"พระเจ้าจักรพรรดิราช"

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย เกษม, 23 มกราคม 2011.

แท็ก:
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. Mdef

    Mdef เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มีนาคม 2017
    โพสต์:
    1,366
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,868
    ใครรอดชีวิตได้ก็คงได้เจอกัน

    อ่อ คือจะบอกเป็นนัยๆว่าท่านสงบนี้รอดแน่ ส่วนผู้อื่นนี้ยังไม่แน่ว่าจะรอดจากภัย
    ใครรอดจากภัยก็มีโอกาสได้พบท่านสงบ ฮ่าๆๆๆ

    ไปดีมาดี ขอสติจงดำรงอยู่ที่ท่านครับ อิอิ
     
  2. คนชอบใส่ร้ายโดนธรณีสูบ

    คนชอบใส่ร้ายโดนธรณีสูบ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +908
    ขอโทษนะคะ วันนี้จะขอนำเอาวิปัสนูกิเลส 10 ประการที่ส่วนใหญ่นักปฏิบัติยังติดอยู่ในอาการลักษณธนี้อีกเยอะ เอามาให้ดูเพื่อไว้เป็นแนวทาง อ่านตัวเองให้ออกแล้วพร้อมหาวิธีแก้ไข


    วิปัสสนูปกิเลส ๑๐ หมายถึง อุปกิเลสแห่งวิปัสสนา เป็นธรรมารมณ์ที่เกิดแก่ผู้ได้วิปัสสนาอ่อนๆ (ตรุณวิปัสสนา) สภาพน่าชื่นชมแต่ที่แท้เป็นโทษเครื่องเศร้าหมองแห่งวิปัสสนา ทำให้เข้าใจผิดว่าตนบรรลุมรรคผลแล้ว เป็นเหตุขัดขวางไม่ให้ก้าวหน้าต่อไปในวิปัสสนาญาณ มี ๑๐ อย่าง คือ


    มิจฉาสมาธิ มีเหตุให้เกิดขึ้นจาก มิจฉาทิฏฐิความเห็นผิดเข้าใจผิดจากความเป็นจริง มีตัณหาคือความอยากเป็นต้นเหตุที่สำคัญ เมื่อจิตมีความสงบเป็นสมาธิแล้วจึงเกิดภาพหลอกที่เรียกว่านิมิต นิมิตนี้เองจึงเป็นกลลวงของกิเลสสังขาร ผู้ไม่มีปัญญาจึงเกิดความเข้าใจผิดคิดว่าเป็นของจริง มีความดีใจ พอใจในนิมิตนั้น ๆ จนลืมตัวจึงเกิดความเข้าใจผิดคิดว่าเป็นของดี มีความฝักใฝ่พอใจในนิมิตจนจิตเกิดเป็นวิปัสสนูปกิเลส ๑๐ อย่าง ขึ้นมาโดยไม่รู้ตัว นี้ก็เพราะไม่มีปัญญารอบรู้ในวิธีทำสมาธิที่ถูกต้องนั่นเอง จึงทำให้จิตเกิดวิปลาสเหม่อลอย ไม่มีสติควบคุมจิตของตัวเองได้เลย ที่เรียกว่ากรรมฐานแตกเป็นบ้านไปก็เป็นในลักษณะนี้ก็เพราะทำสมาธิไม่มีปัญญาเป็นองค์ประกอบรอบรู้เอาไว้ ถ้าทำสมาธิมีความจริงจังมากเท่าไรก็จะเพิ่มวิปลาสมากขึ้นเท่านั้น สติปัญญาไม่มี อาการของวิปัสสนูปกิเลสก็เริ่มปรากฏตัวขึ้นที่ใจ ดังจะได้อธิบายเรื่องของวิปัสสนูปกิเลสที่เกิดขึ้นจากมิจฉาสมาธิ ที่มีความสงบอย่างผิด ๆ ให้ผู้ทำสมาธิรับรู้เอาไว้ เพื่อจะได้ข้อคิดสังเกตดูตัวเองว่า เมื่อทำสมาธิไปแล้วมีผลเกิดขึ้นเป็นอย่างไร ถ้าผิดไปก็จะได้แก้ไขให้ทันต่อเหตุการณ์

    • โอภาส เมื่อจิตมีความสงบเป็นสมาธิแล้วจะเกิดความสว่างในทางใจ ความสว่างนี้จะมีลักษณะที่แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับนิสัยของแต่ละคนไม่เหมือนกัน เมื่อความสว่างนี้เกิดขึ้นกับตัวเองเมื่อไร ให้รีบไปหาครูอาจารย์ช่วยแนะวิธีแก้ไข ครูอาจารย์นั้นต้องมีความรอบรู้ในวิธีทำสมาธิเป็นอย่างดี จึงจะช่วยแก้ไขให้ได้ ถ้าครูอาจารย์ไม่มีความรู้ในทางนี้ ก็จะส่งเสริมตอกย้ำให้ทำในวิธีนี้ต่อไป ผู้ได้รับผลที่ผิด ๆ ก็ตกอยู่กับผู้ทำสมาธิเอง

    • ปีติ ผู้ทำสมาธิจะมีความเอิบอิ่มใจเป็นอย่างมากมีความเบิกบานใจอยู่ตลอดเวลา จะยืนเดินนั่งนอนอยู่ในอิริยาบถไหนใจจะมีความเอิบอิ่มอยู่ตลอดทั้งวันทั้งคืน ในช่วงนั้นมีแต่เฝ้าดูจิตที่มีความเอิบอิ่มอยู่เป็นนิจ ความคิดทางสติปัญญาจะพิจารณาในเรื่อง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ก็หมดสภาพไป ใจมีแต่ความเพลิดเพลินอยู่กับปีตินั้น ๆ

    • ปัสสัทธิ ความสงบใจที่เป็นผลจากการทำสมาธิจะมีความสงบเป็นอย่างมาก จะมีความแน่วแน่มั่นคงอย่างแนบแน่นทีเดียว ใจไม่คิดวอกแวกแส่ส่ายไปตามอารมณ์แต่อย่างใด จะเป็นอารมณ์แห่งความรักหรืออารมณ์แห่งความชัง เนื่องจากสาเหตุอันใดก็ตามไม่มีความอยากคิดในเรื่องอะไรทั้งนั้น จะยืนเดินนั่งนอนอยู่ในที่ไหนมีแต่ความสงบใจอยู่ตลอดเวลา นี้ก็เป็นโมหสมาธิหลงอยู่ในความสุขจนลืมตัว ไม่อยากคิดพิจารณาให้เป็นไปในการเจริญทางสติปัญญาแต่อย่างใด เพราะกลัวว่าใจจะเกิดความฟุ้งซ่าน มีแต่ใช้สติระลึกรู้อยู่ในอารมณ์แห่งความสงบนั้น ๆ จึงเป็นสมาธิที่โง่เขลาหาความฉลาดไม่ได้เลย

    • สุขะ เมื่อจิตมีความสงบดีแล้วย่อมเกิดความสุขภายในใจเป็นอย่างมาก จะยืน เดิน นั่ง นอน อยู่ในที่ไหนใจจะมีแต่ความสุขอยู่ตลอดเวลา ถือว่าใจมีความสุขแล้ว อยากให้ความสุขนี้อยู่เป็นคู่ของใจตลอดไปไม่อยากให้เสื่อมคลาย นี้เองผู้ปฏิบัติในยุคนี้จึงมีความต้องการภาวนาหาความสุขใจเพียงเท่านั้น ที่สอนกันว่าทำสมาธิเพื่อให้เกิดความสุขภายในใจถ้าปัญญาไม่มีก็จะหลงความสุขได้

