่ฝั้น อาจาโร ที่วัดป่าภูธรพิทักษ์ ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร เพราะใกล้จะเข้าพรรษาแล้ว ประมาณ ๗ วัน เพราะท่านลงมาจากถ้ำเป็ด เป็นเวลาน้อย ก็บวชวันเข้าพรรษาด้วย มันจำเป็น”

    หลวงปู่แปลง ได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่ออายุ ๒๒ ปี ในวันที่ ๑๘ กันยายน พ.ศ.๒๔๙๕ ณ พัทธสีมาวัดศรีโพนเมือง ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร โดยมี พระครูอุดมธรรมคุณ (หลวงปู่มหาทองสุก สุจิตฺโต) วัดป่าสุทธาวาส เป็นพระอุปัชฌาย์, หลวงปู่ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และ พระเทพสุเมธี (ไพบูลย์ อภิวณฺโณ ป.ธ.๕) วัดศรีโพนเมือง เป็นพระอนุสาวนาจารย์

    ติดตามอุปัฏฐากหลวงปู่ฝั้น อาจาโร
    ภายหลังจากอุปสมบทแล้ว หลวงปู่แปลง สุนทโร ท่านได้มาพักจำพรรษาอยู่กับหลวงปู่ฝั้น อาจาโร ณ วัดป่าภูธรพิทักษ์ จังหวัดสกลนคร รวมทั้งได้ศึกษาข้อวัตรปฏิบัติ ฝึกหัดทำสมาธิภาวนา หากมีความสงสัยในข้ออรรถข้อธรรม ท่านก็ขึ้นไปกราบเรียนถามหลวงปู่ฝั้น ซึ่งหลวงปู่ฝั้นก็เมตตาให้คำแนะนำข้ออรรถข้อธรรม ให้กำลังใจในการบำเพ็ญสมณธรรม อีกทั้งท่านยังได้ติดตามไปอุปัฏฐากรับใช้หลวงปู่ฝั้นตามสถานที่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นที่วัดถ้ำขาม, วัดป่าอุดมสมพร อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร ตลอดจนสถานที่อื่น ๆ

    ภายหลังจากหลวงปู่ฝั้น อาจาโร ได้ถึงแก่มรณภาพ และได้รับพระราชทานเพลิงศพแล้ว ท่านก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสสืบแทน ท่านจึงได้ดูแลวัดป่าอุดมสมพรเรื่อยมา

    %B8%9B%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%A3.jpg
    หลวงปู่แปลง สุนทโร วัดป่าอุดมสมพร ต.พรรณา อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร
    ลำดับสมณศักดิ์
    ปี พ.ศ.๒๕๒๕ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น “พระครูอุดมธรรมสุนทร”

    ปัจจุบันนี้ หลวงปู่แปลง สุนทโร ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาส และพำนักจำพรรษาที่วัดป่าอุดมสมพร บ้านบะทอง ตำบลพรรณา อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร
    สิริอายุ ๙๐ ปี ๖๘ พรรษา (พ.ศ.๒๕๖๓)

    8%84%E0%B8%A1%E2%80%8B-%E0%B8%88.%E0%B8%AA%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%A3-683x1024.jpg
    หลวงปู่แปลง สุนทโร วัดป่าอุดมสมพร
    โอวาทธรรม หลวงปู่แปลง สุนทโร

    “..แค่สอนให้รักษา”พุทโธ”คำเดียวยังรักษาบ่ได้ จะให้เทศน์หยังหลายแท้ธรรมะนี่..”

    “..ใจไม่มีโรค เป็นสุขอย่างยิ่ง..”

    “..ถ้าไม่เกิดหมดเรื่อง..”

    “..พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่อยู่ของใจ..”

    “อย่าไปเสริมแต่กาย กายเป็นของเสื่อม ให้เสริมใจ เอาพุทโธ พุทโธ เสริมที่ใจ” SAM_8900.JPG SAM_8906.JPG SAM_8907.JPG SAM_8908.JPG SAM_8909.JPG SAM_8910.JPG SAM_8911.JPG SAM_8912.JPG
     
  12. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ ุ683 พระผงโต๊ะหมู่รุ่นเเรกรุ่นอุดมสมพรหลวงปู่เเปลง สุนทโร พระอรหันต์วัดป่าอุดมสมพร อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร หลวงปู่เเปลงเป็นศิษย์หลวงปู่ฝั้น อาจาโร พระอรหันต์วัดป่าอุดมสมพร องค์พระสร้างปี 2561 เนื้อขาว มาพร้อมกล่องเดิม มีตอกโค๊ตตัวเลขด้านหลังองค์พระ สุนทโร 773 มีพระเกศาหลวงปู่มาบูชาเป็นมงคลด้วยครับ **********บูชาที่ 275 บาทฟรีส่งems(อนึ่ง....หลวงปู่เเปลงองค์ท่านไม่นิยมสร้างวัตถุมงคลเลยครับ นี้เป็นครั้งเเรกครับ องค์ท่านยังดำรงค์ธาตุขันต์อยู่ครับผม) หมายเหตุ>>>>>สำหรับหลวงปู่เเปลงผมลงครั้งเเรกเลยละครับ หายากมากๆ มีเเค่ 2 องค์นี้ละครับ อยากเเจกมอบเกศาท่านมานานเเล้วครับ
    ประวัติและปฏิปทา
    หลวงปู่แปลง สุนทโร

    วัดป่าอุดมสมพร
    ต.พรรณา อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร

    b4-e0-b8-84-e0-b8-a1-e2-80-8b-e0-b8-88-e0-b8-aa-e0-b8-81-e0-b8-a5-e0-b8-99-e0-b8-84-e0-b8-a3-jpg.jpg
    หลวงปู่แปลง สุนทโร วัดป่าอุดมสมพร ต.พรรณา อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร
    “พระครูอุดมธรรมสุนทร” หรือ “หลวงปู่แปลง สุนทโร” มีนามเดิมว่า แปลง อินทร์หนอง เกิดเมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน พุทธศักราช ๒๔๗๓ ตรงกับวันเสาร์ แรม ๑๓ ค่ำ เดือน ๑๐ ปีมะเมีย ณ บ้านดอนเชียงคูณ ตำบลเชียงเครือ อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร โยมบิดา-โยมมารดาชื่อ นายกง และนางคู อินทร์หนอง มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันทั้งหมด ๗ คน ท่านเป็นบุตรคนที่ ๖

    การศึกษาเบื้องต้น
    หลวงปู่แปลง ท่านได้เข้าศึกษาในโรงเรียนประชาบาลบ้านดอนกระเล็น ตำบลพังขว้าง อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร (ปัจจุบันเป็นตำบลเชียงเครือ) จนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ ต่อจากนั้นได้ศึกษาต่อที่โรงเรียนช่างไม้สกลนคร จนจบอาชีวะชั้นต้นปีที่ ๓ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๙ หลวงปู่เล่าถึงอาชีพของท่านว่า “ก็ได้ทำไร่ไถนาธรรมดานี่แหละ ทำก็ทำไร่ทำนา ส่วนมากจะทำนา ทำนาเป็นอาชีพ เลี้ยงวัวเลี้ยงควายเลี้ยงม้า เป็นอาชีพของชาวบ้าน”

    การอุปสมบท
    สาเหตุที่จะได้บวชนั้น หลวงปู่แปลง เล่าว่า.. “คือบวชตามประเพณี คือป่วยตั้งแต่เป็นเด็ก เขาบนบวช ทีนี้ว่าจะบวชวัดบ้านนั่นล่ะ มีโยมคนหนึ่งที่รู้จักกับแม่ บอกว่ากูจะไปฝากหลวงปู่ฝั้นให้ เขาเป็นโยมอุปัฏฐากท่าน โชคดีไปฝากกับหลวงปู่ฝั้น เลยได้ไปอยู่กับท่าน ก็ห่างจากบ้าน ๖-๗ กิโลเมตร จากวัดท่านน่ะ สาเหตุที่ได้ไป บุญดึงไปล่ะถ้าพูดตามภาษาบ้านเราน่ะ ไม่ใช่เจตนาหรอก บวชก็บวชไม่ใช่จะอยู่ตลอดหรอก บวชตามประเพณี ได้บวชผ้าขาวกับ หลวงปู่ฝั้น อาจาโร ที่วัดป่าภูธรพิทักษ์ ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร เพราะใกล้จะเข้าพรรษาแล้ว ประมาณ ๗ วัน เพราะท่านลงมาจากถ้ำเป็ด เป็นเวลาน้อย ก็บวชวันเข้าพรรษาด้วย มันจำเป็น”

    หลวงปู่แปลง ได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่ออายุ ๒๒ ปี ในวันที่ ๑๘ กันยายน พ.ศ.๒๔๙๕ ณ พัทธสีมาวัดศรีโพนเมือง ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร โดยมี พระครูอุดมธรรมคุณ (หลวงปู่มหาทองสุก สุจิตฺโต) วัดป่าสุทธาวาส เป็นพระอุปัชฌาย์, หลวงปู่ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และ พระเทพสุเมธี (ไพบูลย์ อภิวณฺโณ ป.ธ.๕) วัดศรีโพนเมือง เป็นพระอนุสาวนาจารย์

    ติดตามอุปัฏฐากหลวงปู่ฝั้น อาจาโร
    ภายหลังจากอุปสมบทแล้ว หลวงปู่แปลง สุนทโร ท่านได้มาพักจำพรรษาอยู่กับหลวงปู่ฝั้น อาจาโร ณ วัดป่าภูธรพิทักษ์ จังหวัดสกลนคร รวมทั้งได้ศึกษาข้อวัตรปฏิบัติ ฝึกหัดทำสมาธิภาวนา หากมีความสงสัยในข้ออรรถข้อธรรม ท่านก็ขึ้นไปกราบเรียนถามหลวงปู่ฝั้น ซึ่งหลวงปู่ฝั้นก็เมตตาให้คำแนะนำข้ออรรถข้อธรรม ให้กำลังใจในการบำเพ็ญสมณธรรม อีกทั้งท่านยังได้ติดตามไปอุปัฏฐากรับใช้หลวงปู่ฝั้นตามสถานที่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นที่วัดถ้ำขาม, วัดป่าอุดมสมพร อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร ตลอดจนสถานที่อื่น ๆ

    ภายหลังจากหลวงปู่ฝั้น อาจาโร ได้ถึงแก่มรณภาพ และได้รับพระราชทานเพลิงศพแล้ว ท่านก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสสืบแทน ท่านจึงได้ดูแลวัดป่าอุดมสมพรเรื่อยมา

    9b-e0-b9-88-e0-b8-b2-e0-b8-ad-e0-b8-b8-e0-b8-94-e0-b8-a1-e0-b8-aa-e0-b8-a1-e0-b8-9e-e0-b8-a3-jpg.jpg
    หลวงปู่แปลง สุนทโร วัดป่าอุดมสมพร ต.พรรณา อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร
    ลำดับสมณศักดิ์
    ปี พ.ศ.๒๕๒๕ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น “พระครูอุดมธรรมสุนทร”

    ปัจจุบันนี้ หลวงปู่แปลง สุนทโร ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาส และพำนักจำพรรษาที่วัดป่าอุดมสมพร บ้านบะทอง ตำบลพรรณา อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร
    สิริอายุ ๙๐ ปี ๖๘ พรรษา (พ.ศ.๒๕๖๓)

    84-e0-b8-a1-e2-80-8b-e0-b8-88-e0-b8-aa-e0-b8-81-e0-b8-a5-e0-b8-99-e0-b8-84-e0-b8-a3-683x1024-jpg.jpg
    หลวงปู่แปลง สุนทโร วัดป่าอุดมสมพร
    โอวาทธรรม หลวงปู่แปลง สุนทโร

    “..แค่สอนให้รักษา”พุทโธ”คำเดียวยังรักษาบ่ได้ จะให้เทศน์หยังหลายแท้ธรรมะนี่..”

    “..ใจไม่มีโรค เป็นสุขอย่างยิ่ง..”

    “..ถ้าไม่เกิดหมดเรื่อง..”

    “..พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่อยู่ของใจ..”

