เรื่องเด่น นานาเรื่องราวหลวงพ่อพระราชพรหมยาน

ในห้อง 'ประสบการณ์ เรื่องเล่า' ตั้งกระทู้โดย Wannachai001, 16 กันยายน 2014.

  1. Wannachai001

    Wannachai001 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    8,844
    กระทู้เรื่องเด่น:
    110
    ค่าพลัง:
    +225,702
    [​IMG]

    <a href="http://s1093.photobucket.com/user/wannachai007/media/Doc2015/DSC_0025_1.jpg.html" target="_blank"><img src="http://i1093.photobucket.com/albums/i434/wannachai007/Doc2015/DSC_0025_1.jpg" border="0" alt=" photo DSC_0025_1.jpg"/></a>

    แหวนจักรพรรดิ์รุ่นพิเศษตัวเรือนเงินแท้ฝังเพชรเขาพระงามหรือหินเขี้ยวแก้วหนุมานคัดเม็ดพิเศษใสทั้งเม็ดเกรดเดียวกับที่ฝังบนแหวนจักรพรรดิ์ตัวเรือนทองคำจะเริ่มออกให้บูชาได้ที่วัดท่าซุงตั้งแต่วันที่ 5 ธันวาคมที่จะถึงนี้เป็นต้นไปครับ ส่วนทางบ้านซอยสายลมก็ต้องรอไปถึงช่วงปีใหม่ที่พระท่านมารับสังฆทานและสอนพระกรรมฐานนะครับ

    ราคาจำหน่ายบูชาเท่าเดิมทั้งแบบหญิงและชายครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 พฤศจิกายน 2016
  2. Wannachai001

    Wannachai001 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    8,844
    กระทู้เรื่องเด่น:
    110
    ค่าพลัง:
    +225,702
    <a href="http://s1259.photobucket.com/user/Onenachai005/media/DSC_0012_zpsnhbgdv8m.jpg.html" target="_blank"><img src="http://i1259.photobucket.com/albums/ii546/Onenachai005/DSC_0012_zpsnhbgdv8m.jpg" border="0" alt=" photo DSC_0012_zpsnhbgdv8m.jpg"/></a>


    ดวงแก้วทสไวยยากานต์

    .........ดวงแก้วทสไวยยากานต์ มีขนาดรอบวง ๒๔.๖ นิ้ว น้ำหนักกว่า ๑๑ กก. อัญเชิญได้จากถ้ำหนึ่งในบริเวณภูเจ้าข้า จ.สกลนคร อัญเชิญได้พร้อมกับดวงแก้วอภิบาลบริรักษ์ขนาดรอบวง ๒๕ นิ้ว (โดยมีพระบริรักษ์ชาตะ เป็นหัวหน้ากายสิทธิ์)

    ส่วนดวงแก้วทสไวยยากานต์ มีพระอติมุขเทวเทวบุตร เป็นหัวหน้ากายสิทธิ์ เดิมมีกายสิทธิ์ ๔๕๐,๐๐๐ องค์ ต่อมามีกายสิทธิ์เพิ่มเป็น ๕๕๐,๐๐๐ องค์ ปัจจุบันท่านอยู่ชั้นดุสิต

    ดวงแก้วทสไวยยากานต์ เกิดตั้งแต่สมัยที่พระกกุสันโธ ยังเป็นพระโพธิสัตว์ทรงเพศเป็นพระฤาษี

    ในชาตินั้นพระอติมุขและพระบริรักษ์ชาตะ เกิดเป็นพญาลิง ๒ ฝูง และปรารถนาพระโพธิญาณ พญาลิงทั้งสองได้อุปฐากพระฤาษีโดยหาผลไม้และน้ำฉันน้ฎใช้ โดยสลับกันหาคนละวัน พระฤาษีได้เนรมิตรดวงแก้ว ๒ ดวง มอบให้แก่ญาลิงไว้เลี้ยงดูบริวารเพื่อให่เกิดความอุดมสมบูรณ์

    วันนึ่งพระฤาษี(พระกกุสันโธพุทธเจ้า) ได้พบกับพระฤาษีผู้เป็นน้องอีกทั้ง ๔ พระองค์ ได้ทราบความเป็นมาต่าง ๆ ของตน จึงได้อาราธนาแม่กาเผือกซึ่งเสวยพระชาติเป็นพระพรหมนั้น

    เมื่อพญาลิงทั้งสอง เห็นฤทธานุภาพแห่งพระฤาษีทั้ง ๕ เกิดความเลื่อมใสตั้งจิตปรารถนาจะช่วยสืบต่อพระพุทธศาสนาและขออุปัฏฐากพระพุทธเจ้าทั้ง ๕ พระองค์ในอนาคต ต่อมาพญาลิงทั้งสองละโลก ดวงแก้วทั้งสองถูกเก็บไว้ใต้บาดาลในคลังมณีรัตนะแห่งนาคพิภพ

    ในสมัยพระกกุสันธสัมมาสัมพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์ทั้งสอง ได้เกิดเป็นกษัตริย์คนละเมือง และเป็นพระสหายกัน ได้อุปัฏฐากพระพุทธองค์ พระองค์จึงมอบดวงแก้วดวงเดิมให้แก่ท่านทั้งสอง เพื่อเป็นเครื่องระลึกถึงบุญ ในชาตินั้นพระอติมุขโพธิสัตว์มีพระโอรส ๒ พระองค์ พระธิดา ๓ พระองค์

    (ย้อนอดีต เมื่อ ๑ อสงไขย แสนมหากัป) ในสมัยพระอโนมาทัสสีสัมมาสัมพุทธเจ้า พระอติมุขโพธิสัตว์ ได้เกิดเป็นมหาเศรษฐีเมืองหนึ่ง มีบุตรชายทั้งสิ้น ๗ คน

    หมายเหตุ ปัจจุบันดวงแก้วทสไวยยากานต์ ได้นำไปถวายเจ้าอาวาสวัดท่าซุงที่บ้านซอยสายลมแล้วดวงแก้วทสไวยยากานต์ มีความพิเศษที่หัวหน้ากายสิทธิ์สามารถติดตามกายสิทธิ์อื่น ๆ มาได้ จากเดิมมีกายสิทธิ์ ๔๕๐,๐๐๐ องค์ ปัจจุบัน มีกายสิทธิ์ ๑,๒๕๐,๐๐๐ องค์

    คุณสมบัติแก้วทสไวยยากานต์

    ๑. ช่วยให้เกิดความคล่องตัว
    ๒. ปกครองบริวารให้มีความรักสามัคคีกัน
    ๓. ทรัพย์ในดินจะผุดขึ้นมา
    ๔. ติดตามทรัพย์จากน้ำที่หายไป
    ๕. ช่วยกิจการงานพระศาสนาให้สำเร็จโดยง่าย
    ๖. ช่วยรักษาโรคปอด ไต ตับ
    ๗. ป้องกันภัยพิบัติทั้ง ๔ คือ อุทกภัย วาตภัย อัคคีภัย และโจรภัย
    ๘. ติดตามผู้เป็นบริวารให้มาพบกัน
    ๙. ล้างอาถรรพ์ต่าง ๆ ที่มีมานานให้หมดไป
    ๑๐.ป้องกันคุไสย ภูติ ผี ปีศาจ
    ๑๑.รักษาทรัพย์เดิมให้คงอยู่
    ๑๒.ปกป้องคุ้มครองบริวารให้ปลอดภัย
    ๑๓.สามารถเรียกฝนและอธิษฐานให้ฝนหยุดได้
    ๑๔.คนพาลห่างหายไป
    ๑๕.นำมานั่งสมาธิช่วยให้จิตบริสุทธิ์เป็นที่ตั้งแห่งบุญ
    ๑๖.รักษาบ้านเมืองให้สงบสุข ปราศจากความวุ่นวาย
    ๑๗.สามารอธิษฐานให้เทวดาต่างจักรวาลมาช่วยเหลือได้
    ๑๘.ป้องกันภัยจากโรคระบาดที่มากับน้ำ ลม และไฟ
    ๑๙.เพิ่มเรื่องอภิญญาสมาบัติ
    ๒๐.ส่งเสริมให้คนเข้าถึงธรรมได้ง่าย
    ๒๑.อธิษฐานสิ่งใดจะสำเร็จความปรารถนา




    ขอขอบคุณข้อมูลได้จากคุณพุทธารา(น้ำใส) กระทู้

    "http://palungjit.org/4811172-post410.html"



    ปัจจุบันดวงแก้วทสไวยยากานต์ประดิษฐานให้สักการะบูชาและอธิษฐานขอพรที่มณฑปสมเด็จองค์ปฐม วัดท่าซุงครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 พฤศจิกายน 2016
  3. Wannachai001

    Wannachai001 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    8,844
    กระทู้เรื่องเด่น:
    110
    ค่าพลัง:
    +225,702
    <a href="http://s1093.photobucket.com/user/wannachai007/media/DaTa/man_04_115-1-1.jpg.html" target="_blank"><img src="http://i1093.photobucket.com/albums/i434/wannachai007/DaTa/man_04_115-1-1.jpg" border="0" alt=" photo man_04_115-1-1.jpg"/></a>
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  4. Wannachai001

