ธงชาติไทย

ในห้อง 'จักรวาลคู่ขนาน' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 30 เมษายน 2008.

  1. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    ธงชาติไทย
    http://guru.sanook.com/pedia/topic/ธงชาติไทย/ <O:p
    สร้างเมือ 29-04-2008 โดย cookmania<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ธงชาติ ถือเป็นสัญลักษณ์ที่ทั่วโลกใช้ แสดงถึงความเป็นชาติที่มีอารยธรรมรุ่งเรือง มีเสถียรภาพ อธิปไตย ความเป็นหมู่เป็นเหล่า ความเป็นน้ำหนึ่ง การประพฤติปฏิบัติต่อธงชาติจึงเสมือนการประพฤติปฏิบัติต่อคนในชาติซึ่งเป็นเจ้าของธงชาตินั้นๆ และในด้านความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างประเทศจึงต้องมีการระมัดระวังเป็นพิเศษเกี่ยวกับการปฏิบัติต่อธงชาติของประเทศอื่นๆ

    ความหมายของคำว่า ธง ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน<O:p</O:p
    พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน<O:p</O:p
    ธงชาติไทย <O:p</O:p
    ธงชาติ ๒, ธงชาติไทย<O:p</O:p
    ความหมาย

    (กฎ) น. ธงที่มีความหมายถึงประเทศไทยและชาติไทย มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง ๖ ส่วน ยาว ๙ ส่วนด้านกว้างแบ่งเป็น ๕ แถบตลอดความยาวของผืนธง ตรงกลางเป็นแถบสีนํ้าเงินแก่ กว้าง ๒ ส่วน ต่อจากแถบสีนํ้าเงินแก่ออกไปทั้ง ๒ ข้างเป็นแถบสีขาวกว้างข้างละ ๑ ส่วน ต่อจากแถบสีขาวออกไปทั้ง ๒ ข้างเป็นแถบสีแดงกว้างข้างละ ๑ ส่วน ธงชาตินี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า 'ธงไตรรงค์'.<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ในประเทศไทยปรากฏว่ามีประเพณีการใช้ธงเป็นเครื่องบูชาปรากฏอยู่ เข้าใจว่าเป็นแบบคติที่รับมาจากอินเดีย ซึ่งมีวัตถุนิยมใช้เป็นเครื่องประดับบูชาสำหรับงานพิธี 3 ชนิดคือ ธชะ หรือ ธวชะ ได้แก่ ธงผ้าหรือกระดาษรูปสี่เหลี่ยม หรือสามเหลี่ยม ใช้ปักบนปลายไม้หรือปลายเสา ปฏากะ หรือ ปตากา ได้แก่ธงปฏากหรือธงตะขาบ คือวัตถุเป็นแผ่นใช้ห้อยลงโดยผูกติดกับปลายไม้หรือปลายเสา โตรณะ ได้แก่ธงราวสามเหลี่ยมทำด้วยกระดาษ ใบมะม่วง หรือใบโศก ใช้โยงผูกระหว่างเสา 2 ต้นหรือขึงที่ข้างฝา <O:p</O:p
    ธงไทยที่ใช้บูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ได้แก่ ธงปฏากะ หรือ ธงตะขาบ หรือเรียกตามภาษาท้องถิ่นว่า "ตุง" เวลามีการบำเพ็ญกุศลในวัด ไทยจะใช้ธงปฏากะ หรือตะขาบผืนใหญ่ ยาว 3 วา หรือ 4 วา ห้อยไม้ลำใหญ่ปักไว้หน้าวัด นอกจากนั้นยังใช้ธงตะขาบเขียนรูปจระเข้ผูกติดปักไว้ที่หน้าวัดหลังจากเสร็จพิธีทอดกฐินแล้ว และใช้เขียนรูปพระพุทธรูป พุทธประวัติ เจดีย์ เลขยันตร์ ต่างๆ เช่น ที่เรียกว่าพระบฎ ห้อยไว้บูชาด้วย ธงจึงรวมอยู่ในเครื่องบูชาทางศาสนาของคนไทย
    <O:p</O:p
    สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงวินิจฉัยว่า ธงที่มีลักษณะเป็นแบบไทยแท้ มี 3 ลักษณะ คือ

    1. ธง มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าสีต่างๆ บางผืนก็ลงเลขยันต์ใช้สำหรับนำขบวนต่างๆ เช่นแห่ เข้าพิธีตรุษ เป็นต้น

    2. ธงชัย เป็นรูปสามเหลี่ยมตัดทะแยงมุม ทำนองเดียวกับธงมังกรของจีน ผิดกันแต่ที่จีนเอาด้านยาวไว้ข้างล่างและมีครีบเป็นรูปเปลวตลอดผืน ส่วนของไทยเอาด้านยาวไว้ข้างบน ครีบทำเพียง 3 หรือ 5 ชาย ใช้สำหรับนำขบวนขนาดใหญ่ เช่น ขบวนพยุหยาตรา ธงกระดาษที่ใช้ประดับตกแต่งในพิธีทางศาสนาก็ทำเป็นรูปธงชัย