    • ญาณะ เมื่อจิตมีความสงบเป็นสมาธิได้แล้วย่อมมีความรู้เกิดขึ้น ความรู้ที่เกิดขึ้นนี้เองจะทำให้เกิดความหลงผิดไปได้ง่าย จะตีความหมายไปว่าปัญญาญาณได้เกิดขึ้นกับตัวเองแล้ว อยากรู้เรื่องอะไรอยากรู้ในธรรมหมวดไหนก็กำหนดถามลงไปที่ใจ ก็จะมีความรู้ตอบขึ้นมาในหมวดธรรมนั้น ๆ จะเข้าใจไปว่าคุณธรรมได้เกิดขึ้นกับตัวเองแล้ว อยากรู้ว่าเราอยู่ในคุณธรรมระดับไหน ก็จะมีความรู้บอกขึ้นมาว่า เป้ฯคุณธรรมของพระอริยโสดาบันบ้าง เป็นคุณธรรมของพระสกิทาคามีบ้าง เป็นคุณธรรมของพระอนาคามีบ้าง เป็นคุณธรรมของพระอรหันต์บ้างจึงได้เกิดความเชี่อมั่นในความรู้ที่เกิดขึ้นว่าเป็นจริงที่ฝังใจอย่างสนิททีเดียว ใครจะมาว่ามีความสำคัญผิด ก็จะยืนยันว่าเรามีญาณรู้ที่ถูกต้องและมีความเชื่อมั่นว่าตัวเองได้บรรลุธรรมเป็นพระอริยเจ้าจริง ถ้าเป็นในลักษณะนี้จึงยากที่จะแก้ไข

    • อธิโมกข์ น้อมใจเชื่อว่าเป็นของจริงอย่างฝังใจทีเดียว เข้าใจว่าเรามีดวงตาเห็นธรรม ก็เพราะมีญาณรู้ที่เกิดขึ้นจากสมาธิความสงบเป็นต้นเหตุนั่นเอง มีความเชื่อมั่นในความรู้ของตัวเองสูงมากให้ความสำคัญตัวเองว่า พุทโธ รู้ตื่นเบิกบานได้เกิดขึ้นกับตัวเองแล้วถ้ามีอภิญญาอย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้นก็จะเกิดความเชื่อมั่นเพิ่มทิฏฐิมานะอัตตาจนลืมตัว ถ้าพระเป็นในลักษณะนี้ก็จะได้รับพยากรณ์จากลูกศิษย์ว่า อาจารย์ของเราได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ทันที

    • ปัคคาหะ มีความเพียรที่เข้มแข็งเป็นอย่างมาก ความเพียรนั้นจะมุ่งทำสมาธิให้จิตมีความสงบเพียงอย่างเดียว จะไปที่ไหนอยู่ในที่ใดจะปรารภความเพียรทำสมาธิอยู่เสมอ จะอยู่เฉพาะตัวหรือในสังคมใดจะอยู่ในความสำรวมผิดปกติ จะอยู่แบบนิ่งเฉยไม่อยากจะพูดคุยกับใคร ๆ ผู้ที่ไม่เข้าใจก็คิดว่าเป็นผู้ปฏิบัติที่เคร่งครัดมาก หรือลืมตาก็จะอยู่ในท่าเงียบขรึมซึมเซ่อเหม่อลอย ไม่ชอบอยู่ในสังคมอยากจะอยู่เป็นเอกเทศเฉพาะตัว ไม่มีความฉลาดรอบรู้ในทางปัญญาแต่อย่างใด จึงเรียกว่า มิจฉาวายานะ เป็นความผิดไม่ถูกต้องชอบธรรมแต่อย่างใด

    • อุปัฏฐาน มีสติระลึกรู้ในอารมณ์ภายในใจได้ดีมาก แต่เป็นเพียงสติสมาธิเท่านั้น ส่วนสติปัญญาจะไม่มีกับผู้เป็นในลักษณะนี้แต่อย่างใด ถ้าอารมณ์ของใจเปลี่ยนไปตามเหตุปัจจัยอย่างไร ก็จะมีสติระลึกรู้ไปตามอารมณ์ประเภทนั้น ๆ ไม่ชอบพิจารณาในทางสติปัญญาแต่อย่างใด ไม่สนใจพิจารณาในเรื่องที่เป็นอนิจจังทุกขังอนัตตา ถึงจะพูดธรรมะได้ก็พูดไปตามตำราที่ได้ศึกษามาเท่านั้น จึงเรียกว่า มิจฉาสติ ระลึกรู้ในสิ่งใด จะไม่เป็นไปในความถูกต้องชอบธรรมแต่อย่างใด

    • อุเบกขา ความวางเฉยในทางใจได้ดีมาก ใจไม่รับในอารมณ์ที่ชอบใจและไม่ชอบใจ อะไรที่มาสัมผัสทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อันเป็นสิ่งที่จะให้เกิดความรักความชัง ใจจะวางเฉยอยู่ตลอดเวลาเมื่อใจลงสู่อุเบกขาความวางเฉยที่มั่นคงแล้ว จะไม่ทำให้เกิดความรู้สึกในอารมณ์ ไม่มีความเอาใจใส่ในสิ่งใด ๆ ทั้งสิ้น เมื่อเป็นอย่างนี้จะทำสมาธิได้ง่าย แต่ก็จะเป็นมิจฉาสมาธิ ความตั้งใจมั่นผิดต่อไป จึงยากที่จะแก้ไขหรือแก้ไขไม่ได้เลย

    • นิกันติ มีความยินดีพอใจในสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งหมด ยอมรับผลที่เกิดขึ้นว่าเป็นของจริง มีความเชื่อ ว่าเป็นแนวทางที่จะทำให้ถึงซึ่งมรรคผลนิพพานได้แน่นอน ใครจะมาว่าภาวนาผิดอย่างไรก็มีความมั่นใจในตัวเองว่าภาวนาถูกต่อไป และยังไปตำหนิผู้อื่นว่าภาวนาไม่เก่งเหมือนเรา ถึงครูอาจารย์องค์ที่มีความฉลาดรอบรู้เข้ามาช่วยเหลือก็สายไปเสียแล้ว ชีวิตได้ทุ่มเทในการทำสมาธิอย่างจริงจัง ก็มาพังเพราะวิปัสสนูปกิเลสเกิดขึ้นนี้เอง



    ผู้ทำสมาธิถ้าไม่กำจัดตัวมิจฉาทิฏฐิความเห็นผิดให้หมดออกจากใจได้ เมื่อทำสมาธิเพิ่มเข้าไปกำลังใจที่เกิดจากการทำสมาธิ ก็จะไปบวกกันกับมิจฉาทิฏฐิเดิมที่มีอยู่ ก็จะเกิดเป็นมิจฉาสมาธิ ความตั้งมั่นผิด แล้วกลายเป็นวิปัสสนูปกิเลสดังที่ได้อธิบายมาแล้ว
     