    Wannachai001 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    8,844
    กระทู้เรื่องเด่น:
    110
    ค่าพลัง:
    +225,702

    ขอบคุณครับพี่ supatorn
    :cool::cool: :) :):)
     
  5. Wannachai001

    Wannachai001 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    8,844
    กระทู้เรื่องเด่น:
    110
    ค่าพลัง:
    +225,702
    ในเวบวัดท่าซุงอธิบายถึงส่วนผสมของยาขนานนี้มีอะไรบ้างแล้วทั้งหมดให้บดเข้าด้วยกันถ้าจะทานโดยผสมส่วนผสมนี้เองก็ให้ทานกับน้ำผึ้ง แต่ยาเม็ดเก้าร้อยหรือยาเม็ดและยาแคปซูลพีดี 900 ทางผู้ผลิตยาให้กับทางวัดได้ผสมทั้งหมดนั้นให้เรียบร้อยแล้วพร้อมทานได้เลยครับ
     
  6. Norr

    Norr เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,105
    ค่าพลัง:
    +127,437
    น้อมกราบสมเด็จองค์ปฐม หลวงปู่ปาน หลวงพ่อพระราชพรหมยาน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ด้วยความเคารพสูงสุด
    สวัสดีครับ พี่วรรณ และลูกหลานหลวงพ่อทุกๆท่าน

    [​IMG]
     
  7. Wannachai001

    Wannachai001 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    8,844
    กระทู้เรื่องเด่น:
    110
    ค่าพลัง:
    +225,702
    <a href="http://s1093.photobucket.com/user/wannachai007/media/DaTa/man_04_115-1-1.jpg.html" target="_blank"><img src="http://i1093.photobucket.com/albums/i434/wannachai007/DaTa/man_04_115-1-1.jpg" border="0" alt=" photo man_04_115-1-1.jpg"/></a>
     
  8. Wannachai001

    Wannachai001 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    8,844
    กระทู้เรื่องเด่น:
    110
    ค่าพลัง:
    +225,702
    งานมหกรรมศิลปะด้วยรักและภักดี ยิ่งชีวา ตราบนิรันดร์ ที่ห้างซีคอนสแควร์ ถนนศรีนครินทร์ครับ


    <a href="http://s1259.photobucket.com/user/Onenachai005/media/DSC_0035_zps8u5edycc.jpg.html" target="_blank"><img src="http://i1259.photobucket.com/albums/ii546/Onenachai005/DSC_0035_zps8u5edycc.jpg" border="0" alt=" photo DSC_0035_zps8u5edycc.jpg"/></a>
    <a href="http://s1259.photobucket.com/user/Onenachai005/media/DSC_0010_zpsi3zv7m53.jpg.html" target="_blank"><img src="http://i1259.photobucket.com/albums/ii546/Onenachai005/DSC_0010_zpsi3zv7m53.jpg" border="0" alt=" photo DSC_0010_zpsi3zv7m53.jpg"/></a>
    <a href="http://s1259.photobucket.com/user/Onenachai005/media/DSC_0011_zpsl2yc6ajh.jpg.html" target="_blank"><img src="http://i1259.photobucket.com/albums/ii546/Onenachai005/DSC_0011_zpsl2yc6ajh.jpg" border="0" alt=" photo DSC_0011_zpsl2yc6ajh.jpg"/></a>
    <a href="http://s1259.photobucket.com/user/Onenachai005/media/DSC_0037_zpsp2vtdhs4.jpg.html" target="_blank"><img src="http://i1259.photobucket.com/albums/ii546/Onenachai005/DSC_0037_zpsp2vtdhs4.jpg" border="0" alt=" photo DSC_0037_zpsp2vtdhs4.jpg"/></a>
    <a href="http://s1259.photobucket.com/user/Onenachai005/media/S__51101790_zpssyjrf3qu.jpg.html" target="_blank"><img src="http://i1259.photobucket.com/albums/ii546/Onenachai005/S__51101790_zpssyjrf3qu.jpg" border="0" alt=" photo S__51101790_zpssyjrf3qu.jpg"/></a>
    <a href="http://s1259.photobucket.com/user/Onenachai005/media/S__51101791_zpsnooj649q.jpg.html" target="_blank"><img src="http://i1259.photobucket.com/albums/ii546/Onenachai005/S__51101791_zpsnooj649q.jpg" border="0" alt=" photo S__51101791_zpsnooj649q.jpg"/></a>
    <a href="http://s1259.photobucket.com/user/Onenachai005/media/DSC_0021_zpsmyznytoh.jpg.html" target="_blank"><img src="http://i1259.photobucket.com/albums/ii546/Onenachai005/DSC_0021_zpsmyznytoh.jpg" border="0" alt=" photo DSC_0021_zpsmyznytoh.jpg"/></a>
    <a href="http://s1259.photobucket.com/user/Onenachai005/media/DSC_0016_zpsbiotgosu.jpg.html" target="_blank"><img src="http://i1259.photobucket.com/albums/ii546/Onenachai005/DSC_0016_zpsbiotgosu.jpg" border="0" alt=" photo DSC_0016_zpsbiotgosu.jpg"/></a>
    <a href="http://s1259.photobucket.com/user/Onenachai005/media/DSC_0030_zpsuq3sbjzn.jpg.html" target="_blank"><img src="http://i1259.photobucket.com/albums/ii546/Onenachai005/DSC_0030_zpsuq3sbjzn.jpg" border="0" alt=" photo DSC_0030_zpsuq3sbjzn.jpg"/></a>
    <a href="http://s1259.photobucket.com/user/Onenachai005/media/S__51101792_zpsau4le2za.jpg.html" target="_blank"><img src="http://i1259.photobucket.com/albums/ii546/Onenachai005/S__51101792_zpsau4le2za.jpg" border="0" alt=" photo S__51101792_zpsau4le2za.jpg"/></a>
    <a href="http://s1259.photobucket.com/user/Onenachai005/media/DSC_0029_zpsmdnwr6yg.jpg.html" target="_blank"><img src="http://i1259.photobucket.com/albums/ii546/Onenachai005/DSC_0029_zpsmdnwr6yg.jpg" border="0" alt=" photo DSC_0029_zpsmdnwr6yg.jpg"/></a>
    <a href="http://s1259.photobucket.com/user/Onenachai005/media/DSC_0024_zpspk0b45rp.jpg.html" target="_blank"><img src="http://i1259.photobucket.com/albums/ii546/Onenachai005/DSC_0024_zpspk0b45rp.jpg" border="0" alt=" photo DSC_0024_zpspk0b45rp.jpg"/></a>

    มีร้านมาวางจำหน่ายเหรียญธนบัตรและวัตถุมงคลที่เนื่องด้วยในหลวงรัชกาลที่ 9 ครับ


    <a href="http://s1259.photobucket.com/user/Onenachai005/media/DSC_0032_zpstbndrspg.jpg.html" target="_blank"><img src="http://i1259.photobucket.com/albums/ii546/Onenachai005/DSC_0032_zpstbndrspg.jpg" border="0" alt=" photo DSC_0032_zpstbndrspg.jpg"/></a>
     
  9. อุทยัพ

    อุทยัพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    3,564
    ค่าพลัง:
    +18,112
    .
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_9404.PNG
      IMG_9404.PNG
      ขนาดไฟล์:
      23.3 KB
      เปิดดู:
      134
  10. Wannachai001

    Wannachai001 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    8,844
    กระทู้เรื่องเด่น:
    110
    ค่าพลัง:
    +225,702
    <iframe width="853" height="480" src="https://www.youtube.com/embed/s2iXAHW7jew" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>


    <iframe width="853" height="480" src="https://www.youtube.com/embed/VyokVYkC4zo" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>
     
  11. Wannachai001

    Wannachai001 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    8,844
    กระทู้เรื่องเด่น:
    110
    ค่าพลัง:
    +225,702
    ลอยกระทง.. เพื่อวัตถุประสงค์อะไร ?

    เรียบเรียงโดย..พระอาจารย์ชัยวัฒน์ อชิโต วัดท่าซุง


    ........ประเพณีลอยกระทง เพื่อวัตถุประสงค์อะไร มีเหตุผลเป็นประการใด ขอให้ท่านผู้อ่านทุกท่านโปรดใช้วิจารณญาณไปด้วย เพราะจะได้อ้างเหตุอ้างผลไปตามหลักฐานพยาน ส่วนจะเชื่อหรือไม่ จะเป็นความจริงแค่ไหน เราต้องไปพิสูจน์กัน อย่าหลับหูหลับตาอ้างเอาแต่ความคิดของตนเอง มิฉะนั้น...เราจะไม่รู้คุณค่าว่า เรามีของดีอยู่ในประเทศไทยอีกมากมาย

    .......เมื่อพูดถึงการ “ลอยกระทง” คนไทยทุกคนแม้แต่ลูกเด็กเล็กแดงก็รู้จักกัน โดยเฉพาะประเทศไทยมีการรักษาประเพณีนี้มานานแล้ว แต่รูปแบบการจัดงานในปัจจุบันนี้ มีเทคโนโลยี สมัยใหม่เข้ามามาก จึงมีการจัดแสดงแสงและ สีเข้ามาประกอบ ทำให้เกิดบรรยากาศอันดีที่ จะทำให้ผู้ชมต้องย้อนกลับไปในภาพอดีตอีก ครั้งหนึ่ง แต่ถ้าจะสืบสาวราวเรื่องความเป็นมาต่างๆ เช่นถามว่า...

