สร้างบุษบกประดิษฐานพระโมคคัลลานะรับมอบพระกรุลำพูนอายุ๕๐๐-๗๐๐ ปี

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย :::เพชร:::, 13 มีนาคม 2008.

  1. chaipat

    chaipat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2007
    โพสต์:
    1,282
    ค่าพลัง:
    +11,099
    อดกันเลยแหงมๆ

    แต่ได้ความรู้ที่พิสูจน์ได้ เห็นจริงนะครับ

    ล้ำลึกครับ [​IMG]

    สาธุครับ
     
  2. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    ผมถึงบอกว่า หากได้รู้ถึงส่วนผสมทั้งหมด คุณจะรัก และหวงแหนพระลำพูนนี้มาก งามทั้งพุทธศิลป์ พิธีกรรม มวลสาร ความหมายขององค์พระ ไม่ธรรมดาอย่างที่คิดครับ เป็นการรวมทุกศาสตร์อยู่ในองค์พระแล้ว...
     
  3. ตั้งจิต

    ตั้งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2005
    โพสต์:
    1,574
    ค่าพลัง:
    +5,485
  4. chaipat

    chaipat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2007
    โพสต์:
    1,282
    ค่าพลัง:
    +11,099
    ผมเข้าใจว่า

    1. เข้าใจไม่ถึง ไม่ศึกษา ไม่รู้ ไม่ซึ้ง
    2. การประพฤติตัวในปัจจุบัน เป็นเหตุ
    3. สุดท้ายก็ความเชื่อถือส่วนบุคคล
    ผมว่าเขาเชื่อกันนะครับ และศรัทธา
    แต่มูลค่าตามมา ก็เป็นเหตุ จาก 2.
    4. เวลาที่เปลี่ยนไป คนย่อมเปลี่ยน เช่นเวลา
    เป็นได้ ทั้งดี และไม่ดีครับ

    ประมาณนั้นมั้งครับ

    สาธุครับ
     
  5. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    ให้ ๒ ข้อ ครึ่งครับ
     
  6. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    หาค้นหาตำราพระเครื่อง พระรอดมักจะได้รับการบอกกล่าวถึงที่มาของพระรอดมหาวันเท่านั้น แต่อยากให้พิจารณา ณ เวลานี้การจะได้พระรอดมหาวันมาซักองค์นั้นต้องยอมรับกันว่า ยากเย็นจริงหากพิจารณาดูที่ราคาประกอบกันไปด้วย เราๆท่านๆต่างไม่มีโอกาสเป็นเจ้าของกันและที่เคยกล่าวว่า พระรอดมีที่วัดมหาวันที่เดียวหรือ? เช่นกันกับคำถามพระสมเด็จที่ทันสมเด็จโตท่านเสก มีเพียง ๓ วัดหลักๆหรือ? ดังนั้นการพิจารณาพระพิมพ์ที่พอจะหาได้ในอายุที่รองลงมา (อายุพระรอดมหาวันอยู่ที่๑,๓๐๐ ปี)ราคาย่อมเยานั้นจึงถูกนำมาพิจารณา..
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    มูลเหตุของการสร้างพระรอด<O:p</O:p
    นับแต่เมืองหริภุญไชยก่อสร้างขึ้นมาด้วยความช่วยเหลือของพระฤาษีโดยพระแม่จามเทวีเป็นองค์อัครปฐมกษัตริย์ การศึกสงครามในสมัยนั้นก็ยังมีระหว่างเมืองต่างๆต่างก็ต้องการจะยึดครองเมืองหริภุญไชย เนื่องจากข้าวปลาอาหาร ดิน น้ำ สมบูรณ์ อีกทั้งหากสามารถยึดเมืองหริภุญไชยได้ก็จะได้พระแม่จามเทวีที่มีสิริโฉมงดงามเป็นมเหสีอีกด้วยจึงเป็นที่หมายปองของเมืองต่างๆ พระฤาษีสมัยนั้นเปรียบเสมือนที่ปรึกษากองทัพ และที่ปรึกษาด้านพุทธศาสนาไปในตัวจึงเห็นสมควรให้สร้างสิ่งศักดิ์สิทธิ์ขึ้นเพื่อความเป็นสิริมงคลแห่งเมือง แห่งแคว้นจึงได้ให้ช่างสิบหมู่ร่วมกันสร้าง"พระรอด"โดยช่างสิบหมู่ออกแบบองค์พระให้มีความสวยงาม ผสานแนวคิดทางปรัชญาต่างๆลงไปในองค์พระ โดยเลือก"พระปางมารวิชัย"(อ่านว่ามาร-ละ-วิ-ชัย) ซึ่งแปลว่า "ชนะมาร" นั่นเองพระพักตร์ของพระปางมารวิชัยนี้ได้แย้มพระโอษฐ์ของชัยชนะ(ชัยชนะทางธรรมคือการชนะกิเลส ชัยชนะทางโลกคือชัยชนะต่อข้าศึก คล้ายความหมายของ"พระไพรีพินาศ")จุดต่างๆบนองค์พระรอดนี้ได้มีจุดที่แสดงอาณาเขต อาณาบริเวณความยิ่งใหญ่ของเมืองหริภุญไชย จุดสำคัญๆทางศาสนาเช่นตำแหน่งวัด ๔ วัดมุมเมือง(สันนิษฐานว่าเมื่อคราวราชาภิเษกเป็นปฐมกษัตริย์ พระแม่จามเทวีได้สร้างวัดไว้ ๔ วัดตามทิศ เพื่อรองรับการเดินทางมาของพระสงฆ์ พระฤาษี โหราจารย์ราชบัณฑิต เพื่อพักตามทิศทางที่เดินทางมา) คือวัดมหาวัน วัดพระคงฤาษี วัดประตูลี้ วัดดอนแก้ว