  3. คนชอบใส่ร้ายโดนธรณีสูบ

    คนชอบใส่ร้ายโดนธรณีสูบ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +908
    นักปฏิบัติส่วนใหญ่ที่ยังเป็นปุถุชนอยู่จะติดอารมณ์เหล่านี้ เพียงแต่ว่าใครจะรู้ตัวเองหรือไม่
    และพร้อมจะปรับปรุงแก้ไขหรือไม่ หากเป็นคนหลงก็จะอ่านตนเองไม่ออก คิดว่าตนเองดีแล้วจึงมองข้ามสิ่งเหล่านี้ไป

    อุปกิเลส 16

    การพิจารณาจิต คือ ตามรู้จิตตลอดกาลตลอดเวลา ทั้งเมื่ออยู่ในอิริยาบถตามปกติและเมื่อตั้งใจปฏิบัติ เมื่อเราตั้งใจพิจารณา ตามดูจิตแล้ว เราจะมองเห็นอาการของจิตต่าง ๆ ทำให้เข้าใจจริตนิสัยของตัวเองมากขึ้น เมื่อเราเข้าใจตัวเอง ยอมรับตัวเองตามความเป็นจริง ก็จะเป็นพื้นฐานในการปรับปรุงพัฒนาตนเอง คือเมื่อรู้สึกตัวแล้ว ก็จะไม่หลงไปตามอามรณ์จิตเดิมแท้ของเราทุกคนเป็นประภัสสร บริสุทธิ์ผ่องใสโดยธรรมชาติแต่กิเลสเป็นอาคันตุกะที่จรเข้ามาครอบงำจิต ทำให้จิตเศร้าหมอง กิเลสหรืออกุศลมูล อันได้แก่ ราคะ โทสะ โมหะ เมื่อมีเหตุปัจจัยประสมประสานกันแล้วก่อตัวขึ้นมาเป็นอุปนิสัยต่าง ๆ มี 16 ลักษณะเรียกว่า อุปกิเลส 16 ได้แก่

    ๑. อภิชฌมวิสมโลภะ คือความละโมภ อยากได้ อยากมี อยากเป็นอย่างไม่รู้จักพอ เห็นแก่ได้จนลืมตัว

    ๒. พยาบาท คือความคิดร้าย มุ่งจะทำร้ายเขา ใครพูดไม่ถูกใจก็คิดตำหนิเขา คิดจะทำร้ายฆ่าเขาก็มี บางครั้งทำร้ายผู้อื่นไม่ได้ ก็หันมาตำหนิตัวเอง ทำร้ายตัวเอง จนฆ่าตัวตายก็มีซึ่งเป็นเพราะอำนาจพยาบาท เป็นอาการอย่างหนึ่งของโทสะ

    ๓. โกธะ คือความโกรธ มีอะไรมากระทบก็โกรธ เป็นลักษณะโกรธง่าย แต่เมื่อหายแล้วก็เหมือนกับไม่มีอะไรเกิดขึ้น คือไม่ผูกใจเจ็บ ไม่พยาบาท เป็นอาการอย่างหนึ่งของโทสะ

    ๔. อุปนาหะ คือการผูกโกรธ ใครพูดอะไร ทำอะไรให้เกิดความโกรธแล้วจะผูกใจเจ็บ เก็บไว้ ไม่ปล่อย ไม่ลืม เป็นทุกข์อยู่อย่างนั้น กระทบอารมณ์เมื่อไร ก็เอาเรื่องเก่ามาคิดรวมกันคิดทวนเรื่องในอดีตว่าเขาเคยทำไม่ดีกับเราขนาดไหน เป็นอาการอย่างหนึ่งของโทสะ

    ๕. มักขะ คือการลบหลู่คุณท่าน ปิดบังความดีของผู้อื่น ลบหลู่ความดีของผู้อื่น เช่น เขาให้ของแก่เรา แทนที่จะขอบคุณกลับนึกตำหนิเขาว่า เอาของไม่ดีมาให้ หรือเมื่อมีใครพูดถึงความดีของเขา เราทนไม่ได้ เราไม่ชอบ จึงยกเรื่องที่ไม่ดีของเขามาพูด เพื่อปฏิเสธว่าเขาไม่ใช่คนดีถึงขนาดนั้น เป็นต้น

    ๖. ปลาสะ คือการตีเสมอ ยกตัวเทียมท่าน ไม่ยอมยกให้ใครดีกว่าตน แต่ชอบยกตัวเองดีกว่าเขา มักแสดงให้เขาเห็นว่าเราคิดเก่งกว่า รู้ดีกว่า ถ้าให้เราทำ เราจะทำให้ดีกว่าเขาได้

    ๗. อิสสา คือความริษยา เห็นเขาได้ดี ทนไม่ได้ เมื่อเห็นเขาได้ดีมากกว่าเรา เขาได้รับความรักความเอาใจใส่มากกว่าเรา เรารู้สึกน้อยใจ อยากจะได้เหมือนอย่างเขา ความจริงเราอาจจะมีมากกว่าเขาอยู่แล้ว หรือเรากับเขาต่างก็ได้รับเท่ากัน แต่เราก็ยังเกิดความรู้สึกน้อยใจ ทนไม่ได้ก็มี

    ๘. มัจฉริยะ คือความตระหนี่ ขี้เหนียว เสียดายของ ยึดในสิ่งของที่เราครอบครองอยู่อย่างเหนียวแน่น อยากแต่จะเก็บเอาไว้ ไม่อยากให้ใคร

    ๙. มายา คือเจ้าเล่ห์หลอกลวง ไม่จริงใจ พยายามแสดงบทบาทตัวเองเกินความจริง หรือจริงๆ แล้วเรามีน้อยแต่พยายามแสดงออกให้คนอื่นเข้าใจว่ามั่งมี เช่น ด้วยการแต่งตัว กินอยู่อย่างหรูหรา หรือบางกรณี ใจเราคิดตำหนิติเตียนเขา แต่กลับแสดงออกด้วยการพูดชื่นชมอย่างมาก หรือบางทีเราไม่ได้มีความรู้มาก แต่ของคุยแสดงว่ารู้มาก เป็นต้น

    ๑๐. สาเถยยะ คือการโอ้อวด หลอกลวงเขา ชอบอวดว่าดีกว่าเขา เก่งกว่าเขา พยายามแสดงให้เขาเห็น เพื่อให้เขาเกิดอิจฉาเรา เมื่อได้โอ้อวดแล้วมีความสุข

    ๑๑. ถัมภะ คือความดื้อ ความกระด้าง ยึดมั่นถือมั่นในตัวเอง ใครแนะนำอะไรให้ก็ไม่ยอมรับฟัง

    ๑๒. สารัมภะ คือการแข่งดี มุ่งแต่จะเองชนะเขาอยู่ตลอด จะพูดจะทำอะไรต้องเหนือกว่าเขาตลอด เช่นเมื่อพูดเถียงกันก็อ้างเหตุผลต่าง ๆ นานา เพื่อเอาชนะให้ได้ ถึงแม้ความจริงแล้วตัวเองผิด ก็ไม่ยอมแพ้

    ๑๓. มานะ คือความถือตัว ทะนงตน

    ๑๔. อติมานะ คือการดูหมิ่นท่าน ความถือตัวว่าเราดียิ่งกว่าเขา ทำให้ดูถูกดูหมิ่นคนอื่น

    ๑๕. มทะ คือความัวเมา หลงว่ายังเป็นหนุ่มเป็นสาว ยังไม่แก่ ยังไม่ตาย หลงในอำนาจ หลงในตำแหน่ง คิดว่าเราจะเป็นอย่างนี้ตลอดไปแล้วทำอะไรเกินเหตุ