    “ประวัติการ ลอยกระทง มีความเป็นมาอย่างไร? ลอยเพื่อวัตถุประสงค์จะบูชาอะไร? และ นางนพมาศ เป็นใคร? มีประวัติความ เป็นมาอย่างไร? ถึงได้คิดประดิษฐ์กระทงให้มีลักษณะเป็นรูปทรง “ดอกบัว” อย่างนี้..?”

    ชาวไทยทุกคนที่เคย “ลอยกระทง” มาแล้ว นับตั้งแต่เล็กจนโต ต้องอดหลับอดนอนไม่รู้สักกี่ครั้ง อาจจะเคยรู้คำตอบได้เป็นอย่างดี แต่คงจะมีไม่น้อยที่ลอยแล้วไม่รู้ว่าลอยเพื่ออะไรกันแน่....เพียงแต่ขอให้ได้รับความสนุกสนาน หรือชมความสวยสดงดงาม จากการจัดประกวด“กระทง” หรือประกวด “นางนพมาศ” เท่านั้น ก็พอใจ โดยเฉพาะผู้เขียนเอง เมื่อประมาณปีพ.ศ.๒๕๓๖ บังเอิญได้ยินคำตอบทางโทรทัศน์ จาก “ดอกเตอร์” ท่านหนึ่งว่า “ลอยกระทง เพื่อลอยเคราะห์..ลอยโศก” แล้วกัน..!

    สำหรับ “ภาพประกอบการศึกษา” ก็เหมือนกัน ซึ่งไว้ใช้ในการสอนเด็กนักเรียนเรื่อง “การลอยกระทง” โดยได้อธิบายไว้ในภาพวาดหลายประเด็น เช่น เพื่อบูชาและขอขมา “พระแม่คงคา” เพื่อบูชา “รอยพระพุทธบาท” ใน นาคพิภพ และเพื่อบูชา “พระอุปคุต” เป็นต้น


    พลิกประวัติศาสตร์และโบราณคดี

    ในตอนนี้ “ผู้เขียน” ก็ไม่มีความรู้อะไรแต่ก็อยากจะ “รณรงค์วัฒนธรรมไทย” ต่อไป ในฐานะที่เป็นคนไทยคนหนึ่งที่เป็นห่วงเป็นใย ในวัฒนธรรมประเพณีของคนไทยบางคนที่กำลังจะถูกย่ำยีเพราะความรู้เท่าไม่ถึงการณ์

    ซึ่ง “ผู้เขียน” มีเจตจำนงที่จะฟื้นฟูประเพณี “ลอยกระทง” เพื่อให้ตรงกับความประสงค์ของโบราณราชประเพณี ที่สืบต่อกันมานานหลายชั่วคนแล้ว ซึ่งเป็นประเพณีอันดีงามผสม ผสานกับความศรัทธาในพระพุทธศาสนา

    เพราะว่าวัฒนธรรมไทยย่อมผูกพันกับสถาบัน “ชาติ ศาสนา และ พระมหากษัตริย์” มานานแล้ว โดยเฉพาะประเพณีลอยกระทงนี้เป็นประเพณีที่เชิดหน้าชูตาของประเทศ ย่อมเป็นที่รู้จักไปในนานาประเทศ แม้กระทั่งเพลง “ลอยกระทง” ฝรั่งบางคนยังร้องได้เลย..!

    จึงนับเป็นที่ภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง ที่เรามีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง เพราะมีแต่ประเทศ ไทยเท่านั้น ที่ยังรักษารูปแบบประเพณีนี้มานาน แล้ว ซึ่งประเทศอื่นๆ ไม่มีประเพณีเช่นนี้มา ก่อนเลย อีกทั้งรอยพระพุทธบาทที่อยู่กลางทะเล ก็มีอยู่ในประเทศไทยแต่เพียงแห่งเดียวเท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่ “นางนพมาศ” คิดประดิษฐ์กระทงเป็นรูป “ดอกบัว” นั้น ก็เป็นการบ่งบอกเอาแล้วว่า เพื่อบูชา “รอยพระพุทธบาท” เป็นแน่แท้...

    เพราะ “ดอกบัว” เป็นสัญลักษณ์เฉพาะผู้ที่ตรัสรู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้นดังจะสังเกตได้ว่า “พระพุทธรูปปางลีลา” ทุกองค์ มักจะนิยมสร้างเป็นรูป "ดอกบัว" ไว้เพื่อรองรับฝ่าพระบาททั้งสองข้าง ฉะนั้น เพื่อให้ สมเหตุสมผลตามข้อวินิจฉัย ผู้เขียนจึงใคร่ขอ นำหลักฐานทางประวัติศาสตร์ทุกยุคทุกสมัยมา ยืนยันเป็นคำเฉลย จากคำถามที่ตั้งไว้ว่า... “เราลอยกระทงเพื่อบูชาอะไรกันแน่..?”


    สมัยกรุงรัตนโกสินทร์

    ในหนังสือ “พระราชพิธีสิบสองเดือน” อันเป็นพระราชนิพนธ์ของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕พระองค์ทรงมีพระราชวินิจฉัยในเรื่องนี้เอาไว้ว่า...

    “..สมมุติว่าเอาโคมนั้นลอยไปตาม “ลัทธิพราหมณ์” ที่พอใจลอยอะไรๆ จัดอยู่เช่นกับ“ลอยบาป..ล้างบาป” จะถือว่าเป็น “ลอยเคราะห์ลอยโศก” อย่างใดไปได้ดอกกระมัง การก็ตรงกันกับ “ลอยกระทง” บางทีสมมติว่าลอยโคมข้อความตาม “กฎมณเฑียรบาล” มีอยู่แต่เท่านี้

    ส่วน พระราชพิธี ซึ่งได้ประพฤติอยู่ในปัจจุบันนี้ นับว่าเป็น พระราชพิธีพราหมณ์ มิได้เกี่ยวข้องด้วยพระพุทธศาสนาสืบมา การที่ยกโคมขึ้นนั้น ตามคำโบราณกล่าวว่า ยกขึ้นเพื่อบูชาพระเป็นเจ้าทั้งสาม คือ “พระอิศวร พระนารายณ์ พระพรหม”

    แต่ครั้นเมื่อพระเจ้าแผ่นดินทรงนับถือพระพุทธศาสนา ก็กล่าวว่าบูชา พระบรมสารีริกธาตุ “พระจุฬามณี” ในดาวดึงสพิภพ และบูชา “พระพุทธบาท” ซึ่งได้ปรากฏอยู่ ณหาดทราย เรียกว่า “นะมะทานที” อันเป็นที่ “ฝูงนาคทั้งปวง” สักการบูชาอยู่...”



    สมัยกรุงศรีอยุธยา

    จากหนังสือ “คำให้การขุนหลวงหาวัด” มีใจความว่า...
    “...ในสมัย สมเด็จพระเอกทัศราชา ครองกรุงศรีอยุธยา ครั้งถึงเพ็ญเดือน ๑๑ ออกพระวรรษา พระองค์เสด็จทรงประทีปเสด็จอยู่บนเรือขนาน แล้วถวายธูปเทียนดอกไม้ และกระทงกระดาษตามเทียนและเรือต่างๆ เป็นอัน มาก แล้วพระองค์อุทิศถวายพระพุทธบาทใน “นัมทานที” แล้วก็ลอยกระทงอุทิศส่งไปเป็นอันมากเต็มไปทั้งแม่น้ำ แล้วจุดดอกไม้เพลิงที่ริมคงคาต่างๆ เป็นอันมาก...”

    ส่วน คณะทูตชาวลังกา ที่เคยเข้ามาขอพระสงฆ์ในรัชสมัย สมเด็จพระเจ้าบรมโกฏฐ์ เมื่อ พ.ศ.๒๒๙๓ ได้บันทึกไว้เป็น “จดหมายเหตุ” ถึงข้าราชการไทยได้อธิบายเรื่องนี้ว่า“...พระราชพิธีอันนี้ทำเพื่อการบูชาพระบรมสารีริกธาตุ (ซึ่งบรรจุไว้ในพระจุฬามณีเจดีย์) ในดาวดึงสพิภพ และบูชารอยพระพุทธ บาท ซึ่ง “พญานาค” ได้กราบทูลอัญเชิญสมเด็จ พระพุทธองค์ให้ทรงประดิษฐานไว้เหนือหาด ทราย “ฝั่งแม่น้ำนัมทานที”


    สมัยกรุงสุโขทัย

    สำหรับหลักฐานชิ้นนี้มีความสำคัญมากเพราะเป็นต้นกำเนิดประเพณีนี้ ผู้เขียนจึงขอนำเอกสารที่บันทึกไว้โดยท่านเจ้าของเรื่องโดยตรง นั่นก็คือ... หนังสือเรื่อง “นางนพมาศ” หรือ “ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์” นั่นเอง โดยได้บรรยายพระราชพิธีต่างๆ ในราชสำนัก ซึ่งพระอรหันต์ทั้งหลายสมัยนั้นได้แนะนำไว้ และได้พรรณนาสภาพบ้านเมืองในสมัยนั้นไว้ว่า...