    3. ธงปฏากะ หรือ ธงจระเข้ มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า แขวนห้อยลงโดยใช้ทางด้านกว้างผูก ใช้เป็นเครื่องบูชาอย่างเดียวไม่ใช้นำขบวนแห่ ที่เรียกว่าธงจระเข้เพราะทำด้วยผ้าขาวเขียนรูปจระเข้ <O:p></O:p>
    นอกจากธงในพิธีทางศาสนาแล้ว ประเทศไทยไม่มีการกำหนดระเบียบหรือแบบอย่างการใช้ธงไว้แน่นอน เพิ่งจะมีระเบียบขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ เป็นพระบรมราชโองการของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวให้ใช้ธงนั้นๆ ในกรณีใดบ้าง เป็นต้นว่าใช้ธงพื้นแดงเป็นธงชาติ และใช้ธงพื้นแดงมีรูปจักรสีขาวตรงกลางเป็นธงเรือหลวง <O:p</O:p
    เริ่มมีพระราชบัญญัติธงออกประกาศบังคับใช้ครั้งแรกในรัฃกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้แก่ พระราชบัญญัติว่าด้วยแบบอย่างธงสยาม ตราเมื่อวันที่ 1 เมษายน รศ. 110 หรือ พ.ศ. 2434

    ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม<O:p</O:p

    [​IMG]


    ธงปฏากะ หรือ ธงจระเข้<O:p></O:p>
     
  3. อธิมุตโต

    อธิมุตโต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    4,741
    ค่าพลัง:
    +13,087
    ขอบคุณครับ

    จะโยงเข้าเหตุการณ์อะไรหรือเปล่าครับเนี่ยะ ???
     
  4. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    สมัยโบราณ<O:p</O:p
    [​IMG]<O:p</O:p

    สมัยโบราณ ตามหลักฐานต่าง ๆ ปรากฏว่าตั้งแต่สมัยโบราณไทยเรายังไม่มีธงชาติโดยเฉพาะ เมื่อเวลาจัดกองทัพไปทำสงคราม จะใช้ธงสีต่าง ๆ ประจำทัพเป็นเครื่องหมายทัพละสี ต่อมาเมื่อมีการเดินเรือค้าขายกับต่างประเทศทางตะวันตกในสมัยกรุงศรีอยุธยา ได้ใช้ธงสีแดงติดเป็นเครื่องหมายว่าเป็นเรือสินค้าของไทย จดหมายเหตุของชาวต่างประเทศกล่าวว่า ในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราชมีเรือฝรั่งเศสแล่นเข้ามาสู่ปากน้ำเจ้าพระยา เมื่อถึงป้อมของไทย ไทยชักธงฮอลันดาขึ้นรับเรือฝรั่งเศส เพราะไม่มีธงชาติของตนเอง แต่เรือฝรั่งเศสไม่ยอมสลุตรับธงฮอลันดาเพราะเคยเป็นอริกันมาก่อน และถือว่าไม่ใช่ธงชาติไทย ฝ่ายไทยจึงแก้ไขโดยนำ"ธงแดง" ขึ้นชักแทนธงชาติ เรือฝรั่งเศสจึงยอมสลุตคำนับ ตั้งแต่นั้นมาธงสีแดงจึงกลายเป็นธงชาติของไทยเรื่อยมา
    <O:p</O:p

    สมัยกรุงธนบุรี<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    [​IMG]

    รัตนโกสินทร์ตอนต้น<O:p</O:p
    (รัชกาลที่ ๑ - ๓)<O:p</O:p
    <O:p</O:p


    [​IMG]

    สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ <O:p</O:p
    ไทยยังคงใช้ธงสีแดงเกลี้ยงชักเป็นเครื่องหมายประจำเรือค้าขายกับต่างประเทศอยู่ ธงแดงนี้ใช้ชักขึ้นทั้งในเรือหลวงและเรือราษฎร ต่อมาพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงพระราชดำริว่า เรือหลวงและเรือราษฎรควรมีเครื่องหมายให้เห็นที่ต่างกัน จึงมีพระบรมราชโองการให้จัดทำรูปจักรสีขาวติดไว้กลางธงแดงเป็นเครื่องหมายใช้เฉพาะเรือหลวง ส่วนเรือค้าขายของราษฎรทั่วไปยังคงใช้ธงแดงเกลี้ยงอยู่
    <O:p</O:p
    พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ ระหว่าง พ.ศ. ๒๓๖๐ - ๒๓๖๖ โปรดให้ส่งเรือกำปั่นหลวงไปค้าขายระหว่างกรุงเทพฯ สิงคโปร์ และมาเก๊า ซึ่งเป็นสถานีค้าขายของอังกฤษ โดยโปรดให้ติดธงสีแดง แต่ ปรากฏว่าไปเหมือนกับธงเรือสินค้าของชาติมาลายูเจ้าเมือง สิงคโปร์ จึงขอให้เรือไทยใช้ธงสีอื่นให้ต่างกันออกไป ในระยะนั้นประจวบกับมีช้างเผือกมาสู่พระบารมีพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย จึงมีพระบรมราชโองการให้ทำรูปช้างเผือกไว้กลางวงจักร<O:p</O:p
     
  5. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    รัชกาลที่ ๔
    [​IMG]<O:p</O:p

    รัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทำหนังสือสัญญาเปิดการค้าขายกับชาวตะวันตกในพ.ศ. ๒๓๙๘ มีเรือสินค้าของประเทศต่างๆ ในยุโรปและอเมริกาเดินทางเข้ามาค้าขายมากขึ้น และมีสถานกงสุล ตั้งอยู่ในกรุงเทพฯ สถานที่เหล่านั้นล้วนชักธงชาติของตนขึ้นเป็นของตนขึ้นเป็นสำคัญ จึงจำเป็นที่จะต้องมีธงชาติที่แน่นอน จึงทรงพระราชดำริว่า ธงสีแดงซึ่งเรือสินค้าไทยใช้อยู่นั้นซ้ำกับประเทศอื่น ยากแก่การสังเกตไม่สมควรใช้อีกต่อไป ควรจะใช้ธงอย่างเรือหลวงเป็นธงชาติ แต่โปรดให้เอารูปจักรออกเสียเพราะเป็นเครื่องหมายเฉพาะพระเจ้าแผ่นดิน คงไว้แต่รูปช้างเผือกอยู่กลางธงแดง<O:p</O:p
    <O:p</O:p


    รัชกาลที่ ๕
    [​IMG]<O:p</O:p

    <O:p</O:p
    ในระหว่างรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการออกพระราชบัญญัติว่าด้วยแบบอย่างธงหลายครั้ง คือพระราชบัญญัติว่าด้วยแบบอย่างธงสยาม รศ.๑๑๐ พระราชบัญญัติธงรัตนโกสินทรศก ๑๑๖ พระราชบัญญัติธง รัตนโกสินทรศก ๑๑๘ ทุกฉบับได้ยืนยันลักษณะของธงชาติว่าเป็นธงพื้นแดง กลางเป็นรูปช้างเผือก ไม่ทรงเครื่องหันหน้าเข้าเสาทั้งสิ้น
    <O:p</O:p

    รัชกาลที่ ๖
    [​IMG]<O:p</O:p

    <O:p</O:p
    ต่อมาในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ออกประกาศแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติธง รัตนโกสินทรศก ๑๒๙ เมื่อวันที่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๔๕๙ แก้ไขลักษณะธงชาติเป็น"ธงพื้นแดง กลางเป็นรูปช้างเผือกทรงเครื่องยืนแท่น หันหลังเข้าเสา ประกาศนี้เริ่มให้บังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๔๕๙ (ขณะนั้นยังนับเดือนเมษายนเป็นเดือนเริ่มศักราชใหม่ )<O:p</O:p

    <O:p</O:p


    [​IMG]
    ในพ.ศ. ๒๔๖๐ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงนำประเทศไทยเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่๑ ทรงพระราชดำริว่า การประกาศสงครามนับเป็นความเจริญก้าวหน้าขั้นหนึ่งของประเทศ สมควรจะมีสิ่งเตือนใจ สำหรับวาระนี้ไว้ภายหน้า สิ่งนั้นควรได้แก่ "ธงชาติ" ทรงเห็นว่าลักษณะที่แก้ไขใน พ.ศ. ๒๔๕๙ นั้น ยังไม่สง่างาม ๗งโปรดเกล้าฯ ให้เพิ่มแถบน้ำเงินแก่ขึ้นอีกสีหนึ่งเป็นสามสี ตามลักษณะของธงนานาชาติที่ใช้กันอยู่ เพื่อให้เป็นเครื่องหมายว่าไทยเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตร และอีกประการหนึ่งสีน้ำเงินเป็นสีประจำพระชนมวารเฉพาะพระองค์ จึงเป็นสีที่ควรประดับไว้ในธงชาติไทย ดังนั้นในปี๒๔๖๐ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติ ธง พระพุทธศักราช ๒๔๖๐ ออกประกาศเมื่อวันที่ ๒๘ กันยายน พ.ศ. ๒๔๖๐ มีผลบังคับภายหลังวันออกประกาศในหนังสือราชกิจจานุเบกษาแล้ว ๓๐ วัน ลักษณะธงชาติมีดังนี้ คือ
    <O:p</O:p
    เป็นธงรูปสี่เหลี่ยมรี ขนาดกว้าง ๒ ส่วน ยาว ๓ ส่วน มีแถบสีนำเงินแก่กว้าง ๑ ใน ๓ ของความกว้างของธงอยู่กลาง มีแถบสีขาวกว้าง ๑ ใน ๖ ของความกว้างของธงข้างละแถบ แล้วมีแถบแดงกว้างเท่ากับแถบขาวประกอบข้างนอกอีกข้างละแถบ และ พระราชทานนามว่า "ธงไตรรงค์" ส่วนธงรูปช้างกลางธงพื้นแดงของเดิมนั้นให้ยกเลิก ความหมายของสีธงไตรรงค์คือ สีแดงหมายถึงชาติ และ ความสามัคคี ของคนในชาติ สีขาวหมายถึงศาสนา ซึ่งเป็นเครื่องอบรมสั่งสอนจิตใจให้บริสุทธิ์ สีนำเงินหมายถึงพระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขของประเทศ ดังบทพระราชนิพนธ์พรรณนาไว้ดังนี้<O:p</O:p
    ขอร่ำรำพรรณบรรยาย ความคิดเครื่องหมาย <O:p</O:p
    แห่งสีทั้งสามงาม<O:p</O:p
    ขาวคือบริสุทธิ์ศรีสวัสดิ์ หมายพระไตรรัตน์<O:p</O:p
    และธรรมะคุ้มจิตใจ<O:p</O:p
    แดงคือโลหิตเราไซร้ ซึ่งยอมสละได้<O:p</O:p
    เพื่อรักษาชาติศาสนา<O:p</O:p
    น้ำเงินคือสีโสภา อันจอมประชา<O:p</O:p
    ธ โปรดเป็นของส่วนองค์<O:p</O:p
    จัดริ้วเข้าเป็นไตรรงค์ จึงเป็นสีธง<O:p</O:p
    ที่รักแห่งเราชาวไทย <O:p</O:p
    ทหารอวตารนำไป ยงยุทธวิชัย<O:p</O:p
    วิชิตก็กู้เกียรติสยาม<O:p</O:p
     