    “อย่าไปเสริมแต่กาย กายเป็นของเสื่อม ให้เสริมใจ เอาพุทโธ พุทโธ เสริมที่ใจ” SAM_8901.JPG SAM_8902.JPG SAM_8905.JPG SAM_8904.JPG SAM_7605.JPG
     
  13. ผู้ผ่านมา

    ผู้ผ่านมา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มกราคม 2006
    โพสต์:
    164
    ค่าพลัง:
    +140
    ขอบูชาครับ
     
  14. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    ******ปิดรายการนี้ครับ***** รายการที่ 684 เหรียญระฆังหลวงปู่ผ่าน ปัญญาปทีโป พระอรหันต์เจ้าวัดป่าประทีปปุญญาราม อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร หลวงปู่ผ่านเป็นศิษย์หลวงปู่มั่นยุคสุดท้าย องค์พระสร้างปี 2552 สร้างเนื่องหลวงปู่อายุครบ 87 ปี เนื้อทองเเดงรมนํ้าตาล องค์นี้เลี่ยมกันนํ้าอย่างดี มีพระเกศาหลวงปู่มาบูชาด้วยครับ ***********บูชาที่ 445 บาทฟรีส่งemsสส
    ประวัติและปฏิปทา
    หลวงปู่ผ่าน ปัญญาปทีโป
    1574-8459.jpg
    วัดป่าปทีปปุญญาราม
    ต.เซือม อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร


    ๏ อัตโนประวัติ

    หลวงปู่ผ่าน ปัญญาปทีโป มีนามเดิมว่า ผ่าน หัตถสาร เกิดเมื่อวันที่ ๒๑ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๖๕ ตรงกับวันพฤหัสบดี ขึ้น ๔ ค่ำ เดือน ๒ ปีจอ ณ ณ บ้านเซือม ตำบลโพนแพง อำเภอวานานิวาส (ปัจจุบันเป็น บ้านเซือม ตำบลเซือม อำเภออากาศอำนวย) จังหวัดสกลนคร ตอนที่โยมมารดาได้ตั้งท้องหลวงปู่นั้น โยมมารดาได้ฝันว่าได้มีคนเอามีดด้ามงามมาให้ แล้วโยมมารดาก็ได้เอาไปซ่อนเพราะกลัวว่าจะมีคนมาเห็น ครั้นเมื่อคลอดออกมาแล้วก็ปรากฏว่าท่านเป็นเด็กที่เลี้ยงยากมากและร้องไห้ เก่ง โยมมารดาจึงได้พาหลวงปู่ไปให้พระท่านผูกสายสิญจน์ที่ข้อมือให้ จึงได้เลี้ยงง่ายขึ้น ด้วยความที่หลวงปู่เป็นบุตรคนหัวปี ญาติพี่น้องเห็นก็พากันรักใคร่ ผลัดกันเอาไปเลี้ยง ผลัดกันเอาไปอุ้ม หลวงปู่ท่านจึงมีแม่หลายคน เพราะมีคนเอาไปเลี้ยงหลายคน

    โยมบิดาชื่อ ด่าง หัตถสาร โยมมารดาขื่อ จันทร์เพ็ง หัตถสาร ต่อมาภายหลังโยมมารดาของท่านได้บวชเป็นแม่ชีจนกระทั่งได้ถึงแก่กรรม ท่านมีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันทั้งหมด ๑๓ คน มีชื่อเรียงลำดับดังนี้

    (๑) หลวงปู่ผ่าน ปัญญาปทีโป
    (๒) นายบาน หัตถสาร
    (๓) นายบัว หัตถสาร
    (๔) นายบาง หัตถสาร
    (๕) นายคำใบ หัตถสาร
    (๖) นายบุญไทย หัตถสาร
    (๗) นางไสว หัตถสาร
    (๘) นายสีใคร หัตถสาร
    (๙) นางไสแก้ว หัตถสาร
    (๑๐) นางสม หัตถสาร
    (๑๑) นายคำกรม หัตถสาร
    (๑๒) นายอุดม หัตถสาร
    (๑๓) นายนิยม หัตถสาร

    เมื่อ หลวงปู่โตขึ้นก็ได้ช่วยโยมบิดา-มารดาทำไร่ทำนาทำมาหากินตามปกติ หลวงปู่นั้นมีนิสัยเป็นคนเฉยๆ ไม่เป่าปี่ สีซอ เป่าแคนอย่างคนอื่น ไม่เคยเต้นรำวง ไม่กินเหล้าเมาสุรา หลวงปู่ท่านได้เข้าโรงเรียนเมื่ออายุ ๑๐ ขวบ แต่เรียนยังไม่ทันจบ พอดีโยมพ่อเฒ่าสุขตาย ตามประเพณีทางอีสานลูกหลานนิยมบวชให้เพื่อจูงศพเข้าป่าช้า หลวงปู่จึงได้บวชเป็นสามเณรให้โยมพ่อเฒ่าสุข บวชอยู่ประมาณ ๑ เดือนจึงได้ลาสิกขา


    ๏ การบรรพชาและอุปสมบท

    เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๐ อายุ ๑๕ ปี ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดทุ่ง ตำบลอากาศ อำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร โดยมี พระครูวิรุฬห์นวกิจ (ผาง ฐิตสัทโธ) เป็นพระอุปัชฌาย์

    จน กระทั่ง พ.ศ. ๒๔๘๒ ญาติพี่น้องได้เดินทางมาจากบ้านหนองศาลา อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร หลวงปู่จึงได้ติดตามญาติพี่น้องไปอยู่ที่วัดโพธิ์ชัย บ้านเชียงเครือ ซึ่งอยู่ใกล้กับบ้านหนองศาลา ครั้นต่อมาหลวงปู่ได้เล่าเรียนศึกษาพระปริยัติธรรม โดยมีพระภิกษุอน ซึ่งเป็นญาติของท่านเป็นผู้สอน จากนั้นจึงได้ไปสอบที่วัดธาตุศาสดาราม (ปัจจุบันคือวัดพระธาตุเชิงชุมวรวิหาร) ปรากฎว่าสอบผ่านนักธรรมชั้นตรี แล้วกลับไปอยู่ที่วัดโพธิ์ชัยตามเดิม หลวงปู่ได้อยู่ที่วัดโพธิ์ชัยอยู่หลายเดือน และก็ได้เดินทางมาอยู่ที่วัดศรีบุญชู บ้านเซือม

    ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๓ เพื่อนที่บวชด้วยกันชวนท่านสึก ท่านได้ปฏิเสธ แต่เพื่อนบอกให้สึกด้วยกัน ท่านจึงจำใจสึกออกมาช่วยงานโยมบิดา-มารดาอยู่ถึง ๒ ปี

    เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๕ อายุ ๒๐ ปีบริบูรณ์ พ่อใหญ่ป้อง เศรษฐาไชย เป็นพ่อเลี้ยงของหลวงปู่ได้ตายลง ญาติพี่น้องจะทำบุญอุทิศให้ตามประเพณี เมื่อทำบุญอุทิศให้ผู้ตายมักนิยมเรียกกันว่า “กองอัฎฐะ” หรือ “กองบุญ” ถ้าหากมีคนบวชในงานนี้ด้วยจะเรียกว่า “กองบวช” เนื่องทางลูกชายของพ่อใหญ่ป้องไม่สามารถบวชให้พ่อได้ ญาติพี่น้องจึงมาขอให้หลวงปู่ให้บวชพระในครั้งนี้ พอดีวันนั้นจิตใจของหลวงปู่รู้สึกหงุดหงิดอย่างไม่ทราบสาเหตุ เมื่อญาติพี่น้องมาขออย่างนั้น จิตใจปิติยินดีในทันทีเพราะท่านอยากบวชอยู่นานแล้ว ท่านจึงได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุฝ่ายมหานิกาย ณ พัทธสีมาวัดทุ่ง จังหวัดสกลนคร แห่งเดิม โดยมี พระครูวิรุฬห์นวกิจ (ผาง ฐิตสัทโธ) เป็นพระอุปัชฌาย์ และ พระมาก เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้รับนามฉายาว่า “เฉโก”

    หลัง บวชแล้วได้ไปอยู่ที่วัดศรีบุญชู บ้านเชือม เมื่อบวชได้ ๒-๓ วัน ตอนกลางคืนปรากกว่าพ่อใหญ่ป้อง เศรษฐาไชย เดินมาหา ถามว่ามีเทียนใช้แล้วหรือยัง หลวงปู่จึงตอบว่ามีใช้แล้ว พ่อใหญ่ป้องจึงเดินออกไป เมื่อบวชแล้วได้เรียนนักธรรมโท โดยอ่านหนังสือเอง เมื่อไปสอบก็ได้สอบ จนถึงปี พ.ศ. ๒๔๘๖ เรียนนักธรรมเอก โดยอ่านหนังสือไปสอบเอง แต่คราวนี้สอบตกจึงไม่ได้ไปสอบอีก

    ในปีนี้ วันหนึ่งพระเณรทั้งวัดได้เข้าไปในป่าหาไม้มาสร้างกุฏิ ถึงเวลาเพลชาวบ้านก็ยังไม่ได้เอาอาหารมาถวาย จนบ่ายเขาจึงได้เอามาถวาย พระเณรก็ฉันกันทุกรูปยกเว้นหลวงปู่กับเจ้าอาวาส แม้จะเหนื่อยและหิวก็ไม่ฉัน หลวงปู่ได้เห็นความประพฤติอันย่อหย่นจากพระวินัยของพระเณร แล้วรู้สึกเบื่อมาก ซึ่งการขุดดิน ตัดไม้ ดายหญ้า รับเงินรับทองเป็นเรื่องปกติที่พระเณรทำกัน แต่หลวงปู่ไม่ทำเพราะท่านตั้งใจรักษาพระวินัยตามคำสอนของพระพุทธเจ้า ท่านจึงตั้งจิตอธิฐานว่า “จะบวชเป็นพระกรรมฐานเที่ยวธุดงค์ตามป่าเขาตามหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต”


    ๏ ญัตติเป็นธรรมยุต

    ในปี พ.ศ. ๒๔๘๙ หลวงปู่ได้มากราบนมัสการ พระครูบริบาลสังฆกิจ (หลวงปู่อุ่น อุตฺตโม) ที่วัดอุดมรัตนาราม บ้านอากาศ ซึ่งอยู่ห่างจากบ้านเชือมเพียงแค่ ๒-๓ กิโลเมตร หลวงปู่อุ่น อุตฺตโม ท่านเป็นศิษย์ของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต หลวงปู่จึงได้กราบเรียนกับท่านว่า “อยากจะบวชเป็นพระกรรมฐาน” ท่านจึงแนะนำให้สึกก่อนแล้วค่อยบวชใหม่ เมื่อกลับมาถึงวัดศรีบุญชูได้เข้าไปกราบลาพระอุปัฌชาย์ขอลาสิกขา ท่านก็อนุญาต อาจกล่าวได้กล่าวว่าท่านบวชได้ ๕ พรรษาแล้วสึกก็ได้ ส่วนพระภิกษุอีกรูปหนึ่งก็เข้าไปกราบลาพร้อมกัน พระอุปัฌชาย์ท่านคัดค้าน เพราะยังพรรษาน้อยเพียง ๒ พรรษา หลวงปู่จึงได้ลาสิกขารูปเดียว

    หลวง ปู่ได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ฝ่ายธรรมยุติกนิกาย โดยเริ่มจากการไปหัดขานนาคอยู่กับหลวงปู่อุ่น อุตฺตโม ที่วัดอุดมรัตนาราม หัดขานนาคอยู่ด้วยกันหลายคน หลวงปู่ท่านหัดอยู่ได้ประมาณ ๓ เดือน จึงถูกต้องตามอักขรฐานกรณ์ของภาษาบาลีทุกอย่าง เมื่อหลวงปู่ขานนาคได้แล้ว ซึ่งเป็นช่วงวันที่ ๑๗-๑๘ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๙ จึงได้เดินทางโดยรถยนต์ไปกับหมู่นาคที่จะบวชพร้อมกัน โดยจะไปบวชกับ ท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ (จูม พันธุโล) วัดโพธิ์สมภรณ์ ตำบลหมากแข้ง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี

    แต่ หลวงปู่ท่านได้ไปร่วมงานถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอา นันทมหิดล รัชกาลที่ ๘ พระอุปัฌชาย์องค์อื่นๆ ก็ไปกันหมด หมู่นาคที่จะบวชจึงพากันเดินทางไปวัดจอมศรี ตำบลพันดอน อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี ซึ่งเมื่อไปถึงวันนั้นก็ได้บวชเลย โดยบวชเป็นพระ ๓ รูป และบวชเป็นเณร ๕ รูป ในวันอาทิตย์ที่ ๑๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๙๐ ตรงกับวันขึ้น ๑๓ ค่ำ เดือนยี่ ปีจอ โดยมี พระครูพิทักษ์คณานุการ (หลวงปู่สี ธัมมทินโน) เป็นพระอุปัชฌาย์ และ พระสมุห์ภา เป็นพระกรรมวาจาจารย์ สำเร็จเมื่อเวลา ๑๓.๕๒ น. ได้รับนามฉายาว่า “ปัญญาปทีโป” แล้วท่านก็ได้กลับมาอยู่กับหลวงปู่อุ่น อุตฺตโม ที่อุดมรัตนาราม จนกระทั่งเข้าพรรษา