    “...เมื่อพระพุทธศาสนาล่วงแล้วได้ ๑๘๓๐ พรรษา นครสุโขทัยมีความเจริญรุ่งเรืองสมบูรณ์พูลสุขด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหาร ไพร่ฟ้าหน้าใส (ขณะที่เขียนเรื่องนี้ ไพร่ฟ้ากำลังหน้า แห้ง เพราะของแพงจาก...ค่าเงินบาทลอยตัว) พลเมืองมีความสุขสบาย มีวัฒนธรรมและศีลธรรมอันดีงามโดยถ้วนหน้า

    พระมหากษัตริย์ก็ปกครองโดยธรรม ทรงไว้ซึ่ง “ทศพิธราชธรรม ๑๐ ประการ” ทรง พัฒนาบ้านเมืองให้เจริญก้าวหน้า มีถนนหนทางที่งามสะอาด และทรงสร้างปราสาทราชมณเฑียร สถานอันงามวิจิตรมีจตุรมุขทั้ง ๔ ด้าน ด้านหน้านั้นมีพระที่นั่งมุขกระสันติดเนื่องกันกับสนามมาตยา หน้ามุขเด็จขนานนามต่างๆ เป็นทั้งมณฑปพระพุทธรูปและเทวรูป

    ตึกตำแหน่งเรือนหลวงเรือนสนมกำนัลเหล่านี้ ล้วนวิจิตรไปด้วยลายปูนปั้น ลายจำหลักวาดเขียนลงรักปิดทองแลอร่ามตา มีพระแท่นที่ฉากกั้น เครื่องปูลาดอาสนบัลลังก์กั้นเศวตฉัตรห้อยย้อยด้วยระย้า ประทีปชวาลาเครื่องชวาลา เครื่องราชูปโภคงามยิ่งนัก...”

    นอกจากนั้นยังกล่าวถึง วัดมหาธาตุ เทวสถาน ราชอุทยาน ไม้ดอกนานาชนิด ผลไม้ ไร่นาที่ทำกิน ผาสุขสบายถ้วนหน้า ปราศจากพาลภัยอันตรายจากโจรผู้ร้าย มีการละเล่น ขับพิณดุริยางค์ มีการประกวดร้อยกรองทำนองอันไพเราะ เห่กล่อมชาวนครให้ชื่นชมสมสวาทตราบเท่าเข้าแดนสุขาวดี

    นอกจากนี้นางยังได้กล่าวถึงความประพฤติของนางสนม ซึ่งมีทั้งประพฤติดีและชั่ว เช่นสามัญชนทั้งหลาย กล่าวถึงพระเกียรติคุณและพระราชจริยาวัตรขององค์ “สมเด็จพระร่วงเจ้า” เป็นการกล่าวเฉลิมพระเกียรติ ด้วยความจงรักภักดีอย่างสูงสุด และกล่าวถึงตระกูลต่างๆ ว่า ฝ่ายทหารมี ๔ ตระกูล ฝ่ายพลเรือนก็มี ๔ ตระกูล

    ความรู้ในทางโลก ได้กล่าวถึงชาติและภาษาต่างๆ กล่าวถึงการแบ่งอาณาเขตในชมพูทวีป ส่วนในทางศาสนาได้กล่าวถึงพุทธศาสนาศาสนาพราหมณ์ และลัทธิศาสนาอื่นบ้าง เป็นต้น สำหรับเรื่องการ “ลอยกระทง” ได้มีพรรณนาไว้ดังนี้...

    ประวัติการลอยกระทง

    สมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานีนั้น มีพระราชพิธี “จองเปรียง” ในวันเพ็ญเดือน ๑๒เป็นนักขัตฤกษ์ ชักโคม ลอยโคม ประชาชนพลเมืองชายหญิงต่างตกแต่ง โคมชัก โคมแขวน โคมลอย ทุกตระกูลทั่วทั้งพระนครเพื่อถวายพระมหากษัตริย์ให้ทรงสักการะ พระจุฬามณี บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์

    ส่วนพระสนมกำนัลฝ่ายใน ก็ทำโคมลอยด้วยบุปผาชาติเป็นรูปต่างๆ ประกวดกัน เพื่อถวายให้ทรงอุทิศบูชารอยพระพุทธบาท ณ ฝั่งแม่น้ำ นัมทานที แต่ “นางนพมาศ” พระสนมเอกของ “พระร่วงเจ้า” นั้น ได้ประดิษฐ์โคมลอย (คือกระทง) อย่างงดงามเป็นพิเศษ

    สมเด็จพระร่วงเจ้าทอดพระเนตรเห็นโคมงามประหลาดของนางนพมาศ ก็ทรงพอพระทัยมาก จึงรับสั่งให้ถือเป็นประเพณีว่า ในวันเพ็ญเดือน ๑๒ นี้ ให้ประดิษฐ์ “โคมลอย” เป็นรูป “ดอกบัว” ไปสักการบูชารอยพระพุทธบาท ณ ฝั่งแม่น้ำนัมทานที ซึ่งต่อมาภายหลังเปลี่ยนชื่อ เรียกว่า “ลอยกระทงทรงประทีป”

    หลังจากนั้น พระมหากษัตริย์ก็ถวาย ดอกไม้เพลิง บูชาพระรัตนตรัยทุกพระอารามหลวงแล้วทรงทอด ผ้าบังสุกุลจีวร ถวายพระภิกษุสงฆ์ บรรดาขุนนางและประชาราษฎร์ก็ดำเนินตามพระยุคลบาท เป็นที่สนุกสนานกันทั่วหน้า เมื่อพระร่วงเจ้าทรงลอยกระทงแล้ว ลงเรือพระที่นั่งประพาสชมแสงจันทร์ และเสด็จทอดพระเนตรโคมไฟ โปรดให้ “นางนพมาศ” โดยเสด็จด้วย ทรงรับสั่งให้นางผูกกลอนให้ พวกนางบำเรอขับถวาย

    เมื่อทรงสดับบทกลอนแล้ว จึงรับสั่งถามว่าที่ต้องการให้พวก “เจ้าจอมหม่อมห้าม”มาด้วยนั้น เห็นว่าจะได้ประโยชน์อย่างใด..? นางก็กราบทูลสนองว่า เพื่อเปิดโอกาสให้นาง เหล่านั้น ได้แต่งกายด้วยเสื้อผ้าแพรพรรณที่ สวยงาม ได้ออกหน้าสักครั้งหนึ่ง ก็จะชื่นชมยินดีมีความสุข และจะรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณอยู่ไม่รู้วาย บรรดาเครื่องอาภรณ์ที่ได้ทรงโปรดพระราชทานไปแล้วนั้น ก็จะได้มีโอกาสตกแต่งกันในครั้งนี้

    ครั้นได้ทรงสดับดังนั้นก็ทรงพอพระทัยในคืนต่อมาก็ทรงโปรดให้บรรดานางในได้ตามเสด็จโดยทั่วหน้ากัน และเป็นประเพณีนับแต่นั้นมา...



    ประวัตินางนพมาศ


    ".........ตามประวัติ “นางนพมาศ” ได้เกิดในตระกูลพราหมณ์ บิดามีนาม “โชตรัตน์” มีบรรดาศักดิ์ว่า.. “ออกพระศรีมโหสถ ยศกมเลศ ครรไลยหงส์ พงศ์มหาพฤฒาจารย์” มีเกียรติยศยิ่งกว่านักปราชญ์ราชบัณฑิตทั้งปวง รับราช การในฐานะเป็นปุโรหิต ณ กรุงสุโขทัย มี หน้าที่บังคับบัญชากิจการตกแต่งพระนคร มี การทำพระราชพิธี ๑๒ เดือน เป็นต้น

    ..........ส่วนมารดาชื่อ “นางเรวดี” เมื่อนางจะตั้งครรภ์นั้น ฝันว่าได้เยี่ยมพระบัญชรสมเด็จพระเจ้าแผ่นดิน ชมแสงจันทร์จนตกใจตื่น แม้ พระศรีมโหสถก็ฝันว่า ได้เห็นดอกไม้นานาพันธุ์แย้มบานเกสรอยู่สะพรั่งในมิใช่ฤดูกาล และมี กลิ่นหอมระรื่นตลบอบอวล

    ความฝันทั้งสองนี้พยากรณ์ว่า จะได้บุตรเป็นหญิง จะมีวาสนาพรั่งพร้อมไปด้วยสติปัญญาและเกียรติยศ เป็นที่พึ่งแก่วงศ์ญาติทั้งหลาย ครั้นถึงวันจันทร์ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เป็นวันเพ็ญ กลางเดือน ๓ ปีชวด อันเป็นเวลาที่ภาคพื้นอากาศปราศจากเมฆ พระจันทร์ทรงกลดแสง ประภัสสร รัศมีขาวเจือสีเหลืองอ่อน กาลนั้น นางก็คลอดจากครรภ์มารดา