  6. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    รัชกาลที่ ๗<O:p</O:p
    [​IMG]<O:p</O:p

    ครั้นถึงรัชกาลที่ ๗ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ ได้มีพระราชบันทึกพระราชทานไปยังองคมนตรี เพื่อให้เสนอความเห็นของคนหมู่มากว่า จะคงใช้ธงไตรรงค์ดังที่ใช้อยู่เป็นธงชาติต่อไป หรือจะกลับไปใช้ธงช้างแทน หรือจะปรับปรุงเปลี่ยนแปลงลักษณะธงชาติ กับวิธีใช้ธงไตรรงค์อย่างไร ปรากฏว่าความเห็นขององคมนตรีแตกต่างกระจายกันมาก จึงมิได้กราบบังคมทูลข้อชี้ขาด ดังนั้นจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้คงใช้ธงไตรรงค์เป็นธงชาติต่อไปตามพระราชวินิจฉัยลงวันที่ ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๐ ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ ๘ ได้มีการปรับปรุงพระราชบัญญัติธงซึ่งยังคงใช้ธงไตรรงค์เป็นธงชาติเช่นเดิมแต่ ได้อธิบายลักษณะธงไว้เข้าใจง่ายและชัดเจน ดังนี้ ลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยม มีขนาดกว้าง ๖ ส่วน ยาว ๙ ส่วน ด้านกว้าง ๒ ใน ๖ ส่วน ตรงกลางเป็นสีจาบต่อจากแถบสีจาบออกไปสองข้าง ๆ ละ ๑ ส่วนใน ๖ สีวนเป็นแถบสีขาว ต่อจากสีขาวออกไปทั้ง ๒ ข้างเป็นแถบสีแดง
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    รัชกาลที่ ๘<O:p</O:p
    <O:p</O:p


    [​IMG]
    รัชกาลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ได้ตราพระราชบัญญัติธง เป็นฉบับแรกในรัชกาล เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๙ ในส่วนที่ว่าด้วยธงชาตินั้นยังใช้ธงไตรรงค์ แต่ได้อธิบายลักษณะธงไว้เข้าใจง่ายและชัดเจน คือ ลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยม มีขนาดกว้าง ๖ ส่วน ยาว ๙ ส่วน ด้านกว้าง ๒ใน ๖ ส่วน ตรงกลางเป็นสีขาบ (น้ำเงินเข้ม) ต่อจากแถบสีขาบออกไปทั้งสองข้าง ๆ ละ ๑ ใน ๖ ส่วนเป็นแถบสีขาว ต่อจากสีขาวออกไปทั้ง ๒ ข้างเป็นแถบสีแดง นับแต่นั้นมาไม่มีข้อความใดๆ เปลี่ยนแปลงลักษณะของธงชาติอีก ธงไตรรงค์ จึงเป็นธงชาติไทยสืบมาจนปัจจุบัน<O:p</O:p
     