    ๏ ลำดับการจำพรรษา

    • พรรษาที่ ๑ พ.ศ. ๒๔๙๐ •

    หลวง ปู่ได้จำพรรษาอยู่กับหลวงปู่อุ่น อุตฺตโม หลวงปู่ผ่านได้เรียนการนั่งสมาธิ เดินจงกรม ตลอดจนเรียนด้านพระปริยัติธรรมด้วย ระหว่างที่อยู่ที่วัดอุดมรัตนารามนั้น หลวงปู่อุ่น อุตฺตโม ได้พาหลวงปู่ไปกราบนมัสการ ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ที่วัดป่าบ้านหนองผือ (วัดป่าภูริทัตตถิราวาส) อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร ซึ่งตั้งอยู่กลางหุบเขา ต้องฝ่าป่าดงเทือกเขาภูพานเข้าไปจึงจะถึง ได้ไปอยู่ ๒-๓ ครั้ง เมื่อออกพรรษาปลายปี พ.ศ. ๒๔๙๐ หลวงปู่ผ่านได้พาสามเณรรูปหนึ่งไปกราบนมัสการท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ที่วัดป่าบ้านหนองผือ (วัดป่าภูริทัตตถิราวาส) พอถึงวัดดอยบ้านนาเชือกซึ่งเป็นวัดร้างเป็นเวลาค่ำจึงไดพักที่นั้น พักกันคนละกุฏิ พอตกกลางคืนเณรมาหาบอกว่า “ผมอยู่ไม่ได้ ผมกลัว ไม่รู่ว่าเสียงอะไรมันดังตุ้บตั้บๆ” หลวงปู่จึงได้ออกไปดูปรากฏว่าเป็นค้างคาว ตกลงเณรเลยขอมานอนด้วย พอสว่างได้ไปบิณฑบาตที่บ้านนาเชือก กลับมาฉันแล้วก็ได้เดินทางไปที่วัดป่าบ้านหนองผือ (วัดป่าภูริทัตตถิราวาส) พอไปถึงก็ได้ไปกราบนมัสการท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ท่านได้พูดว่า “ท่านผ่านมากับเณรน้อยแท้ มันไข้ได๋” (หมายความว่า พาสามเณรอายุน้อยมาด้วย สามเณรจะเป็นไข้ป่าได้ง่าย) หลวงปู่จึงได้ตอบว่า “ครับผม ไม่มีคนมา กระผมจึงมากับเณรน้อย”

    เวลา เย็นก็พากันไปสรงน้ำท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต หลวงปู่เป็นพระผู้น้อยเพียง ๑ พรรษาจึงได้ถูหลังเท้า รูปอื่นก็ได้ถูแข้ง ถูขา ถูแขน หลวงปู่บอกว่า “เท้าของหลวงปู่มั่นนิ่มมากๆ ถึงแม้ว่าจะเดินธุดงค์มาตลอดแต่เท้ากลับนิ่ม” ซึ่งตรงกับที่หลวงปู่หลุย จันทสาโร เคยบอกไว้ว่า “เท้าท่านพระอาจารย์มั่นนิ่ม ท่านเป็นผู้มีบุญมาก เราคนเท้าแข็งเป็นคนบาป” ในครั้งนั้นมีพระเณรพำนักจำพรรษากับหลวงปู่มั่น ประมาณ ๒๐ รูป อาทิเช่น พระ อาจารย์มหาบัว ญาณสัมปันโน, พระอาจารย์วัน อุตฺตโม, พระอาจารย์อ่อนสา สุขกาโร วัดประชาชุมพลพัฒนาราม จังหวัดอุดรธานี, พระอาจารย์หลุย จันทสาโร, พระอาจารย์คำพอง ติสฺโส, พระอาจารย์หล้า เขมปัตโต, สามเณรบุญเพ็ง จันใด (หลวงปู่บุญเพ็ง เขมาภิรโต) เป็นต้น

    วันนั้นสรงน้ำเสร็จ พระอาจารย์มั่นบอกว่า “ท่านผ่านไปฉันน้ำอ้อยสดเด้อ ชาวบ้านเขาเอามาถวาย” หลวงปู่ก็คิดในใจว่า “เราจะไม่ฉันหรอกมันหนักท้อง” ท่านพระอาจารย์มั่นก็พูดซ้ำอีกว่า “ไปฉันน้ำอ้อยเด้อ” หลวงปู่ก็คิดในใจว่าจะไม่ไปฉัน เสร็จแล้วจะไปภาวนาต่อ ถึงตอนค่ำก็มารวมกันที่กุฏิท่านพระอาจารย์มั่นเพื่อรับการอบรม ซึ่งแต่ละครั้งจะนานถึง ๓-๔ ชั่วโมง แต่หลายวันจึงจะได้มีการประชุมสักครั้งหนึ่ง

    • พรรษาที่ ๒-๓ พ.ศ. ๒๔๙๑-๒๔๙๒ •

    หลวงปู่ได้จำพรรษาอยู่กับ หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ ที่วัดป่าบ้านหนองโดก อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร และยังมี พระอาจารย์เพียร วิริโย วัดป่าหนองกอง อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี พระอาจารย์บุญมี ปริปุณโณ วัดป่าบ้านนาคูณ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี พระอาจารย์บุญหนา ธัมมทินโน กับเณร ๒-๓ รูป เมื่อออกพรรษาแล้วหลวงปู่ได้กราบลาหลวงปู่อ่อน ญาณสิริ มาอยู่ที่วัดป่าม่วงไข่ กับท่านอาจารย์สิงห์ (คนละองค์กับพระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม) ท่านได้สั่งให้ท่องปาติโมกข์ท่องอยู่ประมาณ ๑ เดือนก็ยังท่องไม่ได้ หลวงปู่ก็เลยคิดว่าจำทำอย่างไรดี ที่นี้เวลาภาวนาท่านเลยท่องแต่ปาติโมกข์นั้นจนเกือบ ๓ เดือน จึงท่องได้สำเร็จ

    ช่วงที่หลวงปู่ผ่านอยู่ที่บ้านหนองโดก วันหนึ่งพอออกจากสมาธิท่านได้เห็นบุ้งคีบตัวเล็กๆ คลานอยู่ จึงได้สงสัยว่า “บุ้งตัวเล็กๆ นี้จิตมันใหญ่ไหม ช้างตัวใหญ่ๆ จิตมันเล็กไหม หรือว่าเท่ากัน” พอออกพรรษาแล้วได้เข้ามาอยู่กับท่านพระอาจารย์มั่นที่วัดป่าบ้านหนองผือ (วัดป่าภูริทัตตถิราวาส) อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร ท่านได้เทศน์ให้ฟังตอนหนึ่งท่านว่า “บุ้งตัวน้อยๆ ช้างตัวใหญ่ๆ จิตมันก็เท่ากันนั้นแหละ” หลวงปู่จึงหายสงสัย เกิดความอัศจรรย์ใจและเกรงกลัวท่านพระอาจารย์มั่นมาก ไม่คิดไปนอกทางเกรงว่าท่านจะดุ

    ปี พ.ศ. ๒๔๙๒ หลวงปู่ได้กลับมาจำพรรษาที่วัดป่าบ้านหนองโดก ร่วมกับพระอาจารย์เพียร วิริโย พระอาจารย์บุญมี ปริปุณโณ อีกครั้ง โดยมีพระอาจารย์สิงห์ เป็นหัวหน้า ส่วนหลวงปู่อ่อน ญาณสิริ และพระอาจารย์บุญหนา ธัมมทินโน ย้ายไปจำพรรษาที่วัดป่าม่วงไข่แทน พออกพรรษาแล้วก็ยังพักอยู่ที่นั้น พอดีท่านพระอาจารย์มั่นอาพาธ และได้มาพักอยู่วัดป่าบ้านกลางโนนภู่ ระหว่างนี้หลวงปู่ผ่านได้เข้าไปพยาบาลทุกวันเพราะวัดอยู่ไม่ไกลกัน

    ใน ช่วงหลายวันมีรถรับไปจังหวัดสกลนคร ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ได้มรณภาพที่วัดป่าสุทธวาส หลวงปู่ผ่านในฐานะลูกศิษย์องค์หนึ่งจึงเข้าไปอยู่ที่วัดป่าสุทธวาส เพื่อช่วยงานถวายครูบาอาจารย์เป็นครั้งสุดท้าย ครั้งนั้นบรรดาลูกศิษย์ท่านพระอาจารย์มั่นได้เดินทางมาจากทุกสารทิศเพื่อมา ร่วมงาน มีแต่พระเณรเต็มวัด ญาติโยมยังไม่มากนัก ยังไม่ตื่นพระกรรมฐานเหมือนทุกวันนี้ ก่อนหน้าที่จะอยู่วัดป่าสุทธาวาส ท่านได้ไปพักอยู่ที่วัดป่าภูธรพิทักษ์ บ้านธาตุนาเวง กับ หลวงปู่ฝั้น อาจาโร ท่านเทศน์อบรมทุกวัน เทศน์เรื่อง “การทำจิตให้มีสมรรถภาพ” โดยท่านอธิบายว่า “ให้เพ่งร่างกาย (กายคตาสติ เพ่งให้ติดตา เมื่อติดตาแล้วให้แยกออกเป็นส่วนๆ แล้วปลงลงเพ่งจนชำนาญสามารถทำได้รวดเร็ว)” ท่านสอนเรื่องนี้ทำให้หลวงปู่ติดใจมาก เป็นเหตุให้การภาวนาต่อมาหลวงปู่พยายามจะเพ่งร่างกายนี้อยู่เสมอ ส่วนหลวงปู่ฝั้นก็ทำเช่นกันจนมีความชำนาญ ท่านมีกำลังจิตที่กล้าแข็งมากเป็นที่ยอมรับในหมู่พระกรรมฐาน ครั้นเสร็จงานประชุมเพลิงศพท่านพระอาจารย์มั่นแล้ว ช่วงเดือนมีนาคม ปี พ.ศ. ๒๔๙๓ ท่านติดตามหลวงปู่ฝั้น อาจาโร ไปวัดป่าบ้านท่าควาย อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม ครั้งนั้นมีพระอาจารย์คำพอง ติสฺโส หลวงตาจรัส และสามเณร ร่วมเดินทางไปด้วย

    หลวงปู่ฝั้นท่านพาเดินทางไปที่วัดดอยธรรมเจดีย์ของ พระอาจารย์กงมา จิรปุญโญ อยู่ ๒ คืน จากนั้นโยมเอารถมารับไปพักที่วัดป่าบ้านท่าควาย เมื่อไปอยู่วัดป่าบ้านท่าควาย หลวงปู่ฝั้นกำลังเร่งความเพียร วันหนึ่งๆ จะฉันนมเพียง ๑ แก้ว พระเณรที่ตามไปด้วยรวมทั้งหลวงปู่ผ่าน จึงพากันฉันวันเว้นวันบ้าง หลายวันต่อมาหลวงปู่ฝั้นพาเทศน์พระเวส (งานบุญพระเวส) มีเทศน์ทำบุญอย่างเดียว ไม่ได้จัดแต่งดอกบัว ดอกผักตบอย่างละ ๑,๐๐๐ ตามที่อื่นเขาทำกัน เป็นเหตุให้พวกชาวบ้านท่าควายไม่กล้ามางาน เพราะกลัวว่าทำไม่ถูกวิธีแล้วจะมีลมพญามารใหญ่พัดมา มีญาติโยมมีศรัทธาเลื่อมใสมานิดหน่อย ท่านก็เทศน์จบแล้วทุกอย่าง ไม่มีลมใหญ่อะไร ต่อมาไม่นานทางวัดที่หมู่บ้านเขาจัดบ้าง หลวงปู่ผ่านได้ไปด้วย ปรากฏตอนบ่ายมีลมพายุพัดทำลายข้าวของในงาน และกระท่อมเสียหายหมด หลวงปู่ว่าด้วยนี้เป็นกำลังจิตของหลวงปู่ฝั้น จึงไม่มีอะไรรบกวน