    หมู่ญาติมิตรทั้งหลายก็นำเครื่องทองชนิดต่างๆ มาทำขวัญ เช่น ดอกไม้ทอง สนอบเกล้าทอง จุฑาทอง ประวัตรทอง กุณฑลทอง ธุรำทอง วลัยทอง ของ ๗ สิ่งนี้เฉลิมขวัญท่านบิดาจึงให้นามว่า “นพมาศ” (มีผู้แปลว่า “ทองเนื้อเก้า”) แล้วอาราธนาพระมหาเถรา นุเถระ ๘๐ องค์ จำนวน ๗ วัด มาเจริญพระพุทธมนต์ในบท “มงคลสูตร รัตนสูตร” และ“มหาสมัยสูตร” จนครบ ๗ วันแล้วอัญเชิญ “พราหมณาจารย์” ผู้ชำนาญในไตรเพทอีก ๖๐ คน มากระทำพิธีชัยมงคลอีก ๓ วัน เพื่อสมโภชธิดาผู้เกิดใหม่ให้มีความสวัสดิมงคล เสร็จแล้วก็ถวายไทยธรรมแก่พระ เถระ ด้วยไตรจีวรกับของที่เป็นบริวารทั้งหลาย และสักการะหมู่พราหมณ์ด้วยทรัพย์เป็นอันมาก ในการเลี้ยงดูนางเมื่อเยาว์วัย บิดามารดาก็ได้ คัดเลือกเอาแต่ผู้ที่มีความเฉลียวฉลาดในวิชา ต่างๆ ให้เป็นผู้ดูแล พี่เลี้ยงก็จะสอนให้ร้อย กรองให้วาดเขียน เป็นต้น

    ครั้นจำเริญวัยอายุได้ ๗ ปี บิดาก็ให้ศึกษาวิชาต่างๆ เป็นต้นว่า อักษรไทย อักษรสันสกฤต ภาษาบาลี พอแปลได้ เรียนคัมภีร์ไตรเพท แต่งกลบทกลอน กาพย์ โคลง ฉันท์และลิลิต เรียนตำรับโหราศาสตร์ ดาราศาสตร์และตำราพยากรณ์ จนอายุได้ ๑๕ ปี ก็มีความ ชำนิชำนาญเฉลียวฉลาด รู้คดีโลกและคดีธรรม นับเป็นสตรีนักปราชญ์ได้ผู้หนึ่ง

    นางนพมาศจึงเป็นยอดหญิงสุโขทัย ที่มีความเฉลียวฉลาดในวิชาการต่างๆ มีความชำนาญในด้านภาษา วรรณคดี การขับร้อง ดนตรี บทกวีต่างๆ และมีรูปโฉมงดงามอีกด้วย จนเป็นที่ยกย่องสรรเสริญกันโดยทั่วไป มีความตอนหนึ่งที่ท่านได้บันทึกชีวิตส่วนตัวไว้ว่า...

    “...วันคลอดจากครรภ์มารดา พื้นอากาศก็ปราศจากเมฆ พระจันทร์ก็ทรงกลดแสงประภัสสร รัศมีขาวเจือสีเหลืองอ่อน เสวยฤกษ์บุษยวันเพ็ญ เดือน ๓ ปีชวด ประกอบกับมีฉวีวรรณเรื่อเรืองเหลือง ประดุจชโลมลูบด้วยแป้งสารภีทั่วทั้งกรัชกาย จึงให้นามข้าน้อยนี้ว่า... “นพมาศ” จากความงามทั้ง ๓ ประการของนางคือ งามรูปสมบัติ งามทรัพย์สมบัติ และปัญญาสมบัติ จึงทำให้ชาวเมืองสุโขทัยต่างก็สรรเสริญทุกเช้าค่ำ กิตติศัพท์นี้ก็แพร่หลายเล่าลือต่อๆกันไป จนมีทิศาปาโมกข์ผู้หนึ่ง ได้ผูกกลอนสรรเสริญนางนพมาศขึ้นไว้ ๓ บท


    ตำแหน่งพระสนมเอก

    อันกลอนทั้ง ๓ บทนี้ บรรดาหญิงชายทั้งหลาย ต่างก็พากันขับร้องและดีดพิณยลโฉม คุณความดีของนางอยู่โดยทั่วไป จนแม้พนัก งานบำเรอพระเจ้าแผ่นดินก็จดจำได้ จนกระ ทั่งถึงวันหนึ่งได้ขับเพลงพิณบทนี้บำเรอถวาย สมเด็จพระเจ้าแผ่นดิน ครั้นได้ทรงสดับก็พอ พระทัยแล้วสอบถามว่า เป็นความจริงหรือแกล้ง สรรเสริญกันไปเอง

    ท้าวจันทรนาถภักดี ผู้เป็นใหญ่ฝ่ายในได้กราบทูลว่าเป็นความจริง นางอายุได้ ๑๕ ปี ควรจะได้เป็นพระสนมกำนัลอยู่ในพระราชฐาน สมเด็จพระร่วงเจ้า จึงมีรับสั่งให้นำนางนพมาศ เข้ามาเป็นพระสนมอยู่ในพระราชวัง เพื่อเป็น เกียรติยศแก่ “ออกพระศรีมโหสถ” ผู้บิดา ท้าวจันทรนาถฯ รับพระราชบัญชาก็มาแจ้งให้ พระศรีมโหสถทุกประการ

    เมื่อพระศรีมโหสถได้ทราบดังนั้น ก็ รู้สึกอาลัยธิดายิ่งนัก แต่ก็ได้ทราบมาแล้วแต่ ต้นว่า นางนี้เกิดมาสำหรับผู้มีบุญ จึงยินยอม ตามพระราชประสงค์ และจะได้เลือกหาวันอัน เป็นมงคล เพื่อนำธิดาของตนขึ้นทูลถวายต่อไป นับตั้งแต่นั้นมาชีวิตของนาง จึงได้หันเหเข้ามา อยู่ในแวดวงของสตรีผู้สูงศักดิ์ เพื่อสนองพระ เดชพระคุณสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภายในพระราช สำนัก

    ครั้นถึงวันอันเป็นมงคล พระศรีมโหสถได้นิมนต์พระภิกษุสงฆ์ และเชิญพราหมณ์มาทำพิธีให้เป็นสวัสดิมงคล แล้วเชิญหมู่ญาติมิตรมาประชุม นางนพมาศก็ทำการเคารพหมู่ญาติมิตรทั้งหลายนั้น บรรดาญาติมิตรต่างก็พากันอวยชัยให้พรแก่นางนพมาศนานาประการ



    นกเบญจวรรณ ๕ สี

    แต่ก่อนที่นางจะเข้าไปเป็นบาทบริจาริกาในพระราชสำนักนั้น พระศรีมโหสถ ผู้เป็นบิดาได้ตั้งปัญหาถาม เพื่อจะทดลองสติปัญญาความสามารถของนางว่า...

    “นกเบญจวรรณอันประดับด้วยขน ๕ สี เป็นที่งดงามอยู่ในป่าใหญ่ ครั้นมนุษย์ดักเอามา ได้ก็นำมาเลี้ยงไว้ในบ้านจนเป็นที่รัก เพราะมี ขนสีงามถึง ๕ สี ก็เจ้าเป็นมนุษย์เมื่อเข้าไปอยู่ในพระราชฐาน จะประพฤติตนให้บรรดาคนทั้งหลายรักใคร่เจ้า เช่น นกเบญจวรรณ ได้หรือไม่?...”

    นางนพมาศก็ตอบว่า
    “ลูกสามารถจะประพฤติตนให้เป็นที่รักใคร่แก่บุคคลเหล่านั้น โดยยึดสุภาษิต ๕ ประการ เช่นเดียวกับสีของ “นกเบญจวรรณ” ทั้ง๕ คือ:-

    ประการที่ ๑ จะเจรจาถ้อยคำที่ไพเราะอ่อนหวาน มิให้เป็นที่รำคาญระคายโสตผู้ใด

    ประการที่ ๒ จะกระทำตนให้ละมุนละม่อม ไม่เย่อหยิ่งจองหอง ทั้งจะตกแต่งร่างกายให้สะอาดและสุภาพเรียบร้อย

    ประการที่ ๓ จะมีน้ำใจบริสุทธิ์สะอาดไม่อิจฉาพยาบาทปองร้าย หรือดูหมิ่นดูแคลนผู้ใด

    ประการที่ ๔ ถ้าปรากฏว่าผู้ใดเมตตารักใคร่โดยสุจริตใจ ก็จะรักใคร่มีไมตรีตอบมิให้เกิดการกินแหนงแคลงใจได้

    ประการที่ ๕ ถ้าได้เห็นผู้ใดทำความดีความชอบในราชการ และทำถูกต้องขนบธรรมเนียมทั้งคดีโลกคดีธรรม ก็จะจดจำไว้เป็นเยี่ยงอย่างแล้วประพฤติและปฏิบัติตามสิ่งที่ดีนั้น ถ้าได้กระทำอย่างนี้แล้ว ก็จะต้องมีผู้เอ็นดูรัก ใคร่ ขอท่านบิดาอย่าวิตกเลย...”