    <O:p</O:pพระรอดสร้างจากดินเหนียวที่มีธาตุเหล็ก อลูมิเนียม ส่วนผสมอื่นๆเช่น โพลงเหล็กไหล พระธาตุ อิฐกำแพงเก่า ๔ มุมเมือง ผงตะไบพระโลหะ เกษรดอกไม้ ๑๐๘ น้ำทิพย์จากดอยคำม้อ และสถานที่อื่นๆ เหล็กไหล เหล็กน้ำพี้ ว่านคงกระพัน ๑๐๘ ดินเสาหลักเมือง ดินจากบาดาล ศาสตราวุธ

    จากบางส่วนของหนังสือปทานุกรม พระเบญจภาคี ของศาสตราจารย์กิตติมศักดิ์ อรรคเดช กฤษณะดิลก ขอขอบพระคุณอาจารย์มา ณ ที่นี้ เพื่อการเผยแพร่ความรู้ที่ถูกต้องครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 มีนาคม 2008
  7. ตั้งจิต

    ตั้งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2005
    โพสต์:
    1,574
    ค่าพลัง:
    +5,485
    ดินเหนียวที่มีธาตุเหล็ก อลูมิเนียม ส่วนผสมอื่นๆเช่น โพลงเหล็กไหล พระธาตุ อิฐกำแพงเก่า ๔ มุมเมือง ผงตะไบพระโลหะ เกษรดอกไม้ ๑๐๘ น้ำทิพย์จากดอยคำม้อ และสถานที่อื่นๆ เหล็กไหล เหล็กน้ำพี้ ว่านคงกระพัน ๑๐๘ ดินเสาหลักเมือง ดินจากบาดาล ศาสตราวุธ

    ผมนึกตั้งแต่แรกว่าเห็นที่ไหนน๊าเมื่อครู่ย้อนไปดูก็เจอ กลับมาคุณเพชรเฉลยแล้ว ขำจริงๆ(ping)
     
  8. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    ท่านอาจารย์ได้แสดงลิขสิทธิ์แห่งหนังสือเล่มนี้ไว้ ผมต้องท่องจำบางส่วน อ่านแล้วสรุปออกมาด้วยคำพูดของผมเอง หากเห็นภาพประกอบ จะเข้าใจที่มาในตำหนิพระรอด ผมเองไม่สามารถจะถ่ายภาพนำมาลงได้ครับ ละเมิดแบบเต็มๆ ขอเป็นวาระให้ท่านได้พบข้อเท็จจริงเช่นผมเองดีกว่าครับ
     
  9. chaipat

    chaipat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2007
    โพสต์:
    1,282
    ค่าพลัง:
    +11,099
    ไหวพริบเยี่ยมจริงๆ ครับ

    ผมเนี้ยยังไม่ทันเอาเลยครับ

    สาธุครับ พบกันพรุ้งนี้ครับ

    สาธุครับ
     
  10. ตั้งจิต

    ตั้งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2005
    โพสต์:
    1,574
    ค่าพลัง:
    +5,485
  11. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    เรื่องราวในสัปดาห์นี้ขอกล่าวถึงเรื่องราวใกล้ตัวของนักนิยมพระเครื่องทั้งหลาย เรื่องราวของราคาเช่าหาพระสกุลลำพูน กับแนวโน้มราคาเช่าหาในอนาคต เรื่องนี้เป็นเรื่องที่น่าสนใจ เนื่องจากเรื่องราคาเช่าหานั้น เป็นเรื่องที่นักนิยมพระทุกท่านจำเป็นต้องทราบเอาไว้ เพื่อสามารถใช้เป็นเกราะป้องกันจากการซื้อพระสกุลลำพูน พิมพ์ต่างๆ ในราคาแพงเกินกว่าระดับราคาในท้องตลาด เมื่อเปรียบเทียบราคาเช่าหาพระเครื่องสกุลลำพูนในขณะนี้ กับราคาช่วง 5 ปีก่อน พบว่าความแตกต่างมีค่อนข้างมากเลยทีเดียว พระเครื่องสกุลลำพูนบางพิมพ์มีราคาเช่าหาสูงขึ้นมาก ทำให้พระเครื่องจากจังหวัดใกล้เคียงอย่างเช่นเชียงใหม่มีราคาเช่าหาสูงขึ้นตามไปด้วย ในขณะนี้พระสกุลลำพูนเป็นพระยอดนิยมระดับประเทศไปแล้ว โดยในสัปดาห์นี้จะได้กล่าวถึงพระสกุลลำพูนยอดนิยมขนาดเล็ก จำนวน 5 พิมพ์ ได้แก่ พระคง พระบาง พระเปิม พระเลี่ยง และพระลือหน้ามงคล เพื่อให้ทราบถึงความเคลื่อนไหวในตลาด และแนวโน้มที่มีความเป็นไปได้ในอนาคต


    เมื่อกล่าวถึงพระคง ลำพูน พระเครื่องที่นับได้ว่ามีการหมุนเวียนมากที่สุดในจำนวนพระสกุลลำพูนทั้งหมด ระดับราคาเช่าหาในปัจจุบัน มีการซื้อขายกันในราคาตั้งแต่ หลักพัน ไปจนถึงหลักหลายแสนแล้ว วันก่อนได้สอบถามไปยัง คุณ ผญาวัน เชียงใหม่ (อ. ชิน แสงเหล็ก) เกี่ยวกับราคาเช่าหาพระคง ลำพูน ได้ใจความดังนี้<O:p</O:p

    <TABLE class=MsoNormalTable style="mso-cellspacing: 1.5pt; mso-padding-alt: 1.5pt 1.5pt 1.5pt 1.5pt; mso-table-lspace: 2.25pt; mso-table-rspace: 2.25pt; mso-table-anchor-vertical: paragraph; mso-table-anchor-horizontal: column; mso-table-left: left" cellPadding=0 align=left border=0><TBODY><TR style="mso-yfti-irow: 0; mso-yfti-firstrow: yes; mso-yfti-lastrow: yes"><TD style="BORDER-RIGHT: #ece9d8; PADDING-RIGHT: 1.5pt; BORDER-TOP: #ece9d8; PADDING-LEFT: 1.5pt; PADDING-BOTTOM: 1.5pt; BORDER-LEFT: #ece9d8; PADDING-TOP: 1.5pt; BORDER-BOTTOM: #ece9d8; BACKGROUND-COLOR: transparent"><V:p</V:p<O:p</O:p</TD></TR></TBODY></TABLE>​