    เมื่ออยู่บ้านท่าควายหลายวันแล้ว วันหนึ่งไปบิณฑบาตพอไปถึงสุดทางบิณฑบาต หลวงปู่ฝั้นท่านได้หยุดยืนแล้วพูดว่า “นั่นๆ ท่านผ่าน ที่จะไปภาวนา” ที่นั้นคือภูกระแต บ้านไผ่ล้อม ๒-๓ วันต่อมาหลวงปู่ฝั้นจึงพาเดินไปประมาณ ๕ กิโลเมตรจนกระทั่งถึงภูกระแต แล้วจึงแยกย้ายกันไปพำนักบำเพ็ญภาวนา ที่นี่เป็นสถานที่สัปปายะ มีสัตว์ป่ามากมาย มีแอ่งน้ำซับซึ่งผุดออกมาจากดิน อยู่ที่ตีนเขา พอรุ่งเช้ามีชาวบ้านมาเล่าถวายว่า “เมื่อคืนฝันเห็นพวกภูตผีปีศาจบนภูเขาพากันแตกตื่นย้ายครอบครัวหนี บอกว่าเจ้านายมา” หลวงปู่ฝั้นอยู่ที่นี้ได้ ๒ เดือน ท่านก็ได้เดินทางไปภูวัวต่อ ส่วนหลวงปู่กับหลวงตาจรัสไปอยู่ที่วัดป่าบ้านท่าควาย

    • พรรษาที่ ๔ พ.ศ. ๒๔๙๓
    วัดป่าบ้านขามเฒ่า อ.เมือง จ.นครพนม •

    ต่อ มาหลวงตาจรัสชวนไปภาวนาอยู่บ้านขามเฒ่า อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม และได้จำพรรษาที่นี่ เมื่อแรกไปอยู่ปรากฏว่ามีพระมหานิกายมาไล่ ไม่ยอมให้พระกรรมฐานมาอยู่ด้วย หลวงปู่ได้ตอบพระมหานิกายที่มาไล่นั้นว่า เราต่างมาบวชเพื่อจะไปพระนิพพานเหมือนกัน เหมือนกับการแจวเรือถ้าต่างคนต่างแจวก็ถึงที่หมาย ถ้าขัดกันกลางทางเรือก็ล่ม ผู้ที่เข้ามาบวชเพราะเรื่องลาภยศทำไม เรื่องจึงสงบไป

    พรรษานี้มีพระ ๓ องค์ เณร ๑ องค์ คือ หลวงปู่ผ่าน, หลวงตาจรัส, หลวงตาหมอก และเณรภูบาล ทุกคนตั้งใจบำเพ็ญภาวนา วัดนี้เคยมีพระกรรมฐานมาพักอยู่ กำนันพรหมผู้เป็นหัวหน้าญาติโยม เป็นคนมีศรัทธาชักชวนชาวบ้านเข้าวัดฟังธรรม นั่งภาวนา มีญาติโยมบ้านขามเฒ่ามาหัดทำสมาธิเป็นชาย ๑๐ กว่าคน ส่วนโยมผู้หญิงน้อยกว่าผู้ชาย วัดนี้อยู่ริมแม่น้ำโขงมีกุฏิเล็กๆ สามารถย้ายได้ อยากไปอยู่มุมไหนก็ย้ายกุฏิไป การภาวนาอยู่บ้านขามเฒ่านี้ภาวนาดี จิตรวมทุกวัน เวลาจิตจะรวมบางทีกุฏิลั่นดังปึ๊บ แล้วจิตก็รวมลง หมดกำลังก็ถอยออกมา การเทศน์อบรมชาวบ้านหลวงปู่ก็เทศน์ไปตามที่ภาวนาได้ ได้แค่ไหนก็เทศน์แค่นั้น จะเทศน์สูงกว่าไม่ได้เพราะพรรษายังน้อย

    อยู่ ที่นี่จะมีโยมผู้หญิงมาคอยตักน้ำให้สรง และมาคุยทุกวันๆ แต่หลวงปู่ท่านไม่เคยหวั่นไหวในมาตุคาม เพราะท่านได้อธิฐานว่าจะไม่สึกตลอดชีวิต จิตใจจึงมั่นคง โยมนั้นก็เลิกไปเอง ครั้งหนึ่งมีโยมคนหนึ่งมาขออยู่ด้วยเพราะเขาได้ยินเสียงในหูว่า “กูจะมาฆ่ามึงๆๆๆ” เลยกลัวผีมาก นี่เป็นกรรมของโยมคนนั้น ถ้าอยู่วัดแล้วจะไม่ได้ยินแต่ถ้าอยู่ที่อื่นจะได้ยินตลอดเวลา วันนั้นท่านภาวนาแล้วเห็นผู้หญิงนั่งอยู่บนพื้นดินมีผมแหลมๆ ยาวถึงแขน หน้าเหลือง ตอนแรกท่านนึกว่าเป็นผีมาหาโยมคนนี้ แต่ความจริงแล้วเป็นเพียงนิมิตรอันเกิดจากท่านเพ่งอสุภะเท่านั้น

    หลัง จากออกพรรษาแล้ว หลวงตาจรัสยังอยู่บ้านขามเฒ่า ส่วนหลวงปู่ผ่านโดยสารทางเรือไปอำเภอบ้านแพง อำเภอนครพนม ไปพักวัดเนินคนึงอยู่หลายวัน แล้วไปอยู่กับพระมหาสุด ที่บ้านบะปะทายซึ่งอยู่ใกล้กับภูลังกา พระมหาสุดท่านเป็นคนบ้านหัววัว จังหวัดอุบลราชธานี วันหนึ่งมีลมพายุใหญ่พัดมาเสียงดังอื้ออึง หลวงปู่ท่านขึ้นกุฏิ นั่งสมาธิอธิษฐานจิตว่า “ถ้ามันจะตายให้มันตาย” แล้วปล่อยวางหมด ปรากฏว่าได้ยินเสียงลมพัดมาแล้วเว้นวัดไป ข้ามไปทางอำเภอบ้านแพง ไม้ยางล้มเสียงดังหลายวัน

    ต่อ มาท่านได้เข้าไปอำเภอบ้านแพง เห็นศาลาเล็กๆ กระต๊อบพังหมด แต่ที่วัดป่าบะปะทายไม่เป็นอะไรเลย ต่อมาหลวงปู่เดินทางไปบึงโขงหลง แล้วไปพักอยู่ที่บ้านโสกก่าม ๗-๘ วัน จากนั้นธุดงค์ขึ้นภูวัว โดยไปพักอยู่ที่ถ่ำแอ่น (ที่ถ่ำแอ่นแห่งนี้ภายหลังเมื่อหลวงปู่มาอยู่ที่วัดป่าปทีปปุญญารามแล้ว ได้นิมิตเห็นควายเดินออกมาจากถ่ำแอ่น ท่านจึงกำหนดจิตถามว่า ทำไมจึงมีควายออกมา ก็เกิดความรู้ขึ้นมาว่า อดีตชาติท่านเคยเกิดเป็นควายและอยู่ที่ถ่ำแอ่นนี้) หลวงปู่ท่านอยู่องค์เดียว พอตอนเย็นเห็นพวกมดดำเดินอยู่ ท่านก็คิดว่าเรามีเพื่อนแล้ว ไม่ได้อยู่องค์เดียว ท่านคิดขำๆ ไปอย่างนั้น เช้ามาโยมที่ไปด้วยทำอาหารถวาย เพราะอยู่ที่นี่บิณฑบาตไม่ได้ อาศัยโยมบ้านดอนเสียด ๖-๗ วันก็ขึ้นมาเอาอาหารแห้ง ปลาแห้ง ตัดยอดบุก ยอดหวาย มาถวายพระ

    ต่อมา พระอาจารย์สุภาพ ธัมมปัญโญ จากวัดทุ่งสว่าง อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร พาพระมาพักอยู่ด้วย หลวงปู่ภาวนาอยู่ที่นั่นปรากฏจิตใจมีความดีอกดีใจ มีปีติมากที่ได้ขึ้นไปอยู่บนภูเขาเพราะจิตอยากไปมานานตั้งแต่ก่อนบวช เพิ่งจะได้มาเป็นครั้งแรก ตอนนั้นทั้งเสือ ช้าง หมี มีชุกชุมมาก แต่หลวงปู่ท่านไม่กลัว ภาวนาดีมาก จิตรวมเป็นปรกติ อยู่ที่นั่นประมาณ ๑ เดือนก็ลงมาพักอยู่บ้านโสกก่าม แล้วมาพักที่บึงโขงหลง ซึ่งเป็นเกาะอยู่กลางน้ำ สายๆ ราว ๘ โมงเช้า ญาติโยมชาวบ้านเอาเรือมารับไปบิณฑบาต อยู่ที่นี่หลายวันจึงมาอยู่ที่บ้านโพธิ์หมากแข้ง ต่อมาได้เดินทางไปอยู่ศึกษาธรรมกับ ท่านพระอาจารย์สีลา อิสฺสโร ที่วัดอิสระธรรม บ้านวาใหญ่ อำเภอวานรนิวาส (ปัจจุบันเป็นอำเภออากาศอำนวย) จังหวัดสกลนคร

    พระอาจารย์สีลา อิสฺสโร เกิดในปี พ.ศ. ๒๔๒๙ ที่บ้านวาใหญ่ อำเภอวานรนิวาส (ปัจจุบันเป็นอำเภออากาศอำนวย) จังหวัดสกลนคร ท่านออกบวชเนื่องจากสูญเสียบุตรและภรรยาจากการคลอด ท่านมีทุกข์หนักจึงออกบวชที่วัดโพธิ์ชัย บ้านวาใหญ่ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๒ ท่านบวชอยู่นานจนเกือบได้เป็นพระอุปัชฌาย์ และมีลูกศิษย์ลูกหาจำนวนมาก กระทั่งปี พ.ศ. ๒๔๖๙ ท่านพระอาจารย์เกิ่ง อธิมุตฺตโก สหธรรมมิกที่ใกล้ชิด ได้ไปฟังเทศน์พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ด้วยกันที่เสนาสนะป่าบ้านหนองลาด อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร ท่านและพระอาจารย์เกิ่งเกิดความเลื่อมใสมากจึงเข้ามอบตัวเป็นศิษย์ และนิมนต์พระอาจารย์มั่นมาบ้านสามผง อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม และท่านตกลงขอญัตติเป็นธรรมยุติกนิกายพร้อมกับพระอาจารย์เกิ่ง โดยมี พระธรรมเจดีย์ (จูม พันธุโล) เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม เป็นพระกรรมวาจาจารย์, พระอาจาย์มหาปิ่น ปัญญาพโล เป็นพระอนุสาวนาจารย์ และมีพระอาจารย์มั่นนั่งหัตถบาสร่วมด้วย เมื่อวันที่ ๒๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๖๙ ที่โบสถ์น้ำกลางหนองสามผง บ้านสามผง แล้วปีนั้นท่านจำพรรษาร่วมกับพระอาจารย์มั่นที่บ้านสามผงนั้น จนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๔๗๓ ท่านจึงมาตั้ง “วัดอิสระธรรม” ขึ้นที่บ้านวาใหญ่ และอยู่จำพรรษาเรื่อยมา พระอาจารย์สีลามรณภาพเมื่อวันที่ ๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๑๐ สิริรวมอายุได้ ๘๑ ปี พรรษา ๔๑

    ในปี พ.ศ. ๒๔๙๔ ท่านพระอาจารย์สมชาย ฐิตวิริโย แห่งวัดเขาสุกิม อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี ได้มาจำพรรษาอยู่ด้วย ในปี พ.ศ. ๒๕๐๐ หลวงปู่ท่านได้รับเลือกให้เป็นพระอุปัชฌาย์ในการอุปสมบทหมู่ ๒,๕๐๐ รูป เพื่อฉลอง ๒๕ ปีพุทธศตวรรษหรือกึ่งพุทธกาล ครั้งนั้นมีพระอุปัชฌาย์เพียง ๔ รูปเท่านั้น คือ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (จวน อุฏฐายี), พระธรรมดิลก (ทองดำ จันทูปโม), พระสุธรรมคณาจารย์ (หลวงปู่แดง ธมฺมรกฺขิโต) และ หลวงปู่ผ่าน ปัญญาปทีโป

    จาก นั้นท่านกลับมาอยู่กับหลวงปู่อุ่น อุตฺตโม อีก ไม่นานท่านก็ไปอยู่บ้านกุดเรือ หลวงปู่อุ่นท่านส่งคนมาตามกลับแต่ท่านไม่กลับ และได้เดินทางไปอยู่บ้านอุ่มเหม้า อำเภอพังโคน