    พระศรีมโหสถและบรรดาญาติมิตรทั้งหลาย เมื่อได้ฟังถ้อยคำนางนพมาศดังนั้นแล้วก็ชื่นชมยินดีชวนกันสรรเสริญอยู่ทั่วไป ลำดับ ที่ ๒ พระศรีมโหสถได้ตั้งปัญหาถามต่อไปว่า

    ข้อปฏิบัติให้มีผู้เมตตา ๑๒ ประการ

    “การที่จะเข้าไปอยู่ใกล้ชิดพระเจ้าแผ่นดินนั้นจะสามารถประพฤติตนให้ถูกพระราชอัธยาศัยในขัตติยประเพณี ซึ่งมีอยู่ในตระกูลอันสูงศักดิ์ได้หรือไม่ เพราะสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินมีพระอัครมเหสีถึง ๒ พระองค์ และนางพระสนมกำนัลอีกเป็นอันมาก เจ้าจะกระทำตนให้ทรงพระเมตตาได้หรือ?...”

    นางนพมาศตอบว่า “ลูกสามารถกระทำได้ แต่ใจหาคำนึงว่าสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงพระเมตตาหรือไม่แต่ว่าจะอาศัยสิ่งต่างๆ ต่อไปนี้ เป็นเครื่องช่วยเหลือให้สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเมตตาเองกล่าวคือ:-

    ๑. จะอาศัย “ปุพเพกะตะปุญญะตา” ซึ่งได้สร้างสมมาแต่ชาติก่อนสนับสนุน

    ๒. ตั้งใจจะประกอบความเพียรอย่างสุดความสามารถ ไม่เกียจคร้านในราชกิจการงานทั้งปวง

    ๓. จะใช้สติปัญญาพิจารณาสิ่งผิดและชอบ แล้วเว้นไม่กระทำสิ่งที่ผิด มุ่งแต่จะประพฤติในสิ่งที่ชอบ

    ๔. จะใช้ความพินิจพิจารณา สอดส่องให้รู้พระราชอัธยาศัย แล้วจะประพฤติให้ต้องตามน้ำพระทัยทุกประการ มิถือเอาใจตัวเป็นประมาณ

    ๕. จะประพฤติและปฏิบัติการงานโดยสม่ำเสมอ ไม่ทำงานลุ่มๆ ดอนๆ

    ๖. จะรักตัวของตัวเองยิ่งกว่ารักผู้อื่น

    ๗. จะไม่เกรงกลัวผู้ใดให้ยิ่งไปกว่าเจ้านายของตนเอง

    ๘. จะไม่เข้าด้วยกับผู้กระทำผิด

    ๙. จะเพ็จทูลข้อความใดๆ ลูกจะกราบทูลแต่ข้อความที่เป็นจริงเท่านั้น

    ๑๐. จะไม่นำพระราชดำริอันใด ที่เป็นความลับออกเปิดเผยเป็นอันขาด

    ๑๑. จะวางใจให้มั่นคงต่อกิจการงานทั้งปวง ไม่โลเลและแชเชือน

    ๑๒. จะจงรักภักดีต่อองค์สมเด็จพระ เจ้าอยู่หัวโดยไม่เสื่อมคลาย

    คุณสมบัติ ๗ ประการ

    ........อนึ่ง ลูกเป็นคนใหม่เพิ่งจะเข้าไปถวายตัว ยังหารู้ขนบธรรมเนียมสิ่งใดไม่ ฉะนั้นเพื่อสามารถปฏิบัติการงานในหน้าที่ให้ลุล่วงไปจนได้ ลูกจึงจะวางวิธีของลูกไว้ดังนี้

    ๑. ในขั้นต้น ลูกจะต้องระวังรักษาตัวกลัวต่อความผิด ไม่ทำอะไรวู่วามลงไป

    ๒. จะต้องคอยสังเกตผู้ที่โปรดปรานคุ้นเคยพระราชอัธยาศัย ว่าประพฤติและปฏิบัติอย่างไร จักได้จดจำนำมาปฏิบัติต่อไป

    ๓. เมื่ออยู่นานไป ได้รู้เช่นเห็นช่องในกิจการบ้างแล้ว ก็จะได้พากเพียรเฝ้าแหนมิให้ขาดได้

    ๔. เมื่อใดสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงดำรัสใช้การงานแม้เพียงเล็กน้อย ก็จะตั้งใจกระทำให้ดีที่สุด สมพระราชหฤทัยประสงค์ให้จงได้

    ๕. ต่อไปถ้าได้เห็นว่าทรงพระเมตตาขึ้นบ้างแล้ว แม้สิ่งใดจะมิได้ทรงรับสั่งใช้แต่สามารถจะกระทำได้ ก็จะกระทำโดยมิได้คิดเหนื่อยยาก เลย

    ๖. เมื่อตระหนักแน่แก่ใจว่าทรงโปรดอย่างใดแล้ว ก็จะได้ชักชวนคนทั้งหลาย ให้ช่วย กันกระทำในสิ่งที่ชอบพระราชอัชฌาสัย

    ๗. เมื่อได้กระทำดังนี้แล้ว หากจะไม่ทรงพระเมตตา ก็จะไม่น้อยเนื้อต่ำใจอย่างใด จะนึกเพียงว่าเป็น “อกุศลกรรม” ที่ได้กระทำไว้แต่ปางหลังเท่านั้น และจะคงกระทำความดีอยู่เช่นนั้นโดยมิเสื่อมคลาย...” แล้วนางได้ยกอุทาหรณ์นิทานเรื่อง “นกกระต้อยตีวิด” และเรื่อง “ช้างแสนงอน” มาเล่าประกอบด้วย พระศรีมโหสถและบรรดาญาติมิตรทั้งหลาย ต่างได้ฟังก็มีความยินดีใน สติปัญญาของนางเป็นอันมาก และพากันสรร เสริญอำนวยพรอยู่ทั่วกัน...

    การกระทำเพื่อความมีชื่อเสียง

    ในวาระสุดท้ายท่านบิดาได้ตั้งปัญหาถามต่อไปว่า...

    “ลูกจะคิดสนองพระเดชพระคุณสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอย่างไร ให้ตนเองมีชื่อเสียงปรากฏอยู่ในแผ่นดิน?...”

    นางนพมาศก็ตอบว่า
    “อันจะกระทำการสนองพระเดชพระคุณพระเจ้าแผ่นดิน จนมีชื่อเสียงปรากฏเลื่องลือนั้นสำหรับสตรีกระทำได้ยากนัก ถ้าเป็นบุรุษอาจจะกระทำได้หลายประการ เช่น ทำการรณรงค์สงคราม ทำกิจการงานพระนคร ในสิ่งที่ยากลำบากให้สำเร็จได้ด้วยดี หรือวินิจฉัยถ้อยความให้เป็นไปโดยยุติธรรม หรือจะหาของวิเศษอัศจรรย์มาทูลเกล้าถวาย เหล่านี้เป็นต้น

    แต่ราชการฝ่ายสตรีที่สำคัญก็คือราชการ ในพระราชวัง ซึ่งก็ตกเป็นพระราชภาระของพระอัครมเหสีทั้งสองอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นใน ส่วนตัวของลูกก็จะมีแต่ความจงรักภักดี ตั้งใจสนองพระเดชพระคุณด้วยความกตัญญูกตเวทีอันสะอาดบริสุทธิ์

    แม้ในการนั้นหากจำเป็นจะต้องเสียทรัพย์สินส่วนตัวมากเพียงใด หรือแม้ถึงกับจะต้องเสียสละเลือดเนื้อหรือชีวิตก็ดี ก็เต็มใจอุทิศถวายสนองพระเดชพระคุณโดยมิได้อาลัย

    อนึ่ง ในการปฏิบัติให้ทรงพระเมตตานั้นลูกปรารถนาที่จะให้ทรงโปรดปรานแต่ในความดีของลูกเท่านั้น การที่จะใช้เสน่ห์เล่ห์กลเวทมนตร์คาถา และกลมารยาต่างๆ เพื่อให้ทรงเมตตาโปรดปรานนั้น ลูกจะละเว้นไม่ประพฤติเป็นอันขาด หรือแม้ลูกจะได้ดีมียศถาบรรดา ศักดิ์เพียงใดก็ดี ก็จะยิ่งกระทำความดีให้ยิ่งๆ ขึ้นไป จะไม่กำเริบใจว่าทรงรักใคร่แล้วเล่นตัว หรือกดขี่เหยียดหยามผู้อื่น...”

    แล้วนางได้ยกอุทาหรณ์นิทานเรื่อง “นางนกกระเรียนคบนางนกไส้ช่างยุ” มาประกอบด้วย ในที่สุดนางก็สรุปว่า...