  7. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    รวมข้อปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้ การชัก การแสดงธงชาติ
    ตามนัย พระราชบัญญัติธง พ.ศ.2522 ประมวลกฎหมายอาญา ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการใช้ การชัก หรือการแสดงธงชาติและธงของต่างประเทศในราชอาณาจักร พ.ศ. 2529 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2546 มติคณะรัฐมนตรี วันที่ 26 พฤษภาคม 2546 และมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 29 กรกฎาคม 2546 ได้กำหนดข้อปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้ การชัก หรือการแสดงธงชาติที่สำคัญ ดังนี้ <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    1.ขนาดและสีธงชาติ<O:p</O:p
    มีขนาดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 6 ส่วน ยาว 9 ส่วน ด้านกว้างแบ่งเป็น 5 แถบ ตลอดความยาวของผืนธง ตรงกลางเป็นแถบสีน้ำเงินแก่ กว้าง 2 ส่วน ต่อจากแถบสีน้ำเงินแก่ออกไปทั้งสองข้างเป็นแถบสีขาวกว้างข้างละ 1 ส่วน ต่อจากแถบสีขาวออกไปทั้งสองข้างเป็นแถบสีแดงกว้างข้างละ 1 ส่วน<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    2. การแสดงธงชาติ<O:p</O:p
    หมายความว่า การที่บุคคลหรือคณะบุคคลได้ทำหรือสร้างให้ปรากฏเป็นรูปร่างไม่ว่าจะเป็นวัตถุ รูป ภาพ หรือสสาร ที่มีลักษณะเป็นสีที่มีความหมายถึงธงชาติ หรือแถบสีธงชาติ<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    3. ลักษณะธงชาติที่นำมาใช้<O:p</O:p
    ธงชาติที่จะนำมาใช้ ชัก หรือแสดง ต้องมีสภาพดีเรียบร้อย ไม่ขาดวิ่น และสีไม่ซีดจนเกินควร<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    4. ขนาดเสาธงและผืนธงชาติ<O:p</O:p
    เสาธงชาติจะมีขนาดสูง ต่ำ ใหญ่หรือเล็กเพียงไร ควรจะอยู่ ณ ที่ใด และจะใช้ผืนธงขนาดเท่าใดนั้น ให้อยู่ในดุลพินิจของหัวหน้าส่วนราชการระดับกรม หรือผู้ปกครองสถานที่หรือเอกชนผู้ครอบครองอาคารสถานที่ จะพึงพิจารณาให้เหมาะสมเป็นสง่างามแก่อาคารสถานที่นั้นๆ<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    5. การประดับธงชาติและกำหนดเวลาชักธงชาติขึ้นและลง<O:p</O:p
    5.1 เพื่อสร้างความรู้สึกนิยมและภาคภูมิใจในความเป็นชาติ อีกทั้งเป็นการเผยแพร่ธงชาติให้เป็นที่ปรากฏชินตาแก่ผู้พบเห็น คณะรัฐมนตรีได้กำหนดให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐประดับธงชาติไว้ในสถานที่อันควร ในบริเวณที่ทำการทุกวันและตลอดเวลา สำหรับภาคเอกชน และบ้านเรือนประชาชนโดยทั่วไปก็ให้อนุโลมดำเนินการไปในแนวทางเดียวกัน<O:p</O:p
    5.2 นอกเหนือจากข้อ 5.1 ถ้าต้องมีการชักธงชาติขึ้นและลง ณ สถานที่ หรือบริเวณใด โดยปกติให้เป็นไปตามกำหนดเวลาดังต่อไปนี้
    5.2.1 ชักขึ้นเวลา 08.00 นาฬิกา
    5.2.2 ชักลงเวลา 18.00 นาฬิกา<O:p</O:p
    5.3 สถานที่และยานพาหนะของฝ่ายทหาร การชักธงชาติขึ้นและลงให้ปฏิบัติตามระเบียบหรือข้อบังคับของทหาร <O:p</O:p
    5.4 เรือเดินทะเล การชักธงชาติขึ้นและลง ให้ปฏิบัติตามขนบธรรมเนียมประเพณีของชาวเรือ <O:p</O:p
    5.5 สถานที่ราชการพลเรือน ถ้าในบริเวณเดียวกันมีสถานที่ราชการหลายแห่งจะสมควรชักธงชาติ ณ ที่ใด ให้อยู่ในดุลพินิจของหัวหน้าหน่วยงานผู้ปกครองสถานที่นั้น ๆ <O:p</O:p
    5.6 สถานที่ราชการฝ่ายพลเรือนที่ตั้งอยู่ในเขตพระราชฐาน การชักธงชาติโดยการจัดตั้งเสาธงชาติต่างหากจากตัวอาคาร ให้ได้รับความเห็นชอบจากเลขาธิการพระราชวัง <O:p</O:p
    5.7 สถาบันการศึกษาในสังกัดหรือในความควบคุมของกระทรวงศึกษาธิการ ให้ชักธงชาติตามระเบียบที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด <O:p</O:p
    5.8 เรือเดินในลำน้ำ ถ้าจะชักธงชาติให้ชักไว้ที่ท้ายเรือ <O:p</O:p
    5.9 ที่สาธารณสถานและสถานที่ของเอกชน ถ้าจะชักธงชาติ ให้ปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีโดยอนุโลม <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    6. วิธีการชักธงชาติ<O:p</O:p
    6.1 ผู้มีหน้าที่ชักธงชาติ ต้องแต่งกายเรียบร้อย <O:p</O:p
    6.2 เมื่อใกล้กำหนดเวลาชักธงขึ้น ให้เตรียมธงชาติผูกติดกับสายเชือกทางด้านขวาของผู้ชักธงให้เรียบร้อย <O:p</O:p