    • พรรษาที่ ๕ พ.ศ. ๒๔๙๔
    วัดป่าบ้านอุ่มเหม้า อ.พังโคน จ.สกลนคร •

    ปี พ.ศ. ๒๔๙๔ หลวงปู่จำพรรษาที่บ้านอุ่มเหม้า อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร โดยมี พระอาจารย์แตงอ่อน กัลยาณธัมโม เป็นประธานสงฆ์ (ท่านเป็นศิษย์ของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต องค์หนึ่ง ปัจจุบันท่านอยู่ที่วัดป่าโชคไพศาลหรือวัดกัลยาณธัมโม บ้านหนองนาหาร อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร ท่านอายุเท่ากับหลวงปู่ผ่าน) นอกจากนี้ ยังมีพระคำพันธ์ซึ่งเป็นชาวบ้านอุ่มเหม้า และองค์อื่นๆ อีกหลายองค์จำพรรษาร่วมกัน

    หลวงปู่ท่านเร่งความเพียรมาก เดินจงกรมจนเหนื่อยก็ยังไม่ยอมหยุด โดยเอาพระจันทร์เป็นนาฬิกา แต่ทางด้านจิตนั้นจิตก็รวมเป็นสมาธิ มีความเอิบอิ่ม มีปีติอยู่เป็นธรรมดา พรรษากาลนี้ท่านถือธุดงวัตรครุปัจฉาคะทีกังคะธุดงค์ คือไม่รับอาหารที่โยมนำมาถวายอีก ฉันเฉพาะอาหารที่บิณฑบาตได้มาเท่านั้น หมากก็ไม่ฉัน บุหรี่ก็ไม่สูบ นอกจากนี้ บ่าของหลวงปู่ท่านลอกตลอดทั้งพรรษาเนื่องจากสะพายบาตรเดินมาก เมื่อครั้งลงมาจากภูวัว ตอนเย็นไม่ได้ทำวัตรสวดมนต์ร่วมกัน ต่างคนต่างภาวนา ร่วมกันทำวัตรเฉพาะวันพระ

    วันหนึ่งมีลมใหญ่พัดมา หลวงปู่ท่านขึ้นกุฏิ นั่งสมาธิอธิฐานจิตว่า “แล้วแต่พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ จะรักษา” แล้วเข้าสมาธิ หลวงปู่นั่งอยู่ทางทิศตะวันออกของวัด ส่วนลมมาทางทิศตะวันตก ปรากฏว่าลมพัดเข้าไปในหมู่บ้าน ทำให้ต้นหมาก ต้นมะพร้าวหักโค่นลง ส่วนวัดไม่เป็นอะไร ตอนเช้าขึ้นมาญาติโยมชาวบ้านเขาเลยเอามาถวายพระ ตลอดพรรษากาลนี้ เวลาลงอุโบสถฟังปาติโมกข์ต้องไปลงที่วัดป่าศรีจำปาชนบท อำเภอพังโคน กับ หลวงปู่คำ ยสกุลปุตฺโต โดยพากันเดินลัดทุ่งนาไป

    หลวงปู่คำ ยสกุลปุตฺโต ท่านเกิดเมื่อวันที่ ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๔๒๔ ท่านได้ศึกษาภาวนากับพระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม และพระอาจารย์มหาปิ่น ปัญญาพโล ซึ่งธุดงค์มาตั้งวัดป่าบ้านปลาโหลเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๓ ท่านได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุเมื่อวันที่ ๑๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๙ เวลา ๑๕.๓๓ น. ณ วัดโพธิสมภรณ์ จังหวัดอุดรธานี โดยมีพระธรรมเจดีย์ (จูม พันธุโล) เป็นพระอุปัชฌาย์, พระครูสาสนูปกรณ์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระครูประสาทคณานุกิจ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ เมื่อท่านอายุได้ ๕๔ ปี จากนั้นท่านไปศึกษาอยู่กับ ท่านพระอาจารย์วัง ฐิติสาโร ต่อมาไปศึกษากับท่านพระอาจารย์เสาร์ กันตสีโล และท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต เมื่อท่านทั้งสองมรณภาพแล้ว ก็ได้ไปศึกษากับ พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร และท่านได้มาอยู่ที่วัดป่าศรีจำปาชนบท จนกระทั่งมรณภาพเมื่อวันที่ ๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๐ เวลา ๑๐.๑๕ น. ด้วยโรคชราภาพ สิริรวมอายุได้ ๙๖ ปี พรรษา ๔๑ เมื่อฌาปนกิจศพแล้วปรากฏว่าอัฐิของท่านแปรเป็นพระธาตุมากมาย

    เมื่อออกพรรษาแล้ว ภรรยาของกำนันพรหม บ้านขามเฒ่า มานิมนต์หลวงปู่ให้ไปอยู่บ้านขามเฒ่าอีก

    • พรรษาที่ ๖ พ.ศ. ๒๔๙๕
    วัดป่าบ้านขามเฒ่า อ.เมือง จ.นครพนม •

    ปีนี้จำพรรษากับ พระอาจารย์คำ (บ้านเดิมท่านอยู่ที่บ้านเศรษฐี อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี ท่านเคยมาปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่มั่นด้วย) และ พระอาจารย์ปั่น ปัญญาวโร ซึ่งเพิ่งจะบวชในปีนั้น (ภายหลังท่านมาอยู่ที่วัดป่าบ้านคำตานา ตำบลตาลโกน อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร ปัจจุบันมรณภาพแล้ว) คราวที่อยู่บ้านหนองโดก ภาวนาเกิดคำว่า “นโม ข่ายเย็น ข่ายร้อน” นั้นจิตสว่างเห็นทางภายนอก เห็นต้นไม้ เห็นภูเขา เห็นคนนั้นคนนี้ แต่เห็นได้ไม่นาน สักพักแล้วก็ดับไป เป็นอย่างนี้ทุกครั้ง

    คราวนี้ มาอยู่บ้านขามเฒ่า อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม จึงพยายามจะให้เห็นร่างกายภายใน เพราะฟังครูบาอาจารย์มา ให้น้อมเข้าไปภายใน ลอกหนังออก เข้าไปถึงเอ็น แล้วเข้าไปกระดูก หลวงปู่ท่านก็พยายามเพ่งเข้าไปภายใน โดยการนึกเอาว่ากระดูก เอ็น เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ แต่ก็ยังไม่เห็นเลยเปลี่ยนเอากระดูกหลังเพียง ๓ ท่อนมาเพ่ง แทนที่จะเพ่งทั้งร่าง ท่านค่อยๆ ทำให้สติกับปัญญามีความสมดุลกัน เพ่งอยู่ไม่นานปรากฏว่าจิตรวม เกิดแสงสว่างจ้าอยู่กลางอก ไม่เห็นกระดูกเลย แต่เห็นไส้พุงทั้งเขียวทั้งดำ จิตใจเกิดความปีติ อัศจรรย์ว่าตั้งแต่บวชมาเพิ่งจะเห็นเป็นครั้งแรก จากนั้นท่านก็เพ่งจนติดตา ตื่นเช้ามาท่านว่า ท่านฉันข้าวไม่อร่อยเลย ตกเย็นมาท่านก็ภาวนาอีก ก็ยังไม่เห็นกระดูกอยู่เช่นเดิม แต่เห็นออกไปภายนอก โดยเห็นตัวหลวงปู่กำลังสรงน้ำอยู่กลางหุบเขา แต่สายน้ำนั้นมีความแปลก คือ ด้านหน้าไหลลงมาจากภูเขา ผ่านหลวงปู่แล้วไหลกลับขึ้นบนเขาด้านหลัง ไหลขึ้นไหลลงอยู่อย่างนั้นจนจิตถอน ท่านว่านิมิตนี้เป็นนิมิตที่ดี เป็นสิ่งบอกว่าท่านจะได้ออกจากทุกข์

    พอถึงวันที่ ๓ นั่งสมาธิจิตรวมลง ปรากฏท่านขึ้นไปอยู่บนยอดเขา ตามร่างกายมีเครื่องประดับเป็นเพชรนิลจินดาแพรวพราว จิตเกิดปีติเอิบอิ่ม มองลงมาเห็นมนุษย์ เรือนชานบ้านช่อง หลวง ปู่ท่านได้พิจารณาเห็นว่ามนุษย์นี้เกิดขึ้นมา กินแล้วก็พากันนอน ตื่นมาก็ไปทำมาหากิน ได้มาแล้วก็พากันกินแล้วก็นอน เป็นอย่างนี้เรื่อยไป ไม่ได้นึกถึงพุทโธ ธัมโม สังโฆ ไม่ได้นึกถึงทางหนีออกจากวัฏสงสารเลย พิจารณาได้อย่างนี้แล้วท่านจึงคิดว่า “เราเห็นแล้ว เราจะไม่ทำอย่างนั้น จะต้องหนีออกจากวัฏสงสารให้ได้” นั่งดูอยู่อย่างนั้นนานเข้า ปรากฏว่าท่านลอยไปถึงบ้านนาโดน เห็นไฟกำลังไหม้พระองค์หนึ่ง ท่านจึงพิจารณาไฟไหม้นั้นคือ ไฟราคะ ไฟโทสะ ไฟโมหะ พระไฟไหม้คือ พระยังมีราคะ โทสะ โมหะ จากนั้นก็ลอยไปนั่งอยู่บนชะง่อนหินบนภูเขา หันหน้าไปทางทิศเหนือ นั่งภาวนาเพ่งร่างกาย เห็นตับไตไส้พุงอย่างที่เคยเห็น ตอนนี้เครื่องประดับไม่มีแล้ว นั่งเพ่งอยู่นาน จึงถามตัวเองขึ้นว่าที่นี่ที่ไหน ? จิตตอบว่า ถ้ำผากง (ถ้ำนี้อยู่อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร ท่านพระอาจารย์กงมา จิรปุญโญ ท่านเคยมาเอาพระพุทธรูปเศียรขาดอันเนื่องมาจากตกลงมากับพื้น ท่านเอาไปบูรณะต่อเศียร ปัจจุบัน ท่านพระอาจารย์แบน ธนากโร กำลังไปสร้างวัดอยู่ที่นั่น)

    เมื่อ ออกพรรษาแล้ว ต้นปี พ.ศ. ๒๔๙๖ หลวงปู่ท่านได้เดินทางมาวัดป่าบ้านภู (วัดป่ากลางโนนภู่) อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร เพื่อมาร่วมงานฌาปนกิจศพ ท่านพระอาจารย์กู่ ธัมมทินโน (ซึ่งเป็นศิษย์รุ่นผู้ใหญ่องค์หนึ่งของท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ท่านเป็นพี่ชายของ ท่านพระอาจารย์กว่า สุมโน และเป็นลูกพี่ลูกน้องกับ ท่านพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร) ในงานนี้พ่อแม่ครูบาอาจารย์ได้มาร่วมงานกันมากมาย อาทิเช่น หลวงปู่ฝั้น อาจาโร, หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ และหลวงปู่หลุย จันทสาโร เป็นต้น ท่านได้เข้าไปกราบหลวงปู่อ่อน ซึ่งพรรษานี้หลวงปู่อ่อนท่านไปอยู่ที่บ้านดอนเงิน อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี

    หลวงปู่อ่อนบอกว่า “ท่านผ่าน พระอุปัชฌาย์มรณภาพอยู่ที่วัดจอมศรี ให้ไปปรงศพท่านนะ” หลวงปู่จึงได้ติดตามหลวงปู่อ่อนไปจังหวัดอุดรธานี ไปพักที่วัดป่าบ้านจิก (วัดทิพยรัฐนิมิตร) อยู่หลายวัน จึงขึ้นรถไฟไปวัดจอมศรี อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี หอศพของ พระครูพิทักษ์คณานุการ (หลวงปู่สี ธัมมทินโน) พระอุปัชฌาย์ของหลวงปู่ ทำเป็นรูปนกหัสดีลิงค์คือนกมีงวงเป็นช้าง พอถึงวันที่จะเผา เขาแห่ศพด้วยเกวียนเข้าไปกลางหมู่บ้าน พวกญาติโยมก็ถวายทาน กลางคืนจึงเผา ในงานมีมหรสพมากมายทั้งฉายหนัง หมอลำ