    ๑๖. ปมาทะ คือความประมาท เลินเล่อ ไม่คิดให้รอบคอบ อาการที่ขาดสติ ขาดปัญญา
     
  4. ผู้ไม่มีตัวตนรู้เราสงบ

    ผู้ไม่มีตัวตนรู้เราสงบ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤศจิกายน 2018
    โพสต์:
    6,005
    ค่าพลัง:
    +8,391
    แน่นอน...รอดปลอดภัยแข็งแรงสมบูรณ์ทุกประการ55555
     
  5. คนชอบใส่ร้ายโดนธรณีสูบ

    คนชอบใส่ร้ายโดนธรณีสูบ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +908
    ในปุถุชนที่ยังไม่ถึงความเป็นอริยะเจ้าทุกๆคนจะมีอารมณ์และอุปนิสัยแบบนี้แต่ใครจะมีตัวไหนเด่น หรือเบาบาง ขึ้นอยู่กับเรารู้ตนเอง กล้ายอมรับตนเองหรือไม่ หรือกำลังหลงตนเองอยู่

    สังโยชน์ 10

    สังโยชน์ แปลว่า กิเลสเป็นเครื่องร้อยรัดจิตใจให้ตกอยู่ในวัฎฎะ มี 10 อย่าง

    1. สักกายทิฏฐิ เห็นว่า ร่า่งกายเป็นเรา เป็นของเรา (คำว่าร่างกายนี้หมายถึง ขันธ์ 5)
    2. วิจิกิจฉา ความลังเลสังสัย ในคุณพระรัตนตรัย
    3. สีลัพพตปรามาส รักษาศีลแบบลูบ ๆ คลำ ๆ ไม่รักษาศีลอย่างจริงจัง
    4. กามฉันทะ มีจิตมั่วสุมหมกมุ่น ใคร่อยู่ในกามารมณ์
    5. พยาบาท มีอารมณ์ผูกโกรธ จองล้างจองผลาญ
    6. รูปราคะ ยึดมั่นถือมั่นในรูปฌาน
    7. อรูปราคะ ยึดมั่นถือมั่นในอรูปฌาน คิดว่าเป็นคุณพิเศษที่ทำให้พ้นจากวัฎฎะ
    8. มานะ มีอารมณ์ถือตัวถือตน ถือชั้นวรรณะเกินพอดี
    9. อุทธัจจะ มีอารมณ์ฟุ้งซ่าน ครุ่นคิดอยู่ในอกุศล
    10. อวิชชา มีความคิดเห็นว่า โลกามิสเป็นสมบัติที่ทรงสภาพ
      นักปฏิบัติที่ท่านปฏิบัติกันมาและได้รับผลเป็นมรรคผลนั้น ท่านคอยเอา สังโยชน์ เข้าวัดอารมณ์เป็นปกติ เทียบจิตกับ สังโยชน์ ว่า เราตัดอะไรได้เพียงใด แล้วจะรู้ผลปฏิบัติอารมณ์ที่ละนั้นเอง
      สังโยชน์ทั้ง 10 ข้อนี้ ถ้าพิจารณาวิปัสสนาญาณแล้ว จิตค่อย ปลดอารมณ์ที่ยึดถือได้ครอบ 10 อย่าง โดยไม่กำเริบอีกแล้ว ท่านว่า ท่านผู้นั้นบรรลุอรหัตผล

      สักกายทิฏฐิ ท่านแปลว่า ให้รู้สึกในอารมณ์ของเราว่า ร่างกายนี้ไม่ใช่เราไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในร่างกาย ร่างกายนี้ไม่มีในเรา หรือตามศัพท์ที่เรียกว่า ขันธ์ 5 คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นี้มันไม่ใช่ของเรา เราไม่่มีในขันธ์ 5 ขันธ์ 5 ไม่มีในเรา อารมณ์ขั้นต้นของพระโสดาบัน กับสกิทาคามี ท่านมีความรู้สึกว่าชีวิตนี้ต้องตาย เราต้องคิดว่า ร่างกายนี้ต้องตายแน่ ร่างกายนี้น่าเกลียดโสโครก ต้องเกลียดจริง ๆ เราไม่ต้องการทั้งร่างกายเรา และร่างกายของคนอื่น หรือวัตถุธาตุใด อย่างนี้เป็นกำลังใจของพระอนาคามี และถ้ามีความรู้สึกว่า ร่างกายนี้ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในร่างกาย ร่างกายไม่มีในเรา อย่างนี้เป็นกำลังใจของพระอรหันต์

      ถ้าจะปฏิบัติกันตามลำดับแล้ว ต้องใช้อารมณ์ตามลำดับ คือ
      อารมณ์ขั้นต้น ใช้อารมณ์แบบเบา ๆ คือมีความรู้สึกตามธรรมดาว่า ชีวิตนี้ต้องตาย ไม่มีใครเลยในโลกนี้ที่จะทรงชีวิตได้ตลอดกาล ในที่สุดก็ต้องตายเหมือนกันหมด ใช้อารมณ์ให้สั้นเข้า คือมีความรู้สึกไว้เสมอว่า เราอาจจะตายวันนี้ไว้เสมอ จะได้ไม่ประมาทในชีวิต
      อารมณ์ขั้นกลาง ท่านให้ทำความรู้สึกเป็นปกติว่า ร่างกายของคนและสัตว์ ตลอดจนวัตถุทุกชนิดเป็นของสกปรกทั้งหมด มีทั้ง อุจจาระ ปัสสวะ น้ำเลือด น้ำเหลือง น้ำหนอง เป็นต้น พยายามทำอารมณ์ให้ทรงจนเกิดความเบื่อหน่ายในร่างกายทั้งหมด
      อารมณ์สูงสุด มีความรู้สึกว่า ร่างกายนี้ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในร่างกาย และร่างกายไม่มีในเรา มีอาการวางเฉยในร่างกายทุกประเภท เป็นอารมณ์ของพระอรหันต์

      วิจิกิจฉา แปลว่า สงสัย คือสงสัยในความดีของพระพุทธเจ้า สงสัยในความดีของพระธรรมคำสั่งสอน สังสัยในความดีของพระอริยสงฆ์ สงสัยว่า พระพุทธเจ้ามีจริงหรือไม่ เมื่อสงสัยเข้าก็ไม่เชื่อ ถ้ามีอารมณ์อย่างนี้ ต้องลงอบายภูมิ
      เพราะฉะนั้นจงอย่ามีในใจ ใช้ปัญญาพิจารณานิดเดียว ก็จะเข้าใจว่า พระพุทธเจ้าพูดถูก พูดจริง ยอมรับนับถือคำสั่งสอนของพระองค์

      สีลัพพตปรามาส คือ ลูบคลำศีล รักษาศีลไม่จริงจัง อย่างนี้จงอย่ามีในเรา จงปฏิบัติให้ครบถ้วนด้วย 3 ประการ
      1. มีความรู้สึกว่าร่างกายนี้มันจะต้องตาย
      2. ไม่สงสัยในคำสอน ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พร้อมยอมรับปฏิบัติตาม
      3. รักษาศีลครบถ้วนโดยเคร่งครัด

      ทำอย่างนี้ได้ ท่านผู้นั้นเป็นพระโสดาบัน และพระสกิทาคามี
      กามฉันทะ คือมีความพอใจในกามคุณ คือ รูปสวย เสียงเพราะ กลิ่นหอม รสอร่อย สัมผัสระหว่างเพศ เราต้องกำจัดในสิ่งเหล่านี้ ให้รู้ว่าสกปรก โสโครก เราไม่ต้องการ และกำจัด