    6.3 เมื่อถึงกำหนดเวลา ให้คลี่ธงชาติออกเต็มผืน แล้วดึงเชือกให้ธงชาติขึ้นช้า ๆ ด้วยความสม่ำเสมอ จนถึงสุดยอดเสาธง แล้วจึงผูกเชือกไว้ให้ตึง ไม่ให้ธงลดต่ำลงมาจากเดิม <O:p</O:p
    6.4 เมื่อชักธงลงให้ดึงเชือกให้ธงชาติลงช้า ๆ ด้วยความสม่ำเสมอ และสายเชือกตึงจนถึงระดับเดิมก่อนชักขึ้น <O:p</O:p
    6.5 ในกรณีที่มีการบรรเลงเพลงเคารพหรือมีสัญญาณให้การชักธงขึ้นและลง จะต้องชักธงชาติขึ้นและลงให้ถึงจุดที่สุด พร้อมกับจบเพลงหรือสัญญาณนั้นๆ <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    7 วันพิธีสำคัญที่ต้องชักธงและประดับธงชาติ<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    7.1 วันขึ้นปีใหม่ วันที่ 1 มกราคม1 วัน<O:p</O:p
    7.2 วันมาฆบูชา1 วัน<O:p</O:p
    7.3 วันพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และวันที่ระลึกมหาจักรีบรมราชวงศ์ วันที่ 6 เมษายน1 วัน<O:p</O:p
    7.4 วันสงกรานต์ วันที่ 13 เมษายน1 วัน<O:p</O:p
    7.5 วันฉัตรมงคล วันที่ 5 พฤษภาคม1 วัน<O:p</O:p
    7.6 วันพืชมงคล 1 วัน<O:p</O:p
    7.7 วันวิสาขบูชา1 วัน<O:p</O:p
    7.8 วันอาสาฬหบูชา1 วัน<O:p</O:p
    7.9 วันเข้าพรรษา1 วัน<O:p</O:p
    7.10 วันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ วันที่ 12 สิงหาคม1 วัน<O:p</O:p
    7.11 วันสหประชาชาติ วันที่ 24 ตุลาคม1 วัน<O:p</O:p
    7.12 วันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว วันที่ 5, 6 และ 7 ธันวาคม36 วัน<O:p</O:p
    7.13 วันรัฐธรรมนูญ วันที่ 10 ธันวาคม1 วัน<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    นอกจากนี้สุดแต่ทางราชการจะประกาศให้ทราบเป็นครั้งคราว ส่วนงานพิธีอื่นๆ ตามประเพณีนิยม หากจะชักธงและประดับธงชาติก็ทำได้ แต่ต้องทำด้วยความเคารพ<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    8. การลดธงชาติครึ่งเสา<O:p</O:p
    การลดธงชาติครึ่งเสากรณีใด เป็นเวลาเท่าใด ทางราชการจะประกาศให้ทราบเป็นคราว ๆ ไป ในทางปฏิบัติที่ผ่านมา การลดธงชาติครึ่งเสาจะกระทำในกรณีที่ประมุขหรือบุคคลสำคัญของประเทศต่างๆ เสียชีวิต โดยปกติทางราชการจะประกาศให้ลดธงชาติครึ่งเสาทั่วราชอาณาจักรเป็นเวลา 3 วัน<O:p</O:p
    การลดธงชาติครึ่งเสาให้ปฏิบัติการเหมือนการชักธงขึ้นเช่นปกติ แต่เมื่อธงถึงยอดเสาแล้วจึงลดลงให้อยู่ในระดับความสูงประมาณ 2 ใน 3 ส่วนของความสูงของเสาธงนั้น และเมื่อจะชักธงลงให้ชักธงขึ้นจนถึงยอดเสาก่อน แล้วจึงชักธงลงเช่นเดียวกับเรื่องวิธีการชักธงชาติ<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    9. การทำความเคารพธงชาติ<O:p</O:p
    9.1 เมื่อมีการชักธงชาติขึ้นและลง ให้แสดงความเคารพโดยการยืนตรง หันไปทางเสาธง อาคาร หรือสถานที่ที่มีการชักธงชาติขึ้นและลง จนกว่าจะเสร็จการ<O:p</O:p
    9.2 ในกรณีที่ได้ยินเพลงชาติหรือสัญญาณการชักธงชาติ จะเห็นหรือไม่เห็นการชักธงชาติก็ตาม ให้แสดงความเคารพโดยหยุดนิ่งในอาการสำรวม จนกว่าการชักธงชาติหรือเสียงเพลงชาติ หรือสัญญาณการชักธงชาติจะสิ้นสุดลง<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    10. การดูแลรักษาธงชาติ<O:p</O:p
    10.1 ให้หัวหน้าส่วนราชการ หัวหน้าหน่วยงานผู้ปกครองอาคารสถานที่ราชการหรือสถานที่ทำการของหน่วยงานของรัฐและเอกชนผู้ครอบครองอาคารสถานที่ที่มีการใช้ การชักหรือการแสดงธงชาติกวดขันดูแลให้มีการปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบโดยเคร่งครัด <O:p</O:p
    10.2 ให้เจ้าหน้าที่หรือบุคคลผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการใช้ การชัก หรือการแสดงธงชาติเก็บรักษาธงชาติไว้ด้วยความเคารพในสถานที่และที่เก็บอันสมควร<O:p</O:p
    10.3 การเชิญธงชาติจากที่เก็บรักษาเพื่อนำไปใช้ ชัก หรือแสดง ในกรณีที่ธงชาติเป็นผืนผ้าให้เชิญไปในสภาพที่พับเรียบร้อย และด้วยอาการเคารพเมื่อถึงทีที่จะใช้หรือแสดงจึงคลี่ธงออกเพื่อใช้หรือแสดงต่อไป<O:p</O:p
    10.4 การเชิญธงชาติจากที่ที่ใช้ ชัก หรือแสดง ไปเก็บไว้ ณ ที่เก็บรักษา ให้ดำเนินการในลักษณะเดียวกับที่กำหนดไว้ในข้อ 10.3<O:p</O:p
     