    หลวง ปู่เห็นเขาดูหนัง (ภาพยนตร์) กัน ท่านจึงพิจารณาว่าทำไมเขาเรียกว่า “หนัง” เห็นมีแต่รูปเลยถามตัวเองว่า “อะไรเป็นหนัง” จิตตอบขึ้นว่าคำที่ว่า “หนัง” คือว่ามันสวยเพราะมนุษย์และสัตว์ในโลกนี้ติดอยู่ที่หนัง ที่ว่าคนนั้นสวย คนนี้งาม ก็เพราะมีหนังห่อหุ้ม ถ้าไม่มีหนังก็น่าเกลียดน่าขยะแขยง เมื่อคิดได้อย่างนี้แล้ว ท่านรู้สึกว่าหนัง (ภาพยนตร์) นั้นไม่เห็นน่าดู สังขารเขาแต่งขึ้นมาทั้งนั้น ไม่รู้จะไปหลงทำไม จิตไม่อยากดูจึงเลิกดู

    • พรรษาที่ ๗ พ.ศ. ๒๔๙๖
    วัดป่านิโครธาราม บ้านหนองบัวบาน อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี •

    เมื่อ เสร็จงานศพท่านพระอาจารย์กู่แล้ว หลวงปู่เดินทางกลับมาพักที่วัดป่าบ้านจิก (วัดทิพยรัฐนิมิตร) อีก แล้วไปอยู่ที่บ้านโนนทัน ไปภาวนาอยู่ที่นั่นพร้อมกับหลวงปู่อ่อน, พระบุญหนา (ปัจจุบันคือ พระอาจารย์บุญหนา ธัมมทินโน เจ้าอาวาสวัดป่าบ้านหนองโดกหรือวัดป่าโสตถิผล อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร), เณรสมบูรณ์, เณรเลย อยู่หลายวัน แล้วหลวงปู่นึกอยากกลับมาเยี่ยมบ้าน จึงไปกราบนมัสการลาหลวงปู่อ่อนแต่ท่านไม่อนุญาต แต่ให้ไปบ้านหนองบัวบานกับท่าน จึงได้ไปช่วยท่านสร้างวัดป่านิโครธาราม ที่บ้านหนองบัวบาน

    วันหนึ่งหลวงปู่ท่านมีอาการไข้ป่ากำเริบ จึงไปขอยาจาก หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ ได้มาแล้วก็วางยาไว้ข้างตัวแล้วนั่งสมาธิ เนื่องจากท่านพระอาจารย์มั่นได้เคยเทศน์ไว้ว่า ให้รักษาการป่วยด้วยยาปรมัตถ์คือการภาวนา ท่านจึงลองดู เมื่อนั่งแล้วจิตรวมปรากฎแสงสว่าง เห็นต้นไม้หมดทั้งโลก เอายอดทิ่มดินเอารากชี้ฟ้า ครั้นหมดกำลังสมาธิ จิตก็ถอนออก อาการไข้ก็หายเป็นปลิดทิ้ง ท่านก็สงสัยว่าทำไมเป็นอย่างนี้ จึงไปกราบเรียนถามหลวงปู่อ่อน หลวงปู่อ่อนท่านรู้วาระจิตของศิษย์แล้วแต่ท่านไม่พูด ท่านตอบว่า “เออ ! ดีอยู่ ดีอยู่” หลวงปู่ท่านยังสงสัย ก็เดินคิดไปในวัด พลันสายตาก็เหลือบไปเห็นหัวปูมเป้า (พืชชนิดหนึ่ง) ที่เขาแขวนไว้

    ท่านเลยคิดว่า “ถ้ามึงไม่ได้กินดิน มึงตายนะ” ทันใดนั้นท่านก็วาบขึ้นในดวงจิตว่า จิตของสัตว์ในโลกอันนี้ พระพุทธเจ้าท่านเทศน์ว่า “พวกท่านทั้งหลายจงถอนตัณหาพร้อมทั้งราก” หากจิตของเราไม่ไปยึดเอารูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ จิตนั้นย่อมเข้าถึงคุณธรรม จิตเป็นอนาสโว คือ จิตไม่ยึดมั่นถือในสิ่งทั้งปวง พ้นจากบ่วงร้อยรัดถึงความพ้นทุกข์ เหมือนกับว่าต้นไม้ที่รากไม่หยั่งลงดินแล้ว

    ครั้งหนึ่งหลวงปู่ ท่านภาวนาเห็นมนุษย์พากันเอามืองมอยู่ในดินหมดทั้งโลก ท่านพิจารณาได้ว่า มนุษย์นี้เกิดมาก็พากันงมโลก หลงโลก เอาแต่ทำมาหากิน ร้องรำทำเพลง ร้องหากันแต่ผู้หญิงผู้ชาย สัตว์ทั้งหลายก็เช่นเดียวกัน ไม่ได้คิดถึงทางจะหนีจากวัฏสงสาร จึงพากันงมโลก หลงโลก

    พอวันใหม่มาเข้าสมาธิอีก ปรากฏลอยขึ้นไปบนอากาศโดยมีไม้กระดาน ๒ แผ่นรองอยู่ข้างใต้ หลวงปู่ท่านจึงอุทานว่า “มันรองเราแล้ว” สิ่งที่รองอยู่คือ ความยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นตัวเป็นตน เป็นเราเป็นเขา อีกวันหนึ่งภาวนา ปรากฏว่าเข้าไปในถ้ำเสือ หลวงปู่ท่านจึงคิดสละตาย ให้เสือมากินเสีย เพราะรูปอันนี้ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ของเขา ท่านปล่อยวางได้ เสือก็ไม่ได้มากินท่าน ปรากฏมีหญิง ๒ คนมาใส่บาตรท่าน แล้วจิตก็ถอนออก หลวงปู่ท่านว่านี่เป็นสิ่งลองใจว่ายังยึดมั่นถือมั่นในรูปนี้หรือไม่

    มา ถึงจุดนี้ปรากฏว่าจิตของท่านเฉย คือจิตเห็นเกิดเห็นดับ ทำจิตรอบรู้ในสังขาร รู้สภาวธาตุ รู้สภาวธรรม สภาวปัจจัย จิตหยุดไม่นึกไปในอดีต อนาคตเห็นเกิดเห็นดับหมดทั้งโลก ต้นไม้ แผ่นดิน ภูเขา เมื่อจิตเฉยก็ไม่ได้อยากพูดคุยกับใคร ไปไหนก็นั่งเฉย ขึ้นไปกราบหลวงปู่อ่อนแล้วก็เฉย จนหลวงปู่อ่อนท่านว่าพระฤาษี

    เมื่อออกพรรษาแล้ว ท่านข้ามทุ่งนาจากบ้านหนองบัวบาน มาบ้านหนองแซง ซึ่งไม่ไกลกันนัก ท่านมาศึกษา
    กับ หลวงปู่บัว สิริปุณฺโณ ที่วัดป่าหนองแซง (วัดราษฎรสงเคราะห์) อยู่ประมาณ ๒๐ วัน

    หลวงปู่บัว สิริปุณฺโณ เป็นศิษย์อีกองค์หนึ่งของท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ท่านเป็นคนร้อยเอ็ด ในช่วงที่ท่านยังครองเรือนมีครอบครัวอยู่นั้น ท่านเป็นผู้ที่เคร่งครัดในการรักษาศีล ๘ มาก และยังภาวนาพุทโธอยู่ตลอดเวลาด้วย อย่างเวลาไถนา ดำนา ตำข้าว ก็บริกรรมพุทโธไม่ขาด

    ท่านเคยเป็นผ้าขาวติดตาม หลวงปู่คำดี ปภาโส ไปจำพรรษาที่ถ้ำกวาง กิ่งอำเภอเวียงเก่า จังหวัดขอนแก่น กระทั่งในปี พ.ศ. ๒๔๗๙ หลวงปู่บัวท่านพบกับหลวงปู่อ่อน ญาณสิริ และได้ติดตามท่านโดยตลอด โดยตัดสินใจว่าจะบวช หลวงปู่อ่อนท่านจึงสอนขานนาคให้ แต่หลวงปู่บัวท่านเป็นผู้มีปัญญาทึบต้องใช้เวลาท่องอยู่นานถึง ๓ ปี จึงได้บวชที่วัดบึงพลาญชัย อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๒ ขณะท่านมีอายุได้ ๕๓ ปี

    เหตุที่ท่านมีปัญญาทึบนั้น ท่านเล่าให้หลวงปู่ผ่านฟังว่า ในอดีตท่านเคยเกิดเป็นหมูหลายชาติมาก ตายแล้วเกิด เกิดแล้วตาย เป็นแต่หมูอยู่อย่างนั้น ชาติหนึ่งได้มาเกิดเป็นมนุษย์ เป็นทหารยศนายพัน แต่ไม่สนใจทำบุญให้ทาน ตายไปจึงเกิดเป็นหมูอีกหลายชาติ เมื่อมาเกิดในชาติปัจจุบันท่านจึงมีปัญญาทึบ หลังจากบวชแล้วท่านได้ไปศึกษากับท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต และท่านพระอาจารย์มหาบัว ญาณสัมปันโน จากนั้นท่านจึงมาตั้งวัดป่าหนองแซง (วัดราษฎรสงเคราะห์) ขึ้น หลวงปู่บัวท่านมีนิสัยพูดน้อย ทำความเพียรมาก แม้จะบวชเมื่อมีอายุมากแต่มิได้เป็นอุปสรรคอันใด ท่านจึงได้รับคำยกย่องสรรเสริญจากครูบาอาจารย์ผู้ใหญ่เป็นอันมาก กระทั่งปี พ.ศ. ๒๕๑๘ ท่านจึงมรณภาพ หลังจากฌาปนกิจศพท่านแล้วพบว่าอัฐิของท่านแปรสภาพเป็นพระธาตุจำนวนมาก แม้ปัจจุบันอัฐิของท่านก็แปรสภาพเป็นพระธาตุขึ้นเรื่อยๆ (ตามคำบอกเล่าของท่านเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน)

    ช่วงที่อยู่วัดป่า หนองแซง (วัดราษฎรสงเคราะห์) นี้ เวลาใส่บาตรแล้วญาติโยมชาวบ้านเขาจะไม่มาวัดอีกเพราะงานเขามาก วันหนึ่งพระท่านมาชวนไปภาวนาบนภูเขา (แถบวัดถ้ำกลองเพลในปัจจุบัน) หลวงปู่ท่านบอกว่า ขออธิฐานดูนิมิตก่อน วันนั้นท่านนั่งภาวนาปรากฏจิตรวมแล้วเห็นตะขาบตัวใหญ่เท่าต้นมะพร้าวยาว ๖-๗ เมตร นอนกลิ้งไปกลิ้งมา เมื่อออกจากสมาธิจึงไปเล่าให้เพื่อนพระฟัง แล้วบอกว่าอย่าไปนะ อยู่กับครูบาอาจารย์ดีแล้ว เพราะช่วงเดือน ๓ นี้ชาวบ้านเขาขึ้นเขาไปเก็บผักหวานกัน มันจะวุ่นวาย ตกลงก็เลยไม่ไป

    วัน หนึ่ง เมื่อหลวงปู่ได้ฟังหลวงปู่บัวเล่าถึงอดีตชาติที่เคยเป็นหมูของท่านแล้ว จึงรู้สึกอยากรู้อดีตชาติของตนบ้าง เมื่อเข้าที่ภาวนาจิตรวมแล้ว ปรากฏช้างมานอนอยู่ข้างหน้า จึงถามว่า มาทำไม ? จิตตอบว่า ไม่รู้หรือว่านั่นคือตัวเรา เราเคยเกิดเป็นช้างในสมัยพุทธกาล ได้เป็นลูกน้องของช้างปาลิไลย์ ซึ่งพระพุทธเจ้าเสด็จไปประทับอยู่ด้วยและแสดงธรรมโปรด (กับทั้งทรงมีพุทธพยากรณ์ว่า ในอนาคตเบื้องหน้าช้างปาลิไลย์โพธิสัตว์จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้ามีนาม ว่า พระสุมงคลพุทธเจ้า จะมาตรัสรู้เป็นลำดับที่ ๑๐ เมื่อนับพระศรีอาริยเมตไตรย เป็นลำดับที่ ๑) จากนั้นจิตเห็นสุนัขนอนอยู่ จึงถามว่า ใคร ? ตอบว่า ไม่รู้จักเราหรือ เราเคยเกิดเป็นสุนัข จากนั้นก็เห็นนกกาบบัว (ซึ่งเป็นนกกินปลา) ยืนอยู่ แล้วก็ไปเห็นเป็นคนนั่งอยู่ในกระท่อม (เถียงนา) เป็นคนเลี้ยงวัว เมื่อท่านเห็นอย่างนี้แล้ว เกิดความเบื่อหนายในชาติ-ความเกิดเป็นอย่างยิ่ง เห็นว่ามันเป็นทุกข์หนัก