      ปฏิฆะ คือ การกระทบกระทั่งความไม่พอใจออกจากจิต มีความเมตตา กรุณา เข้ามาแทน จิตมีความเบื่อหน่ายในร่างกายเป็นที่สุด ท่านตรัสว่า เป็นอารมณ์ของพระอนาคามี

      รูปราคะ และ อรูปราคะ เป็นการหลงในรูปฌาน และอรูปฌาน เราต้องไม่หลงติด ไม่มัวเมาใน รูปฌาน และอรูปฌาน แต่จะรักษาไว้เพื่อประโยชน์แก่จิตใจ แล้วใช้่ปัญญาพิจารณาขันธ์ 5 ว่ามีแต่ความทุกข์ มีการสลายตัวไปในที่สุด เมื่อขันธ์ 5 ไม่ทรงตัวแบบนี้แล้ว

      มานะ การถือตัวถือตนว่าเราดีกว่าเขา วางอารมณ์แห่งการถือตัวถือตนเสีย มีเมตตาบารมีเป็นที่ตั้ง

      ตัดอุทธัจจะ คืออารมณ์ฟุ้งซ่าน
      การถือตัวถือตน เป็นปัจจัยของความทุกข์ เราควรวางใจแต่เพียงว่า ชราปิ ทุกขา ความแก่เป็นทุกข์ มรณัมปิ ทุกขัง ความตายเป็นทุกข์ โสกะปริเทวะทุกขะ โทมะสัส อุปยาส ความเศร้าโศกเสียใจเป็นทุกข์ ทุกข์มาจากไหน ทุกข์มาจากการเกิด แล้วเกิดนี่มาจากไหน การเกิดมาจาก กิเลส ตัณหา อุปาทาน อกุศลกรรม เราควรวางใจเป็นกลาง การถือตัวถือตนเป็นปัจจัยของความทุกข์ จิตใจเราพร้อมในการเมตตาปรานี ไม่ถือตน เขาจะมีฐานะเช่นใดก็ช่าง ถือว่า เป็นเพื่อนเกิด แก่ เจ็บ ตาย เหมือนกันหมด ถ้ากำหนดอารมณ์อย่างนี้ได้ เราก็สามารถจะกำจัดตัวมานะของตนได้

      อวิชชา หมายถึง อุปาทาน คือความยึดมั่นถือมั่น ไม่รู้ตามความเป็นจริง อุปาทานนี้มีคำจัดกัดอยู่ 2 คำ คือ ฉันทะ และราคะ
      อุปาทาน ได้แก่ ฉันทะ คือความหลงใหลใฝ่ฝันในโลกามิสทั้งหมด มีความพอใจในสมบัติของโลก โดยไม่ได้คิดว่ามันจะต้องสลายไปในที่สุด
      ราคะ มีความยินดีในสมบัติของโลกด้วยอารมณ์ใคร่ในกิเลส
      ฉะนั้นการกำจัด อวิชชา ก็พิจารณาเห็นว่า สมบัติของโลกไม่มีอะไรเป็นเรา เป็นของเรา เราไม่มีในสมบัติของโลก ไม่มีในเรา จนมีอารมณ์ไม่ยึดถืออะไร มีอยู่ก็เป็นเสมือนไม่มี จิตไม่ผูกพันเกินพอดี เมื่อมีอันเป็นไปก็ไม่เดือดร้อน มีจิตชุ่มชื่นต่ออารมณ์พระนิพพาน

      ฉันทะ กับ ราคะ ทั้งสองนี้เป็นอารมณ์ของ อวิชชา ถือว่าเป็นความโง่ ยังไม่เห็นทุกข์ละเอียด ความจริงอารมณ์ตอนนี้ก็เข้มแข็งพอ คนที่เป็นอนาคามีแล้ว เป็นผู้มีจิตสะอาด มีอารมณ์ขุ่นมัวบ้างเล็ก ๆ น้อย ๆ อารมณ์ใจยังเนื่องอยู่ในอวิชชา สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ ยังไม่เข้าถึงสุขที่สุด ที่เรียกว่า เอกันตบรมสุข ก็ควรจะใช้บารมี 10 นำมาประหัตประหารเสีย
      อวิชชานี้ ที่ว่า มีฉันทะ กับราคะ นั้น ท่านก็ตรัสว่า ฉันทะ คือมีความพใจในการเกิดเป็นมนุษย์ เกิดเป็นเทวดา เกิดเป็นพรหม ราคะ เห็นว่า มนุษยโลก เทวโลก พรหมโลกก็ดี ยังเป็นกิเลสเบา ๆ คือไม่สามารถจะพ้นทุกข์
      ฉะนั้น ถ้าจะตัดอวิชชา ให้ตัดฉันทะ กับราคะ ในอารมณ์ใจ คิดว่า มนุษยโลก เทวโลก พรหมโลก ทั้ง 3 ภพนี้ ไม่เป็นที่หมายของเรา คือยังเป็นแดนของความทุกข์ เทวโลก พรหมโลกเป็นแดนของความสุขชั่วคราว เราไม่ต้องการ ต้องการจิตเดียวคือ พระนิพพาน ในใจของท่านต้องการพระนิพพานเป็นอารมณ์ เป็นเอกัคตารมณ์ ในอุปสามานุสสติกรรมฐาน

    อะจีรัง วะตะยัง กาโย ปะฐะวิง อะธิเสสสะติ ฉุฑโฑ อะเปตะวิญญาโณ นิรัตถังวะ กะลิงคะรัง

    ร่างกายนี้ ไม่ช้าก็มีวิญญาณไป ปราศจากวิญญาณแล้ว ร่างกายก็ถูกทอดทิ้งเหมือนกับท่อนไม้ที่ไร้ประโยชน์
     
  6. ผู้ไม่มีตัวตนรู้เราสงบ

    ผู้ไม่มีตัวตนรู้เราสงบ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤศจิกายน 2018
    โพสต์:
    6,005
    ค่าพลัง:
    +8,391
    ก็มัวแต่ยกเอาตำรามาอ้าง...เมื่อไหร่จะได้สัมผัสของจริงล่ะหนู...ต้องปฏิบัติก่อนแล้วจะได้ประสบของจริงถึงจะรู้ทางออก...นี่ยังไม่เข้าก็เอาที่เขาตืนมาตื่นกลัวเสียแล้ว

    อุปกิเลสมันเกิดตอนเดินจิตโน่นนะหนู...เมื่อจิตเริ่มเป็นฌานจิตมันจะสับสนอยากพูดอยากบอกสิ่งที่ตนรู้...ตัวสติจะคอยรู้อาการเหล่านั้นแต่ห้ามมันไม่ได้...ก็ปล่อยมันพูดมันบอกไปเพียงแต่มีสติคอยดูเท่านั้น...นี่ถึงจะใช่ของจริง...ฝึกเดินจิตหรือมรรคจิตก่อนสิหนูถึงจะรู้ตามเป็นจริง
     
  7. ผู้ไม่มีตัวตนรู้เราสงบ

    ผู้ไม่มีตัวตนรู้เราสงบ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤศจิกายน 2018
    โพสต์:
    6,005
    ค่าพลัง:
    +8,391
    เมื่อมรรคจิตผ่านอุปกิเลสได้แล้วยังมีอีกหลายด่าน...วิปัสนูกิเลสหรืออะไรต่อมิอะไร...แต่ให้มีสติคอยดูเท่านั้น...อาการต่างๆเกิดขึ้นกับนักปฏิบัติทุกคนนั้นละหนู...อยู่ที่มากน้อยต่างกัน

    เมื่อผ่านได้ทั้งหมดก็จะเข้าถึงสภาวะพ้นภพพ้นขันธ์...จิตไม่ยึดเกี่ยวเกาะติดกับสิ่งใดมีสติตั้งมั่นไม่หวั่นไหว...รู้นอกรู้ในพร้อมๆกัน...โพชฌงค์7ก็เกิดขึ้นเข้าใจมั๊ยหนูแจง...
     