     
  12. nongnooo

    nongnooo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    4,139
    ค่าพลัง:
    +9,446
    555ท่านเพชรเอ๋ย ผมเริ่มเบื่อความบังเอิญอีกแล้วครับ อ่านตำราค้นคว้ายังมาจากตำราท่านที่แต่งเดียวกันเลยครับ ผมว่าถ้าให้ครบสูตรคุณเพชรน่าจะอธิบาย พระรอดยุคพระยาสรรพสิทธิด้วยครับทุกท่านที่ติดตามจะได้ทราบกันซึ่งถ้าผมเดาไม่ผิดพระกรุนี้ที่คุณเพชรได้รับมาน่าจะหลังหรืออยู่ยุคห่างท่านไม่นานครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 มีนาคม 2008
  13. kaicp

    kaicp เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    146
    ค่าพลัง:
    +1,190
    คุณเพชรครับ

    ร่วมทำบุญด้วย 1,000 บาท
    PM เบอร์บัญชีให้ด้วยครับ
     
  14. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    ของจริงหรือไม่จริง ท่านที่บูชาไปทราบได้เอง ผมเชื่ออย่างนั้นครับ หึ..หึ.. หมดวาสนา รับรองไม่ได้เจอกันแน่ คุณน้องนู๋ ผมเปิดเผยรายละเอียดไม่ได้มาก ทั้งพระ และข้อมูลเรามีพร้อมแล้ว เหมือนบังเอิญ แต่ไม่ใช่บังเอิญ หากได้เห็นพระโบราณมากกว่านั้นเกรงว่าจะตาค้างกันจริงๆ และจะทราบว่า หริภุญไชยนั้นไม่ธรรมดาครับ ต่อไปคุณน้องนู๋อธิบายต่อเลยดีกว่าครับ...
     
  15. SERAPHIM

    SERAPHIM เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    106
    ค่าพลัง:
    +884
    โมทนา สาธุในงานกุศลครั้งนี้ด้วยนะครับพี่เพชร
    ผมพึ่งกลับจากฝึกงานที่ปางมะผ้า ตกดึกถึงมาเหนกระทู้นี้
    ขอให้สำเร็จโดยไวครับ
     
  16. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    ไขปริศนา พิมพ์พระสิบแปด

    หลายวันก่อนมีโอกาสไปดูสถานที่ขุดพบพระสิบแปด หลังจากได้ข่าวลือมาว่า มีพระแตกกรุขึ้นมาเมื่อกลางเดือน กรกฎาคม ที่ผ่านมา ข่าวว่าชาวบ้านได้พระบูชาและพระลำพูน จำนวนหนึ่ง ตอนนั้นผู้เขียนก็ไม่ได้ใส่ใจมากนัก เพราะมีข่าว แต่ไม่มีของ กลัวจะเป็นพระเก๊ยัดกรุ จนอาทิตย์ก่อนมีชาวบ้านส่งรูปพระสิบแปดมาให้ดู แถมยังท้าให้ไปดูของจริงว่า เก่า แท้ แน่นอนอีกด้วย ผู้เขียนจึงได้เดินทางไปดูสถานที่พระแตกกรุ บ้านท้ง ต.ท่าตุ้ม อ.ป่าซาง จ.ลำพูน บริเวณที่พบเป็นวัดร้างเก่า เป็นกู่ร้าง ติดแม่น้ำปิง ในสวนลำใยของชาวบ้าน เนื่องจากดินถูกน้ำเซาะจนทรุดตัวลง ทำให้เจดีย์พังลงไปในแม่น้ำปิง ตอนไปดู (ก่อนน้ำท่วม) เหลือเพียง ซากฐานเจดีย์ไม่ถึงครึ่ง ส่วนใหญ่จมลงไปในน้ำ ทำให้พระที่บรรจุอยู่ในเจดีย์หายไป ชาวบ้านจึงพากันแตกตื่นงมหาพระในแม่น้ำปิง
    เท่าที่สอบถามจากชาวบ้านหลายคน ได้ความว่าพระที่งมได้จากน้ำ มีพระบูชา หน้าตัก 5
     
  17. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    ขอบคุณ และโมทนาบุญทุกอย่างด้วยครับ
     
  18. nongnooo

    nongnooo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    4,139
    ค่าพลัง:
    +9,446
    ฮิฮิ มิกล้าครับด้วยเหตุผลคือยังห่างชั้นกับคุณเพชรมากครับ ผมเป็นหน่วย รด.(กำลังสำรองดีกว่าครับ) ต้องตาตั้งครับไม่ใช่ตาค้างครับ ผมถึงบอกได้แค่ตามวาระและวาสนาแต่ละท่านจริงๆครับ
     
  19. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    พระธาตุโมคคัลลานะ สันฐานพิเศษ ที่หาพบได้ยาก มีขนาดที่ใหญ่กว่าที่พบโดยทั่วไป

    - มอบให้กับผู้ร่วมบุญสร้างบุษบก ๕๐๐ บาท โดยมอบให้ท่านละ ๓ องค์ ซึ่งพระธาตุโมคคัลลานะจำนวน ๓ องค์นี้จะถูกแบ่งเป็น ๓ ส่วนดังนี้

    ๑.มอบให้ผู้ร่วมบุญไว้ใส่ผอบสักการะบูชายังที่พักอาศัยจำนวน ๑ องค์ รวม ๒๖๑ องค์

    ๒.พระธาตุโมคคัลลานะองค์ที่ ๒ ของผู้ร่วมบุญสร้างบุษบกนี้ จะอัญเชิญใส่ผอบขนาดใหญ่ประดิษฐานยังบุษบกโดยตรงเพื่ออานิสงค์ของการถวายพระธาตุโมคคัลลานะ พระอัครสาวกเบื้องซ้าย ยังบุษบกที่ประดิษฐานพระโมคคัลลานะที่ร่วมกันสร้างนี้โดยตรง รวม ๒๖๑ องค์