    อีกครั้งหนึ่งหลวงปู่ท่านภาวนาเกิดนิมิตเห็นงูจงอางอยู่ในอก แล้วมันก็ลอยตรงออกมา ตัวงูจงอางยาวมาก ท่านพิจารณาได้ความว่า งูจงอางเป็นสัตว์มีพิษ คือกิเลส เคยอยู่ในตัวเรา บัดนี้มันเริ่มออกจากเราแล้ว ถัดจากนั้น ๒-๓ วันเกิดนิมิตเป็นเสียงว่า “ท่านจะตายนะ” หลวงปู่จึงเร่งความเพียรอย่างหนัก เพราะเห็นว่าเวลาเหลือน้อย ต้องช่วยเหลือตนเองให้มากที่สุด พอถึง ๗ วันก็ยังไม่เห็นตาย จึงเล่าให้พระองค์อื่นฟัง พระองค์นั้นว่า “ตายมีหลายอย่าง ที่ว่าตายนั้น อาจจะเป็นตายจากกิเลสก็ได้”

    จากวัด ป่าหนองแซง (วัดราษฎรสงเคราะห์) ท่านกลับไปที่วัดป่านิโครธารามอีก ต่อมาจึงกราบนมัสการลาหลวงปู่อ่อน ญาณสิริ กลับมาบ้านเกิด ได้มาอยู่กับ หลวงปู่อุ่น อุตตฺโม ที่วัดอุดมรัตนาราม ใกล้เข้าพรรษาแล้วหลวงปู่อุ่นให้มาตั้งวัดขึ้นที่บ้านเซือมอันเป็นบ้านเกิด หลวงปู่จึงได้พาเณรมาด้วยมาตั้งวัดขึ้นที่บ้านเซือม


    • พรรษาที่ ๘ พ.ศ. ๒๔๙๗
    ดอนบ้านร้าง บ้านเซือม อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร •


    ๏ เสาหลักในร่มธรรมแห่งบวรพระพุทธศาสนา

    หลวง ปู่ผ่าน ปัญญาปทีโป พระมหาเถระพระป่านักปฏิบัติกรรมฐานอีกรูปหนึ่ง ที่มีศีลาจารวัตรที่งดงามน่าเลื่อมใสศรัทธา เป็นศิษย์หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต อีกองค์หนึ่ง เป็นพระสุปฏิปันโนเนื้อนาบุญของชาวโลก เป็นเสาหลักในร่มธรรมแห่งบวรพระพุทธศาสนา แม้สังขารจะเข้าล่วงปีที่ ๘๕ ปี ครบรอบปีที่ ๗ เมื่อวันที่ ๒๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ที่ผ่านมา ด้วยสุขภาพที่แข็งแรง ท่านยังได้ออกมาต้อนรับคณะศรัทธาญาติโยมที่เดินทางมาจากแดนใกล้ไกลเป็นจำนวน มาก เพื่อมาคารวะนมัสการทุกวันไม่เว้นมิได้ขาด

    ทุกครั้งที่คณะศรัทธา ญาติโยมขอพรขอศีล ท่านจะบอกว่า มีหลักอยู่ ๓ อย่าง คือ “ขออย่าได้เจ็บ อย่าได้ป่วยไข้ และสุดท้ายอย่าลืมหายใจ” ครั้นเมื่อได้สดับตรับฟังหลักธรรมจากท่านแล้ว จะทำให้จิตใจสงบและร่มเย็นเป็นสุข


    ๏ การมรณภาพ

    วันที่ 24 มกราคม 2554 เวลา 18.00 น. หลวงปู่ผ่าน ได้ละสังขารด้วยอาการอันสงบ สิริรวมอายุได้ 89 ปี 64 พรรษา การจากไปของหลวงปู่ นับเป็นการสูญเสียพระเถระชั้นผู้ใหญ่อีกรูปหนึ่งของจังหวัดสกลนคร ที่มีพุทธศาสนิกชนให้ความเคารพศรัทธาเลื่อมใสเป็นจำนวนมาก จากการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบของท่าน ทำให้วัดป่าปุญญาประทีปแห่งนี้ กลายเป็นศูนย์กลางแห่งความดี เป็นศูนย์รวมจิตใจของพุทธศาสนิกชนจากทั่วสารทิศ พากันหลั่งไหลมาที่วัดในแต่ละวันไม่ขาดสาย-


    1578-95f7.jpg 1579-26a5.jpg

    1577-2820.jpg 1576-6ac9.jpg 1575-a676.jpg
    ............................................................. SAM_7752.JPG SAM_8913.JPG SAM_8914.JPG SAM_8915.JPG SAM_7793.JPG

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 กันยายน 2021
  15. Higtmax

    Higtmax เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    2,342
    ค่าพลัง:
    +4,818
    บูชาครับ
     
  16. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 685 พระผงสมเด็จรุ่นพิเศษผสมเกศาหลวงปู่ชอบ ฐานสโม พระอรหันต์เจ้าวัดป่าสัมมานุสรณ์ อ.วังสะพุง จ.เลย หลวงปู่ชอบเป็นศิษย์ผู้ใหญ่หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต องค์พระสร้างปี 2537 (ทันหลวงปู่ครับ) รุ่นนี้พิเศษมีผสมนํ้าปัสสาวะของหลวงปู่ด้วยครับ มาพร้อมกล่องเดิม พระสวย มีพระเกศาเเละพระธาตุมาบูชาเป็นมงคลด้วยครับ **********บูชาที่ 405 บาทฟรีส่งems ประวัติหลวงปู่ชอบ ฐานสโม

    วัดป่าสัมมานุสรณ์ บ้านโคกมน ตำบลผาน้อย
    อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลยเลย


    "พระอริยเจ้าผู้ทรงอภิญญา"

    2-png.png

    พระเดชพระคุณหลวงปู่ชอบ ฐานสโม พระอริยเจ้าผู้ทรงอภิญญาญาณ คือ ผู้ทรงความรู้ยิ่งในพระพุทธศาสนา มีคุณสมบัติพิเศษ ๖ อย่าง . อิทธิวิธี แสดงฤทธิ์ได้ ๒. ทิพโสต หูทิพย์ ๓. เจโตปริยญาณ รู้จักกำหนดใจผู้อื่น ๔. บุพเพนิวาสานุสสติญาณ ระลึกชาติได้ ๕. ทิพจักขุ ตาทิพย์ ๖. อาสวักขยญาณ รู้จักทำอาสวะให้สิ้นไป

    ท่านมีนิสัยชอบโดดเดี่ยวเที่ยวไปอยู่ในป่า ทำในสิ่งที่บุคคลอื่นทำได้ยาก ไม่ชอบเกี่ยวข้องกับหมู่ชนพระเณร เป็นผู้มีความองอาจเด็ดเดี่ยว อดทนเป็นเลิศ ไม่กลัวความทุกข์ยากลำบาก เสี่ยงเป็นเสี่ยงตาย กล้าได้กล้าเสียในการปราบกิเลส ถึงกับท่านพระอาจารย์มั่นออกปากชมท่ามกลางสภาสงฆ์ "ให้ทุกองค์ภาวนาให้ได้เหมือนท่านชอบสิ ท่านองค์นี้ภาวนาไปไกลลิบเลย"

    ท่านสามารถแสดงธรรมและสนทนาธรรมเป็นภาษาต่างๆ ได้หมด เพียงกำหนดจิตดูว่าภาษานั้นเขาใช้พูดกันว่าอย่างไร ท่านสามารถแสดงธรรมโปรดเทวดา พญานาค ตลอดจนภพภูมิต่างๆ ได้

    การธุดงค์ของท่านนับว่าโลดโผนมาก ชอบเดินทางในเวลากลางคืนหรือจวนสว่างในคืนเดือนหงาย เที่ยวไปอบ่างอนาคาริกมุนีผู้ไม่มีอาลัยในโลกทั้งปวง บางคราวมีเสือลายพาดกลอนตัวใหญ่สองตัวกระโดล้อมหน้าล้อมหลังเอาไว้ ท่านเร่งสติสมาธิ แผ่เมตตา กำหนดจิตเข้าข้างใน สมาธิลึกเข้าไปจนถึงฐานของจิต ปล่อยวางสิ่งทั้งปวง เมื่อถอนจิตออกมาปรากฏว่าเสือสองตัวได้หายไปแล้ว

    ครั้งหนึ่งท่านเดินทางไปทางอำเภอแม่ริม อำเภอแม่แตง เข้าไปหมู่บ้านกะเหรี่ยงกลางหุบเขาเพื่อโปรดพี่ชายของท่านในอดีตชาติที่รักกันมาก ท่านระลึกชาติได้ว่า เคยเกิดเป็นชาวกะเหรี่ยงที่ประเทศพม่า มีพี่ชายคนหนึ่ง บัดนี้เขาได้มาเกิดเป็นชาวกะเหรี่ยง ชื่อว่า "เสาร์" อยู่ที่ตำบลป่ายาง บ้านผาแด่น อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ด้วยจิตเมตตาท่านจึงเดินทางไปโปรดดึงเขาเข้าสู่ทางธรรม และต่อมานายเสาร์ก็ได้บวชเป็นพระติดตามท่านจนตลอดชีวิต

    1-1-png.png

    หลวงปู่ชอบ ฐานสโม

    ท่านเล่าว่าในบางคราวหลงอยู่ในกลางป่าเป็นเวลาหลายๆ วัน ท่านเป็นที่เคารพรักของเหล่าเทพยดา เดินทางจากประเทศพม่าจะเข้าสู่ไทย หลงป่าเจียนตายเพราะความหิว เทวดาได้นำอาหารทิพย์มาใส่บาตร อาหารนั้นมีรสอร่อยส่งกลิ่นหอม หายเมื่อยหายหิวไปหายหิวไปหลายวัน

    ท่านทำสมาธิทั้งกลางวันกลางคืน บางคราวพายุฝนตกหนักน้ำป่าไหลหลาก ท่านต้องนั่งกอดบาตรเอาไว้จนสว่าง ท่านพบวิมุตติบรรลุธรรมขั้นสูงสุดเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๗ พรรษาที่ ๒๐ อายุ ๔๓ ปี ที่ถ้ำบ้านหนองยวน ประเทศพม่า

    ในระยะที่ท่านอยู่กับหลวงปู่มั่นนั่น ท่านได้รับความไว้วางใจและมอบหมาย ให้ช่วยดูแลพระเณรที่คิดอะไรนอกลู่นอกทาง ไม่ถูกต้องตามครรลองของผู้ทรงศีลธรรมท่านก็จะตักเตือน เป็นที่ทราบกันดีในหมู่ลูกศิษย์หลวงปู่มั่นว่าท่านมีความรู้ภายในว่องไวไม่แพ้หลวงปู่มั่น พระเณรทั้งหลายจึงเกรงกลัวท่านมาก และท่านก็ยังสามารถระลึกชติ รู้อดีตชาติของท่านเองว่าเคยเกิดเป็นอะไรมาบ้าง เช่น เคยเกิดเป็นพระภิกษุรักษาศีลอยู่กับพระอนุรุทธะ เคยเป็นสามเณรน้อยลูกศิษย์พระมาหกัสสปะ เคยเกิดเป็นท้าวมหาพรหมในพรหมโลก และเป็นสัตว์หลายชนิดอีกด้วย หลวงปู่ชอบท่านบำเพ็ญภาวนาอยู่ตามป่าตามเขา ส่วนมากทางภาคเหนือหลายพื้นที่รวมถึงประเทศพม่าด้วย

    3-png.png

    ในหลวง และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
    ทรงนมัสการหลวงปู่ชอบ

    ท่านเกิดเมื่อวันพุธที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๔๔ ขึ้น ๕ ค่ำ เดือน ๓ ปีฉลู ณ บ้านโคกมน ตำบลผาน้อย อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย เป็นบุตรของนายมอ และนางพิลา แก้วสุวรรณ

    บวชสามเณรเมื่ออายุ ๑๙ ปี ณ วัดบ้านนาแก ตำบลบ้านนากลาง อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู เป็นสามเณรอยู่ถึง ๔ ปีกว่า และได้อุปสมบทเมื่ออายุ ๒๓ ปี วันที่ ๒๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๖๗ ณ วัดศรีธรรมาราม อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร โดยมี พระครูวิจิตรวิโสธนาจารย์ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์แดง เป็นพระกรรมวาจาจารย์