  8. ผู้ไม่มีตัวตนรู้เราสงบ

    ผู้ไม่มีตัวตนรู้เราสงบ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤศจิกายน 2018
    โพสต์:
    6,005
    ค่าพลัง:
    +8,391
    นิพพานอยู่แค่ปลายจมูกนะหนู...อย่าไปหาไกลจากนี้...ใครปรารถนานิพพานก็หาแถวๆปลายจมูกนี้แหละ...เอาสติไปหานะหนูแจงไม่ได้เอาจิตไปหา....ทุกอย่างมันไม่ยากถ้ามีความเพียรในการปฏิบัติเข้าใจมั๊ยหนู
     
  9. คนชอบใส่ร้ายโดนธรณีสูบ

    คนชอบใส่ร้ายโดนธรณีสูบ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +908
    วันนี้จะขอหยิบยกธรรมะ ของครูบาอาจาร์ย พระเดชพระคุณหลวงพ่อจรัญ ฑิตธัมโม เพื่อเป็นเครื่องประดับสติปัญญาสำหรับท่านผู้ใคร่ในธรรม


    สร้างความดีให้ถูกตัวบุคคล ถูกสถานที่ ถูกเวลา


    ถูกตัวบุคคล หมายความว่า การกระทำความดีใด ๆ ต้องพิจารณาว่า ผู้รับจะได้รับ และยอมรับ ในการกระทำความดีของเรา เช่น กรณีเดียวกันกับที่ท่านได้ถามปัญหามาในเว็บบอร์ดนี้ และได้รับคำแนะนำจากผู้แนะนำ เปรียบเสมือนผู้ให้คำแนะนำได้สร้างความดีถูกตัวบุคคลครับ



    ถูกสถานที่ หมายความว่า การสร้างความดีใด ๆ ควรต้องกระทำให้ถูกสถานที่ เปรียบเสมือนท่านได้ถามปัญหาการปฏิบัติเข้ามาในเว็บบอร์ดนี้ เพราะจะมีผู้ที่ได้รับความเมตตาอนุญาตจากหลวงพ่อท่าน ไว้วางใจให้เป็นผู้แนะนำในบอร์ดแห่งนี้ ดังนั้น บอร์ดแห่งนี้ จึงเปรียบเสมือนสถานที่ให้คำแนะนำในการปฏิบัติฯ ตามแนวทางของพระเดชพระคุณหลวงพ่อครับ



    ถูกเวลา หมายความว่า การสร้างความดีใด ๆ ต้องกระทำให้ถูกกาละเทศะ เปรียบเสมือนการให้ความดีทุกประการ แก่ผู้รับ โดยผู้รับเปิดใจกว้างรับคำแนะนำ ดังนั้นช่วงเวลานี้ เป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมที่จะแนะนำครับ

    ดังนั้นการจะสร้างความดีมันต้องดีทั้งสองฝ่ายทั้งฝ่ายผู้ให้และผู้รับ ไม่ใช่อยากให้แต่ฝ่ายเดียว แต่ผู้รับเขาไม่ต้องการสิ่งนี้ไม่เรียกว่าดี เป็นการยัดเยียดซึ่งผลออกมาคือเศร้าหมองทั้งสองฝ่าย คืออกุศล

    “ความถูกใจเป็นกิเลส ความถูกต้องเป็นคุณธรรม”
     
  10. คนชอบใส่ร้ายโดนธรณีสูบ

    คนชอบใส่ร้ายโดนธรณีสูบ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +908

    ใช่เพราะยังไม่ด้เป็นพระอริยะบุคคล ยังมีความชั่วอยู่มาก ยังปฏิบัติไม่ได้ แต่ก็ยังมีข้อดีที่ยังรู้ว่าตนเองชั่วอยู่ จึงยังต้องยกตำรามาอ้างอิงในส่วนที่ยังทำไม่ได้

    แต่สำหรับคนที่บอกว่าอุปกิเลสมันเกิดตอนเดินจิต

    แต่อุปกิเลสเกิดแล้ว วิปัสนูเกิดแล้วยังไม่รู้ตนเอง ยังไม่เห็นตนเอง

    อุปกิเลสข้อไหนที่เห็นเด่นๆ แต่เจ้าตัวไม่รู้ตนเอง

    ๖. ปลาสะ คือการตีเสมอ ยกตัวเทียมท่าน ไม่ยอมยกให้ใครดีกว่าตน แต่ชอบยกตัวเองดีกว่าเขา มักแสดงให้เขาเห็นว่าเราคิดเก่งกว่า รู้ดีกว่า ถ้าให้เราทำ เราจะทำให้ดีกว่าเขาได้

    ๙. มายา คือเจ้าเล่ห์หลอกลวง ไม่จริงใจ พยายามแสดงบทบาทตัวเองเกินความจริง หรือจริงๆ แล้วเรามีน้อยแต่พยายามแสดงออกให้คนอื่นเข้าใจว่ามีมาก เช่น ผมเป็นพระอริยะเจ้า ผมเป็นพญาธรรม เลยสวมบทบาทเกินจริงให้ดูสงบ ไม่โกรธ

    ๑๑. ถัมภะ คือความดื้อ ความกระด้าง ยึดมั่นถือมั่นในตัวเอง ใครแนะนำอะไรให้ก็ไม่ยอมรับฟัง

    ๑๒. สารัมภะ คือการแข่งดี มุ่งแต่จะเองชนะเขาอยู่ตลอด จะพูดจะทำอะไรต้องเหนือกว่าเขาตลอด เช่นเมื่อพูดเถียงกันก็อ้างเหตุผลต่าง ๆ นานา เพื่อเอาชนะให้ได้ ถึงแม้ความจริงแล้วตัวเองผิด ก็ไม่ยอมแพ้

    ๑๓. มานะ คือความถือตัว ทะนงตน

    ๑๔. อติมานะ คือการดูหมิ่นท่าน ความถือตัวว่าเราดียิ่งกว่าเขา ทำให้ดูถูกดูหมิ่นคนอื่น

    ๑๖. ปมาทะ คือความประมาท เลินเล่อ ไม่คิดให้รอบคอบ อาการที่ขาดสติ ขาดปัญญา
     
  11. ผู้ไม่มีตัวตนรู้เราสงบ

    ผู้ไม่มีตัวตนรู้เราสงบ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤศจิกายน 2018
    โพสต์:
    6,005
    ค่าพลัง:
    +8,391
    รู้ว่าชั่วก็รีบแก้ไขเสียสิ...ละเว้นกรรมชั่วทั้งปวงแม้กระทั่งความคิดชั่วหรือความคิดอันเป็นอกุศลก็ให้เว้น...ให้รู้ว่าความคิดคนเรามีผู้รู้อยู่ตลอดเวลาจงระวังความคิดของเราไว้ให้ดี

    อันนี้เป็นทางแก้ไขแบบง่ายๆสำหรับปุถุชน...ส่วนธรรมขึ้นอริยบุคคลอย่าพึ่งรู้เลยเพราะมันละเอียดอ่อนถ้าปัญญาทางธรรมไม่พอจะเห็นผิดคิดผิดได้...