    ๓.พระธาตุโมคคัลลานะองค์ที่ ๓ ของผู้ร่วมบุญสร้างบุษบกนี้ จะอัญเชิญใส่ผอบแก้วเบอร์ ๕ประดิษฐานยังพระธาตุเจดีย์ที่กำลังก่อสร้างจำนวนที่เลือกไว้ ๙ แห่ง ซึ่งผู้ร่วมบุญจะเป็นผู้ระบุเองว่าปรารถนาจะให้บรรจุไว้ยังพระธาตุเจดีย์องค์ใดในรายชื่อ ๙ แห่งนี้เท่านั้นเปรียบเสมือนท่านเป็นผู้บรรจุพระธาตุยังพระเจดีย์เอง เพื่ออานิสงค์ของการร่วมบรรจุพระธาตุอรหันต์สาวกยังพระธาตุเจดีย์โดยตรง รวม ๒๖๑ องค์ใน ๙ แห่ง

    พระธาตุโมคคัลลานะรวมจำนวนทั้งหมด ๗๘๓ องค์ จึงได้ถูกแบ่ง และมอบ/อัญเชิญไว้ยังสถานที่ต่างๆดังกล่าวแล้วข้างต้น

    ***พระธาตุโมคคัลลานะชุดนี้ได้อัญเชิญเข้าพิธีพุทธาภิเษกเสาร์ ๕ วันเสาร์ที่ ๗ เมษายน ๒๕๕๐ เรื่องราวนี้จะค่อยๆเปิดเผยในภายหลังอีกครั้ง สรุปคือไม่ธรรมดาครับ...

    เหตุการณ์ในระว่างพิธีพุทธาภิเษกไม่ขอบอกเล่า เนื่องจากเป็นเรื่องอจินไตยเหลือเชื่อ บุคคลที่อยู่ในพิธีดังกล่าวล้วนมีตัวตนจริง และเอ่ยอ้างได้ เพียงแต่ต้องขออนุญาตท่านผู้นั้นเสียก่อน จึงมิสู้ขอเว้นไว้ไม่ขอเอ่ยถึงจะดีกว่าครับ

    เหตุการณ์ที่ ๑
    ภายหลังจากเวลาพิธีพุทธาภิเษก ผมได้อัญเชิญพระธาตุโมคคัลลานะไปให้อาจารย์ปู่ประถม อาจสาคร ชมกระแสบารมี จำได้ว่าท่านใช้นิ้วนาง สลับกับนิ้วกลาง จรดกับนิ้วโป้ง สัมผัสที่องค์พระธาตุโมคคัลลานะ (เวลานั้นผมยังไม่ได้แจ้งอาจารย์ปู่ประถมว่าเป็นพระธาตุแต่อย่างใด) เพียงครู่เดียวท่านกล่าวว่า ฌาน ๒ พลังพุ่งปรู๊ดเลย...(พูดขณะสัมผัสอยู่) แต่...ฌาน ๔ กลับว่าง.....เออ! ต้องว่างถึงจะอนัตตาเนอะ(ท่านพูดพร้อมกับยิ้มๆ และส่งพระธาตุโมคคัลลานะกลับคืน) ผมได้ขอขมาพระท่าน พร้อมแจ้งความประสงค์กับอาจารย์ปู่ถึงการนำมามอบให้ผู้ร่วมบุญบูรณะองค์พระโมคคัลลานะ(เวลานั้นยังไม่ทราบว่า ไม่สามารถจะบูรณะได้ เวลานี้เมื่อทราบว่าไม่สามารถจะบูรณะได้ จึงน้อมถวายการสร้างบุษบกนี้เพื่อประดิษฐานองค์ท่านแทน) เพื่อให้มั่นใจว่าได้มอบพระธาตุโมคคัลลานะที่พิเศษสุดนี้แก่ทุกท่าน และอัญเชิญบรรจุยังบุษบก และพระธาตุเจดีย์ ๙ แห่ง..

    เงื่อนไขการแจ้งความประสงค์ขอบรรจุไว้ยังพระธาตุเจดีย์ที่กำลังก่อสร้างแล้วเสร็จ หรือยังไม่แล้วเสร็จนี้ หากเพื่อนท่านใดแจ้งขอบรรจุไว้ครบถ้วนแห่งละ ๒๙ องค์ แล้ว จะไม่สามารถเลือกบรรจุยังพระธาตุเจดีย์แห่งนั้นได้ จะต้องไปเลือกบรรจุยังพระธาตุเจดีย์อื่นที่เหลือตามวาระของผู้นั้น ดังนั้นจึงต้องรีบกันหน่อยครับ

    เข้าบัญชี ธนาคารไทยพาณิชย์
    สาขา สุขุมวิท ซอย 3/1
    ชื่อบัญชี คุณอภิวัฒน์ ชัฎอนันต์ เพื่อสร้างบุษบกประดิษฐานพระโมคคัลลานะ
    เลขที่บัญชี 074-2-14149-7

    <!-- / message --><!-- attachments -->
    <FIELDSET class=fieldset><LEGEND>รูปขนาดเล็ก</LEGEND>[​IMG] [​IMG]

    </FIELDSET>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 มีนาคม 2008
  20. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    ผมได้ลงเรื่องราวของเมืองหริภุญไชยร่วม ๖๐๐ กว่าปี และพระแม่จามเทวี เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติแห่งองค์อัครปฐมกษัตริย์ ในหน้าที่ ๑ เรียบร้อยแล้วครับ...