    4-png.png
    รูปเหมือนหลวงปู่ชอบ
    ท่านได้พบพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ณ เสนาสนะป่าบ้านสามผง อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม หลวงปู่มั่นได้ให่โอวาทสั้นๆ ว่า "ท่านเคยภาวนามาอย่างไรก็ให้ทำต่อไปเช่นนั้น อย่าได้หยุด ธรรม ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ที่พระพุทธเจ้าท่านทรงแสดงไว้นั้นมันอยู่ที่ใจเรานี่แหละ ถ้าอยากรู้อยากเห็นธรรมเหล่านั้น ก็ให้ค้นหาเอาที่ใจของท่านเอง"

    ปีพุทธศักราช ๒๔๘๙ ขณะท่องเที่ยวธุดงค์อยู่ทางภาคเหนือ สหธรรมิกคือหลวงปู่ขาว อนาลโย ชวนท่านกลับมาอีสาน ท่านจึงได้มาจำพรรษาที่ป่าช้าหินโง้น ปัจจุบันคือ วัดป่าโคกมน

    ปีพุทธศักราช ๒๕๐๑ มีชาวบ้านถวายที่สร้างวัดกว่าร้อยไร่ ท่านจึงได้รับสร้างเป็นวัดขึ้นมา ปัจจุบันคือ วัดป่าสัมมานุสรณ์ ท่านได้อยู่จำพรรษาที่นี่เรื่อยมาจวบจนวาระสุดท้ายของท่าน

    5-png.png
    อัฐิและพระธาตุของหลวงปู่ชอบ ฐานสโม
    ปีพุทธศักราช ๒๕๑๔ อายุ ๗๐ ปี ท่านป่วยเป็นอัมพาต

    ท่านละสังขารเข้าสู่อนุปาทิเสสนิพพาน ณ วัดป่าสัมมานุุสรณ์ เมื่อวันที่ ๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๘ สิริรวมอายุได้ ๙๓ ปี ๑๑ เดือน ๒๗ วัน ๗๐ พรรษา SAM_8918.JPG SAM_8919.JPG SAM_8921.JPG SAM_8920.JPG SAM_8922.JPG SAM_8923.JPG SAM_8010.JPG
     
  17. ผู้ผ่านมา

    ผู้ผ่านมา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มกราคม 2006
    โพสต์:
    164
    ค่าพลัง:
    +140
    ขอบูชาครับ
     
  18. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    สองสามวันมานี้ผมเองไม่ค่อยสบายเบาหวานขึ้นเยอะครับ(ผมมีโรคประจำตังคือเบาหวานเเห้ง)ทำให้ร่างกายรู้สึกอ่อนเพลียปวดชานิ้วมือนิ้วเท้าไปหมดเลยครับ ตาลายบ้านหมุนเลยครับ นั่งนานไม่ได้ กลางคืนลุกฉี่บ่อยมากเลยช่วงนี้ คุณเเม่เห็นผมเเล้วทักเลยว่าช่วงนี้ผมผอมลง ผมกินทานข้าวเยอะสองจานเลยครับ เเต่สารอาหารออกมาพร้อมนํ้าปัสสาวะหมดเพราะฉี่บ่อยด้วยสาเหตุเป็นเบาหวานเเห้ง ผมเป็นเบาหวานมาตั้งเเต่ปี 2550 (เพราะดื่มนํ้าอัดลมเยอะด้วยเเละนํ้ากาเเฟกระป๋องด้วยเพราะนั่งขับรถเดินทางตลอด ด้วยเพราะเป็นเซลล์ขายตำราเรียนตามโรงเรียนทุกจังหวัดประเทศไทย อยากจะบวชเเต่ห่วงคุณเเม่เพราะท่านก็สามวันดี สี่วันไข้ บางครั้งหยุดไปไม่ได้ลงกระทู้ก็เพราะสาเหตุนี้ละครับ เลยต้องเรียนเเจ้งให้เพื่อนทราบครับ เพราะบางครั้งส่งช้าบ้างเร็วบ้างก็ไม่ว่ากันนะครับผม
     
  19. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    หลวงปู่ผ่านผมเองจะไปนวดฝาเท้าท่านบ่อยมาก (เอาวัตถุมงคลไปให้ท่านเป่าด้วยครับ) เลยทำให้ผมสนิทกับพวกน้องชายหลวงปู่ วัดหลวงปู่ผ่านห่างจากบ้านผม 80 กิโลเมตร เเละอีกอย่างหลวงปู่ผ่านท่านเคยมาเดินธุดงค์จำพรรษาที่ อำเภอบ้านภูลังหาหลายปีครับ มีวันหนึ่งผมไปนวดฝ่าเท้าหลวงปู่ผ่าน พร้อมกับได้บูชาวัตถุมงคลของท่านเเล้วใส่พานมาให้หลวงปู่ผ่านที่กำลังนั่งเคี้ยวหมากไปด้วย ผมเลยขอโอกาสหลวงปู่ครับ เเล้วยื่นพานให้หลวงปู่ปลุกเสกให้ พอหลวงปู่นั่งหลับตาจะเพ่งพลังจิตลงที่วัตถุมงคลในขณะมือของหลวงปู่อุ้มพานอยูาบนตักของหลวงปู่เอง หลวงปู่ผ่านได้ลิมตาเเละอุทานเสียงดังลั่นเลยครับ ว่างูใหญ่มา เพราะเองก็นั่งอยู่ใต้โวฟาที่ท่านชอบนุ่งประจำก็ตกใหญ่เสียงปวดเหมือน พอทันลืมตา ผมก็ถามหลวงปู่ว่างูใหญ่มาไหนครับหลวงปู่ ่ท่านตอบว่ามาที่วัดปู่นี้ละ่ สักพักองค์ท่านก็นั่งหลับมือถือพานที่มีวัตถุมงคลอยู่ คราวนี้อุทานขึ้นเลยว่ามีพญานาคสีดำมา ที่วัดปู่ ผมเองเลยมองไปที่คอตัวเองเลยทำให้ถึงบางอ้อ นึกในใจทันทีว่าวันนี้เราห้อยหลวงพ่อเจ๊ดกษัตริย์มานี้เอง งูใหญ่สีดำที่หลวงปู่ผ่านท่านเห็นทางโลกทิพย์ นั้นก็คือหลวงปู่มุจลินทร์นาคราช(สมัยพุทธกาลท่านขึ้นมาเเผ่พังพานบังลมบังฝนให้พระพุทธเจ้าของเรานั้นเอง) ผมเองเคยเป็นลูกเป็นหลานท่านเลยมาคุ้มครอง สาเหตุที่ผมเองได้ไปบูชาหลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์นั้น(สมัยอยู่จังหวัดมหาสารคาม) เพราะว่าผมฝันว่ามีงูมานอนในห้องนอนกับผมยั้วเยี้ยเต็มไปหมดเลย ผมเองก็สะดุ้งตื่นมือเองก็ไปลูบคลำในผ้าห่ม มือก็ไปโดนอะไรที่มันนี่มๆ ก็ลุกมาเปิดไฟดู พอไฟสว่างปุ๊บก็เจองูตัวน้อย มานอนขดอยู่ในผ้าห่มที่เราห่มนอนอยู่ ก็เลยลุกรวบผ้าห่มทั้งผืนเอางูมาปล่อยที่หน้าบ้าน พอรุ่งเช้าผมรีบไปวัดป่าวังเลิงของหลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร ี่มหาสารคามนั้นเเหละ ไปเล่าเรื่องราวให้หลวงพ่อสุทธิพงษ์ ี่เป็นเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน(สนิทสนมกันดีกับผมเพราะท่านเวลามีงานที่วัดป่าวังเลิงท่านจะนิมนต์หลวงปู่ไมมาุทุกครั้ง พอหลวงปู่ไมมาก็จะเจอผมตลอดเพราะ เวลาหลวงพ่อสุทธิพงษ์ท่านสร้างวัตถุมงคลของวัดป่าวังเลิง ก็จะนำไปให้หลวงปู่ไมปลุกเสกให้ทุกครั้งเลย เลยทำให้ท่านคุ้นเคยกับผม ที่วัดป่าวังเลิงนี้จะมีรูปเหมือนองค์ใหญ่หลวงพ่อเจ๊ดกษัตริย์ประดิษฐานอยู่ด้วยครับ หลวงปู่สอท่านได้มอบให้มา เพราะว่าหลวงปู่สอ พันธุโล ก็เคยมาอยูจำพรรษาที่วัดป่าวังเลิงเเละเคยเป็นศิษย์หลวงปู่มหาบุญมีด้วย พอผมไปนั่งที่ศาลาโรงฉันใหญ่ เกิดอัศจรรย์คือมีฝนตกลงมาปรอยเฉพาะที่ศาลาครับ หลวงพ่อสุทธิพงษ์เลยเอ่ยขึ้นว่า เห็นมั่ยสมชาย ร่มเย็นๆ พออีวันรุ่งขึ้นผมก็มาำงานี่วิทยาลัยเทคนิคยโสธร พอเลิกโรงเรียนประมาณบ่าย 3 โมงผมก็รีบขับรถมาที่วัดป่าหนองเเสงทันที พอมาถึงก็รีบไปกราบหลวงปู่สอที่กุฏิทันที พอกราบสร็จก็ขอโอกาสหลวงปู่นวดให้องค์ท่าน วันนี้มีคุณลุงที่เป็นน้องชายหลวงปู่มานั่งสนทนาด้วย พอนวดไปได้สักพักหลวงปู่ก็ถามว่าผมมาจากไหน ผมตอบว่ามาจากอำเภอบ้านเเพงนครพนม หลวงปู่ได้เอ่ยขึ้นว่ามีลูกี่มาจากอำเภอบ้านเเพง มาอยู่ในเมืองยโสธร มาจังหันปูุ่ทุกเช้าเลย ผมตอบหลวงปู่รู้จักครับ เป็นเพื่อนเรียนมัธยมรุ่นเดียวกัน ชื่อเสี่ยสุวิท รังสี มาเปิดร้านขายเครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าเเละมีครอบครับที่ยโสธรครับ (เพื่อนผมคนนี้เขาชอบทำบุญกับพระอริยะ) ผมนวดหลวงปู่ด้วยหลวงปู่ก็เล่าเรื่องออกบวชเเละธุดงค์ไปด้วยจนผมเเละน้องชายหลวงปู่อ้าปากค้างตลอดเวลาเลย เช่น เดินจงกรม ที่เชียงใหม่เป็นเดือนไม่หยุด จนเเผ่นหลังลายไปหมดเพราะว่ายุงกัด นอนภาวนา 14 วัน ข้างละ 7 วันจนหนังตืดกับพื้นกุฏินํ้าเหลืองออกเลย เพื่อจะฆ่ากิเลส ถีนมิธทะ (กิเลสง่วงนอน หลวงปู่บอกว่าเวลานั่งสมาธิเเล้วชอบง่วงนอนนัก)เลยนอนเข้าสมาธินอนตะเเครงข้างละเจ็ดวันเลย วันนั้นนวดจนถึง 5 โมงเย็นเลย จนถึงเวลาหลวงปู่จะไปสรงนํ้าละ พอหลวงปู่เอ่ยขึ้น องค์ท่านก็ได้ยึ่นมือเข้าไปในย่ามที่อยู่ข้างกาย เเล้วหยิบรูปเหมือนองค์หลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์รุ่น 2 มาองค์เเล้วมอบให้ผมให้ไว้บูชาเด้อ ผมนี้ดีใจจนนํ้าเเทบไหลเลยละครับ ท่านบอกนวดพอเเล้วเดี้ยวปู่จะสรงนํ้าเเล้ว ให้กลับบ้านได้เเล้ว นี้คือที่มาของผมกับหลวงพ่อเจ๊ดกษัตริย์ วันต่อไปจะเล่าเรื่องที่มาได้ของอัฐิฐาตุของหลวงปู่สอยังไง ทั้งๆที่สำนักพระราชวังเขาเอาเครื่องดูดฝุ่นขนาดใหญ่มาดูดเอาไปหมดตั้งเเต่เที่ยงคืนเเล้ว(เพราะพระราชินีรัชกาลที่ 9 ท่านเป็นลูกศิษย์หลวงปู่สอ เเละงาน 7 วันนั้น ทางราชวังเป็นเเม่งานหมดครับ) SAM_7752.JPG SAM_0857.JPG SAM_7752.JPG SAM_0857.JPG
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • SAM_6762.JPG
      SAM_6762.JPG
      ขนาดไฟล์:
      226.2 KB
      เปิดดู:
      38
  20. sp-pol

    sp-pol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    1,280
    ค่าพลัง:
    +563
    ขอจองรายการ 679 ครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...