  8. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    11. การประดับธงชาติคู่หรือร่วมกับธงอื่น<O:p</O:p
    11.1 การประดับธงชาติคู่หรือร่วมกับธงอื่น ยกเว้นธงพระอิสริยยศจะต้องไม่ให้ธงชาติอยู่ในระดับต่ำกว่าธงอื่นๆ และโดยปกติให้จัดธงชาติอยู่ที่เสาธงแรกด้านขวา (เมื่อมองดูออกมาจากภายใน หรือจุดของสถานที่ที่ใช้ชัก แสดง หรือประดับธงเป็นหลัก) <O:p</O:p
    11.2 การประดับธงชาติคู่กับธงอื่นในงานพิธีซึ่งมีแท่นหรือมีที่สำหรับประธาน ให้จัดธงชาติอยู่ด้านขวาของแท่นพิธีและธงอื่นอยู่ด้านซ้าย<O:p</O:p
    11.3 การประดับธงชาติคู่กับธงอื่น เมื่อรวมกับธงชาติแล้วเป็นจำนวนคี่ ให้ธงชาติอยู่กลาง<O:p</O:p
    11.4 การประดับธงชาติคู่กับธงอื่น เมื่อรวมกับธงชาติแล้วเป็นจำนวนคู่ ให้ธงชาติอยู่กลางด้านขวา<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    12. การประดับธงชาติคู่หรือร่วมกับพระพุทธรูปหรือพระบรมรูป<O:p</O:p
    การประดับธงชาติร่วมกับพระพุทธรูปและพระบรมรูปในพิธีการต่างๆ ให้จัดธงชาติอยู่ด้านขวาของพระพุทธรูป พระบรมรูปอยู่ด้านซ้าย<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    13. การประดับธงชาติคู่หรือร่วมกับธงของต่างประเทศ<O:p</O:p
    13.1 การประดับธงชาติคู่หรือร่วมกับธงของต่างประเทศ จะต้องเป็นไปในลักษณะที่เท่าเทียมกัน เช่น ขนาดและสีของธง และความสูงต่ำของธง เป็นต้น <O:p</O:p
    13.2 ถ้าประดับหรือชักธงของต่างประเทศประเทศเดียว ต้องให้ธงชาติอยู่ด้านขวาของธงต่างประเทศ<O:p</O:p
    13.3 ถ้าประดับธงของต่างประเทศเกินกว่าหนึ่งประเทศ เมื่อรวมกับธงชาติแล้วเป็นจำนวนคี่ ให้ธงชาติอยู่ตรงกลาง<O:p</O:p
    13.4 ถ้าประดับธงของต่างประเทศเกินกว่าหนึ่งประเทศ เมื่อรวมกับธงชาติแล้วเป็นจำนวนคู่ ให้ธงชาติอยู่กลางด้านขวา<O:p</O:p
    13.5 การประดับธงชาติในสถานที่ หรือมีข้อตกลงระหว่างประเทศ หรือประเทศภาคีกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น เช่น ให้ใช้เรียงตามลำดับอักษร หรือเรียงตามลำดับการเป็นสมาชิก ก็ให้ปฏิบัติตามข้อตกลงนั้น<O:p</O:p
    13.6 การประดับธงชาติในการแข่งขันกีฬาระหว่างประเทศ โดยปกติให้เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับของสมาคมกีฬาระหว่างประเทศ หรือตามหลักสากลที่ยอมรับกันในนานาอารยประเทศ<O:p</O:p
    13.7 การประดับธงชาติคู่กับธงของต่างประเทศสำหรับรถยนต์ ให้ปักธงชาติไว้ทางด้านขวา และธงของต่างประเทศไว้ทางด้านซ้าย<O:p</O:p
    13.8 ยานพาหนะอื่นให้ใช้ทำนองเดียวกับข้อ 13.7 เว้นแต่การประดับบนเรือให้เป็นไปตามธรรมเนียมประเพณีของชาวเรือ<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    14. การใช้ธงชาติกับผู้เสียชีวิต<O:p</O:p
    14.1 การใช้ธงชาติประกอบเกียรติยศศพหรืออัฐิ ให้ใช้กับบุคคลดังต่อไปนี้
    14.1.1 ประธานองคมนตรี
    14.1.2 ประธานรัฐสภา
    14.1.3 นายกรัฐมนตรี
    14.1.4 ประธานศาลฎีกา
    14.1.5 ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์
    14.1.6 ผู้ที่เสียชีวิตเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่สู้รบหรือต่อสู้ หรือช่วยเหลือการสู้รบ หรือต่อสู้ หรือเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ราชการ หรือช่วยเหลือราชการในการป้องกันอธิปไตย หรือรักษาความสงบเรียบร้อยของประเทศ หรือปราบปรามการกระทำผิดต่อความมั่นคงของรัฐ หรือปราบปรามการกระทำความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
    14.1.7 ผู้ที่เสียชีวิตเนื่องจากได้แสดงความกล้าหาญ ช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ให้เป็นประโยชน์อย่างสำคัญแก่ทางราชการ โดยไม่เกรงภัยอันจะเกิดแก่ชีวิตของตน
    14.1.8 บุคคลนอกจากข้อ 14.1.1
     