    คำขวัญ : จังหวัดลำพูน

    " พระธาตุเด่น พระรอดขลัง ลำไยดัง กระเทียมดี ประเพณีงาม จามเทวี ศรีหริภุญชัย "<?xml:namespace prefix = v ns = "urn:schemas-microsoft-com:vml" /><v:shape id=_x0000_i1026 style="WIDTH: 15pt; HEIGHT: 12pt" alt="" type="#_x0000_t75"><v:imagedata src="file:///C:\DOCUME~1\com\LOCALS~1\Temp\msohtml1\01\clip_image001.gif" o:href="http://travel.sanook.com/north/lumpoon/images/ic_buatong.gif"></v:imagedata></v:shape>

    ประวัติ : เมืองลำพูน หรือ หริภุญไชยนั้น เป็นเมืองที่พระวาสุเทวฤาษี จากสำนักดอยสุเทพเมืองเชียงใหม่ และพระสุกกทันตฤาษี จากเมืองละโว้ เป็นผู้สร้างขึ้นครับ โดยทั้งสองเห็นพ้องต้องกันว่าควรสร้างเมืองตามแบบอย่างพระอนุสัษฏฤาษี ที่สร้างเมืองศรีสัชนาลัยโดยวางรูปสันฐานเมืองเป็นรูปเกล็ดหอยซึ่งทำให้บ้านเมืองเจริญรุ่งเรือง เมื่อพระอนุสัษฏฤาษีทราบเรื่องจึงนำเกล็ดหอยจากมหาสมุทรมาให้พระฤาษีทั้งสอง จากนั้นพระฤาษีทั้งสองก็ใช้ไม้เท้าขีดพื้นดินวงไปตามรูปเกล็ดหอย ก็เกิดเป็นกำแพงมูลดินและคูเมืองป้อมปราการขึ้นมาอย่างน่าอัศจรรย์ เหตุที่มีดินพูนขึ้นมานี้เองจึงได้ชื่อว่า "ลำพูน" และเมื่อพระฤาษี ทั้งสองสร้างเมืองเสร็จแล้วก็ให้อำมาตย์ไปทูลเชิญพระนางจามเทวี ราชธิดาพระเจ้ากรุงละโว้ ขึ้นมาครองเมือง ซึ่งขณะที่พระนางเดินทางมานั้นพระนางกำลังทรงพระครรภ์อยู่ ครั้นถึงเมืองลำพูนได้ไม่นาน ก็ทรงมีพระประสูติกาลพระกุมารฝาแฝด องค์พี่ทรงพระนามว่า "มหันตยศกุมาร" ส่วนองค์น้องทรง พระนามว่า "อนันตยศกุมาร"

    <v:shape id=_x0000_i1027 style="WIDTH: 15pt; HEIGHT: 12pt" alt="" type="#_x0000_t75"><v:imagedata src="file:///C:\DOCUME~1\com\LOCALS~1\Temp\msohtml1\01\clip_image001.gif" o:href="http://travel.sanook.com/north/lumpoon/images/ic_buatong.gif"></v:imagedata></v:shape>อาณาเขต :

    ทิศเหนือ ติดต่อกับ จังหวัดเชียงใหม่
    ทิศใต้ ติดต่อกับ จังหวัดลำปาง และตาก
    ทิศตะวันตก ติดต่อกับ จังหวัดเชียงใหม่
    ทิศตะวันออก ติดต่อกับ จังหวัดลำปาง

    จังหวัดลำพูน เป็นจังหวัดที่เล็กที่สุดในภาคเหนือ มีเนื้อที่ 4,407 ตารางกิโลเมตร พื้นที่ส่วนใหญ่เป็น ที่ราบ อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเล 1,800 ฟุต มีแม่น้ำสำคัญไหลผ่าน 4 สาย คือ แม่น้ำปิง แม่น้ำกวง แม่น้ำทา และ แม่น้ำลี้

    จังหวัดลำพูนแบ่งการปกครองออกเป็น 6 อำเภอ และ 1 กิ่งอำเภอ คือ อำเภอเมืองลำพูน, อำเภอป่าซาง, อำเภอบ้านโฮ่ง, อำเภอแม่ทา, อำเภอลี้, อำเภอทุ่งหัวช้าง และกิ่งอำเภอบ้านธิครับ<O:p</O:p
    http://travel.sanook.com/north/lumpoon/index.php<O:p></O:p>


    พระนางจามเทวี เชื่อกันว่าเป็นปฐมกษัตริย์แห่งนครหริภุญไชย ทรงเป็นพระราชธิดาของพระเจ้าจักรพรรดิราช แห่งกรุงละโว้(ลพบุรี) ปีประสูติ ระยะเวลาครองราชย์ และปีสวรรคตของพระนางจามเทวี มีผู้บันทึกหรือวิเคราะห์ไว้ต่างกัน เช่น ชินกาลมาลีปกรณ์ ว่าครองราชย์ พ.ศ. ๑๒๐๕ ครองราชย์อยู่ ๗ ปี นายมานิต วัลลิโภดม สอบค้นว่าประสูติ เมื่อพ.ศ. ๑๑๖๖ ครองราชย์ พ.ศ. ๑๒๐๕ ครองราชย์อยู่ ๑๗ ปี สิ้นพระชนม์ พ.ศ. ๑๒๕๘ พระชันษาได้ ๙๒ ปี ตำนานฉบับที่นายสุทธวารี สุวรรณภาชน์ แปลและเรียบเรียง คือ ประสูติ พ.ศ. ๑๑๗๖ ครองราชย์ พ.ศ. ๑๒๐๒ สละราชสมบัติ พ.ศ. ๑๒๓๑ และสวรรคต พ.ศ. ๑๒๗๔ เป็นต้น

    <O:p</O:p
    พระนางจามเทวีเป็นผู้มีพระรูปโฉมงดงาม เป็นเบญจกัลยานี มีศีล และมีความสามารถ ทรงอยู่ในฐานะหม้าย เนื่องจากพระสวามี ซึ่งอยู่ในพงศาวดารเมืองหริภุญชัย ว่าเป็นเจ้าประเทศราชในเมืองรามัญ ตรงกับตำนานมูลศาสนาว่า คือเมืองรา หรือ เมืองรามได้มีศรัทธาบรรพชาเป็นเพศบรรพชิต พระเจ้าจักรพรรดิราชพระราชบิดา ทรงมีราชานุญาตให้พระนางจามเทวีซึ่งมีครรภ์ได้ ๓ เดือน เดินทางไปครองเมืองหริภุญไชย ตามคำเชิญของสุกกทันตฤาษี และวาสุเทพฤาษี ผู้ส่งนายคะวะยะเป็นทูตมาเชิญ
    <O:p</O:p