    “อันนิทานที่ยกมาเล่านี้ ก็เพื่อให้ผู้ฟังจำไปสอนใจตนเองว่า อย่าประพฤติเป็นคนต้นตรงปลายคด และการคบมิตรก็ต้องคบที่เป็นกัลยาณมิตร นักปราชญ์จึงจะสรรเสริญ

    อันว่าการคิดถูกและคิดผิด พูดจริงและ พูดเท็จ ใจซื่อและใจคด ยั่งยืนและโลเล เรียบร้อยและเล่นตัว สุภาพและดีดดิ้น ปกติและ มารยา มักตื่นและมักหลับ มีสติและหลงลืมอุตสาหะและเกียจคร้าน ทำดีและทำชั่ว หรือกัลยาณมิตรและบาปมิตร

    บรรดาของคู่กันเหล่านี้ จะประพฤติอย่างหนึ่ง และละเสียอย่างหนึ่งเช่นนี้ ลูกก็สามารถจะเป็นผู้มีชื่อเสียงปรากฏอยู่ในแผ่นดินได้...”

    พระศรีมโหสถและบรรดาญาติมิตรผู้นั่งฟังอยู่ ณ ที่นั้นก็แซ่ซ้องสาธุการอยู่ทั่วกัน ในคืนนั้น นางเรวดีผู้มารดาก็ได้ให้โอวาท แก่นางอีกเป็นอันมาก กล่าวคือ..มิให้ตั้งอยู่ใน ความประมาท ให้เคารพแก่ผู้ควรเคารพ ให้ประพฤติจริตกิริยาในเวลาเฝ้าแหนหมอบคลานให้เรียบร้อย ให้แต่งกายเรียบร้อยงามสะอาดต้องตาคน ประพฤติตนให้ถูกใจคนทั้งหลายฝากตัวแก่เจ้าขุนมูลนาย คอยระวังเวลาราชการอย่าให้ต้องเรียกหรือต้องคอย ต้องหูไวจำคำให้ มั่น อย่าถือตัวหยิ่งจองหอง ให้เกรงกลัวอัครมเหสี ทั้งสอง เป็นต้น นางนพมาศก็รับคำเป็นอันดี

    ครั้นรุ่งเช้าเป็นวันศุกร์เดือน ๑๒ ขึ้น๑๐ค่ำ จุลศักราช ๖ ปีมะโรง ฉ ศก อันเป็นเวลา ที่นางมีอายุนับปีได้ ๑๗ ปี นับเดือนได้ ๑๕ ปี กับ ๘ เดือน ๒๔ วัน นางเรวดีผู้มารดา ได้ให้แต่งกายอันประดับด้วยอาภรณ์นานาชนิดมาคำนับลาบิดาและบรรดาญาติแล้วขึ้นระแทะ ไปกับมารดา มีบ่าวไพร่ติดตามไปพอสมควรเข้าไปในพระบรมมหาราชวัง

    นางเรวดีได้นำไปยังจวน “ท้าวจันทรนาถภักดี” และ “ท้าวศรีราชศักดิ์โสภา” ซึ่ง เป็นใหญ่ในชะแม่พระกำนัล เพื่อนำขึ้นเฝ้า สมเด็จพระร่วงเจ้า อันมีพานข้าวตอกดอกมะลิ พานข้าวาร พานเมล็ดพันธุ์ผักกาด พานดอก หญ้าแพรก ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายด้วย

    สมเด็จพระร่วงเจ้าทรงรับและมีพระราชปฏิสันถารกับนางเรวดีพอสมควร และพระราชทานรางวัลพอสมควรแก่เกียรติยศ แล้วทรงพระกรุณาโปรดให้นางนพมาศเข้ารับราชการในตำแหน่ง“พระสนม” นับแต่วันนั้นเป็นต้นมา...


    ฉะนั้น ด้วยคุณความดีที่นางได้นำมาเป็นหลักปฏิบัติดังกล่าวนี้ ต่อมานางนพมาศได้รับบรรดาศักดิ์เป็น “ท้าวศรีจุฬาลักษณ์” ตำแหน่งพระสนมเอก จึงได้รับการยกย่องเชิดชูว่า เป็นแบบอย่างของกุลสตรีไทย ที่สืบทอดวัฒนธรรมและจริยประเพณี เพื่อผูกพันกับสถาบันชาติศาสนา และพระมหากษัตริย์ นับตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา จวบจนกระทั่งปัจจุบันนี้ ก็ยังมีการจัดริ้วขบวนแห่นางนพมาศ ลอยกระทงทรงประทีป จุดดอกไม้เพลิง เพื่อบูชารอยพระพุทธบาท ณ ริมฝั่งน้ำนัมทา โดยยึดถือเป็นประเพณีประจำ ชาติไทยกันตลอดมา

    ผู้เขียนได้ลำดับประวัติ “รอยพระพุทธบาท” และ “การลอยกระทง” มาจนถึงประวัติความเป็นมาของ “นางนพมาศ” ก็เพื่อชี้แจงแสดงเหตุผลประกอบไปด้วยหลักฐานทางประวัติศาสตร์ อันพอที่จะสรุปได้ว่าการลอยกระทงนั้น เป็นการลอยเพื่อบูชา “รอยพระพุทธบาท ณ นัมทานที” แต่เพียงประเด็นเดียวเท่านั้น ซึ่งมีความเกี่ยวพันกันมา อันเป็นปริศนามานานหลายร้อยปีแล้ว

    ด้วยเหตุนี้เอง จึงเป็นที่มาของการจัดกิจกรรม “ตามรอยพระพุทธบาท” เพื่อฟื้นฟูประเพณี “ลอยกระทง” และฟื้นฟูประเพณีการสักการบูชา “พระจุฬามณี” ตลอดถึงการสร้างพระพุทธรูป “ปางประทับรอยพระบาท” ณ นัมทานที” ขนาดสูง ๙ ศอก และสร้างป้ายจารึก “ประวัติรอยพระพุทธบาท” เพื่อไว้เป็นอนุสรณ์ ณ เกาะแก้วพิสดาร จ.ภูเก็ต กันต่อไป (ปัจจุบันนี้ ปี พ.ศ.๒๕๔๓ ได้สร้างไว้อีกองค์หนึ่งที่ วัดพระร่วง อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย)

    ในฐานะที่ได้ร่วมกันทำหน้าที่ “รณรงค์วัฒนธรรมไทย” โดยการจัดงานพิธีลอยกระทงในวันพฤหัสบดีที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๓๗ เพื่อสมโภชรอยพระพุทธบาท ที่มีอายุกาลครบถ้วน ๒๕๖๐ ปีพอดี อีกทั้งเป็นการเปิดเผยให้ชาวโลกรู้ว่า การที่เราลอยกระทงมาตั้ง ๗๐๐ กว่าปี ด้วยการฝากพระแม่คงคาตลอดมา

    บัดนี้ เราได้ไปลอยถึงที่อันประดิษฐานรอยพระพุทธบาทไว้อย่างแท้จริงแล้ว จึงเป็นการรณรงค์ให้ชาวไทยทั้งหลายได้ทราบว่า รอยพระพุทธบาทแห่งนี้ มีความเกี่ยวข้องกับประเพณี “ลอยกระทง” อันเป็นเส้นผมบังภูเขากันมานานแล้ว

    ฉะนั้น ในนามคณะศิษยานุศิษย์ทั่วทุกภาคของพระเดชพระคุณ “หลวงพ่อพระราชพรหมยาน” วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี จึงได้ร่วมแรงร่วมใจกันไปจัดงาน “พิธีลอยกระทง” เพื่อ บูชารอยพระพุทธบาท ณ เกาะแก้วพิสดาร และ “พิธีลอยกระทงสวรรค์” เพื่อบูชา “พระเกศแก้ว” และ “พระเขี้ยวแก้ว” บนพระจุฬามณีเจดียสถาน ณ “แหลมพรหมเทพ” เพื่อคงไว้เป็นแบบอย่างของการอนุรักษ์โบราณราชประเพณีนี้ อันมีความสัมพันธ์กับรอยพระพุทธบาท หวังให้อนุชนรุ่นหลังได้ช่วยกันสืบสาน “รอยไทย” ไว้คงอยู่คู่เมืองไทยตลอดไป...


    ข้อสรุป

    ข้อมูลทั้งหลายเหล่านี้ที่ได้นำมาอ้างอิง หวังว่าคงจะเป็นคำตอบที่ชัดเจน พอที่จะสรุป “ฟันธง” ลงไปได้จากคำถามที่ว่า.. “ลอยกระทง เพื่อวัตถุประสงค์อะไร...?” ก็คงจะลอยเพื่อบูชา “รอยพระพุทธบาทที่ ๕ ณ นัมทานที” แต่เพียงประเด็นเดียวเท่านั้นที่เป็นคำตอบ


    ......................................................................