  9. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    18. การแสดงธงชาติที่สินค้า
    การแสดงธงชาติไว้ที่สิ่งบรรจุ หีบห่อ สิ่งหุ้มห่อ สิ่งผูกมัด ผลิตภัณฑ์ หรือสินค้าใดๆ ที่มิได้มีลักษณะเป็นการเหยียดหยามต่อธงชาติ ประเทศไทยหรือชาติไทย ให้ทำได้ในกรณีดังต่อไปนี้<O:p</O:p
    18.1 เป็นการแสดงธงชาติที่กระทำโดยส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ <O:p</O:p
    18.2 เป็นการแสดงธงชาติที่กระทำโดยเอกชน เพื่อประโยชน์ทางการพาณิชย์ โดยได้รับความเห็นชอบจากส่วนราชการที่ได้รับมอบหมายจากกระทรวงพาณิชย์ หรือกระทรวงอุตสาหกรรมแล้วแต่กรณี โดยหลักเกณฑ์และวิธีการขอความเห็นชอบให้เป็นไปตามที่กระทรวงพาณิชย์หรือกระทรวงอุตสาหกรรมประกาศกำหนด <O:p</O:p
    18.3 เป็นการแสดงธงชาติที่กระทำโดยเอกชนในกรณีอื่นๆ ตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการธงจะประกาศกำหนด <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    19. การกระทำอันเป็นการเหยียดหยามหรือไม่สมควรต่อธงชาติ<O:p</O:p
    19.1 การกระทำอันเป็นการเหยียดหยามต่อธงชาติ ได้แก่ การกระทำต่อธงชาติรูปจำลองของธงชาติ หรือแถบสีธงชาติ ด้วยเจตนาเหยียดหยามประเทศชาติ เช่น ฉีกทำลาย ถ่มน้ำลายรด ใช้เท้าเหยียบ วางเป็นผ้าเช็ดเท้า ซึ่งเป็นการแสดงความดูถูกดูหมิ่นเหยียดหยามชาติไทย <O:p</O:p
    19.2 การกระทำที่ไม่สมควรต่อธงชาติ รูปจำลองของธงชาติ หรือแถบสีธงชาติ เช่น <O:p</O:p
    19.2.1 การประดิษฐ์รูป ตัวอักษร ตัวเลข หรือเครื่องหมายอื่นในผืนธงรูปจำลองของธง หรือแถบสีของธง <O:p</O:p
    19.2.2 การใช้ ชัก หรือแสดงธง รูปจำลองของธง หรือแถบสีของธงอันมีลักษณะตามข้อ 19.2.1 <O:p</O:p
    19.2.3 การใช้ ชัก หรือแสดงธง รูปจำลองของธง หรือแถบสีของธงไว้ ณ สถานที่หรือวิธีอันไม่สมควร<O:p</O:p
    19.2.4 การประดิษฐ์ธง รูปจำลองของธง หรือแถบสีธงไว้ ณ ที่หรือสิ่งใดๆ โดยไม่สมควร <O:p</O:p
    19.2.5 แสดงหรือใช้สิ่งใด ๆ ที่มีรูปธง รูปจำลองของธง หรือแถบสีธงอันมีลักษณะตามข้อ 19.2.4 <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    20. โทษ<O:p</O:p
    การกระทำการต่อธงชาติโดยไม่ให้ความเคารพ มีความผิดและต้องรับโทษตามกฎหมาย ดังนี้<O:p</O:p
    20.1 กระทำการใดๆ ต่อธง หรือเครื่องหมายอื่นใด อันมีความหมายถึงรัฐ เพื่อเหยียดหยามประเทศชาติ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (มาตรา 118 แห่งประมวลกฎหมายอาญา) <O:p</O:p
    20.2 กระทำการใดๆ ที่ไม่สมควรต่อธงชาติ รูปจำลองของธงชาติ หรือแถบสีของธงชาติ ตามข้อ 19.2.1
     
  10. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
  11. บุษบากาญจ์

    บุษบากาญจ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    9,476
    ค่าพลัง:
    +20,271
    ขอบคุณค่ะเดี๋ยวกลับมาอ่านค่ะ(ยาวมาก หุหุหุ)
     
  12. ใหญ่...พปด

    ใหญ่...พปด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    447
    ค่าพลัง:
    +188
    คุณบุษ. อ่านเผื่อด้วยครับ....
     
  13. AddWassana

    AddWassana เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    11,698
    ค่าพลัง:
    +21,186
    ขอบคุณค่ะ เป็นความรู้ที่ลืมไปแล้ว จะได้อ่านทบทวนใหม่ค่ะ
     
  14. เจ้าโก้

    เจ้าโก้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มกราคม 2005
    โพสต์:
    1,221
    ค่าพลัง:
    +939
    ผมคิดว่าน่าจะมีหน่อไม้นะครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...