    พระนางจามเทวีได้นำพระสงฆ์ สมณะชีพราหมณ์ พ่อค้าวาณิช ช่างต่างๆ อย่างละ ๕๐๐ ประมาณกว่า ๗,๐๐๐ คน เดินทางโดยทางน้ำปิง (พิงค์) อย่างช้าๆ ตั้งเมืองเผยแผ่พระพุทธศาสนาตลอดเส้นทาง ใช้เวลาเดินทาง ๗ เดือน จึงเดินทางมาถึงเมืองหริภุญไชย เมื่อเสด็จมาถึงได้ ๗ วัน ก็ประสูติพระโอรสฝาแฝดชื่อ มหันตยศ และ อนันตยศ ต่อมาทรงได้เศวตไอยราเป็น คู่บารมีสีกายเผือกดั่งเงินยวงเรียกว่า ผู้ก่ำงาเขียว (ช้างเผือกงาเนียมหรือช้างเผือกงาดำ) จากเชิงดอยอ่างสลง (อ่างสรง) ในเขาลวง อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อพระโอรสมีพระชนม์ ๗ พรรษา พระนางจามเทวีได้สละราชสมบัติอภิเษกให้มหันตยศ ครองเมืองหริภุญไชย ส่วนอนันตยศ พระนางจามเทวีได้ให้นำผู้คนพลเมืองไปตั้งเมืองเขลางค์นครหรือลำปางในปัจจุบัน นับเป็นการขยายอาณาจักร และพุทธจักร ให้กว้างไกลออกไป ส่วนพระนางได้นุ่งขาวห่มขาว สมาทานเบญจศีล จนถึงวันสิ้นพระชนม์ ดังตำนานมูลศาสนาได้กล่าวว่าพระนางทรงสมาทานเบญจศีลอยู่เสมอทุกวันมิได้ขาด
    <O:p</O:p

    ในอุดมการณ์ทางด้านศาสนา ทรงเป็นแบบอย่างที่ดี ในการปฏิบัติธรรมให้เสนาอำมาตย์ราชมนตรี และประชาชนถือปฏิบัติเป็นอย่างดี ที่สำคัญยิ่งทรงเป็นผู้อุปถัมภ์พระพุทธศาสนาให้รุ่งเรืองวัฒนาสืบมาจนถึงปัจจุบันนี้ และได้ทรงสร้างจตุรพุทธปราการเป็นพระอารามประจำจตุรทิศแห่งพระนคร เพื่อเป็นพุทธปราการปกป้องคุ้มครองพระนครให้พัฒนาสถาพรปราศจากภัยภิบัติต่างๆ ประชาชนทั่วไปเรียกว่า วัดสี่มุมเมือง ดังนี้

    อาพัทธาราม ปัจจุบันคือ วัดพระคง เป็นพุทธปราการอารักขาประจำทางฝ่ายทิศเหนือ
    อรัญญิกรัมมการาม ปัจจุบันเป็น วัดร้างดอนแก้ว ตั้งอยู่บริเวณโรงเรียนชุมชนบ้านเวียงยองเป็นพุทธปราการ อารักขาประจำทางฝ่ายทิศตะวันออก
    มหาสัตตาราม ปัจจุบันคือ วัดสังฆาราม (ประตูลี้) เป็นพุทธปราการอารักขาประจำทางฝ่ายทิศใต้
    มหาวนาราม ปัจจุบัน คือ วัดมหาวันเป็นพุทธปราการอารักขาประจำทางฝ่ายทิศตะวันตก
    <O:p</O:p

    พระนางจามเทวีได้ทรงใช้กุศโลบายที่หลากหลายรูปแบบในการต่อสู้และชักจูงพวกละว้าให้หันมานับถือศาสนาพุทธโดยเฉพาะอย่างยิ่งการต่อสู้กับหัวหน้าเผ่าละว้า ขุนหลวงวิลังคะ ด้วยอิทธิฤทธิ์ของช้างผู้ก่ำงาเขียว ได้ขับไล่ข้าศึกละว้าหนีกระจัดกระจายไปอยู่ตามป่าเขา นอกจากนี้ทรงใช้กุศโลบายในการผสมกลมกลืนชาติพันธุ์กับท้องถิ่นได้อย่างเหมาะสม โดยการให้พระราชโอรสทั้งสองพระองค์อภิเษกสมรสกับธิดาสองคนของพญามิลักขะและได้สู่ขอธิดาสองคนของนายคะวะยะ ให้กับพระราชโอรสด้วย ถือได้ว่าทำให้ชนชาวละโว้และชนพื้นเมืองอยู่กันอย่างร่มเย็นเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและสามารถเผยแพร่อุดมการณ์ทางศาสนาเข้าสู่ชนพื่นเมืองได้อย่างรวดเร็ว และได้ใช้กุศโลบายทางสันติธรรมและเมตตาธรรมเข้าต่อสู้จนชนะที่สุด โดยมีบางส่วนได้เข้ามา สวามิภักดิ์หันมาเลื่อมใสศรัทธาในพระบวรพุทธศาสนาทำให้มีการผสมกลมกลืนทางชาติพันธุ์ สังคมเกิดความสงบสุขและพุทธศาสนาเจริญอย่างมั่นคงในอาณาจักรหริภุญไชยตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    จาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
    http://lannamusic.advancewebservice.com/index.php?name=Forums&file=posting&mode=quote&p=3

    เมือง นครลพะ มีความเจริญรุ่งเรืองมากในทางพุทธศาสนา ราวพุทธศักราช ๙๔๕ พระเจ้าอโศกมหาราช ส่งพระสมณฑูตมาเผยแผ่ จากอินเดีย จึงเกิดสถาบันสงฆ์ขึ้นได้นำพระพูทธรูป พระเครื่อง ศิลปวัตถุต่างๆ พร้อมช่างฝีมือมาด้วยจึงเป็นแม่แบบในปัจจุบันได้แพร่กระจายสู่แคว้นต่างๆในประเทศไทยเราในปัจจุบัน