    เรื่อง"ลอยกระทง...เพื่อวัตถุประสงค์อะไร ?" นำมาจากเวบตามรอยพระพุทธบาท และท่านสามารถหาอ่านบทความเรื่องอื่นๆได้ตามลิงค์ด้านล่างนี้ครับ



    http://tamroiphrabuddhabat.com/xmb/viewthread.php?tid=523

    http://tamroiphrabuddhabat.com/xmb/forumdisplay.php?fid=8




     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 พฤศจิกายน 2016
  12. Norr

    Norr เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,105
    ค่าพลัง:
    +127,437
    น้อมกราบสมเด็จองค์ปฐม หลวงปู่ปาน หลวงพ่อพระราชพรหมยาน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ด้วยความเคารพสูงสุด
    สวัสดีครับ พี่วรรณ และลูกหลานหลวงพ่อทุกๆท่าน

    [​IMG]
     
  13. Wannachai001

    Wannachai001 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    8,844
    กระทู้เรื่องเด่น:
    110
    ค่าพลัง:
    +225,702
    <a href="http://s1259.photobucket.com/user/Onenachai005/media/190226_zpsdowg4ng3.jpg.html" target="_blank"><img src="http://i1259.photobucket.com/albums/ii546/Onenachai005/190226_zpsdowg4ng3.jpg" border="0" alt=" photo 190226_zpsdowg4ng3.jpg"/></a>
    <a href="http://s1259.photobucket.com/user/Onenachai005/media/DSC_0118_zpspivpgnh0.jpg.html" target="_blank"><img src="http://i1259.photobucket.com/albums/ii546/Onenachai005/DSC_0118_zpspivpgnh0.jpg" border="0" alt=" photo DSC_0118_zpspivpgnh0.jpg"/></a>
     
  14. Wannachai001

    Wannachai001 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    8,844
    กระทู้เรื่องเด่น:
    110
    ค่าพลัง:
    +225,702
    <a href="http://s1259.photobucket.com/user/Onenachai005/media/1479130367906_zpsbimcqqku.jpg.html" target="_blank"><img src="http://i1259.photobucket.com/albums/ii546/Onenachai005/1479130367906_zpsbimcqqku.jpg" border="0" alt=" photo 1479130367906_zpsbimcqqku.jpg"/></a>
    <a href="http://s1259.photobucket.com/user/Onenachai005/media/phraputthasinnarat52_zpsedmovmeo.jpg.html" target="_blank"><img src="http://i1259.photobucket.com/albums/ii546/Onenachai005/phraputthasinnarat52_zpsedmovmeo.jpg" border="0" alt=" photo phraputthasinnarat52_zpsedmovmeo.jpg"/></a>
    <a href="http://s1259.photobucket.com/user/Onenachai005/media/461621_zpsj3k5elno.jpg.html" target="_blank"><img src="http://i1259.photobucket.com/albums/ii546/Onenachai005/461621_zpsj3k5elno.jpg" border="0" alt=" photo 461621_zpsj3k5elno.jpg"/></a>

    วันนี้นอกจากจะเป็นวันลอยกระทงแล้ว ยังเป็นวันสำคัญอีกวันหนึ่ง คือเป็นวันที่พระสารีบุตร พระอัครสาวกเบื้องขวา นิพพาน ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12
     
  15. Wannachai001

    Wannachai001 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    8,844
    กระทู้เรื่องเด่น:
    110
    ค่าพลัง:
    +225,702
    <a href="http://s1259.photobucket.com/user/Onenachai005/media/DSC_0107_zpsqogja8n2.jpg.html" target="_blank"><img src="http://i1259.photobucket.com/albums/ii546/Onenachai005/DSC_0107_zpsqogja8n2.jpg" border="0" alt=" photo DSC_0107_zpsqogja8n2.jpg"/></a>
    <a href="http://s1259.photobucket.com/user/Onenachai005/media/DSC_0109_zpsunb9gugi.jpg.html" target="_blank"><img src="http://i1259.photobucket.com/albums/ii546/Onenachai005/DSC_0109_zpsunb9gugi.jpg" border="0" alt=" photo DSC_0109_zpsunb9gugi.jpg"/></a>

    เหรียญ 1 บาท FAO รูปในหลวงทรงโปรยข้าว ด้านหลังรูปแม่โพสพ ปีพ.ศ.2520

    เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ
     
  16. Wannachai001

    Wannachai001 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    8,844
    กระทู้เรื่องเด่น:
    110
    ค่าพลัง:
    +225,702
    <a href="http://s1259.photobucket.com/user/Onenachai005/media/Views/vvjif20100327145900_zps4evj5lel.jpg.html" target="_blank"><img src="http://i1259.photobucket.com/albums/ii546/Onenachai005/Views/vvjif20100327145900_zps4evj5lel.jpg" border="0" alt=" photo vvjif20100327145900_zps4evj5lel.jpg"/></a>
    <a href="http://s1259.photobucket.com/user/Onenachai005/media/Views/E8723634-0_zpskizappip.jpg.html" target="_blank"><img src="http://i1259.photobucket.com/albums/ii546/Onenachai005/Views/E8723634-0_zpskizappip.jpg" border="0" alt=" photo E8723634-0_zpskizappip.jpg"/></a>
    <a href="http://s1259.photobucket.com/user/Onenachai005/media/Views/E8723634-4_zpsnmuk3ris.jpg.html" target="_blank"><img src="http://i1259.photobucket.com/albums/ii546/Onenachai005/Views/E8723634-4_zpsnmuk3ris.jpg" border="0" alt=" photo E8723634-4_zpsnmuk3ris.jpg"/></a>

    รอยพระพุทธบาท นัมนานที ณ เกาะแก้วพิสดาร จ.ภูเก็ต


    <a href="http://s1259.photobucket.com/user/Onenachai005/media/2_zpsxlzl3j2w.jpg.html" target="_blank"><img src="http://i1259.photobucket.com/albums/ii546/Onenachai005/2_zpsxlzl3j2w.jpg" border="0" alt=" photo 2_zpsxlzl3j2w.jpg"/></a>

    รอยพระพุทธบาท ที่เกาะแก้วพิศดารมีอยู่ 2 รอย รอยพระพุทธบาทในภาพบนนี้ช่วงน้ำลงถึงจะสามารถมองเห็น
     
  17. Norr

    Norr เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,105
    ค่าพลัง:
    +127,437
    น้อมกราบสมเด็จองค์ปฐม หลวงปู่ปาน หลวงพ่อพระราชพรหมยาน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ด้วยความเคารพสูงสุด
    สวัสดีครับ พี่วรรณ และลูกหลานหลวงพ่อทุกๆท่าน

    [​IMG]
     
  18. Wannachai001

    Wannachai001 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    8,844
    กระทู้เรื่องเด่น:
    110
    ค่าพลัง:
    +225,702
    <a href="http://s1259.photobucket.com/user/Onenachai005/media/DSC_0081_zpsrntlweyk.jpg.html" target="_blank"><img src="http://i1259.photobucket.com/albums/ii546/Onenachai005/DSC_0081_zpsrntlweyk.jpg" border="0" alt=" photo DSC_0081_zpsrntlweyk.jpg"/></a>
    <a href="http://s1259.photobucket.com/user/Onenachai005/media/DSC_0082_zpsokp0rv7l.jpg.html" target="_blank"><img src="http://i1259.photobucket.com/albums/ii546/Onenachai005/DSC_0082_zpsokp0rv7l.jpg" border="0" alt=" photo DSC_0082_zpsokp0rv7l.jpg"/></a>


    <a href="http://s1259.photobucket.com/user/Onenachai005/media/DSC_0101_zpslkkgma6n.jpg.html" target="_blank"><img src="http://i1259.photobucket.com/albums/ii546/Onenachai005/DSC_0101_zpslkkgma6n.jpg" border="0" alt=" photo DSC_0101_zpslkkgma6n.jpg"/></a>
    <a href="http://s1259.photobucket.com/user/Onenachai005/media/DSC_0103_zps6dsnakbi.jpg.html" target="_blank"><img src="http://i1259.photobucket.com/albums/ii546/Onenachai005/DSC_0103_zps6dsnakbi.jpg" border="0" alt=" photo DSC_0103_zps6dsnakbi.jpg"/></a>

    <a href="http://s1259.photobucket.com/user/Onenachai005/media/DSC_0093_zps5cvvot15.jpg.html" target="_blank"><img src="http://i1259.photobucket.com/albums/ii546/Onenachai005/DSC_0093_zps5cvvot15.jpg" border="0" alt=" photo DSC_0093_zps5cvvot15.jpg"/></a>
    <a href="http://s1259.photobucket.com/user/Onenachai005/media/DSC_0096_zpsgddcjjpu.jpg.html" target="_blank"><img src="http://i1259.photobucket.com/albums/ii546/Onenachai005/DSC_0096_zpsgddcjjpu.jpg" border="0" alt=" photo DSC_0096_zpsgddcjjpu.jpg"/></a>
     
  19. Wannachai001

    Wannachai001 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    8,844
    กระทู้เรื่องเด่น:
    110
    ค่าพลัง:
    +225,702
    [​IMG]
    [​IMG]


    เหรียญ 5 บาท ที่ระลึกครบรอบ 75 ปี ของการลูกเสือโลก ปีพ.ศ. 2525
     
  20. Allymcbe222

    Allymcbe222 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    547
    ค่าพลัง:
    +1,445
     

แชร์หน้านี้

Loading...