    ด้วยความปรารถนาดีจากใจจริง
     
  12. คนชอบใส่ร้ายโดนธรณีสูบ

    คนชอบใส่ร้ายโดนธรณีสูบ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +908
    ส่วนวิปัสนูกิเลสข้อไหน
    มิจฉาสมาธิ มีเหตุให้เกิดขึ้นจาก มิจฉาทิฏฐิความเห็นผิดเข้าใจผิดจากความเป็นจริง มีตัณหาคือความอยากเป็นต้นเหตุที่สำคัญ เมื่อจิตมีความสงบเป็นสมาธิแล้วจึงเกิดภาพหลอกที่เรียกว่านิมิต นิมิตนี้เองจึงเป็นกลลวงของกิเลสสังขาร ผู้ไม่มีปัญญาจึงเกิดความเข้าใจผิดคิดว่าเป็นของจริง มีความดีใจ พอใจในนิมิตนั้น ๆ จนลืมตัวจึงเกิดความเข้าใจผิดคิดว่าเป็นของดี มีความฝักใฝ่พอใจในนิมิตจนจิตเกิดเป็นวิปัสสนูปกิเลส
    นิมิตเห็นตนเองเป็นพระเจ้าตาก นิมิตเห็นตนเองเป็น ร5 นิมิตเป็นศิษย์เอกท่านจี้กง นิมิตหลวงปู่โตมบอกเป็นพญาธรรมิกราช

    • ญาณะ เมื่อจิตมีความสงบเป็นสมาธิได้แล้วย่อมมีความรู้เกิดขึ้น ความรู้ที่เกิดขึ้นนี้เองจะทำให้เกิดความหลงผิดไปได้ง่าย จะตีความหมายไปว่าปัญญาญาณได้เกิดขึ้นกับตัวเองแล้ว อยากรู้เรื่องอะไรอยากรู้ในธรรมหมวดไหนก็กำหนดถามลงไปที่ใจ ก็จะมีความรู้ตอบขึ้นมาในหมวดธรรมนั้น ๆ จะเข้าใจไปว่าคุณธรรมได้เกิดขึ้นกับตัวเองแล้ว อยากรู้ว่าเราอยู่ในคุณธรรมระดับไหน ก็จะมีความรู้บอกขึ้นมาว่า เป้นคุณธรรมของพระอริยโสดาบันบ้าง เป็นคุณธรรมของพระสกิทาคามีบ้าง เป็นคุณธรรมของพระอนาคามีบ้าง เป็นคุณธรรมของพระอรหันต์บ้างจึงได้เกิดความเชี่อมั่นในความรู้ที่เกิดขึ้นว่าเป็นจริงที่ฝังใจอย่างสนิททีเดียว ใครจะมาว่ามีความสำคัญผิด ก็จะยืนยันว่าเรามีญาณรู้ที่ถูกต้องและมีความเชื่อมั่นว่าตัวเองได้บรรลุธรรมเป็นพระอริยเจ้าจริง ถ้าเป็นในลักษณะนี้จึงยากที่จะแก้ไข


    • อธิโมกข์ น้อมใจเชื่อว่าเป็นของจริงอย่างฝังใจทีเดียว เข้าใจว่าเรามีดวงตาเห็นธรรม ก็เพราะมีญาณรู้ที่เกิดขึ้นจากสมาธิความสงบเป็นต้นเหตุนั่นเอง มีความเชื่อมั่นในความรู้ของตัวเองสูงมากให้ความสำคัญตัวเองว่า พุทโธ รู้ตื่นเบิกบานได้เกิดขึ้นกับตัวเองแล้วถ้ามีอภิญญาอย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้นก็จะเกิดความเชื่อมั่นเพิ่มทิฏฐิมานะอัตตาจนลืมตัว ถ้าพระเป็นในลักษณะนี้ก็จะได้รับพยากรณ์จากลูกศิษย์ว่า อาจารย์ของเราได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ทันที

    • นิกันติ มีความยินดีพอใจในสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งหมด ยอมรับผลที่เกิดขึ้นว่าเป็นของจริง มีความเชื่อ ว่าเป็นแนวทางที่จะทำให้ถึงซึ่งมรรคผลนิพพานได้แน่นอน ใครจะมาว่าภาวนาผิดอย่างไรก็มีความมั่นใจในตัวเองว่าภาวนาถูกต่อไป และยังไปตำหนิผู้อื่นว่าภาวนาไม่เก่งเหมือนเรา ถึงครูอาจารย์องค์ที่มีความฉลาดรอบรู้เข้ามาช่วยเหลือก็สายไปเสียแล้ว ชีวิตได้ทุ่มเทในการทำสมาธิอย่างจริงจัง ก็มาพังเพราะวิปัสสนูปกิเลสเกิดขึ้นนี้เอง


    • อุปัฏฐาน มีสติระลึกรู้ในอารมณ์ภายในใจได้ดีมาก แต่เป็นเพียงสติสมาธิเท่านั้น ส่วนสติปัญญาจะไม่มีกับผู้เป็นในลักษณะนี้แต่อย่างใด ถ้าอารมณ์ของใจเปลี่ยนไปตามเหตุปัจจัยอย่างไร ก็จะมีสติระลึกรู้ไปตามอารมณ์ประเภทนั้น ๆ ไม่ชอบพิจารณาในทางสติปัญญาแต่อย่างใด ไม่สนใจพิจารณาในเรื่องที่เป็นอนิจจังทุกขังอนัตตา ถึงจะพูดธรรมะได้ก็พูดไปตามตำราที่ได้ศึกษามาเท่านั้น จึงเรียกว่า มิจฉาสติ ระลึกรู้ในสิ่งใด จะไม่เป็นไปในความถูกต้องชอบธรรมแต่อย่างใด


    ติดไปกี่ข้อในส่วนของวิปัสนูกิเลส หัดคิด และยอมรับกับตนเองตามความเป็นจริง อย่างที่ครูบาอาจาร์ยบอกคนหลงมันสอนยาก ต้องปล่อยให้หลงไปตามเวรตามกรรม

    คนที่เขาเป็นพระอริยะเจ้าจริงๆเขาจะไม่เอามาบอกใครหลอกนะ มีแต่เขาจะนิ่งเงียบ พระป่าและครูบาอาจาร์ยท่านอื่นๆเคยมาประกาศโอ้อวดให้ใครศรัทธาบ้างไหม มีอตาคนไปหาท่านเองเพราะ ข้อวัตรปฏิบัติ และศีลซึ่งมันหอมทวนลม เหมือนช้างเผือกที่มันอยู่ในป่า หากดีจริงเขาก็ตามหากันเอง ไม่ใช่ยกตนขึ้นมาเอง แต่มันต้องเกิดจากการยอมรับของบุคคลอื่น ไม่ใช่เกิดจากการยัดเยียดให้คนอื่นยอมรับ
    การให้ข้อมูลผิดๆนี่เป็นมิจฉาทิฑิ โทษหนักกว่าอนันตริยกรรมคือ โลกันตนรก ไปศึกษามั่งนะ คนที่นั่งแต่สมาธิไม่มีครูบาอาจาร์ยแนะนำจะหลงตนเองได้ง่าย กลายเป็นมิจฉาสมาธิเห็นนิมิตหลอกๆ