    แคว้นลพะหรือเมืองลพะ ประชาชนส่วนใหญ่เป็นชาวไทยเขินและไทยลัวะปะปนบ้างภาษาใช้ภาษาไทยเขินหรือภาษาลานนาในปัจจุบัน ส่สวนใหญ่นับถือศาสนาพุทธมีพระสงฆ์และนักบวช ส่วนมากจะเป็นฤาษี ตั้งอยู่ที่บริเวณ บ้านวังไฮ ต.เวียงยองอ.เมือง จ.ลำพูน ในปัจจุบัน มีกษัตริย์ปกครองถึง ๑๐ รัชกาล ประมาณ พ.ศ.๙๐๐พระเจ้าสัจจวัตร รัชกาลที่ ๑ ได้สถาปนาเป็นกษัตริย์ปกครองแคว้นลพะโดยมีเมืองลพะเป็นเมืองหลวง (เป็นยุคก่อนหริภุญไชย) พระยาตะกะ รัชกาลที่ ๒ (พ.ศ.๙๔๐-๙๘๗) บ้านเมืองยุคที่เจริญรุ่งเรืองที่สุด มีพระสงฆ์ที่เป็นพระอรหันต์ ๙รูป พระเถระ อนุเถระ อุบาสก อุบาสิกา นักปราชญ์ ราชบัณฑิต ช่างฝีมือ อพยพมาจากเมืองกุสินารา ประเทศอินเดีย มาที่เมืองลพะ ได้นำเอา พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์และทรัพย์สมบัติอื่นๆของพระพุทธศาสนามาด้วย เช่น พระพุทธรูป พระเครื่องพระบรมสารีริกธาตุ พระอังคาร รางเหล็ก(ที่รองรับพระสรีระร่างของพระพุทธเจ้าตอนประชุมเพลิง)มาด้วย เส้นทางเรือผ่านทะเลเข้าสู่แม่นำเจ้าพระยา แยกขึ้นไปทางลำแม่น้ำปิง ได้สร้างพระประจำรัชกาลถือเป็นพระเครื่องชุดแรกของประเทศไทยปัจจุบัน คือสร้างเมื่อ เดือน ๖ ขึ้น ๖ ค่ำพ.ศ.๙๗๖ เป็นเนื้อดินและเนื้อชินมีตัวหนังสือลานนาหรือไทยเขินจารึกไว้ใต้ฐานพระเครื่อง ๒ แถวแถวบนระบุชื่อผู้สร้างคือ ตะกะ พะ ลพะ ส่วนแถวล่างระบุ วัน-เดือน-ปี ที่สร้าง คือ ๖๖๗๙ ๖ อ่านว่า เดือน ๖ ขึ้น ๖ ค่ำ พ.ศ.๙๗๖ สร้างโดยพระอรหันต์ที่มาจากอินเดียจะมีพระบรมสารีรกิธาตุที่เป็นธาตุรวม ธาตุ ๔ หรือ ธาตุ ๖และเหล็กไหลหรือรางเหล็กฯผสมอยู่ด้วย พบที่ กรุดอยไซ บ้านหนองไซ หมู่ที่ ๑๔ค.ป่าสัก อ.เมือง จ.ลำพูน เรียกชื่อว่า"พระเหล็กไหลดอยไซ"มีพระพุทธคุณสูงยิ่งต่อสละราชสมบัติออกบวชมอบอำนาจต่อกับพระโอรส, รัชกาลที่ ๓ พระยาธะมะนะขะชะแต่ปีพ.ศ.๙๘๗ ต่อมาได้สร้างพระเครื่อง พระบูชาประจำรัชกาล เช่น พระรอด พระคงปกครองเมืองถึง พ.ศ. ๑๐๒๗ รวม ๔๐ ปี ,รัชกาลที่ ๔ พระยาถะระ ปกครองเมืองตั้งแต่พ.ศ.๑๐๒๗-๑๐๘๐ รวม ๕๓ ปี ,รัชกาลที่ ๕ พระนางอะระพะ เป็นพระมเหสีของพระยาถะระเมื่อรัชกาลที่ ๔ สิ้นพระชนม์ไม่มีรัชทายาทสืบราชสมบัติแทนพระนางจึงสถาปนาฯปกครองเมือง ตั้งแต่พ.ศ.๑๐๘๐-๑๐๘๗ รวม ๗ ปี มีพระอรหันต์เกิดขึ้น ๖องค์ มีอุบาสกคนหนึ่งชื่อ"สัญชัย"ปฏิบัติธรรมได้สมาธิฌานอภิญญาขั้นสูงช่วงนั้นพระอรหันต์ได้ปรินิพพานไปหมดมีแต่อุบาสก"สัญชัย"เป็นที่เคารพของประชาชนทั่วไปจึงถูกเรียกชื่อใหม่ว่า"ฤาษีสัญชัย"(เป็นฤาษีพุทธองค์แรกเป็นต้นตระกูลของฤาษีพุทธในประเทศไทย) เสียชีวิต เมื่อ พ.ศ.๑๐๘๐พระนางอะระพะได้เอาพระธาตุของฤาษีสัญชัย มาเป็นส่วนผสมในการสร้างพระเครื่องพระบูชาประจำรัชกาล ผู้สร้างคือ สุกกทันตฤาษี เป็นลูกศิษย์ฤาษีสัญชัยขณะนั้นอายุได้ ๒๐ ปี แต่สำเร็จสมาธิฌาน อภิญญาขั้นสูงและได้สืบต่อเป็นเจ้าสำนักดอยไซ,รัชกาลที่ ๖ พระยาทะพะยะปกครองเมืองตั้งแต่พ.ศ.๑๐๘๗-๑๐๙๕ รวม ๘ ปี เป็นหลานรัชกาลที่ ๔ ,รัชกาลที่ ๗พระยาพะระมะนะ เป็นบุตรรัชกาลที่ ๖ ปกครองเมืองตั้งแต่ พ.ศ.๑๐๙๕-๑๑๒๐ รวม ๒๕ ปี ,รัชกาลที่ ๘ พระยาสะตะยะ เป็นบุตรรัชกาลที่ ๗ ปกครองเมืองตั้งแต่ พ.ศ.๑๑๒๐-๑๑๔๖รวม ๒๖ ปี สุกกทันตฤาษีได้เสียชีวิตเมื่อ พ.ศ.๑๑๔๐ ได้ลูกศิษย์ชื่อ สุเทวฤาษี อายุ๒๐ ปี ได้สมาธิฌานอภิญญาขั้นสูง สืบต่อเป็นเจ้าสำนัก,รัชกาลที่ ๙ พระยาพะระปกครองเวมืองตั้งแต่ พ.ศ. ๑๑๔๖-๑๑๗๑ รวม ๒๕ ปี ,รัชกาลที่ ๑๐ พระยาสะณะตะระหรือพระสันตระ ปกครองเมืองลพะองค์สุดท้ายตั้งแต่ พ.ศ. ๑๑๗๑-๑๑๗๖ รวม ๕ ปีได้สร้างพระเครื่องพระบูชาประจำรัชกาล ผู้สร้างคือ ฤาษียะ ฤาษีวะ ๒ องค์ซึ่งเป็นลูกศิษย์ฤาษีสุเทวฤาษี เมืองลพะล่มสลายเมื่อ เดือน ๘ ขึ้น ๑๕ ค่ำ พ.ศ.๑๑๗๖ ระหว่างทำพิธีสร้างพระประจำรัชกาลเสนาอำมาตย์แตกความสามัคคีก่อการจลาจลทำลายเข่นฆ่ากันในพิธีจนตายหมด ส่วนที่เหลือก็อพยพไปที่อื่นถึง ๔ สาย ทางบก ๒ สายมุ่งหน้าไปทางทิศเหนือ คือที่เชียงแสน ส่วนทางทิศใต้คือ สุโขทัย ทางน้ำ ๒ สาย ล่องลำน้ำปิงจนถึงเมืองละโว้-อยุธยา และ ทราวดี-อู่ทอง สุพรรณบุรีในปี พ.ศ.๑๑๗๖ พระยาสันตระ ได้บุตรสาวคนหนึ่งเกิดก่อนวันสร้างพระประจำรัชกาล เพียง ๓ เดือน ระหว่างเกิดการจลาจลได้อยู่กับพระพี่เลี้ยงในวังไม่ได้มาเข้าร่วมพิธีด้วยฤาษียะและฤาษีวะซึ่งอยู่ในพิธีสร้างพระด้วยเห็นเหตุการณ์ไม่ดีจึงรีบเข้าวังช่วยเจ้าหญิงองค์น้อยหนีไปที่สำนักของสุเทวฤาษี ดอยไซ...และศิษย์อีกองค์คือฤาษีคะช่วยกันเลี้ยงดูโดยอ้างกับประชาชนทั่วไปว่า...เก็บได้จากดอกบัวหลวงในสระน้ำใกล้สำนัก...อยู่ด้วยที่สำนักดอยไซ...มีเสียงครหานินทาว่าเลี้ยงเด็กผู้หญิงไว้....จึงพามาอยู่ดอยอีกลูกหนึ่งทางทิศเหนือเพื่อให้ห่างจากฤาษีองค์อื่นๆที่ดอยไซ....ดอยลูกนี้เรียกว่า"ดอยติ"ในปัจจุบัน (อ.เมือง จ.ลำพูน) จนมีอายุ ๑๓ ปี จึง ให้ฤาษียะ ฤาษีวะ และฤาษีคะพาไปฝากเรียนศิลปะวิทยาการกับกษัตริย์ที่กรุงละโว้ เจ้าหญิงองค์น้อยนั้นก็คือ"พระนางจามเทวี องค์ปฐมกษัตริย์แห่งนครหริภุญไชย"นั่นเอง


    เรื่องราวเมืองลพะเริ่มประมาณ พ.ศ.๙๐๐ และสิ้นสุดเมื่อวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ พ.ศ.๑๑๗๖ รวมประมาณ ๒๗๖ ปี ก่อนสุเทวฤาษี และศิษย์ทั้ง ๓ ช่วยกันรวบรวมกอบกู้สร้างเมืองใหม่ตั้งชื่อว่า"เมืองหริภุญไชย"เรียบร้อยแล้วจึงให้ลูกศิษย์ฤาษี ๓ องค์ไปเป็นฑูตทูลขอพระนางจามเทวี ขณะนั้นเป็นพระราชธิดาบุญธรรมของกษัตริย์กรุงละโว้และเป็นมเหสีของพระยารามราชกษัตริย์ แห่งเมืองอโยธยามาขึ้นครองราชเป็นปฐมกษัตริย์ แห่งเมืองหริภุญไชยเมื่อสุเทวฤาษีสิ้นบุญพระนางจามเทวีได้สร้างเจดีย์หรือกู่บรรจุอัฐิไว้ที่ดอยไซและสร้างกู่บรรจุอัฐิไว้ที่กลางเมืองหริภุญไชย ฤาษีคะได้ปกครองสำนักดอยไซสืบแทนจนหมดอายุขัยพระนางจามเทวีได้สร้างเจดีย์หรือกู่บรรจุอัฐิไว้ที่วัดพระคงฤาษี ส่วนฤาษียะและฤาษีวะ เมื่อสิ้นบุญอาจารย์ก็ได้มาอาศัยอยู่ที่บ้านดงป่าหวายใกล้กับเวียงหวาย ในเขตอ.บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน มีลูกศิษย์มาปฏิบัติธรรมจำนวนมากจนชาวบ้านเรียกบริเวณนี้ว่า "ดงฤาษี" เมื่อฤาษีทั้ง ๒ สิ้นบุญ พระนางจามเทวีและพระยามหันตยศ ก็ได้มาสร้างอนุสาวรีย์ของฤาษีทั้ง ๒เป็นรูปพระสงฆ์ยืน ปรางค์ถวายเนตร สูง ๙ ศอกตามความปราถนาที่ครองสมณเพศเป็นพระสงฆ์มาตั้งแต่ยังหนุ่มปรากฏเป็นหลักฐานมาจนถึงทุกวันนี้

    ติดตามเรื่องราวที่น่าสนใจอื่นๆได้เลยครับ
    <!-- / message --><!-- sig -->
    <!-- / message --><!-- sig -->
     

แชร์หน้านี้

Loading...