    ดังบ่อดี ดีบ่อดัง


     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 กรกฎาคม 2019
  13. คนชอบใส่ร้ายโดนธรณีสูบ

    คนชอบใส่ร้ายโดนธรณีสูบ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +908

    รู้ไหมในบรรดาจริตทั้ง 6 จริตไหนเป็นอริยะบุคคลได้ง่าย

    โทสะจริต บางคนรู้ตัวว่าชั่วก็สามารถแก้ไขได้

    ส่วนคนที่เป็นโมหะจริตแก้ยากที่สุด ต่อให้ใครจะมาบอกว่านี้หลงนะ ก็ยังคิดว่าตนเองดีอยู่นั่น เขาเรียกการหลงตัวหลงตน จึงไม่สามารถบรรลุธรรมได้เพราะเป็นมิจฉาสมาธิ ครู้บาอาจาร์ยส่วนใหญ่ที่มาจากพุทธภูมิหรือพระอรหันต์ทั้งหลายที่ฟังๆมาก็โทสะจริตแรงแต่มีปัญญา ก็สามารถละตัวตนเป็นอรหันต์กันจำนวนมาก ไม่เห็นมีคนหลงได้บรรลุธรรมเลย เพราะหลงดีแล้ว เลยไม่รู้จะไปแก้ไขตรงไหน ก็ในเมื่อมันดีเสียแล้ว เลยมองไม่เห็นความชั่วหรือกิเลส
     
  14. ผู้ไม่มีตัวตนรู้เราสงบ

    ผู้ไม่มีตัวตนรู้เราสงบ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤศจิกายน 2018
    โพสต์:
    6,005
    ค่าพลัง:
    +8,391
    มรรค๘ก็รวมลงที่การปฏิบัติสมาธินั้นละหนู...อย่ากลัวที่จะผิดเพราะการเดินจิตมันมีอุปสรรคกิเลสมารคอยขัดขวางอยู่แล้ว...
    อุปมา..ก่อนพบพุทธะต้องผ่านพระยามาร

    _ถ้าถามว่าพุทธะอยู่ที่ไหน
    _ตอบว่าพุทธะอยู่ที่ใจ
    _ถ้าถามว่าพระยามารอยู่ที่ไหน
    _ตอบว่าพระยามารอยู่ที่ใจ
     
  15. ผู้ไม่มีตัวตนรู้เราสงบ

    ผู้ไม่มีตัวตนรู้เราสงบ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤศจิกายน 2018
    โพสต์:
    6,005
    ค่าพลัง:
    +8,391
    พุทธะหมายถึงจิต...ศาสนาพุทธหมายถึงศาสนาจิต

    แต่พุทธะนี้ได้ตื่นได้เบิกบานแล้วนั้นละจึงจะจบกิจศาสนา

    จิตนี้ก็คือใจนี้...
     
  16. คนชอบใส่ร้ายโดนธรณีสูบ

    คนชอบใส่ร้ายโดนธรณีสูบ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +908

    พูดกับคนหลงพูดยาก พูดเหมือนจะดีแต่ทำไม่ได้ คนที่เขาไม่หลงเขาจะรู้เลยคนนี้ยังไม่ได้อะไเรเลย อุปกิเลสก็ยังไม่ผ่าน วิปัสนูกิเลสก็ยังไม่ผ่านแล้วจะเอาอะไรมาสอนคนอื่น ในเมื่อสอนตนเองยังไม่ได้

    เอาอย่างพระอรหันต์ท่านโน่น ท่านเก็บตัวปลีกวิเวกในป่า เมื่อได้ธรรมะแล้วจึงออกมาโปรดสัตว์

    คนฉลาดจริงๆนะ เขาจะปฏิบัติไปด้วย ฟังธรรมะครูบาอาจาร์ยไปด้วย แล้วก็ต้องมีพระหรืออาจาร์ยที่เก่งๆคอยขนาบเราว่าเราหลงไหม นี่ขนาดยังไม่ได้เป็นโสดาบันก็มาประกาศตนเสียแล้ว แสดงว่าการปฏิบัติผิดทั้งหมดไม่ได้อะไร กล้าไปถามหลวงปู่ที่กาฬสินธ์ไหมว่าผมใช่โสดาบันไหม บอกมาหลายหนก็ไม่กล้าถาม กลัวหน้าแตก แต่ก็มีความสุขปลอมๆไป


    บอกให้ไปถามผู้รู้มายืนยันก็ไม่ไป จะได้เลิกหลงเสียที
    แสดงว่าจิตดวงนี้ไม่มีความกล้าหาญ ไม่กล้าเผชิญหน้ายอมรับความเป็นจริง ชอบอยู่กับความสุขจอมปลอมไปวันๆ
     
  17. คนชอบใส่ร้ายโดนธรณีสูบ

    คนชอบใส่ร้ายโดนธรณีสูบ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +908
    พูดได้ดี แต่ทำไม่ได้

    ธรรมะแค่ปลายลิ้นใครก็เสกสรรปั้นแต่งให้ดูดีได้ เขาเรียกมายาในอุปกิเลส 16 แต่เอาเข้าจริงไม่มีอะไรเลย

    เหมือนทองเก๊กับทองปลอม คนที่เขามองออกเขาจะรู้ว่าอันไหนจริงอันไหนปลอม จบนะ
     
  18. ผู้ไม่มีตัวตนรู้เราสงบ

    ผู้ไม่มีตัวตนรู้เราสงบ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤศจิกายน 2018
    โพสต์:
    6,005
    ค่าพลัง:
    +8,391
    ปฏิบัติไปพร้อมๆกับฟังธรรมะไปก็ได้...ภาวนาไปฟังไปแล้วสังเกตุเอาเองสภาวะการได้ยินกับตัวที่ภาวนาอยู่มันใช่สิ่งเดียวกันรึป่าว...ลงมือทำคือคำตอบ...ครูบาอาจารย์ที่สอนท่านแน่ใจได้อย่างไรว่ารู้ตามเป็นจริง...ถึงสอนถูกท่านก็ต้องปฏิบัติเองอยู่ดี

    ปฏิบัติเองอยู่ที่บ้านนี้แหละจะวิ่งไปหาคนอื่นทำไม...ร่างกายจิตใจ_สติปัญญาก็มีกับตัวเองแล้ว
     
  19. ผู้ไม่มีตัวตนรู้เราสงบ

    ผู้ไม่มีตัวตนรู้เราสงบ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤศจิกายน 2018
    โพสต์:
    6,005
    ค่าพลัง:
    +8,391
    ธรรมอยู่ที่ปลายจมูก...อย่างมากไม่เกินริมฝีปากบน...

    ไม่ถึงลิ้นนะหนู...นี่ถึงจะจบของจริงไม่เชื่อก็ลองไปปฏิบัติดู
     
  20. ผู้ไม่มีตัวตนรู้เราสงบ

    ผู้ไม่มีตัวตนรู้เราสงบ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤศจิกายน 2018
    โพสต์:
    6,005
    ค่าพลัง:
    +8,391
    เอวัง...ก็มีด้วยประการฉะนี้แล..
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...